รายการบทความการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ตามคำสำคัญ  : การปรับปรุงพันธุ์พืช
ความรู้จากการเข้าร่วมอบรม/สัมมนา/ประชุมวิชาการ » เทคโนโลยีการแก้ไขจีโนมพืช
เทคโนโลยีการแก้ไขจีโนม (genome editing) เป็นเทคนิคใหม่ที่นำมาใช้ในการแก้ไขยีนเป้าหมาย ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงจีโนมได้อย่างแม่นยำ โดยใช้เอนไซม์นิวคลีเอสที่ได้ผ่านการดัดแปลงพันธุกรรม ทำให้เกิดการเติม ตัด และเปลี่ยนลำดับเบสของยีนที่ต้องการในจีโนม เทคโนโลยีการแก้ไขจีโนมที่เป็นที่นิยมคือ ระบบ CRISPR/Cas9 ได้ถูกนำมาใช้ในการปรับปรุงพันธุ์พืชเศรษฐกิจหลายชนิดทำให้พืชมีลักษณะที่ดีทางการเกษตร และการปรับปรุงพันธุ์พืชทำได้รวดเร็ว ถูกต้อง แม่นยำ และมีประสิทธิภาพ
คำสำคัญ : การแก้ไขจีโนม  การปรับปรุงพันธุ์พืช  คริสเปอร์แคส9  
กลุ่มบทความ : กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร
หมวดหมู่ : กลุ่มงานสายวิชาการ
สถิติการเข้าถึง : เปิดอ่าน 23849  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
ผู้เขียน ช่อทิพา สกูลสิงหาโรจน์  วันที่เขียน 27/9/2562 12:41:37  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 21/11/2567 20:17:26
ความรู้จากการเข้าร่วมอบรม/สัมมนา/ประชุมวิชาการ » ความก้าวหน้าทางพันธุศาสตร์ในการวิจัยพืชวงศ์มะเขือ
พืชในวงศ์มะเขือ (Solanaceae) ที่มีความสำคัญทางการเกษตร เช่น พริก มะเขือ มะเขือเทศ มันฝรั่ง และยาสูบ เป็นต้น เป็นพืชเศรษฐกิจที่สำคัญ ที่ใช้เป็นแหล่งอาหารและประโยชน์ทางยา การปรับปรุงพันธุ์พืชเพื่อเป็นประโยชน์ต่อผู้บริโภค เกษตรกร และอุตสาหกรรมอาหาร เพื่อช่วยแก้ไขปัญหาที่สำคัญ ได้แก่ การเพิ่มของประชากรโลกอย่างรวดเร็ว การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ปัญหาโรคและแมลง และการเพิ่มคุณค่าทางโภชนาการของอาหาร นักวิจัยได้นำเทคโนโลยีการแก้ไขจีโนม (genome editing) มาใช้ในการปรับปรุงพันธุ์พืชเพื่อช่วยในการแก้ปัญหาดังกล่าว ทำให้งานวิจัยด้านการปรับปรุงพันธุ์พืชมีความก้าวหน้าไปอย่างรวดเร็ว
คำสำคัญ : การแก้ไขจีโนม  การปรับปรุงพันธุ์พืช  พืชวงศ์ Solanaceae  
กลุ่มบทความ : กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร
หมวดหมู่ : กลุ่มงานสายวิชาการ
สถิติการเข้าถึง : เปิดอ่าน 3887  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
ผู้เขียน ช่อทิพา สกูลสิงหาโรจน์  วันที่เขียน 2/11/2561 11:02:15  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 20/11/2567 16:38:39
ความรู้จากการเข้าร่วมอบรม/สัมมนา/ประชุมวิชาการ » การปรับปรุงพันธุ์พืชตระกูลแตงโดยใช้เทคโนโลยีจีโนมิกส์
พืชตระกูลแตง (Cucurbitaceae) ประกอบด้วยแตงกวา มะระ เมล่อน สควอช แตงโม และฟักทอง โดยแตงกวาเป็นพืชเศรษฐกิจที่สำคัญและเป็นพืชต้นแบบสำหรับการศึกษาการกำหนดเพศและชีววิทยาของท่อลำเลียงในพืช การศึกษาจีโนมของแตงกวาได้มีการหาลำดับเบสได้แล้ว ลำดับเบสของจีโนมจะเป็นประโยชน์ทำให้เข้าใจลักษณะที่สำคัญ ได้แก่ การแสดงออกของเพศ การต้านทานโรค การสังเคราะห์สารที่ทำให้เกิดรสขม (cucurbitacin) และกลิ่นหอม นอกจากนี้ จีโนมแตงกวาจะเป็นแหล่งข้อมูลที่มีคุณค่าสำหรับการพัฒนาปรับปรุงพันธุ์แตงกวาให้เป็นพันธุ์การค้า และการผลิตสารที่มีคุณค่าทางโภชนาการและมีฤทธิ์ต้านมะเร็งอีกด้วย
คำสำคัญ : การปรับปรุงพันธุ์พืช  เทคโนโลยีจีโนมิกส์  พืชตระกูลแตง  
กลุ่มบทความ : กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร
หมวดหมู่ : กลุ่มงานสายวิชาการ
สถิติการเข้าถึง : เปิดอ่าน 5627  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
ผู้เขียน ช่อทิพา สกูลสิงหาโรจน์  วันที่เขียน 7/1/2561 8:31:16  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 21/11/2567 21:17:32
ความรู้จากการเข้าร่วมอบรม/สัมมนา/ประชุมวิชาการ » การพัฒนาเครื่องหมายดีเอ็นเอและการประยุกต์ใช้เครื่องหมาย SNP
เครื่องหมายดีเอ็นเอ (DNA marker) คือ ชิ้นส่วนดีเอ็นเอสายสั้น ๆ ที่มีลำดับเบสสามารถเข้าคู่กับช่วงใดช่วงหนึ่งบนสายดีเอ็นเอ ทำให้ระบุตำแหน่งบนโครโมโซมและสามารถแยกความแตกต่างของสิ่งมีชีวิตเป้าหมายได้ มีประโยชน์หลายอย่าง ได้แก่ gene mapping, map-based cloning, marker-assisted breeding, plant variety protection, genetic diversity และ purity testing เครื่องหมายดีเอ็นเอที่ดีจะต้องมีคุณสมบัติ คือ เป็น polymorphic มีการถ่ายทอดแบบ co-dominant เกิดทั่วจีโนม ตรวจสอบได้ง่าย รวดเร็ว และราคาไม่แพง ให้ผลที่ทำซ้ำได้ ตรวจสอบจีโนไทป์ได้ครั้งละหลาย ๆ ตัวอย่าง (high-throughput genotyping) ได้ผลถูกต้องและสม่ำเสมอ เครื่องหมายดีเอ็นเอมีหลายชนิด เช่น restriction fragment length polymorphism (RFLP), amplified fragment length polymorphism (AFLP), random amplified polymorphic DNA (RAPD), simple sequence repeat (SSR) และ single nucleotide polymorphism (SNP)
คำสำคัญ : SNP  การปรับปรุงพันธุ์พืช  เครื่องหมายดีเอ็นเอ  
กลุ่มบทความ : กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร
หมวดหมู่ : กลุ่มงานสายวิชาการ
สถิติการเข้าถึง : เปิดอ่าน 27358  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
ผู้เขียน ช่อทิพา สกูลสิงหาโรจน์  วันที่เขียน 14/3/2560 13:11:15  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 21/11/2567 21:10:42