คู่มือการใช้งานระบบสารสนเทศเพื่อการบริหารจัดการครุภัณฑ์ในอาคารปฏิบัติการวิชาชีพ - สำหรับเจ้าหน้าที่พัสดุ (อยู่ในระหว่างการจัดทำ)
วันที่เขียน 12/9/2562 14:03:00     แก้ไขล่าสุดเมื่อ 23/11/2567 16:49:12
เปิดอ่าน: 2752 ครั้ง

ระบบสารสนเทศเพื่อการบริหารจัดการครุภัณฑ์ในอาคารปฏิบัติการวิชาชีพ สามารถจัดการเพิ่ม-ลดครุภัณฑ์ สร้างระบบสมาชิก การให้สิทธิ์การยืม-คืนครุภัณฑ์ ตลอดจนรายงานสถิติการยืม-คืน ต่างๆ เพื่อประกอบการพิจารณา จัดซื้อ จัดซ่อม และการบริหารครุณัณฑ์ต่อไป พัฒนาโดยนายอำนาจ ชิดทอง ตำแหน่ง นักวิชาการคอมพิวเตอร์

คลิกเพื่อ ดาวน์โหลดคู่มือมือการใช้งาน ระบบสารสนเทศเพื่อการบริหารจัดการครุภัณฑ์ในอาคารปฏิบัติการวิชาชีพ


ระบบสารสนเทศเพื่อการบริหารจัดการครุภัณฑ์ในอาคารปฏิบัติการวิชาชีพ

พัฒนาโดย  นายอำนาจ  ชิดทอง ตำแหน่งนักวิชาการคอมพิวเตอร์ 
คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการออกแบบสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยแม่โจ้


 

การเข้าสู่ระบบ

  1. เปิดเว็บบราวเซอร์ แล้วเข้าสู่เว็บ http://www.faed.mju.ac.th/it/workshop_stock
  2. ป้อนรหัสผ่าน แล้วกดปุ่ม Login เพื่อยืนยันสิทธิ์ ตามภาพภาพที่ 1

 

ภาพที่ 1 หน้าจอล๊อคอิน

  1. เมื่อเข้าระบบได้ จะพบกับหน้า Dashboard ตามภาพที่ 2 ซึ่งจะแตกต่างกันตามสิทธิ์การใช้งานของระบบฯ

 

ภาพที่ 2 หน้าจอ Dashboard

คู่มือการใช้งานสำหรับเจ้าหน้าที่พัสดุ

ระดับสิทธิ์เจ้าหน้าที่พัสดุ จะเป็นผู้ที่สามารถจัดการข้อมูลหลักที่เกี่ยวกับระบบนี้ได้ โดยสามารถทำการเบิก-จ่าย และรับคืนครุภัณฑ์ ตลอดจนสามารถเรียกดูรายงานเกี่ยวกับครุภัณฑ์ รายงานเกี่ยวกับการเบิก-จ่าย ออกรายงาน จัดการครุภัณฑ์ และจัดการผู้มีสิทธิ์เบิกได้ ดังจะมีขั้นตอนต่างๆ ในแต่ละเมนูดังนี้

  1. เข้าระบบด้วยสิทธิ์การในระดับเจ้าหน้าที่พัสดุ จะพบกับหน้า Dashboard ตามภาพที่ 31

 

ภาพที่ 31 ภาพหน้า Dashboard ระดับเจ้าหน้าที่พัสดุ

  1. ผู้ใข้งานสามารถค้นหาครุภัณฑ์ ด้วยชื่อ หรือรหัสครุภัณฑ์ ได้ที่ช่องค้นหาครุภัณฑ์...  โดยตำแหน่งจะอยู่เหนือภาพโปรไฟล์ผู้ใช้งาน ตามภาพที่ 32

 

ภาพที่ 32 แสดงช่องค้นหาครุภัณฑ์

  1. ผู้ใช้งานสามารถทำการเบิกครุภัณฑ์ โดยคลิกเลือกที่เมนู เบิกครุภัณฑ์ จะปรากฎแบบฟอร์มเบิกครุภัณฑ์ ตามภาพที่ 33

