รายการบทความการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ตามคำสำคัญ  : Journal
การจัดการองค์ความรู้ที่ได้จากการเข้าร่วมประชุม อบรม สัมมนา » โครงการเทคนิคการตรวจสอบและคัดเลือกวารสารเพื่อการเผยแพร่ผลงานทางวิชาการในระดับนานาชาติ
ดัชนีชี้วัดคุณภาพวารสารเพื่อการตีพิมพ์ โดยการจัดแบ่งตัวชี้วัดคุณภาพของวารสาร สามารถแบ่งออกตามลักษณะแบบวิธีประเมิน ได้แก่ ๑) ชี้วัดคุณภาพของวารสาร โดยให้ความสำคัญกับวารสารประเภท Peer Review ๒) วารสารที่มีคณะกรรมการกลั่นกรองผลงานก่อนการตีพิมพ์ จะช่วยคัดกรองเรื่องคุณภาพวารสารได้เป็นอย่างดี ๓) ชี้วัดคุณภาพของวารสาร โดยให้ความสำคัญในเรื่องการนำวารสารหรือบทความของวารสารไปใช้ประโยชน์ในการต่อยอดงานวิจัย หรือพัฒนาจนนำไปสู่การค้นพบองค์ความรู้ใหม่อย่างแพร่หลาย หรือมีอิทธิพลในสาขานั้น โดยการเก็บรวบรวมข้อมูลการอ้างอิงของวารสารนั้น และใช้วิธีวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติมาช่วย และสร้างเป็นเครื่องมือที่แตกต่างกันออกมา โดยเครื่องมือหรือตัวชี้วัดคุณภาพวารสารที่นิยม ได้แก่ Journal Impact Factor (JIF), JIF Quartile, SCImago Journal Rank (SJR), SJR Quartile, Eigenfactor, Source Normalized Impact per paper (SNIP), Impact Per Publication (IPP), Citation Index เป็นต้น ๔) ชี้วัดคุณภาพของวารสารโดยให้ความสำคัญในเรื่องความสัมพันธ์กันระหว่างจำนวนบทความที่ตีพิมพ์กับจำนวนการอ้างอิงบทความของวารสารได้ถูกนำไปใช้ในวงวิชาการหรือไม่ และถูกนำไปใช้อย่างไร ปริมาณบทความที่วารสารตีพิมพ์ออกมามาก ๆ ต่อปี ไม่ได้หมายความว่าวารสารนั้นมรคุณภาพดีกว่าวารสารที่ตีพิมพ์น้อยกว่าครึ่ง โดยตัวชี้วัดที่นิยม ได้แก่ h-index - เครื่องมือที่ใช้ในการประเมินคุณภาพวารสาร (Impact/Ranking) สามารถจำแนกได้ดังนี้ ๑) Journal Citation Reports โดยพิจารณาจากวารสารนั้นมีการอ้างอิงเฉลี่ยต่อบทความของวารสารนั้น ๆ ๒) Eigen Factor ใช้เพื่อประเมินการนำวารสารนั้น ว่าถูกนำไปใช้ในทางวิชาการ หรือนักวิจัยจำนวนเท่าใดที่อ่าน และนำวารสารนี้ไปใช้อ้างอิงต่อ โดยรวบรวมสถิติจำนวนครั้งการอ้างอิงในรอบห้าปีไปคำนวณหาค่า โดย EF จะเป็นการวัดคุณภาพของวารสาร จากจำนวนการอ้างอิงที่ได้จากบทความทั้งหมดของวารสารที่ตีพิมพ์ในรอบปี ๓) SCImango ใช้เพื่อประเมินการนำคุณภาพความสำคัญของวารสารนั้นไปใช้ทางวิชา บนพื้นฐานแนวคิดที่ว่า ไม่ใช่บทความวิชาการทุกรายการที่ได้รับการอ้างอิงจะมีความสำคัญมีชื่อเสียง หรือทรงคุณค่าทางวิชาการเท่ากันหมด โดยให้น้ำหนักทั้งชื่อเสียงของวารสาร คุณภาพ และสาขาวิชา โดยสารารถนำไปใช้เปรียบเทียบวารสารข้ามสาขากันได้ โดยค่าที่ใช้ได้แก่ Scimago Journal Rank (SJR) การอิงต่อหนึ่งบทความ ลักษณะคล้ายกับ Impact Factor และใช้ SJR Quartile เพื่อเปรียบเทียบ ได้แก่ Q1, Q2, Q3 และ Q4 ๔) CWTS Journal indicators และ Journalmetrics โดยค่าที่ใช้ในการประเมินได้แก่ Source Normalized Impact Per Paper (SNIP) เพื่อใช้เปรียบเทียบคุณภาพของบทความในวารสารคนละฉบับ และสามารถเปรียบเทียบระหว่างสาขาได้ และอีกตัวชี้วัดหนึ่งได้แก่ h-index ซึ่งเป็นค่าที่แสดงความนิยมของบทความที่ได้รับการอ้างอิงในวารสาร
คำสำคัญ : Impact Factor  Journal  SJR  
กลุ่มบทความ : กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร
หมวดหมู่ : กลุ่มงานสายวิชาการ
สถิติการเข้าถึง : เปิดอ่าน 1273  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
ผู้เขียน ศิรศักดิ์ ศศิวรรณพงศ์  วันที่เขียน 13/9/2564 12:39:10  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 21/11/2567 21:10:59
รายงานผลการอบรม » การเข้าร่วมอบรมเชิงปฏิบัตการ เรื่อง “การเขียนบทความวิชาการ/บทความวิจัยเพื่อตีพิมพ์ในวารสารระดับนานาชาติ”
การเลือกวารสารให้สอดคล้องกับบทความวิจัย การมีเทคนิคการเขียนบทความวิชาการ/บทความวิจัยที่ดี และ การรู้มีโปรแกรมที่เหมาะสมเพื่อใช้ในการเก็บบรรณานุกรมเพื่ออ้างอิงในบทความ เหล่านี้ล้วนเป็นองค์ประกอบที่สำคัญในการเตรียมและเขียนบทความวิชาการ/บทความวิจัย ดังนั้นแล้วบุคลากรสายวิชาการจึงจำเป็นต้องเข้ารับการอบรมเพื่อฝึกทักษะต่างๆ ที่ได้กล่าวมานี้เพื่อเพิ่มโอกาสในการได้รับการตอบรับตีพิมพ์ในวารสารระดับนานาชาติ
คำสำคัญ : Endnote  International Journal  Manuscript Preparation  
กลุ่มบทความ : กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร
หมวดหมู่ : กลุ่มงานสายวิชาการ
สถิติการเข้าถึง : เปิดอ่าน 3511  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
ผู้เขียน พาสน์ ปราโมกข์ชน  วันที่เขียน 16/3/2558 16:49:08  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 20/11/2567 19:01:50