รหัสอ้างอิง :
210
|
|
ชื่อสมาชิก :
เกรียงไกร ราชกิจ
|
เพศ :
ชาย
|
อีเมล์ :
kreangkri@mju.ac.th
|
ประเภทสมาชิก :
บุคลากรภายใน [สังกัด]
|
ลงทะเบียนเมื่อ :
8/2/2554 16:55:41
|
แก้ไขล่าสุดเมื่อ :
8/2/2554 16:55:41
|
|
รายการบทความการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทั้งหมดของ Blog : ความรู้จากการเข้าอบรม ประชุมวิชาการ
ปัจจุบันภาวะโลกร้อน (Global Warming) อุณหภูมิเฉลี่ยของอากาศบนโลกสูงขึ้น ไม่ว่าจะเป็นอากาศบริเวณใกล้ผิวโลกและน้ำในมหาสมุทร ในช่วง 100 ปีที่ผ่านมาอุณหภูมิเฉลี่ยของโลกสูงขึ้นถึง 0.74 ? 0.18 องศาเซลเซียส และจากแบบจำลองการคาดคะเนภูมิอากาศพบว่าในปี พ.ศ. 2544 – 2643 อุณหภูมิเฉลี่ยของโลกจะเพิ่มขึ้นถึง 1.1 ถึง 6.4 องศาเซลเซียส สาเหตุที่ทำให้เกิดภาวะโลกร้อนก็เพราะว่าก๊าซเรือนกระจกที่เพิ่มขึ้นจากการทำกิจกรรมต่างๆของมนุษย์ ไม่ว่าจะเป็นการเผาผลาญถ่านหินและเชื้อเพลิง รวมไปถึงสารเคมีที่มีส่วนผสมของก๊าซเรือนกระจกที่มนุษย์ใช้ และอื่นๆอีกมากมาย จึงทำให้ก๊าซเรือนกระจกเหล่านี้ลอยขึ้นไปรวมตัวกันอยู่บนชั้นบรรยากาศของโลก ทำให้รังสีของดวงอาทิตย์ที่ควรจะสะท้อนกลับออกไปในปริมาณที่เหมาะสม กลับถูกก๊าซเรือนกระจกเหล่านี้กักเก็บไว้ ทำให้อุณหภูมิของโลกค่อยๆสูงขึ้น จากเดิม ผลกระทบของภาวะโลกร้อนนั้นก็มีให้เราเห็นกันอยู่บ่อยๆ สภาพลมฟ้าอากาศที่ผิดแปลกไปจากเดิม ภัยธรรมชาติที่รุนแรงมากขึ้น น้ำท่วม แผ่นดินไหว พายุที่รุนแรง อากาศที่ร้อนผิดปกติจนมีคนเสียชีวิต รวมไปถึงโรคระบาดชนิดใหม่ๆ หรือโรคระบาดที่เคยหายไปจากโลกนี้แล้วก็กลับมาให้เราได้เห็นใหม่ และพาหะนำโรคที่เพิ่มจำนวนมากขึ้น ในอนาคตคาดว่าผลกระทบของภาวะโลกร้อนจะรุนแรงมากขึ้นเรื่อยๆเราสามารถช่วยกันลดภาวะโลกร้อนได้หลายวิธี หลักๆก็เห็นจะเป็นการใช้พลังงานอย่างคุ้มค่าและประหยัด เพราะว่าพลังงานที่พวกเราใช้กันอยู่ทุกวันนี้กว่าจะมาถึงให้เราได้ใช้นั้น ต้องผ่านกระบวนการขั้นตอนในการผลิตมากมาย และแต่ละขั้นตอนก็จะทำให้เกิดก๊าซเรือนกระจกขึ้นมา เพราะฉะนั้นการลดใช้พลังงานก็เป็นอีกวิธีหนึ่งที่จะช่วยลดภาวะโลกร้อนได้ ดังนั้นเป็นที่มาของปัญหาที่ทำการวิจัยในหัวข้อ
ระบบพลวัตแบบผสมหรือระบบพลวัตเชิงเส้นสลับ (Hybrid dynamical systems or switch
dynamical systems) คือ ระบบที่โดเมนของเวลาต่อเนื่องเป็นช่วงๆ กล่าวคือ มีทั้งช่วงที่ต่อเนื่องและไม่
ต่อเนื่องในโดเมนของเวลา ปัจจุบันมีการนำระบบพลวัตแบบผสม (Hybrid dynamical systems or
switch dynamical systems) มาประยุกต์ใช้กันมากมาย เช่น ระบบการเรียนการสอนแบบไฮบริดจ์
คือ รูปแบบการจัดการเรียนการสอนที่ ผสมผสานระหว่างการสอนในชั้นเรียน (Face-to-Face) กับการ
สอนแบบ E-Learning โดยนำส่วนที่ดีที่สุด (Best features) ของการสอนทั้งสองแบบมาใช้เพื่อให้เกิด
ประโยชน์สูงสุดแก่ผู้เรียน
ระบบผลิตไฟฟ้าแบบผสมผสาน คือ ระบบที่ได้รับการออกแบบและติดตั้งโดยลีโอนิคส์ เพื่อทำการผลิตกระแสไฟฟ้าแบบผสมผสานระหว่างพลังงานจากแสงอาทิตย์, พลังลมและเครื่องกำเนิดไฟฟ้าดีเซล
เครื่องยนต์ระบบไฮบริดจ์ คือ เครื่องยนต์แนวคิดใหม่เป็นการผสมผสานการทำงานของเครื่องยนต์ที่ใช้ น้ำมันและเครื่องยนต์ ที่ใช้มอเตอร์ไฟฟ้า ข้อได้เปรียบของระบบไฮบริดจ์ คือ จากระบบการทำงานที่กล่าวไปในหัวข้อที่แล้ว จะเห็นได้ว่า เครื่องยนต์ชนิดนี้มีมากมาย ไม่เฉพาะ ช่วยลดมลภาวะแต่ช่วยประหยัดและให้ความสะดวกสบายในการใช้งานด้วยดังนี้
-ช่วยลดมลภาวะ:
เนื่องจากภาระของเครื่องยนต์เบนซินลดลงกว่าครึ่งโดยการใช้มอเตอร์ไฟฟ้ามาช่วยส่งกำลังแทนไอเสียที่เกิดจากการเผาไหม้เชื้อเพลิงจึงลงด้วย จากการทดสอบจริงด้วยรูปแบบการขับขี่ 10/15 (รูปแบบจำลองการขับขี่ในเมืองที่ใช้ในการทดสอบของญี่ปุ่น) ก๊าซพิษที่สำคัญทั้ง 3 ตัว (CO,HC & NOx) มีปริมาณเพียง 1 ใน 10 ของเครื่องยนต์ทั่วไปเท่านั้น รวมทั้งสามารถลด ก๊าซ CO2 ลงได้ถึง 50%เลยทีเดียว
-ช่วยประหยัดน้ำมัน:
เนื่องจากภาระของเครื่องยนต์เบนซินลดลงกว่าครึ่งจึงประหยัดน้ำมันได้กว่าครึ่งด้วยจากการทดสอบ
ด้วยรูปแบบ 10/15 รถรุ่นนี้ (เครื่องยนต์ขนาด 1.5 ลิตร) จะวิ่งได้ประมาณ 14 ก.ม./ลิตร
-ใช้งานได้สะดวก: เนื่องจากการประจุไฟจะเกิดขึ้นในขณะใช้งาน (ทั้งขณะวิ่งลงทางลาด และ ขณะเบรก) จึงไม่จำเป็นต้องจอดรถเพื่อชาร์ตแบตเตอรี่เหมือนรถไฟฟ้าทั่วไป
-ลดเสียง:
นอกเหนือจากหัวข้อที่กล่าวแล้ว ประโยชน์ทางอ้อมที่ได้รับคือ เสียงการทำงานของเครื่องจะน้อยลงด้วย
กระบวนการต่างๆในทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มักมีกระบวนการย่อยๆมากมายซึ่งกระบวนการย่อยๆเหล่านั้นไม่ได้เกิดขึ้นพร้อมๆกันเสมอไป นั่นคือ มีบางเวลาที่กระบวนการย่อยหนึ่งทำงาน ส่วนกระบวนการ ย่อยอื่นๆที่เหลือหยุดทำงาน แต่พอถึงเวลาหนึ่งกระบวนการที่ทำงานอยู่ก็จะหยุดและส่งผลให้กระบวนการย่อยอื่นทำงานต่อสลับกันไปเรื่อยๆ เช่น ระบบอัตโนมัติในยานยนต์ ระบบจราจร ระบบเครื่องจักรกล ฯลฯ ซึ่งระบบดังกล่าวเหล่านี้สามารถอธิบายได้ด้วยระบบสลับ (Switched system)
ระบบสลับเป็นระบบที่อธิบายในรูปของสมการอนุพันธ์ที่ประกอบด้วยระบบสมการย่อยๆหลายระบบและมีจำนวนระบบที่จำกัด โดยมีกฎการสลับ (Switching law) ซึ่งจะเป็นตัวกำหนดว่า ระบบใดจะทำงานและระบบใดจะหยุดทำงาน ภายใต้ข้อกำหนดที่ว่า ถ้าระบบหนึ่งทำงานแล้วระบบอื่นๆที่เหลือจะต้องหยุดทำงาน ซึ่งในการศึกษาระบบสลับนั้นมีจุดเด่นที่สำคัญนั่นคือ การหากฎการสลับ เพื่อทำให้ระบบสลับนั้นเสถียร
ในงานวิจัยนี้ได้ศึกษาเสถียรภาพและการทำให้เสถียรของระบบพลวัตสลับที่มีตัวหน่วง ซึ่งระบบที่ศึกษาเกี่ยวกับตัวหน่วงแปรผันตามเวลา ได้ศึกษาเสถียรภาพเชิงเส้นกำกับของระบบสลับที่มีตัวหน่วงเป็นค่าคงที่ ได้ศึกษาเสถียรภาพเชิงเส้นกำกับของระบบสลับที่มีตัวหน่วงแปรผันตามเวลา และได้ศึกษาเสถียรภาพเชิงเส้นกำกับของระบบสลับไม่ต่อเนื่องที่มีตัวหน่วงแปรผันตามเวลา ในที่นี้ ได้สร้างเงือนไขสำหรับตัวหน่วงที่ขึ้นกับเวลาและในการศึกษาเสถียรภาพและการทำให้เสถียรของระบบพลวัตสลับที่มีตัวหน่วงแปรผันตามเวลา โดยอาศัยฟังก์ชันไลปูนอฟ–คราฟซอฟกี ซึ่งเงือนไข ถูกเสนอในเทอมของผลเฉลยของสมการริคคาติ และได้ออกแบบกฎการสลับ โดยใช้การพิจารณาเรขาคณิต และได้คำนวณขอบเขตของผลเฉลยในเสถียรภาพของระบบพลวัตสลับที่มีตัวหน่วงแปรผันตามเวลาแบบช่วง และได้ศึกษาเงื่อนไขสำหรับการทำให้เสถียรของระบบพลวัตสลับที่มีตัวหน่วงแปรผันตามเวลาแบบช่วง อีกทั้งมีต
|
|
|
ความรู้จากการเข้าอบรม ประชุมวิชาการ
»
ข่ายงานประสาทเทียม
|
ข่ายงานประสาทแบบป้อนไปหน้า (feedforward) ประกอบด้วยเซตของบัพ (node) ซึ่งอาจจะถูกกำหนดให้เป็นบัพอินพุต (input nodes) บัพเอาต์พุต (output nodes) หรือ บัพอยู่ระหว่างกลางซึ่งเรียกว่า บัพฮินเดน (hidden nodes) มีการเชื่อมต่อระหว่างบัพ (หรือนิวรอน) โดยกำหนดค่าน้ำหนัก (weight) กำกับอยู่ที่เส้นเชื่อมทุกเส้น เมื่อข่ายงานเริ่มทำงาน จะมีการกำหนดค่าให้แก่บัพอินพุต โดยค่าเหล่านี้ อาจจะได้มาจากการกำหนดโดยมนุษย์ จากเซนเซอร์ที่วัดค่าต่างๆ หรือผลจากโปรแกรมอื่นๆ จากนั้นบัพอินพุต จะส่งค่าที่ได้รับ ไปตามเส้นเชื่อมขาออก โดยที่ค่าที่ส่งออกไปจะถูกคูณกับค่าน้ำหนักของเส้นเชื่อม บัพในชั้นถัดไปจะรับค่า ซึ่งเป็นผลรวมจากบัพต่างๆ แล้วจึงคำนวณผลอย่างง่าย โดยทั่วไปจะใช้ฟังก์ชันซิกมอยด์ (sigmoid function) แล้วส่งค่าไปยังชั้นถัดไป การคำนวณเช่นนี้จะเกิดขึ้นไปเรื่อยๆ ทีละชั้น จนถึงบัพเอาต์พุต โดยในยุคแรก (ราว ค.ศ. 1970) จำนวนชั้นจะถูกกำหนดไว้เป็นค่าคงที่ แต่ในปัจจุบันมีการนำขั้นตอนวิธีเชิงพันธุกรรม มาช่วยออกแบบโครงสร้างของข่ายงาน ดู นิวโรอีโวลูชัน (Neuroevolution)
|
คำสำคัญ :
ข่ายงานประสาทเทียม
|
กลุ่มบทความ :
กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร
|
หมวดหมู่ :
กลุ่มงานสายวิชาการ
|
สถิติการเข้าถึง :
เปิดอ่าน
3903
ครั้ง | แสดงความคิดเห็น
0
ครั้ง
|
ผู้เขียน
เกรียงไกร ราชกิจ
วันที่เขียน
6/9/2559 8:38:49
แก้ไขล่าสุดเมื่อ
21/11/2567 12:30:39
|
|
|
|
URL สำหรับอ้างอิงถึงหน้านี้