3.1 ผู้ใช้งานสามารถระบุข้อมูลวันที่เบิก, กำหนดคืน, เลือกชื่อผู้เบิก และเลือกรายการครุภัณฑ์ จากนั้นกดปุ่ม NEXT ระบบจะแสดงชื่อรายการที่ทำรายการเบิกไว้ ระหว่างนี้ สามารถแก้ไขวันที่เบิก กำหนดคืน และชื่อผู้เบิกได้ตลอดเวลา โดยเมื่อเลือกรายการครุภัณฑ์ที่ต้องการเบิกจนครบแล้ว กดปุ่ม FINISH เพื่อสิ้นสุดกระบวนการเบิกครุภัณฑ์ ตามภาพที่ 34

3.2 หากผู้ใช้งานต้องการยกเลิกการจองนี้ สามารถกดปุ่ม RESET เพื่อยกเลิกรายการทั้งหมดและกลับไปยังแบบฟอร์มการเบิกครุภัณฑ์ ตามภาพที่ 33 ได้

 

ภาพที่ 33 แสดงแบบฟอร์มเบิกครุภัณฑ์

 

 

ภาพที่ 34 แสดงขั้นตอนการเบิกครุภัณฑ์

  1. ผู้ใช้งานสารมารถทำการคืนครุภัณฑ์โดยคการคลิกที่เมนู คืนครุภัณฑ์ จะปรากฎแบบฟอร์มคืนครุภัณฑ์ ตามภาพที่ 35

4.1 ผู้ใช้งานสามารถเลือกรายการครุภัณฑ์ที่ถูกยืมไป แล้วกดปุ่ม คืนครุภัณฑ์

 

ภาพที่ 35 แสดงแบบฟอร์มการคืนครุภัณฑ์


 

  1. ผู้ใช้งานสามารถแสดงรายงานครุภัณฑ์ ซึ่งเป็นรายละเอียดเกี่ยวกับครุภัณฑ์ โดยการคลิกเมนู รายงานครุภัณฑ์ ดังภาพที่ 36 โดยมีเมนูย่อยดังนี้

 

ภาพที่ 36 แสดงเมนูรายงานครุภัณฑ์

  1. ตัวอย่างหน้าจอ รายงานครุภัณฑ์ แบบต่างๆ (สามารถรถค้นหาครุภัณฑ์ได้จากช่องค้นหาด้านขวามือ)

6.1 ครุภัณฑ์ทั้งหมด จะแสดงข้อมูลครุภัณฑ์ทั้งหมดที่มีอยู่ในระบบ โดยครุภัณฑ์ที่ถูกเบิกจะมีพื้นหลังสีเหลือง และครุภัณฑ์ที่ชำรุดจะแสดงพื้นหลังสีแดง) ตามภาพที่ 37

 

ภาพที่ 37 แสดงรายงานครุภัณฑ์ทั้งหมด

6.2 ครุภัณฑ์ในสต๊อก จะแสดงข้อมูครุภัณฑ์ทั้งหมดที่คงเหลืออยู่ในสต๊อก ตามภาพที่ 38

 

ภาพที่ 38 แสดงรายงานครุภัณฑ์ในสต๊อค


 

6.3 ครุภัณฑ์ถูกเบิก จะแสดงข้อมูลครุภัณฑ์ที่อยู่ในระหว่างการถูกเบิกใช้งาน ตามภาพที่ 39

 

ภาพที่ 39 แสดงรายงานครุภัณฑ์ที่ถูกเบิก

6.4 ครุภัณฑ์เบิกบ่อย จะแสดงข้อมูลคุรภัณฑ์ที่มีความถี่ในการการเบิกใช้งานสูงสุด ตามภาพที่ 40

 

ภาพที่ 40 แสดงรายงานครุภัณฑ์ที่เบิกบ่อย

6.5 ครุภัณฑ์ชำรุด จะแสดงข้อมูลครุภัณฑ์ที่มีสถานะชำรุด ตามภาพที่ 41

 

ภาพที่ 41 แสดงรายงานครุภัณฑ์ที่ชำรุด


 

6.6 ผู้ใช้งานสามารถคลิกที่รายการเพื่อแสดงรายละเอียดของครุภัณฑ์ และทำรายการเบิกครุภัณฑ์ที่แสดงได้ทันที ตามภาพที่ 42

 

ภาพที่ 42 แสดงรายละเอียดข้อมูลครุภัณฑ์

  1. ผู้ใข้งานสามารถเรียกดูรายงานการเบิกครุภัณฑ์ได้จากเมนู รายงานการเบิก ตามภาพที่ 9 โดยมีรายละเอียดเมนูย่อยดังนี้

7.1 เกินกำหนดคืน : จะแสดงข้อมูลการเบิกที่เกินกำหนดวันคืนที่ได้ระบุไว้

7.2 เบิกรายเดือน : จะแสดงประวัติข้อมูลการเบิกโดยแยกตามเดือน

7.3 เบิกรายหลักสูตร : จะแสดงประวัติข้อมูลการเบิกโดยแยกตามหลักสูตร/หน่วยงาน

7.4 เบิกรายบุคคล : จะแสดงประวัติข้อมูลการเบิกโดยแยกตามรายบุคคล

  1. ตัวอย่างหน้าจอ รายงานการเบิก แบบต่างๆ

8.1 เกินกำหนดคืน จะแสดงข้อมูลการเบิกที่เกินกำหนดวันคืนที่ได้ระบุไว้ ตามภาพที่ 5

 

ภาพที่ 43 แสดงรายงานการเบิกเกินกำหนดคืน


 

8.2 เบิกรายเดือน จะแสดงประวัติข้อมูลการเบิกโดยแยกตามเดือน ตามภาพที่ 6

 

ภาพที่ 44 แสดงรายงานการเบิกรายเดือน

8.3 เบิกรายหลักสูตร จะแสดงประวัติข้อมูลการเบิกโดยแยกตามหลักสูตร/หน่วยงาน ตามภาพที่ 7

 

ภาพที่ 45 แสดงรายงานการเบิกรายหลักสูตร


 

8.4 เบิกรายบุคคล จะแสดงประวัติข้อมูลการเบิกโดยแยกตามรายบุคคล ตามภาพที่ 8

 

ภาพที่ 46 แสดงรายงานการเบิกรายบุคคล

  1. ผู้ใช้งานสามารถออกรายงานสถิติการเบิกครุภัณฑ์รายหน่วยงาน หรือรายงานความถี่การเบิกรายครุภัณฑ์ โดยสามารถเลือกแสดงตามปี พ.ศ. และ/หรือ เดือนที่ต้องการได้ โดยการเลือกเมนู ออกรายงาน ตามภาพที่ 47

 

ภาพที่ 47 แสดงเมนูรายงานการเบิกและออกรายงาน


 

  1. ผู้ใข้งานสามารถจัดการครุภัณฑ์ได้จากเมนู จัดการครุภัณฑ์ ตามภาพที่ 48 โดยมีรายละเอียดเมนูย่อยดังนี้

 

ภาพที่ 48 แสดงเมนูจัดการครุภัณฑ์

  1. ตัวอย่างหน้าจอ จัดการครุภัณฑ์ แบบต่างๆ

11.1 ข้อมูลครุภัณฑ์ : จะแสดงข้อมูลครุภัณฑ์ที่มีสถานะปกติ (ไม่ชำรุด) ตามภาพที่ 49 สามารถคลิกที่ชื่อครุภัณฑ์เพื่อแสดงรายละเอียดครุภัณฑ์ และคลิกแก้ไข เพื่อแก้ไขข้อมูลครุภัณฑ์ที่ต้องการได้ ตามภาพที่ 50

 

ภาพที่ 49 แสดงข้อมูลฐานข้อมูลครุภัณฑ์

 

ภาพที่ 50 แสดงแบบฟอร์มปรับปรุงข้อมูลทะเบียนครุภัณฑ์

11.2 เพิ่มครุภัณฑ์: จะแสดงแบบฟอร์มการเพิ่มครุภัณฑ์ ตามภาพที่ 51

 

ภาพที่ 51 แสดงแบบฟอร์มการลงทะเบียนครุภัณฑ์

11.3 ครุภัณฑ์ชำรุด : จะแสดงข้อมูลครุภัณฑ์ที่ชำรุด ตาม

 

ภาพที่ 52 แสดงข้อมูลครุภัณฑ์ที่มีสถานะชำรุดหรือเสีย


 

11.4 ครุภัณฑ์ที่ถูกลบ : จะแสดงข้อมูลครุภัณฑ์ที่ถูกลบออกจากระบบ ตาม

 

ภาพที่ 53 แสดงข้อมูลครุภัณฑ์ที่ถูกลบออกจากระบบ

  1. จัดการผู้มีสิทธิ์เบิก สามารถค้นหาผู้มีสิทธิ์เบิกครุภัณฑ์ โดยระบุชื่อและค้นหาบริเวณมุมบนขวาของหน้าจอ

12.1 ข้อมูลผู้เบิก: จะแสดงข้อมูลของผู้มีสิทธิ์เบิกครุภัณฑ์ ตามภาพที่ 54 โดยสามารถคลิกที่ชื่อผู้เบิก เพื่อแสดงรายละเอียด และสามารถกดแก้ไข เพื่อเปลี่ยนแปลงข้อมูลผู้เบิก ตามภาพที่ 56

 

ภาพที่ 54 แสดงข้อมูลผู้เบิกครุภัณฑ์

 

ภาพที่ 55 แสดงรายละเอียดข้อมูลผู้มีสิทธิ์เบิกภัณฑ์

 

ภาพที่ 56 แสดงแบบฟอร์มปรับปรุงข้อมูลผู้มีสิทธิ์เบิกครุภัณฑ์

12.2 เพิ่มผู้เบิก: จะแสดงแบบฟอร์มการลงทะเบียนผูมีสิทธิ์เบิกครุภัณฑ์ ตามภาพที่ 57 โดยระบุข้อมูลให้ครบถ้วนแล้วกดปุ่ม SAVE เพื่อทำการบันทึกข้อมูล

 

ภาพที่ 57 แสดงแบบฟอร์มลงทะเบียนผู้มีสิทธิ์เบิกครุภัณฑ์

12.3 ผู้เบิกที่ปิดใช้งาน: จะแสดงข้อมูลผู้มีสิทธิ์เบิกครุภัณฑ์ ที่ถูกระงับการเบิกหรือปิดการใช้งาน

 

ภาพที่ 58 แสดงข้อมูลผู้มีสิทธิเบิกครุภัณฑ์ที่ถูกปิดการใช้งาน


 

12.4 ผู้เบิกที่ถูกลบ: จะแสดงข้อมูลผู้มีสิทธิ์เบิกครุภัณฑ์ ที่ถูกลบ โดยผู้ใช้งานจะไม่สามารถยกเลิกการลบนี้ได้

 

ภาพที่ 59 แสดงข้อมูลผู้มีสิทธิ์เบิกครุภัณฑ์ที่ถูกลบ

  1. ผู้ใช้งานสามารถแก้ไขข้อมูลส่วนตัวของผู้ใช้งานเอง อาทิ ชื่อ-สกุล, ตำแหน่ง, รหัสผ่าน และอีเมล ได้โดยการคลิกเลือกไอคอนรูปคน บริเวณมุมบนขวาของหน้าจอ จากนั้นคลิกเลือกเมนู User Profile จะปรากฎหน้าจอ ปรับปรุงข้อมูลเจ้าหน้าที่ ตามภาพที่ 10 เมื่อแก้ไขเสร็จแล้วกดปุ่ม  SAVE เพื่อบันทึกการเปลี่ยนแปลง หรือกดปุ่ม Reset เพื่อคืนค่าเดิม หรือสามารถกดปุ่ม CANCEL เพื่อยกเลิกและกลับไป

