ตรวจสอบและแก้ไขปัญหาเครื่องคอมพิวเตอร์เสีย ได้ด้วยตนเอง
วันที่เขียน 4/10/2563 20:03:09     แก้ไขล่าสุดเมื่อ 3/11/2567 5:46:50
เปิดอ่าน: 22440 ครั้ง

ตรวจสอบและแก้ไขปัญหาเครื่องคอมพิวเตอร์เสียด้วยตนเอง

      ในการทำงานเมื่อใช้งานเครื่องคอมพิวเตอร์ไปเป็นเวลานาน อาจเกิดปัญหาต่างๆเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ แต่ถ้าต้องรอให้เจ้าหน้าที่ของกองเทคโนโลยีดิจิทัล
มหาวิทยาลัย  มาช่วยแก้ไขให้อาจจะทำให้เสียเวลาต้องรอนาน ดังนั้นเราสามารถวิเคราะห์อาการเสียเบื้องต้นได้เอง โดยหากแก้ไขได้ก็สามารถทำงานต่อได้เลย
โดยสรุปอาการที่เสียบ่อยๆ และวิธีการตรวจสอบ ดังนี้

อาการเสีย

วิธีการตรวจสอบ

เครื่องคอมพิวเตอร์เปิดขึ้นมาแล้ว ทุกอย่างไม่ทำงาน



ให้ตรวจสอบที่พัดลมด้านท้ายเครื่องว่าหมุนหรือไม่ หากไม่หมุนอาจเป็นไปได้ว่าปลั๊กไฟเสีย หรืออาจขาดใน และให้เข้าไปเช็คที่ฟิวส์ของเพาเวอร์ซัพพลาย หากฟิวส์ขาดให้ซื้อฟิวส์รุ่นเดียวกันมาเปลี่ยน แต่ถ้าเพาเวอร์ซัพพลายเสีย แนะนำให้เปลี่ยนเพาเวอร์ซัพพลายใหม่

เครื่องคอมพิวเตอร์เปิดขึ้นมาแล้ว จอมืด
แต่ไฟ
LED หน้าจอและไฟเคสติด

 





ให้ตรวจสอบที่ปุ่มการปรับสีและแสงที่หน้าจอก่อน จากนั้นจึงเช็คในส่วนของขั้วสายไฟ และขั้วสายสัญญาณระหว่างเคสและจอภาพ หรือไม่ก็อาจเป็นเพราะเสียบการ์ดจอไม่แน่นหากตรวจเช็คอาการเหล่านี้แล้ว ทุกอย่างเป็นปกติดีสาเหตุน่าจะเกิดจากการ์ดแสดงผล และจอภาพ ให้นำอุปกรณ์ทั้ง 2 ตัวไปลองกับอีก เครื่องหนึ่งที่ทำงานเป็นปกติ หากการ์ดแสดงผลเสียต้องส่งเคลมหรือให้เปลี่ยนใหม่ แต่ถ้าเป็นจอภาพ ให้ตรวจเช็คอาการอีกครั้ง ถ้าซ่อมได้ก็ควรซ่อม



จอภาพแสดงข้อความผิดพลาดว่า HDD FAILURE


ให้ตรวจสอบการตั้งค่าในไบออสว่าถูกต้องหรือไม่ตรวจสอบขั้วต่อ IDE ว่ามีการเสียบผิดด้านหรือไม่ หลุดหลวมหรือเปล่า ตรวจสอบฮาร์ดดิสก์ว่าเสียหรือไม่ โดยเข้าไปในเมนูไบออส และใช้หัวข้อ IDE HDD Auto Detection ตรวจหาฮาร์ดดิสก์ ถ้าไม่เจอแสดงว่าฮาร์ดดิสก์มีปัญหาแต่หากเจอแสดงว่าฮาร์ดดิสก์ปกติดี

เมื่อเปิดเครื่องคอมพิวเตอร์ขึ้นมาแล้วมีสัญญาณเตือนดัง บี๊บ...........บี๊บ

ควรตรวจสอบแรมว่าทำงานเป็นปกติหรือไม่ ติดตั้งดีแล้วหรือยัง วิธีแก้ไขให้ถอดแล้วเสียบใหม่ ตรวจสอบการติดตั้งการ์ดต่างๆ บนเมนบอร์ดว่าติดตั้งดีแล้วหรือยัง วิธีแก้ไขให้ถอดแล้วเสียบใหม่ตรวจสอบซีพียูและการเซ็ตจัมเปอร์ว่าถูกต้องหรือไม่วิธีแก้ไขเซ็ตจัมเปอร์ใหม่โดยตรวจเช็คจากคู่มือเมนบอร์ด

