วิทยากร คุณสุภางค์ เมืองแก้ว พยาบาลชีวอนามัย รพ.มหาราชนครเชียงใหม่ : คลินิกโรคจากการทำงาน รพ.มหาราชนครเชียงใหม่ (CLINIC 108)
ความเครียด คือ เป็นภาวะของอารมณ์หรือความรู้สึกที่เกิดขึ้นเมื่อบุคคลต้องเผชิญปัญหาต่างๆ และทำให้รู้สึกถูกกดดันไม่สบายใจ วุ่นวายใจ กลัว วิตกกังวล ตลอดจนถูกบีบคั้น เมื่อบุคคลรับรู้หรือประเมินว่าปัญหาเหล่านั้นเป็นสิ่งที่คุกคามจิตใจ หรืออาจจะก่อให้เกิดอันตรายแก่ร่างกาย จะส่งผลให้เกิดภาวะสมดุลของร่างกายและจิตใจเสียไป
สาเหตุของความเครียด ได้แก่
- สภาพแวดล้อมทั่วไป เช่น อากาศเสีย มลภาวะฝุ่น PM 2.5 COVID 19 เป็นต้น
- สภาพเศรษฐกิจที่ไม่น่าพอใจ เช่น รายได้น้อยกว่ารายจ่าย
- สภาพแวดล้อมทางสังคม เช่น การอยู่ร่วมกันกับบุคคลอื่นในหมู่บ้าน
- สภาพแวดล้อมจากการทำงาน เช่น เพื่อนร่วมงาน การแข่งขัน
- อุนิสัยหรือการดำเนินชีวิต เช่น คนที่ชอบแข่งขัน ชอบเอาชนะ เข้มงวด เอาจริงเอาจังกับทุกอย่าง อารมณ์รุนแรง พยายามทำอะไรหลายๆอย่างในเวลาเดียวกัน ใจร้อน ต้องการมีอำนาจเหนือผู้อื่น
ผลของความเครียดต่อชีวิต ได้แก่ ผลต่อสุขภาพทางกาย และจิตใจ
- ร่างกายหลังฮอร์โมนคอร์ติซอล (Cortisol) เป็นฮอร์โมนที่เกี่ยวกับความเครียด เมื่อมีภาวะเครียด มีเหตุการณ์คับขัน มีเรื่องวิตกกังวล หรือมีความป่วยไข้ของร่างกาย ฮอร์โมนตัวนี้จะถูกกระตุ้นให้หลั่งมากขึ้นเพื่อเตรียมพร้อมต่อการฟื้นฟูร่างกาย คอร์ติซอลจะกระตุ้นการตอบสนองของเซลล์ในร่างกายต่อภาวะการอักเสบ ความเจ็บปวด ภาวะติดเชื้อ และกระตุ้นให้ตับสร้างน้ำตาลมากขึ้น เนื่องจากร่างกายต้องการพลังงานมากกว่าปกติในภาวะเครียด ทำให้กินเยอะขึ้น หิวบ่อยขึ้น และน้ำหนักขึ้นได้เร็วกว่าปกติ นอกจากนี้ยังช่วยควบคุมระดับน้ำและเกลือแร่ในร่างกาย เพื่อรักษาระดับความดันให้ทำงานได้อย่างปกติด้วย
- ทำให้เกิดอาการเหนื่อยล้า แก่ชราก่อนวัยอันควร เจ็บป่วยง่าย
- ทำให้ฮอร์โมนที่เกี่ยวกับความต้องการทางเพศลดลง ได้แก่ ฮอร์โมนเอสโตรแจน (Estrogen)
- ทำให้ท้องผูก สิวขึ้น ท้องอืด อาหารไม่ย่อย
- ทำให้รู้สึกอ่อนเพลีย ไม่มีแรง
- ทำให้รู้สึกเครียด เบื่อหน่าย ท้อแท้ ซึมเศร้า
- ทำให้เกิดความจำเสื่อม อัลไซเมอร์ก่อนวัยอันควร
- การหลั่งฮอร์โมนแอนโดรเจนผิดปกติ ทำให้ผมร่วงศรีษะล้าน
- ทำให้เกิดอาการปวดเกรงคอ บ่า ไหล่
- ทำให้โครโมโซม Telomere สั้นลงกว่าวัยอันควร ทำให้อายุสั้นลง
- ทำให้อยากกินอาหารที่ไม่ถูกสุขลักษณะ เช่น ดื่มสุรา
- ทำให้ฮอร์โมนอื่นๆหลั่งน้อย Hormone Letip ทำให้หิวมากขึ้น กินอาหารมากขึ้น น้ำหนักและรอบเอวเพิ่มขึ้น
