รหัสอ้างอิง :
2063
|
|
ชื่อสมาชิก :
ฐาปกรณ์ เครือระยา
|
เพศ :
ชาย
|
อีเมล์ :
thapakorn_k@mju.ac.th
|
ประเภทสมาชิก :
บุคลากรภายใน [สังกัด]
|
ลงทะเบียนเมื่อ :
11/4/2559 13:27:50
|
แก้ไขล่าสุดเมื่อ :
11/4/2559 13:27:50
|
|
รายการบทความการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทั้งหมดของ Blog : พิพิธภัณฑ์งานศิลป์เมืองละกอน วัดปงสนุกเหนือ อำเภอเมือง จังหวัดลำปาง
พิพิธภัณฑ์งานศิลป์เมืองละกอน วัดปงสนุกเหนือ
วัดปงสนุก หรือวัดปงสนุกเหนือ ตั้งอยู่ในเขต ต.เวียงเหนือ อ.เมือง จ.ลำปาง เป็นวัดสำคัญคู่กับจังหวัดลำปางมาช้านาน สันนิษฐานว่าสร้างขึ้นในสมัยที่เจ้าอนันตยศ ราชบุตรของพระนางจามเทวีแห่งหริภุญไชย (ลำพูน) เสด็จมาสร้างเขลางค์นคร(ลำปาง) เมื่อ พ.ศ.1223 หรือ 1,328 ปีก่อน ต่อมาซึ่งไม่ชัดเจนว่าปี พ.ศ. ใดจึงได้มีการแบ่งวัดเป็นวัดปงสนุกด้านเหนือและวัดปงสนุกด้านใต้ เรื่อยมาจนถึงปี พ.ศ. 2429 ได้มีการบูรณะครั้งใหญ่ โดยเริ่มจากการซ่อมพระเจดีย์ สร้างฉัตร ก่อซุ้มประตูโขง วิหารยอดปราสาท หรือวิหารพระเจ้าพันองค์ วิหารพระนอน พร้อมทั้งการสร้างหีบธรรม งานพุทธศิลป์ต่างๆ ถวายไว้กับวัดปงสนุกโดยครูบาโนร่วมกับเจ้าผู้ครองนครลำปางในยุคนั้น ซึ่งเป็นเหตุให้วัดปงสนุกมีงานพุทธศิลป์ปรากฏอยู่มากมาย หลากหลายชนิดในปัจจุบัน
สิ่งที่สำคัญและถือเป็นส่วนหนึ่งของโบราณสถาน ที่ทางวัดได้นำเสนอสิ่งแรกๆคือ วิหารยอดปราสาทหรือวิหารพระเจ้าพันองค์ ซึ่งเป็นสถาปัตยกรรมที่มีความโดดเด่นและเก่าแก่ที่รวบรวมไว้ทั้งงานด้านจิตรกรรม งานประติมากรรม สถาปัตยกรรมผสมผสานได้อย่างลงตัว ถือเป็นงานสถาปัตยกรรมที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัวและมีเพียงแห่งเดียวของประเทศ ได้รับการบูรณะซ่อมแซมที่เกิดจากการเห็นคุณค่ามรดกทางวัฒนธรรมระหว่างคนในชุมชนและนักวิชาการภายนอก ทั้งในส่วนงานราชการและองค์กรเอกชน เช่นคณะวิจิตรศิลป์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, มหาวิทยาลัยศิลปากร, มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย เป็นต้น จนเป็นรูปแบบของการอนุรักษ์อาคารที่เป็นการรักษาของเดิมไว้อย่างสมบูรณ์ ทำให้“โครงการอนุรักษ์มรดกทางศิลปกรรม สถาปัตยกรรมวิหารพระเจ้าพันองค์” วัดปงสนุกด้านเหนือ ได้รับคัดเลือกจาก 45 โครงการ ใน 13 ประเทศ ให้ได้รับรางวัล Award of Merit จากโครงการ 2008 Asia-Pacific Heritage Award for Cultural Heritage Conservation จากองค์การ UNESCO ซึ่งถือเป็นก้าวแรกของการจัดทำพิพิธภัณฑ์ที่มีชีวิตขึ้นมา เพื่อให้นักท่องเที่ยว นักเรียน นักศึกษาและผู้สนใจ เข้าเยี่ยมชมและเรียนรู้งานศิลป์ของเมืองลำปาง
จากการเก็บรวบรวมงานโบราณวัตถุ ศิลปวัตถุ ที่ถือเป็นงานพุทธศิลป์ครูบาโน ที่ปรากฎภายในวัดปงสนุกเหนือน โดยพระครูโสภิตขันตยาภรณ์ เจ้าอาวาสวัดปงสนุกด้านเหนือประมาณ 50 กว่าปีที่ผ่านมา ทำให้งานพุทธศิลป์ต่างๆ ที่ครูบาโนได้สร้างไว้ยังคงถูกเก็บรักษาไว้ภายในวัดปงสนุกเหนือเป็นอย่างดี จนต่อมาพระน้อย นรตฺตโม ผู้ช่วยเจ้าอาวาส และอาจารย์อนุกูล ศิริพันธุ์ คนในชุมชนบ้านปงสนุก ได้เล็งเห็นถึงคุณค่าและความสำคัญของมรดกทางวัฒนธรรมเหล่านี้ จึงได้มีการศึกษาทั้งในรูปแบบลวดลาย การนำไปใช้งานต่างๆ รวมไปถึงประวัติในการสร้างงานพุทธศิลป์ชิ้นนั้นๆ เพื่อนำข้อมูลเหล่านี้มาจัดเป็นระบบฐานข้อมูลมรดกทางวัฒนธรรมที่มีภายในชุมชน และจึงได้พิพิธภัณฑ์งานศิลป์เมืองละกอน วัดปงสนุกเหนือ อำเภอเมือง จังหวัดลำปาง โดยแบ่งเป็นพิพิธภัณฑ์ย่อยอีกมากมาย คือ 1) พิพิธภัณฑ์หีบธรรม 2)พิพิธภัณฑ์พระพุทธรูปไม้ 3)พิพิธภัณฑ์ตุงค่าวธรรม 4)พิพิธภัณฑ์งานพุทธศิลป์และเครื่องใช้ในพิธีกรรม 5)พิพิธภัณฑ์ครูเมืองละกอน และ 6)ศูนย์การเรียนรู้ชุมชนบ้านปงสนุก เป็นต้น ถือเป็นการเก็บรวบรวมข้อมูลแสดงผลของการศึกษาถึงรูปแบบงานพุทธศิลป์ครูบาโนอันเป็นเอกลักษณ์ทางเทคนิคเชิงช่างที่ปรากฏในนครลำปาง ซึ่งพิพิธภัณฑ์ต่างๆเหล่านนี้ถือเป็นแหล่งข้อมูลด้านงานพุทธศิลป์สำคัญแห่งหนึ่งในจังหวัดลำปาง ทำหน้าที่เผยแพร่องค์ความรู้และมรดกทางวัฒนธรรมสู่สังคมภายนอกเพื่อนำไปใช้เป็นประโยชน์ซึ่งแต่ละพิพิธภัณฑ์ย่อย มีรูปแบบการนำเสนองานพุทธศิลปกรรมดังนี้
1) พิพิธภัณฑ์หีบธรรม
ในพิพิธภัณฑ์ห้องนี้จัดแสดงหีบธรรม เป็นหีบสำหรับเก็บคัมภีร์ใบลานที่เขียนด้วยภาษาและตัวอักษรพื้นเมืองมีทั้งหมด 10 ใบ แต่ละใบตกแต่งด้วยการเขียนลวดลาย ลงรักปิดทอง เช่น รูปเทวดา รูปดอกไม้ รูปลวดลายหมอบูรณกฎ ลายสัตว์และลวดลายพรรณพฤกษา หีบธรรมบางใบตกแต่งด้วยการปั้นปูนซึ่งเป็นรูปเทวดาและใช้เทคนิคการฉลุทองเหลือง ประดับด้วยกระจกจีน การตกแต่งด้วยภาพพระเกศแก้วจุฬามณี ภาพการเทศนาธรรมอยู่ในอาคาร เป็นต้น บางใบมีการจารึกหีบธรรมที่สร้างขึ้นในสมัยครูบาโนยังปรากฏให้เห็นและอยู่ในสภาพที่ดี ซึ่งได้รับการศึกษาคัดลอกลายประดับและขึ้นทะเบียนเป็นที่เรียบร้อย
2)พิพิธภัณฑ์พระพุทธรูปไม้
พิพิธภัณฑ์พระพุทธรูปไม้ เกิดขึ้นจากการที่คนในชุมชนร่วมมือกับคณะวิจิตรศิลป์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ นำโดย รศ.ดร.วรลัญจก์ บุณยสุรัตน์ ได้จัดทำโครงการอนุรักษ์และถอดแบบวิหารพระเจ้าพันองค์ เพื่อนำองค์ความรู้มาใช้ในการบูรณะซ่อมแซม ในปี 2547 แล้วจากการรื้อถอนโครงสร้างด้านบนของวิหารพระเจ้าพันองค์ ก็ได้เจอพระพุทธรูปไม้โบราณจำนวนหลายร้อยองค์ ที่ถูกนำมาเก็บรักษาไว้เมื่อประมาณ 50สิบปีก่อน คณะวิจิตรศิลป์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ นำโดย รศ.ดร.วรลัญจก์ บุณยสุรัตน์ ร่วมกับ อ.อนุกูล ศิริพันธ์ และคนในชุมชนจึงเห็นควรจัดทำทะเบียนโบราณวัตถุให้กับพระพุทธรูป เพื่อให้ได้ฐานข้อมูลและสามารถนำมาจัดแสดงให้ชมต่อไปได้ ในเวลาต่อมาคนในชุมชนร่วมกันนำพระพุทธรูปไม้บางส่วนมาจัดแสดงในพิพิธภัณฑ์ โดยปรับอาคารกุฏิหลังเดิมมาเป็นพิพิธภัณฑ์จัดแสดงและให้เป็นสถานที่จัดเก็บโบราณวัตถุของวัดและใช้เป็นแหล่งเรียนรู้ในชุมชน โดยได้รับความร่วมมือจากบรรดาพระเณรภายในวัด คนในชุมชนและนักวิชาการภายนอก
พระพุทธรูปไม้ในภาษาพื้นเมืองเรียกกันว่า "พระเจ้าไม้" ในอดีตชาวล้านนานิยมสร้างพระไม้หรือพระเจ้าไม้ เพื่อสืบทอดพุทธศาสนา พระเจ้าไม้ในพิพิธภัณฑ์แห่งนี้มีหลากหลายพุทธลักษณะและหลายขนาด มีฐานสูงเพื่อจารึกข้อความ ส่วนมากจะจารคำถวายของผู้สร้าง ระบุวันเดือนปีที่สร้าง บางองค์ทำจากเกสรดอกไม้ โดยนำเกสรมาเผาแล้วนำมาปั้น ภายในเป็นโครงเหล็ก บางองค์แกะสลักจากไม้ต่างๆ เช่น ไม้สัก ไม้ศรี(ต้นโพธิ์) ไม้ขนุน ไม้แก้ว ไม้แก่นจันทน์ เป็นต้น ซึ่งพระเจ้าไม้ทุกองค์ทางวัดปงสนุกได้ทำทะเบียนและ
|