เครื่องคอมพิวเตอร์แฮงค์หรือดับไปเอง หรือ Restart เอง




หากว่าใช้เครื่องไปนาน ๆ แล้วเครื่องดับไปเองหรือแฮงค์บ่อย ๆ สาเหตุอาจจะเกิดจาก CPU มีความร้อนสูง ส่วนมากจะเกิดกับเครื่องที่ไม่ได้ใช้งานอยู่ในห้องแอร์ โดยเฉพาะหน้าร้อนจะเป็นกันมาก ทางแก้ก็โดยการตรวจสอบที่ตัว CPU ว่าพัดลมระบายความร้อนยังทำงานอยุ่หรือไม่ มีการทาซิลิโคนที่หน้าสัมผัสระหว่างการติดตั้ง Heat Sink หรือเปล่า ถ้ายังไม่หายร้อนก็ลองเปิดครอบเครื่องเพื่อให้อากาศระบายได้โดยง่าย แล้วใช้พัดลมช่วยเปล่า ก็จะแก้ปัญหาได้อีกทางหนึ่ง

ที่จอภาพไฟเข้าสัญญาณภาพมาแต่ภาพไม่ขึ้น











สังเกตได้จากไฟ LED ที่กระพริบอยู่บางรุ่นก็จะไม่กระพริบ อาการนี้มีสาเหตุหลายอย่างเริ่มจาก FET ที่ทำหน้าที่ Lach ไฟเลี้ยงให้FBT ชอร์ท โดยมากจะเป็นเบอร์ IRF630จึงทำให้เครื่องสั่ง Protection อยู่สังเกตได้จากไฟ LEDจะกระพริบ อีกสาเหตุหนึ่งก็คือ ตัวต้านทาน ที่ทำหน้าที่จ่ายไฟเลี้ยงให้ FET หรือ FBT ขาด อันนี้ต้องวัดไฟเลี้ยงหรือถอด ตัวต้านทานมาวัดในกรณีที่ FET ไม่มีไฟเลี้ยง อีกสาเหตุยอดฮิตก็คือ ทรานซิสเตอร์ Horizoltal Output ชอร์ท หรือ รั่ว ทรานซิสเตอร์ตัวนี้มีสองแบบจึงมีวิธีวัดต่างกัน คือแบบที่มี Damper Diode และแบบที่ไม่มี Damper Diode แบบที่ไม่มี แดมป์นั้น วิธีการวัดเหมือนทรานซิสเตอร์ทั่วไป มีอยู่ด้วยกันหลายเบอร์ เช่น BU2508 AF ส่วนแบบที่มี แดมป์นั้นจะมีไดโอด ต่ออยู่ระหว่างขา Emittor และขา Colecttor โดย จะต่อ อาโนด ที่ขา E และต่อ คาโธด ที่ขาC ตัวอย่างเช่นเบอร์ BU2508DF และอีกสาเหตุหนึ่งคื FBT เกิดการ
ชอร์ทรอบขึ้น

จอภาพมีเส้นแนวนอนเส้นเดียวกลางจอ



อาการนี้เกิดจากภาคขยายสัญญาณแนวตั้งชำรุดไม่ว่าจะเป็น ไอซี Vertical เสียหรือว่าYoke Vert ไหม้หรือชอร์ท หรือบางครั้งก็อาจจะเกิดจากภาคจ่ายไฟที่จ่ายไฟไปเลี้ยงภาค Vert พวกไดโอด Rectiflier หรือว่าจะเป็นตัวบรรดาต้านทาน
ทั้งหลาย

แผนผังกระบวนการแก้ปัญหาคอมพิวเตอร์

สรุปได้ว่าในการแก้ปัญหานั้นให้ทำตามขั้นตอนดังต่อไปนี้

1.ตรวจสอบอาการเสียหรือความผิดปกติของเครื่องคอมพิวเตอร์
2.ตรวจสอบเบื้องต้น โดยเริ่มจากจุดง่ายๆไปหายาก
3.ตรวจเชคอุปกรณ์ที่คาดว่าจะเสียทีละอย่าง
4.ลองซ่อมหรือเปลี่ยนอะไหล่สำรอง
5.ตรวจเชคดูว่าแก้ไขได้หรือไม่ หากได้ก็ใช้งานตามปกติ หากไม่ได้ให้ตรวจสอบอีกครั้ง
6.เสร็จสิ้นกระบวนการแก้ไขปัญหา