- ทำให้เกิดโรคติดต่อที่ไม่เรื้อรัง NCDs (non-communicable diseases) ได้แก่ โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง โรคหลอดเลือดหัวใจ โรคหลอดเลือดสมอง โรคไตเรื้อรัง โรคไขมันในเลือดสูง โรคมะเร็ง โรคทางพันธุกรรม โรคตับแข็ง และโรคสมองเสื่อม (อัลไซเมอร์) เป็นต้น
- ทำให้นอนไม่หลับ Growth Hormone หลั่งน้อย ทำให้ภูมิต้านทานลดลง และก่อให้เกิดโรคมะเร็ง
6 สาเหตุเกิดมะเร็ง
- ไวรัสและเชื้อโรคร้าย โดยเฉพาะผู้ที่เป็นไวรัสตับอักเสบบี หรือผู้ที่ชอบทานอาหารที่มีเชื้อราปนเปื้อน เช่น ถั่วลิสงป่น
- มลพิษและสิ่งแวดล้อม มลพิษหรือสารพิษจากรอบตัวเราในทุกๆวัน คือตัวการสำคัญล้วนมีสารก่อมะเร็ง
- กรรมพันธุ์ หากคนในครอบครัวเคยมีประวัติการเป็นมะเร็งย่อมมีความเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งเพิ่มเช่นกัน
- สภาวะทางอารมณ์ ความเครียดเป็นสิ่งสำคัญที่ส่งผลให้สารภูมิคุ้มกันลดประสิทธิภาพในการต้านสารก่อมะเร็งได้
- อาหารและนิสัยการกิน การกินอาหารที่ไม่ถูกสุขลักษณะ ไม่สะอาด ดิบ หรือของปิ้ง ย่าง ควรระวังเป็นอย่างมาก
- การนอนและพักผ่อน ตับจะมีช่วงเวลากำจัดสารพิษในร่างกาย 5 ทุ่ม – ตี 3 ในช่วงนี้เราควรที่จะพักผ่อน
วิธีแก้ไขความเครียด
ให้หาสาเหตุแห่งทุกข์ที่ทำให้เกิดความเครียด แล้วใช้วิธีกำจัด หรือเลี่ยง หรือยอมรับ โดยวิธีการต่างๆ ดังนี้
- ใช้ทักษะการร้องขอความช่วยเหลือ หรือคำปรึกษา
- กินยาคลายเครียด
- นอนหลับให้เพียงพอ ทำให้ Growth Hormone หลั่ง เพิ่มภูมิต้านทานให้กับร่างกาย
- รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ ได้แก่ ทานผัก 2 ส่วน ข้าว 1 ส่วน เนื้อ 1 ส่วน ใน 1 มื้อ
- ลดอาหารประเภท หวาน มัน เค็ม
- ใส่ใจ 3 อ. อาหาร ออกกำลังกาย และอารมณ์
- บอกลา 2 ส. งดสูบบุหรี่ และงดดื่มสุรา
- บริหารร่างกายโดยการบริหาร ดวงตา บริหารมือ บริหารสมองและสองมือ
- ทำจิตใจให้สงบสุข
- งดสิ่งเร้าก่อนนอนหลับ 2 ชั่วโมง ได้แก่ งดเล่นมือถือ งดดูโทรทัศน์
- คิดในแง่บวก
- ยิ้มตลอดเวลา
- คิดทบทวนสิ่งดีๆในชีวิต (Good Thinking & Good Memmories)
- ให้รางวัลชีวิตตนเอง
- เลิกเป็นคนขี้บ่น ชื่นชมสิ่งรอบตัว อยู่ใกล้คนคิดบวก ทำให้รับพลังบวก อยู่ห่างๆคนที่คิดลบ คิดถึงคนที่ลำบากมากกว่าเรา
- ใช้ธรรมะ สอนใจ ฝึกสมาธิ มีความคิดที่ยืดหยุ่น ทำให้ Growth Hormone เพิ่มขึ้น
- ทำให้ร่างกายหลั่งสารเอนโดรฟิน ซึ่งเป็นสารที่ทำให้รู้สึกมีความสุข คลายความเครียด บรรเทาอาการเจ็บปวด โดยการออกกำลังกาย การนั่งสมาธิ การหัวเราะ เป็นต้น