พิพิธภัณฑ์งานศิลป์เมืองละกอน วัดปงสนุกเหนือ อำเภอเมือง จังหวัดลำปาง
»
พิพิธภัณฑ์งานศิลป์เมืองละกอน วัดปงสนุกเหนือ อำเภอเมือง จังหวัดลำปาง
|
วัดปงสนุก หรือวัดปงสนุกเหนือ ตั้งอยู่ในเขต ต.เวียงเหนือ อ.เมือง จ.ลำปาง เป็นวัดสำคัญคู่กับจังหวัดลำปางมาช้านาน จากการเก็บรวบรวมงานโบราณวัตถุศิลปวัตถุที่ปรากฎภายในวัดปงสนุกเหนือ โดยพระครูโสภิตขันตยาภรณ์ เจ้าอาวาสวัดปงสนุกด้านเหนือประมาณ 50 กว่าปีที่ผ่านมา ทำให้งานพุทธศิลป์ต่างๆ ที่ครูบาโนได้สร้างไว้ยังคงถูกเก็บรักษาไว้ภายในวัดปงสนุกเหนือเป็นอย่างดี จนต่อมาพระน้อย นรตฺตโม ผู้ช่วยเจ้าอาวาส และอาจารย์อนุกูล ศิริพันธุ์ คนในชุมชนบ้านปงสนุก ได้เล็งเห็นถึงคุณค่าและความสำคัญของมรดกทางวัฒนธรรมเหล่านี้ จึงได้มีการศึกษาทั้งในรูปแบบลวดลาย การนำไปใช้งานต่างๆ รวมไปถึงประวัติในการสร้างงานพุทธศิลป์ชิ้นนั้นๆ เพื่อนำข้อมูลเหล่านี้มาจัดเป็นระบบฐานข้อมูลมรดกทางวัฒนธรรมที่มีภายในชุมชน และจึงได้พิพิธภัณฑ์งานศิลป์เมืองละกอน วัดปงสนุกเหนือ อำเภอเมือง จังหวัดลำปาง โดยแบ่งเป็นพิพิธภัณฑ์ย่อยอีกมากมาย คือ 1) พิพิธภัณฑ์หีบธรรม 2)พิพิธภัณฑ์พระพุทธรูปไม้ 3)พิพิธภัณฑ์ตุงค่าวธรรม 4)พิพิธภัณฑ์งานพุทธศิลป์และเครื่องใช้ในพิธีกรรม 5)พิพิธภัณฑ์ครูเมืองละกอน และ 6)ศูนย์การเรียนรู้ชุมชนบ้านปงสนุก เป็นต้น ถือเป็นการเก็บรวบรวมข้อมูลแสดงผลของการศึกษาถึงรูปแบบงานพุทธศิลป์ครูบาโนอันเป็นเอกลักษณ์ทางเทคนิคเชิงช่างที่ปรากฏในนครลำปาง ซึ่งพิพิธภัณฑ์ต่างๆเหล่านี้ ถือเป็นแหล่งข้อมูลด้านงานพุทธศิลป์สำคัญแห่งหนึ่งในจังหวัดลำปาง ทำหน้าที่เผยแพร่องค์ความรู้และมรดกทางวัฒนธรรมสู่สังคมภายนอกเพื่อนำไปใช้เป็นประโยชน์ซึ่งแต่ละพิพิธภัณฑ์ย่อย มีรูปแบบการนำเสนองานพุทธศิลปกรรมที่น่าสนใจและเป็นประโยชน์ต่อผู้เข้าชมเป็นอย่างมาก
|
คำสำคัญ :
|
กลุ่มบทความ :
บทความการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทั่วไป
|
หมวดหมู่ :
ภาษา วัฒนธรรม ประวัติศาสตร์
|
สถิติการเข้าถึง :
เปิดอ่าน
4398
ครั้ง | แสดงความคิดเห็น
0
ครั้ง
|
ผู้เขียน
ฐาปกรณ์ เครือระยา
วันที่เขียน
24/7/2559 13:49:10
แก้ไขล่าสุดเมื่อ
2/10/2567 8:55:39
|
|
|
URL สำหรับอ้างอิงถึงหน้านี้