 

ภาพที่ 60 แสดงหน้าจอการแก้ไขข้อมูลส่วนตัว


 

  1. ผู้ใช้งานสามารถออกจากระบบนี้ โดยการคลิกไอคอนรูปคน บริเวณมุมบนขวาของหน้าจอ แล้วเลือกเมนู Logout เพื่อออกจากระบบและกลับสู่หน้าจอล๊อคอินอีกครั้ง ตามภาพที่ 61

 

ภาพที่ 61 แสดงหน้าจอล๊อคอิน

 

 

 

 

คำสำคัญ :
กลุ่มบทความ :
หมวดหมู่ :
แชร์ :
https://erp.mju.ac.th/acticleDetail.aspx?qid=1006
ความคิดเห็นทั้งหมด (0)
ไม่มีข้อมูลตามเงื่อนไขที่ท่านกำหนด
รายการบทความการแลกเปลี่ยนเรียนรู้หมวดหมู่ : กลุ่มงานเทคโนโลยีสารสนเทศ
กลุ่มงานเทคโนโลยีสารสนเทศ » UX/UI Design ต่างกันอย่างไร
การออกแบบเว็บไซต์ การออกแบบผลิตภัณฑ์และบริการดิจิทัล มีความสำคัญมากขึ้นเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งการออกแบบประสบการณ์ผู้ใช้ (User Experience Design: UX Design) และการออกแบบส่วนต่อประสานผู้ใช้ (...
UI Design  UX Design  UX UI  UX/UI  การออกแบบเว็บ     กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร   กลุ่มงานเทคโนโลยีสารสนเทศ
ผู้เขียน ช่อทิพย์ สิทธิ  วันที่เขียน 6/9/2567 14:14:09  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 22/11/2567 8:40:34   เปิดอ่าน 102  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
การพัฒนาโปรแกรม » การพัฒนาระบบเพื่อลดขั้นตอนการปฏิบัติงาน สำหรับการจัดเก็บและทำลายเอกสาร
การพัฒนาระบบเพื่อลดขั้นตอนการปฏิบัติงาน สำหรับการจัดเก็บและทำลายเอกสาร โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการปฏิบัติงาน โดยการนำระบบจัดเก็บและทำลายเอกสารมาช่วยปรับปรุงประสิทธิผล ในกระบวนการทำ...
Re-Design Process?  ระบบจัดเก็บและทำลายเอกสาร     กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร   กลุ่มงานเทคโนโลยีสารสนเทศ
ผู้เขียน ณัฐกฤตา โกมลนาค  วันที่เขียน 5/9/2567 11:45:54  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 23/11/2567 13:52:26   เปิดอ่าน 257  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
การพัฒนาระบบสารสนเทศ » ข้อมูลเปิด (Open Data) เบื้องต้น
ข้อมูลเปิด (Open Data) คือ ข้อมูลที่สามารถเข้าถึง ใช้งาน แก้ไข และแบ่งปันได้โดยไม่จำกัดข้อกำหนดหรือค่าใช้จ่าย ข้อมูลเปิดมักถูกเผยแพร่ในรูปแบบที่สามารถอ่านและวิเคราะห์ได้ง่าย เช่น ไฟล์ CSV, JSON, หร...
การเข้าถึง  การใช้งาน  การแบ่งปัน  การเปิดเผย  ข้อมูลเปิด     กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร   กลุ่มงานเทคโนโลยีสารสนเทศ
ผู้เขียน สมนึก สินธุปวน  วันที่เขียน 2/9/2567 9:45:13  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 23/11/2567 14:42:02   เปิดอ่าน 101  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง