ตอนที่ 1 : ข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก
รหัสอ้างอิง : 201
ชื่อสมาชิก : มงคล ถิรบุญยานนท์
เพศ : ชาย
อีเมล์ : mongkols@mju.ac.th
ประเภทสมาชิก : บุคลากรภายใน[สังกัด]
ลงทะเบียนเมื่อ : 7/2/2554 10:19:03
แก้ไขล่าสุดเมื่อ : 7/2/2554 10:19:03


ตอนที่ 2 : ประวัติการเขียนบทความของสมาชิก
เห็ดถั่งเช่าสีทอง (Cordyceps militaris) เป็นเชื้อราในกลุ่มเชื้อราแมลง จัดอยู่ในกลุ่ม Ascomycetes โดยเห็ดถั่งเช่าสีทองมีสรรพคุณทางยามากมายหลายประการ อาทิเช่น กระตุ้นภูมิคุ้มกัน ต้านการอักเสบ ต้านโรคมะเร็ง และกระตุ้นสมรรถนะทางเพศ เป็นต้น ด้วยเหตุที่ถั่งเช่าสีทองมีสรรพคุณทางยาที่ดีหลาย ๆ ประการนั้น ในปัจจุบันจึงมีนักวิจัยที่ได้รายงานถึงสรรพคุณต่าง ๆ ของเห็ดถั่งเช่าสีทองนั้น มีสรรพคุณเทียบเท่ากับเห็ดถั่งเช่าทิเบต (Ophiocordyceps sinensis) เช่นเดียวกัน การเพาะเลี้ยงเห็ดถั่งเช่าสีทองเพื่อใช้เป็นยานั้น มีการเพาะเลี้ยงและพัฒนาวิธีการเพาะเลี้ยงมาอย่างต่อเนื่องในหลาย ๆ ประเทศ เช่น จีนและเกาหลีใต้ เป็นต้น ทั้งนี้เนื่องจากเห็ดถั่งเช่าทิเบตตามธรรมชาติมีจำนวนลดน้อยลงและเพาะเลี้ยงได้ค่อนข้างยากเพราะมีข้อจำกัดหลาย ๆ ประการ ในปัจจุบันการเพาะเลี้ยงเห็ดถั่งเช่าสีทองถือเป็นการเพาะเลี้ยงเห็ดเศรษฐกิจที่สำคัญของประเทศไทยเรา ถึงแม้เห็ดดังกล่าวจะมีราคาแพง คือ น้ำหนักดอกเห็ดอบแห้งกิโลกรัมละ 40,000 – 50,000 บาท แต่ในปัจจุบันยังไม่มีข้อกำหนดหรือข้อมาตรฐานว่าเห็ดถั่งเช่าดังกล่าวดีจริงเหมาะสมเพียงใด หรือมีสารออกฤทธิ์ทางยาในระดับที่เหมาะสมหรือไม่ หรือผู้บริโภคซื้อในราคาที่เหมาะสมหรือไม่ ทั้งนี้เนื่องปัจจัยต่าง ๆ ในการผลิตสารออกฤทธิ์ทางยาของกระบวนการเพาะเลี้ยงเห็ดถั่งเช่าสีทอง เช่น อาหารและแสง เป็นต้น จากการเข้าร่วมงานประชุมทางวิชาการ ครั้งที่ ๑ ของ ศูนย์ความหลากหลายทางจุลินทรีย์และการใช้ประโยชน์อย่างยั่งยืน มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ในวันที่ ๒๒ มกราคม ๒๕๖๓ ณ สำนักบริการเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่นั้น ได้มีคณะวิจัยที่ทำการศึกษาวิจัยถึงรูปแบบการผลิตเห็ดถั่งเช่าสีทองด้วยการใช้ประโยชน์จากแมลงเศรษฐกิจ เช่น ดักแด้ไหม หนอนไหม และจิ้งหรีด เป็นต้น ทั้งนี้เพื่อผลิตเห็ดถั่งเช่าสีทองให้มีสารออกฤทธิ์ทางชีวภาพให้สูงขึ้น และเป็นการประหยัดค่าใช้จ่ายอาหารที่ใช้เพาะเลี้ยงในอีกทางหนึ่งด้วย โดยการวิจัยนั้นจะเป็นการวิจัยแบบต่อเนื่องและใช้เวลาหลาย ๆ ปี โดยเริ่มต้นจากการสังเกตการที่ราถั่งเช่านั้นสามารถใช้อาหารจากตัวแมลงในธรรมชาติได้ ดังนั้นจึงได้นำดักแด้ไหม (Bombyx mori L.) เนื่องจากดักแด้ไหมมีกรดอะมิโนมากกว่าแมลงเศรษฐกิจชนิดอื่น ๆ โดยการนำดักแด้ไหม อาทิ พันธุ์หางลายมาประยุกต์ใช้เป็นอาหารโปรตีนของราถั่งเช่าสีทอง ซึ่งในการเพาะเลี้ยงเห็ดถั่งเช่าสีทองโดยใช้ดักแด้ไหมดังกล่าวนี้ ดอกเห็ดถั่งเช่าสีทองที่ได้นี้มีสารออกฤทธิ์ทางชีวภาพ คือ cordycepin ในปริมาณที่สูง และได้ศึกษาต่อเนื่องเพื่อดูความเป็นพิษของเห็ดถั่งเช่าสีทองดังกล่าวในหนูทดลอง พบว่า ที่ความเข้มข้นระดับสูง คือ 5,000 มิลลิกรัมต่อน้ำหนัก 1 กิโลกรัม นั้น ไม่มีพิษเฉียบพลันในหนูทดลองเลย ดังนั้นแนวคิดการใช้ประโยชน์จากโปรตีนดักแด้ไหมดังกล่าวนี้ สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการเพาะเลี้ยงเห็ดถั่งเช่าสีทองได้
- ยังไม่มีรายการคำถาม
โดยปกติแล้วยีสต์จะมีบทบาทในอุตสาหกรรมหลาย ๆ ชนิด ซึ่งโดยทั่วไปแล้วจะทราบกันดีว่ายีสต์นั้นมีบทบาทสำคัญต่อกระบวนการผลิตไวน์ หรืออุตสาหกรรมอาหารอื่น ๆ อีกหลายชนิด อย่างไรก็ตามนักวิจัยในปัจจุบันได้มีการศึกษาและค้นคว้าวิจัยว่ายีสต์จากแหล่งที่แตกต่างกันนั้น พอจะมีศักยภาพที่มีประโยชน์ในด้านอื่น ๆ อีกหรือไม่ เช่น ศักยภาพในการเป็นแหล่งผลิตลิพิดสำหรับการผลิตไบโอดีเซล ซึ่งเป็นแหล่งพลังงานทดแทนที่สำคัญทั้งในปัจจุบันและในอนาคตของประเทศไทยของเรา ทั้งนี้การที่นำจะยีสต์ไปเป็นแหล่งชีวภาพเพื่อผลิตลิพิดสำหรับการนำไปผลิตไบโอดีเซลนั้น จะต้องมีการคัดเลือกและศึกษาคุณสมบัติของยีสต์เหล่านั้นก่อน ว่ามีคุณสมบัติเหมาะสมหรือไม่ จากนั้นจึงจะสามารถนำยีสต์ไปประยุกต์ใช้ในกระบวนการผลิตไบโอดีเซลในขั้นตอนสุดท้ายต่อไป จากการเข้าร่วมงานประชุมทางวิชาการประจำปี ๒๕๖๑ ของมหาวิทยาลัยแม่โจ้ โดยในงานประชุมวิชาการมหาวิทยาลัยแม่โจ้ในครั้งนี้ ได้มีกลุ่มนักวิจัย ชื่อ รูฮาญา เจาะซู ซูไฮลาฮ์ มามะ ปรีชา กสิกรรมไพบูลย์ และอุไรวรรณ ขุนจันทร์ จากคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ จังหวัดปัตตานี โดยได้นำเสนอผลงานวิจัยในเรื่อง การแยกและคัดเลือกยีสต์สะสมไขมันที่สามารถผลิตเอนไซม์ไลเปสและเซลลูเลสจากดินที่ปนเปื้อนของเสียของผลปาล์ม โดยจากผลการศึกษาวิจัยที่นักวิจัยได้นำเสนอพบว่ามียีสต์ ๘ ไอโซเลทที่สามารถผลิตเอนไซม์ไลเปสและเซลลูเลสได้ และได้ทำการศึกษาต่อเนื่องโดยพบว่า ยีสต์ไอโซเลท AL20 สามารถผลิตลิพิดได้ปริมาณสูงสุดเท่ากับ ๒๔.๖๗ เปอร์เซ็นต์ (โดยน้ำหนักเซลล์แห้ง) จากการนำยีสต์ดังกล่าวไปจำแนกสายพันธุ์โดยใช้เทคนิคทางชีววิทยาโมเลกุลเทียบลำดับนิวคลีโอไทด์ของยีน 26S rRNA พบว่ายีสต์ไอโซเลท AL20 คือ Candida tropicalis ซึ่งกลุ่มนักวิจัยดังกล่าวนี้ได้เสนอแนะว่ายีสต์ที่คัดเลือกได้จากดินที่ปนเปื้อนของเสียของผลปาล์มนี้น่าจะมีศักยภาพสำหรับใช้เป็นแหล่งผลิตลิพิดสำหรับการผลิตไบโอดีเซลต่อไปในอนาคตได้
เอนไซม์ไลเปสเป็นเอนไซม์ที่มีบทบาทสำคัญในหลาย ๆ อุตสาหกรรม ในปัจจุบันนักวิจัยได้พยายามกำจัดของเสียในโรงงานสกัดน้ำมันปาล์มโดยการประยุกต์ใช้เอนไซม์ไลเปสจากแบคทีเรีย แต่อย่างไรก็ตาม การที่จะประยุกต์ใช้เอนไซม์ไลเปสในการกำจัดของเสียจากโรงงานสกัดน้ำมันปาล์มได้นั้น จะต้องมีการทดสอบหรือศึกษาคุณสมบัติของไลเปสจากแบคทีเรียเหล่านั้นก่อน ว่ามีคุณสมบัติเหมาะสมหรือไม่ จากนั้นจึงจะสามารถนำไลเปสไปประยุกต์ใช้ในการกำจัดของเสียจากโรงงานสกัดน้ำมันปาล์มได้ จากการเข้าร่วมงานประชุมทางวิชาการประจำปี ๒๕๖๐ ของมหาวิทยาลัยแม่โจ้ โดยในงานประชุมวิชาการมหาวิทยาลัยแม่โจ้ในครั้งนี้ ได้มีกลุ่มนักวิจัย ชื่อ รอปีอะห์ หะยีอาแว วราภรณ์ พรมก่อศรี ปรีชา กสิกรรมไพบูลย์ และอุไรวรรณ ขุนจันทร์ จากคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ จังหวัดปัตตานี โดยได้นำเสนอผลงานวิจัยในเรื่อง การคัดแยกแบคทีเรียที่มีศักยภาพสูงในการผลิตไลเปสจากตะกอนน้ำเสียของโรงงานสกัดน้ำมันปาล์ม ผลการศึกษาวิจัยพบว่ามีแบคทีเรีย 3 ไอโซเลทที่เก็บจากตะกอนน้ำเสียของโรงงานสกัดน้ำมันปาล์มมีค่ากิจกรรมของเอนไซม์ไลเปสสูงสุด และเมื่อนำแบคทีเรียดังกล่าวไปจำแนกชนิดพบว่าเป็นชนิด Acinetobacter rodioresistens ซึ่งอุณหภูมิและแหล่งคาร์บอนที่เหมาะสมในการผลิตไลเปสจากแบคทีเรีย คือ อุณหภูมิ ๓๗ องศาเซลเซียส และแหล่งคาร์บอนจากปาล์มน้ำมัน ตามลำดับ ทั้งนี้ผู้วิจัยได้เสนอแนะว่า แบคทีเรียที่มีศักยภาพในการผลิตเอนไซม์ไลเปสดังกล่าวนี้อาจจะเหมาะสำหรับการนำไปศึกษาวิจัยต่อไป โดยทั้งนี้จะมีเป้าหมายในการประยุกต์ใช้สำหรับการกำจัดของเสียในโรงงานสกัดน้ำมันปาล์ม
แบคทีเรียโปรไบโอติก คือ แบคทีเรียที่ยังมีชีวิตและมีประโยชน์ต่อผู้บริโภค โดยปกติแล้วไม่ใช่ว่าแบคทีเรียที่พบโดยทั่ว ๆ ไปนั้น สามารถที่จะนำมาใช้เป็นแบคทีเรียโปรไบโอติกสำหรับมนุษย์เราได้ ทั้งนี้จะต้องมีการทดสอบหรือศึกษาคุณสมบัติของแบคทีเรียเหล่านั้นก่อน ว่ามีคุณสมบัติเป็นแบคทีเรีย โปรไบโอติกหรือไม่ จากนั้นจึงจะสามารถนำมาประยุกต์ใช้ในมนุษย์เราได้ จากการเข้าร่วมงานประชุมทางวิชาการระดับนานาชาติ เรื่อง ทรัพยากรชีวภาพสู่ผลิตภัณฑ์ระดับโลก ครั้งที่ ๓ The 3rd International Conference on Bioresources toward World Class Products (BWCP2016) โดยในงานประชุมวิชาการนานาชาติในครั้งนี้ ได้มีนักวิจัย ชื่อ Jun NISHIHIRA จาก Department of medical management and informatics, Hokkaido Information University, Hokkaido, Japan ได้นำเสนอผลงานวิจัยในเรื่อง The role of probiotics in boosting immune function for health (บทบาทของแบคทีเรียโปรไบโอติกต่อการกระตุ้นภูมิคุ้มกันในมนุษย์) ซึ่งการนำเสนอครั้งนี้นักวิจัยได้นำเสนอผลการทดลองระดับคลินิกของมนุษย์ที่ได้บริโภคโปรไบโอติกโยเกิร์ต (โยเกิร์ตที่ประกอบด้วยแลคโตบาซิลลัสที่ใช้เป็นแบคทีเรียโปรไบโอติก) ต่อการตอบสนองของแอนติบอดีในมนุษย์ ผลการทดสอบพบว่าปริมาณ IgG และ IgA ในพลาสม่ามีระดับเพิ่มมากขึ้นในกลุ่มที่บริโภคโปรไบโอติกโยเกิร์ตเมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่มควบคุม ทั้งยังพบว่าการผลิต sIgA ในน้ำลายก็เพิ่มขึ้นเช่นเดียวกัน นอกจากนั้นในผู้ที่บริโภคโปรไบโอติกโยเกิร์ตดังกล่าวยังสามารถกระตุ้นกิจกรรมหรือการทำงานของ natural killer cells อีกด้วย โดยผู้วิจัยได้สรุปโดยรวมว่าการบริโภคโปรไบโอติกโยเกิร์ต L. gasseri SBT2055 นั้น สามารถกระตุ้นระบบภูมคุ้มกันทั้งแบบ innate immunity (ระบบภูมคุ้มกันโดยกำเนิด) และ adaptive immunity (ระบบภูมิคุ้มกันแบบจำเพาะ) ในมนุษย์ได้ ทั้งนี้ผู้วิจัยได้เสนอแนะว่าการบริโภคโปรไบโอติกโยเกิร์ตดังกล่าวนี้สามารถป้องกันการติดเชื้อไข้หวัดไหญ่ได้
- ยังไม่มีรายการคำถาม
การผลิตแก๊ซชีวภาพจากขยะมูลฝอยชุมชนโดยเชื้อจุลินทรีย์จากมูลสุกร รูปแบบการผลิตก๊าซชีวภาพจากขยะมูลฝอยชุมชนมีหลายๆ วิธีการ โดยแต่ละวิธีการจะมีข้อดีและข้อเสียแตกต่างกันออกไป แต่ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความเหมาะสมของแต่ละชุมชนและงบประมาณในการดำเนินการ เป็นต้น หนึ่งในวิธีการที่เหมาะสมสำหรับการผลิตก๊าซชีวภาพจากขยะมูลฝอยชุมชนก็คือ การใช้จุลินทรีย์เป็นตัวช่วยในหมักและผลิตก๊าซชีวภาพ จุลินทรีย์ที่ช่วยในการหมักเพื่อผลิตก๊าซชีวภาพจากขยะมูลฝอยชุมชนมีอยู่หลายๆ สายพันธุ์ หรือหลายๆ รูปแบบ ซึ่งถ้าใช้เชื้อจุลินทรีย์บริสุทธิ์อาจจะมีประสิทธิที่ดีได้ แต่อย่างไรก็ตามจะมีความยุ่งยากและมีค่าใช้จ่ายเพิ่มมากขึ้น รวมทั้งบุคคลากรที่เกี่ยวข้องจะต้องมีความชำนาญทางด้านจุลินทรีย์เป็นอย่างดี รูปแบบหนึ่งในการผลิตก๊าซชีวภาพจากขยะมูลฝอยชุมชนก็คือ การนำจุลินทรีย์จากมูลสุกรมาเป็นจุลินทรีย์ที่ใช้ในการผลิตก๊าซชีวภาพ และโดยไม่ต้องแยกเป็นเชื้อจุลินทรีย์บริสุทธิ์ แต่จะนำมูลสุกรที่มีทั้งจำนวนและความหลากหลายของจุลินทรีย์มาหมักร่วมกับขยะมูลฝอยชุมชุนเพื่อผลิตก๊าซชีวภาพได้เลย ซึ่งวิธีการดังกล่าวนี้จะเหมาะสมและมีประโยชน์หลายๆ ประการ ดังเช่น 1. มีประสิทธิภาพที่ดี กล่าวคือจุลินทรีย์จากมูลสุกรจะมีจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ในการผลิตก๊าซชีวภาพหลายๆ สายพันธุ์ ซึ่งจะช่วยในการหมักและผลิตก๊าซชีวภาพได้ดี 2. ประหยัดค่าใช้จ่าย กล่าวคือไม่จำเป็นต้องซื้อหัวเชื้อจุลินทรีย์บริสุทธ์ ซื้ออาหารของจุลินทรีย์ และซื้ออุปกรณ์ต่างๆ สำหรับการเลี้ยงจุลินทรีย์ 3. มีความสะดวก กล่าวคือบุคลากรไม่จำเป็นต้องมีความชำนาญทางด้านจุลินทรีย์ก็สามารถผลิตก๊าซชีวภาพจากขยะมูลฝอยชุมชนได้ เพราะสามารถเก็บมูลสุกรมาผสมในถังหมักและผลิตก๊าซชีวภาพได้เลย การผลิตก๊าซชีวภาพจากขยะมูลฝอยชุมชน โดยการประยุกต์ใช้จุลินทรีย์จากมูลสุกรมาเป็นจุลินทรีย์ที่ใช้ในการผลิตก๊าซชีวภาพ เป็นรูปแบบหนึ่งในการผลิตก๊าซชีวภาพที่น่าสนใจซึ่งเหมาะสมกับชุมชนขนาดไม่ใหญ่มาก
การกระตุ้นการผลิตสารออกฤทธ์ทางชีวภาพกับวิธีการเพาะเลี้ยงเห็ดถั่งเช่าสีทอง
การบริโภคแบคทีเรียโปรไบโอติกเพื่อเพิ่มภูมิคุ้มกันและป้องกันไข้หวัดใหญ่ในมนุษย์
การเปลี่ยนแปลงฤทธิ์การต้านอนุมูลอิสระในกระบวนการแปรรูปและการเก็บรักษาสไปรูลินาแห้ง
การผลิตแก๊ซชีวภาพจากขยะมูลฝอยชุมชนโดยเชื้อจุลินทรีย์จากมูลสุกร