ความคิดเห็นทั้งหมด (0)
ไม่มีข้อมูลตามเงื่อนไขที่ท่านกำหนด
รายการบทความการแลกเปลี่ยนเรียนรู้หมวดหมู่ : กลุ่มงานเทคโนโลยีสารสนเทศ
กลุ่มงานเทคโนโลยีสารสนเทศ » UX/UI Design ต่างกันอย่างไร
การออกแบบเว็บไซต์ การออกแบบผลิตภัณฑ์และบริการดิจิทัล มีความสำคัญมากขึ้นเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งการออกแบบประสบการณ์ผู้ใช้ (User Experience Design: UX Design) และการออกแบบส่วนต่อประสานผู้ใช้ (...
UI Design  UX Design  UX UI  UX/UI  การออกแบบเว็บ     กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร   กลุ่มงานเทคโนโลยีสารสนเทศ
ผู้เขียน ช่อทิพย์ สิทธิ  วันที่เขียน 6/9/2567 14:14:09  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 2/11/2567 6:14:06   เปิดอ่าน 82  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
การพัฒนาโปรแกรม » การพัฒนาระบบเพื่อลดขั้นตอนการปฏิบัติงาน สำหรับการจัดเก็บและทำลายเอกสาร
การพัฒนาระบบเพื่อลดขั้นตอนการปฏิบัติงาน สำหรับการจัดเก็บและทำลายเอกสาร โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการปฏิบัติงาน โดยการนำระบบจัดเก็บและทำลายเอกสารมาช่วยปรับปรุงประสิทธิผล ในกระบวนการทำ...
Re-Design Process?  ระบบจัดเก็บและทำลายเอกสาร     กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร   กลุ่มงานเทคโนโลยีสารสนเทศ
ผู้เขียน ณัฐกฤตา โกมลนาค  วันที่เขียน 5/9/2567 11:45:54  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 3/11/2567 0:53:21   เปิดอ่าน 204  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
การพัฒนาระบบสารสนเทศ » ข้อมูลเปิด (Open Data) เบื้องต้น
ข้อมูลเปิด (Open Data) คือ ข้อมูลที่สามารถเข้าถึง ใช้งาน แก้ไข และแบ่งปันได้โดยไม่จำกัดข้อกำหนดหรือค่าใช้จ่าย ข้อมูลเปิดมักถูกเผยแพร่ในรูปแบบที่สามารถอ่านและวิเคราะห์ได้ง่าย เช่น ไฟล์ CSV, JSON, หร...
การเข้าถึง  การใช้งาน  การแบ่งปัน  การเปิดเผย  ข้อมูลเปิด     กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร   กลุ่มงานเทคโนโลยีสารสนเทศ
ผู้เขียน สมนึก สินธุปวน  วันที่เขียน 2/9/2567 9:45:13  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 1/11/2567 16:34:43   เปิดอ่าน 82  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
การพัฒนาระบบสารสนเทศ » คุณธรรมจริยธรรมในการทำงานเกี่ยวกับเทคโนโลยีในมหาวิทยาลัย (2)
จรรยาบรรณและจริยธรรม ในการทำงานเกี่ยวกับเทคโนโลยีในมหาวิทยาลัยเกี่ยวข้องกับแนวทางเพื่อให้การใช้เทคโนโลยีในงานวิจัย การสอน และการบริหารจัดการเป็นไปอย่างมีความรับผิดชอบและถูกต้องตามหลักจริยธรรม
การเข้าถึงและการรวมกลุ่ม  ความโปร่งใสและความรับผิดชอบ  จรรยาบรรณและจริยธรรม  เทคโนโลยี  แนวทางวิจัยที่มีจริยธรรม     กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร   กลุ่มงานเทคโนโลยีสารสนเทศ
ผู้เขียน สมนึก สินธุปวน  วันที่เขียน 1/9/2567 12:56:52  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 31/10/2567 21:41:54   เปิดอ่าน 74  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง