ความรู้ด้านการประกันคุณภาพการศึกษา AUN-QA : 11 criteria
วันที่เขียน 30/8/2562 10:02:14     แก้ไขล่าสุดเมื่อ 27/4/2567 1:38:13
เปิดอ่าน: 5551 ครั้ง

ในปัจจุบัน การจัดการเรียนการสอนในระดับอุดมศึกษา ถูกกำหนดเกณฑ์และระบบการประเมินคุณภาพ เพื่อให้เกิดการพัฒนาคุณภาพการเรียนการสอนให้เกิดผลสัมฤทธิ์แก่ผู้เรียน และการใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า ตรวจสอบได้ ได้ผลลัพธ์ที่ชัดเจน และเพื่อให้เกิดการพัฒนาคุณภาพการศึกษาอย่างต่อเนื่อง หน่วยงานที่สนับสนุนการเรียนการสอนที่สำคัญ คือ หน่วยงานบริการการศึกษา บุคลากรที่มีหน้าที่ในการสนับสนุนการเรียนการสอนโดยตรง คือ นักวิชาการศึกษา ดังนั้น การประกันคุณภาพการศึกษา จึงเป็นสิ่งที่นักวิชาการศึกษา จะต้องศึกษาและทำความเข้าใจเป็นอย่างดี โดยในปีงบประมาณ 2561 ที่ผ่านมา ได้เข้าร่วมการอบรมเพื่อพัฒนาความรู้ด้านการประกันคุณภาพการศึกษา ที่มหาวิทยาลัยแม่โจ้จัดให้ จำนวน 2 โครงการ คือ อบรมการพัฒนาระบบประกันคุณภาพการศึกษาภายใน ระดับหลักสูตร Over View of AUN-QA : Programme และ โครงการวิเคราะห์เพื่อพัฒนาแผนปรับปรุงการบริหารหลักสูตรตามเกณฑ์ AUN-QA ระดับหลักสูตร

อบรมการพัฒนาระบบประกันคุณภาพการศึกษาภายใน ระดับหลักสูตร Over View of AUN-QA : Programme วันที่ 7 มค 2562 ณ ห้องข้าวหอมมะลิ ชั้น 1 อาคารสมเด็จพระเทพฯ

เป็นการทำความเข้าใจแนวคิดการประกันคุณภาพระดับหลักสูตรตามแนวทางของ AUN-QA  ที่เหมาะสมกับสภาวทางด้านเศรษฐกิจ สังคม และ การรับรู้ของกลุ่มเป้าหมายที่เปลี่ยนแปลง อีกทั้งการที่ AUN-QA มีลักษณะเป็นเกณฑ์ (criteria) ที่กําหนดแนวทางการจัดการเรียนการสอน (guideline) เพื่อให้บริหารหลักสูตรอย่างเป็นระบบ ผลิตบัณฑิตตาม ELO หลักสูตร โดยมีจำนวน 11 criteria แบ่งออกเป็น 4 Module

  1. Expected Learning Outcomes             Module ที่ 1
  2. Programme Specification 
  3. Programme Structure and Content
  4. Teaching and Learning Approach        Module ที่ 2
  5. Student Assessment
  6. Academic Staff Quality                      Module ที่ 3
  7. Support Staff Quality 
  8. Student Quality and Support
  9. Facilities and Infrastructure               Module ที่ 4
  10. Quality Enhancement        
  11. Output

 

โครงการวิเคราะห์เพื่อพัฒนาแผนปรับปรุงการบริหารหลักสูตรตามเกณฑ์ AUN-QA ระดับหลักสูตร วันที่ 23-24 มกราคม 2562 ณ ห้องข้าวหอมมะลิ ชั้น 1 อาคารสมเด็จพระเทพ

                   Module ที่ 1 มีเนื้อหาการอบรมเกี่ยวกับเกณฑ์ AUN-QA ใน Criteria ที่ 1 – 3 คือ

  1. Expected Learning Outcomes ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง เป็นตัวกำหนดว่านักศึกษาที่มาเรียนในหลักสูตร จบไปจะต้องเป็นบัณฑิตแบบไหน โดยต้องสอดคล้องกับมาตรฐานผลการเรียนรู้ 5 ด้าน คือ ด้านคุณธรรมจริยธรรม ด้านความรู้ ด้านทักษะทางปัญญา ด้านทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ ด้านทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร และเทคโนโลยีและสารสนเทศ ประกอบไปด้วย 3 subcriteria

1.1 The expected learning outcomes have been clearly formulated and aligned with the vision and mission of the university คือ การกำหนดผลลัพธ์การเรียนรู้ที่คาดหวังอย่างชัดเจน และสอดคล้องกับวิสัยทัศน์ และพันธกิจของมหาวิทยาลัย

1.2 The expected learning outcomes cover both subject specific and generic (i.e. transferable) learning outcomes คือ การกำหนดผลลัพธ์การเรียนรู้ที่คาดหวังที่ครอบคลุมทั้งผลการเรียนรู้เฉพาะด้านและผลการเรียนรู้ทั่วไป

1.3 The expected learning outcomes clearly reflect the requirements of the stakeholders คือ ผลลัพธ์การเรียนรู้ที่คาดหวังสะท้อนให้เห็นถึงความต้องการของผู้มีส่วนได้เสียอย่างชัดเจน

 

  1. Programme Specification การเขียนรายละเอียดของรายวิชา เพื่อให้การจัดการเรียนการสอนของรายวิชาสอดคล้องและเป็นไปตามแผนที่วางไว้ในหลักสูตร

2.1 The information in the programme specification is comprehensive and up-to-date หลักสูตรจะต้องมีแหล่งข้อมูลที่ครอบคลุม และทันสมัย

2.2 The information in the course specification is comprehensive and up-to-date หลักสูตรจะต้องมีเนื้อหาการการสอนที่ครอบคลุม และทันสมัย

2.3 The programme and course specifications are communicated and made available to the stakeholders เนื้อหาการสอนในหลักสูตรจะต้องเปิดโอกาสให้ผู้ใช้บัณฑิตมีส่วนร่วม

 

  1. Programme Structure and Content การเขียนโครงสร้างและเนื้อหาหลักสูตร

3.1 The curriculum is designed based on constructive alignment with the expected learning outcomes การออกแบบหลักสูตรจะต้องมีความสร้างสรรค์และสอดคล้องกับผลลัพธ์การเรียนรู้ที่คาดหวัง

3.2 The contribution made by each course to achieve the expected learning outcomes is clear หลักสูตรจะต้องมีการจัดการเรียนการสอนที่บรรลุผลการเรียนรู้ที่คาดหวังอย่างชัดเจน

3.3 The curriculum is logically structured, sequenced, integrated and up-to-date มีการวางโครงสร้างหลักสูตรที่มีการบูรณาการและเป็นปัจจุบัน

 

โครงการวิเคราะห์เพื่อพัฒนาแผนปรับปรุงการบริหารหลักสูตรตามเกณฑ์ AUN-QA ระดับหลักสูตร วันที่ 12-13 กุมภาพันธ์ 2562 ณ ห้องแคทลียาควีนสิริกิตติ์ ชั้น 5 ศูนย์กล้วยไม้และไม้ดอกไม้ประดับ

                   Module ที่ 2 มีเนื้อหาการอบรมเกี่ยวกับเกณฑ์ AUN-QA ใน Criteria ที่ 4 – 5

  1. Teaching and Learning Approach วิธีการสอน และแนวทางการสอนของหลักสูตร

4.1 The educational philosophy is well articulated and communicated to all stakeholders ปรัชญาการศึกษาต้องมีความชัดเจน และสื่อสารไปยังผู้มีส่วนได้ส่วนเสียได้ครบถ้วน

4.2 Teaching and learning activities are constructively aligned to the achievement of the expected learning outcomes กิจกรรมการเรียนการสอน ต้องสอดคล้องกันอย่างสร้างสรรค์ เพื่อความสำเร็จของผลลัพธ์การเรียนรู้ที่คาดหวัง

4.3  Teaching and learning activities enhance life-long learning กิจกรรมการเรียนการสอนจะต้องเสริมสร้างการเรียนรู้ตลอดชีวิต

                                     

  1. Student Assessment การประเมินผู้เรียน

5.1 The student assessment is constructively aligned to the achievement of the expected learning outcomes มีการจัดแนวทางการประเมินผลของผู้เรียนอย่างสร้างสรรค์ สอดคล้องกับความสำเร็จของผลลัพธ์การเรียนรู้ที่คาดหวัง

5.2 The student assessments including timelines, methods, regulations, weight distribution, rubrics and grading are explicit and communicated to students  วิธีการประเมินผู้เรียนจะต้องมีระยะเวลา วิธีการ มีกฎระเบียบ การกระจายน้ำหนักของการให้คะแนนที่ชัดเจนและสื่อสารให้กับผู้เรียนได้รับทราบ

5.3 Methods including assessment rubrics and marking schemes are used to ensure validity, reliability and fairness of student assessment  วิธีการประเมินผลจะต้องกำหนดรูปแบบ แผนการประเมินที่ถูกต้อง มีความน่าเชื่อถือและเป็นธรรมต่อผู้เรียน

5.4 Feedback of student assessment is timely and helps to improve learning  ข้อเสนอแนะของผู้เรียนนำมาใช้ในการปรับปรุงการเรียนรู้ที่เหมาะสม และตรงความต้องการของผู้เรียนได้

5.5 Students have ready access to appeal procedure มีช่องทางข้อร้องเรียนที่ผู้เรียนเข้าถึงได้ง่าย

 

โครงการวิเคราะห์เพื่อพัฒนาแผนปรับปรุงการบริหารหลักสูตรตามเกณฑ์ AUN-QA ระดับหลักสูตร วันที่ 27 กุมภาพันธ์2562 ณ ห้องข้าวหอมมะลิ ชั้น 1 อาคารสมเด็จพระเทพ

                   Module ที่ 3 มีเนื้อหาการอบรมเกี่ยวกับเกณฑ์ AUN-QA ใน Criteria ที่ 6 – 8

  1. Academic Staff Quality คุณภาพของบุคลากร

6.1 Academic staff planning (considering succession, promotion, redeployment, termination, and retirement) is carried out to fulfil the needs for education, research and service  การวางแผนพัฒนาคุณภาพของบุคลากร (ด้านการประสบความสำเร็จ, การเลื่อนตำแหน่ง การเลิกจ้าง และการเกษียณอายุ) เพื่อตอบสนองความต้องการด้านการศึกษา การวิจัยและการบริการ

6.2 Staff-to-student ratio and workload are measured and monitored to improve the quality of education, research and service  อัตราส่วนบุคลากร ต่อผู้เรียนที่สามารถตรวจสอบและวัดได้ เพื่อปรับปรุงคุณภาพการศึกษาการวิจัยและการบริการ

6.3 Recruitment and selection criteria including ethics and academic freedom for appointment, deployment and promotion are determined and communicated เกณฑ์การสรรหาและคัดเลือก ต้องคำนึงถึงจริยธรรมและเสรีภาพทางวิชาการ เพื่อส่งเสริมให้บุคลากรได้รับการพัฒนาในตำแหน่งที่สูงขึ้น

6.4 Competences of academic staff are identified and evaluated จะต้องทำการประเมินสรรถนะ ความสามารถของบุคลากร

6.5 Training and developmental needs of academic staff are identified and activities are implemented to fulfil them  บุคลากรได้รับการฝึกอบรม และการพัฒนาในสายงาน

6.6 Performance management including rewards and recognition is implemented to motivate and support education, research and service การบริหารจัดการที่มีประสิทธิภาพการให้รางวัล ผลตอบแทน และการยอมรับ เพื่อกระตุ้นและสนับสนุนการศึกษาการวิจัยและบริการ

6.7 The types and quantity of research activities by academic staff are established, monitored and benchmarked for improvement อาจารย์จะต้องมีงานวิจัยที่มีคุณภาพ เป็นมาตรฐาน ตรวจสอบได้ เพื่อการปรับปรุงที่ดีขึ้น

 

  1. Support Staff Quality คุณภาพบุคลากรสายสนับสนุน

7.1 Support staff planning (at the library, laboratory, IT facility and student services) is carried out to fulfil the needs for education, research and service การวางแผนพัฒนาคุณภาพของบุคลากร (อำนวยความสะดวกให้กับผู้เรียน ) เพื่อตอบสนองความต้องการด้านการศึกษา การวิจัยและการบริการ

7.2 Recruitment and selection criteria for appointment, deployment and promotion are determined and communicated เกณฑ์การสรรหาและคัดเลือก ต้องคำนึงถึงจริยธรรมและเสรีภาพทางวิชาการ เพื่อส่งเสริมให้บุคลากรได้รับการพัฒนาในตำแหน่งที่สูงขึ้น

7.3 Competences of support staff are identified and evaluated จะต้องทำการประเมินสรรถนะ ความสามารถของบุคลากร

7.4 Training and developmental needs of support staff are identified and activities are implemented to fulfil them บุคลากรได้รับการฝึกอบรม และการพัฒนาในสายงาน

7.5 Performance management including rewards and recognition is implemented to motivate and support education, research and service การบริหารจัดการที่มีประสิทธิภาพการให้รางวัล ผลตอบแทน และการยอมรับ เพื่อกระตุ้นและสนับสนุนการศึกษาการวิจัยและบริการ

  1. Student Quality and Support การสนับสนุนและคุณภาพของผู้เรียน

8.1 The student intake policy and admission criteria are defined, communicated, published, and up-to-date นโยบายการรับเข้าเรียนและเกณฑ์การรับเข้าเรียนมีการสื่อสารที่ครอบคลุม มีการเผยแพร่ได้อย่างทั่วถึง และทันสมัย

8.2 The methods and criteria for the selection of students are determined and evaluated มีการกำหนดวิธีการ เกณฑ์ในการคัด และการประเมินผลการคัดเลือกผู้เรียนที่ชัดเจน

8.3 There is an adequate monitoring system for student progress, academic performance, and workload จัดให้มีระบบการตรวจสอบความก้าวหน้าของผู้เรียนจากผลการเรียนที่ได้มา และภาระงานที่มอบหมาย อย่างชัดเจน

8.4 Academic advice, co-curricular activities, student competition, and other student support services are available to improve learning and employability  หลักสูตรต้องจัดหาช่องทางการให้คำแนะนำแก่ผู้เรียน ด้านวิชาการ จัดให้มีกิจกรรมร่วมกับหลักสูตร มีการแข่งขันทางวิชาการ การบริการช่วยเหลือผู้เรียนเพื่อปรับปรุงการเรียนรู้ที่ดีขึ้น

8.5 The physical, social and psychological environment is conducive for education and research as well as personal well-being สภาพแวดล้อมทางกายภาพ สังคมและจิตวิทยา ที่เอื้อต่อการศึกษา และการวิจัยรวมถึงความเป็นอยู่ที่ดี

 

โครงการวิเคราะห์เพื่อพัฒนาแผนปรับปรุงการบริหารหลักสูตรตามเกณฑ์ AUN-QA ระดับหลักสูตร วันที่ 13 มีนาคม2562 ณ ห้องข้าวหอมมะลิ ชั้น 1 อาคารสมเด็จพระเทพ

                   Module ที่ 4 มีเนื้อหาการอบรมเกี่ยวกับเกณฑ์ AUN-QA ใน Criteria ที่ 9 – 11

  1. Facilities and Infrastructure สิ่งอำนวยความสะดวกและโครงสร้างพื้นฐาน

9.1 The teaching and learning facilities and equipment (lecture halls, classrooms, project rooms, etc.) are adequate and updated to support education and research สิ่งอำนวยความสะดวกการเรียนการสอนและอุปกรณ์ (ห้องบรรยายห้องเรียนห้องเรียนโครงการ ฯลฯ ) เพียงพอและทันสมัยเพื่อสนับสนุนการศึกษาและการวิจัย

9.2 The library and its resources are adequate and updated to support education and research ห้องสมุดและทรัพยากรมีความเพียงพอและทันสมัยเพื่อสนับสนุนการศึกษาและการวิจัย

9.3 The laboratories and equipment are adequate and updated to support education and research ห้องปฏิบัติการและอุปกรณ์มีความเพียงพอและทันสมัยเพื่อรองรับการศึกษาและการวิจัย

9.4 The IT facilities including e-learning infrastructure are adequate and updated to support education and research สิ่งอำนวยความสะดวกด้านไอทีรวมถึงโครงสร้างพื้นฐาน e-learning มีความเพียงพอและได้รับการปรับปรุงเพื่อรองรับการศึกษาและการวิจัย

9.5 The standards for environment, health and safety; and access for people with special needs are defined and implemented มีการกำหนดมาตรฐานด้านสิ่งแวดล้อม สุขภาพและความปลอดภัย

 

  1. Quality Enhancement การปรับปรุงคุณภาพ

10.1 Stakeholders’ needs and feedback serve as input to curriculum design and development  ความต้องการและข้อเสนอแนะของผู้มีส่วนได้เสียใช้เป็นข้อมูลในการออกแบบและพัฒนาหลักสูตร

10.2 The curriculum design and development process is established and subjected to evaluation and enhancement มีการประเมินผล และปรับปรุงกระบวนการออกแบบและพัฒนาหลักสูตร

10.3 The teaching and learning processes and student assessment are continuously reviewed and evaluated to ensure their relevance and alignment มีการทบทวนและประเมินผลกระบวนการเรียนการสอน และการประเมินผลผู้เรียนอย่างต่อเนื่องเพื่อให้แน่ใจว่ามีความเกี่ยวข้องและสอดคล้องกัน

10.4 Research output is used to enhance teaching and learning นำผลงานวิจัยมาใช้ในการเรียนการสอน

10.5 Quality of support services and facilities (at the library, laboratory, IT facility and student services) is subjected to evaluation and enhancement มีการประเมินและปรับปรุงคุณภาพของบริการสนับสนุนและสิ่งอำนวยความสะดวก (ห้องสมุด ห้องปฏิบัติกา รสิ่งอำนวยความสะดวกด้านไอที)

10.6 The stakeholder’s feedback mechanisms are systematic and subjected to evaluation and enhancement  การประเมิน และปรับปรุงระบบ กลไก ข้อมูลย้อนกลับของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย

 

  1. Output ผลิตผล

11.1 The pass rates and dropout rates are established, monitored and benchmarked for improvement  มีการตรวจสอบอัตราการลาออกที่เป็นมาตรฐาน เพื่อปรับปรุงให้ดีขึ้น

11.2 The average time to graduate is established, monitored and benchmarked for improvement  มีการตรวจสอบ อัตราเฉลี่ยในการสำเร็จการศึกษา เพื่อเปรียบเทียบ และปรับปรุงให้ดีขึ้น

11.3 Employability of graduates is established, monitored and benchmarked for improvement มีการตรวจสอบอัตราการมีงานทำของผู้สำเร็จการศึกษาที่เป็นมาตรฐาน และปรับปรุงให้ดีขึ้น

11.4 The types and quantity of research activities by students are established, monitored and benchmarked for improvement  ตรวจสอบและเปรียบเทียบเพื่อปรับปรุงคุณภาพงานวิจัยของนักศึกษาให้มีมาตรฐาน

11.5 The satisfaction levels of stakeholders are established, monitored and benchmarked for improvement  กำหนดติดตาม ระดับความพึงพอใจของผู้มีส่วนได้เสียให้ได้มาตรฐาน เพื่อการปรับปรุงให้ดีขึ้น

โดยทั้ง 11 criteria จะถูกกำนดให้หลักสูตรจะต้องดำเนินการบริหารจัดการ การจัดการเรียนการสอนหลักสูตรให้เป็นไปตามที่กำหนด อาจกำหนดในรูปของการทำแผนปฏิบัติงานหลักสูตร การกำหนดกิจกรรมการเรียนการสอนที่วางแผนใน มคอ.3 การกำหนดหัวข้องานวิจัยของนักศึกษา โดยเฉพาะการวางแผนการศึกษาในเล่มหลักสูตร ดังนั้น การได้เข้าร่วมอบรมทำให้ได้เรียนรู้แนวทางการจัดการเรียนการสอนในปัจจุบันที่เป็นไปตามสภาวการณ์การศึกษาในปัจจุบัน และสามารถช่วยสนับสนุนงานหลักสูตร และคณาจารย์ในคณะ รวมถึงมีแนวความคิดในการปฏิบัติงานที่เป็นไปในทิศทางเดียวกันกับการบริหารหลักสูตรของอาจารย์ และของคณะด้วยอีกทางหนึ่ง

คำสำคัญ :
กลุ่มบทความ :
หมวดหมู่ :
แชร์ :
https://erp.mju.ac.th/acticleDetail.aspx?qid=987
ความคิดเห็นทั้งหมด (0)
ไม่มีข้อมูลตามเงื่อนไขที่ท่านกำหนด
รายการบทความการแลกเปลี่ยนเรียนรู้หมวดหมู่ : กลุ่มงานบริการการศึกษา
อบรม การพัฒนางานประจำสู่นวัตกรรมการให้บริการ » การพัฒนางานประจำสู่นวัตกรรมการให้บริการ
การปฏิบัติงานในยุคปัจจุบัน ผู้ปฏิบัติงาน นอกจากจะต้องมีความรู้ความสามารถในงานที่ทำแล้ว สิ่งหนึ่งที่ขาดไม่ได้คือการพัฒนา ซึ่งการพัฒนาตนเองทำให้ผู้ปฏิบัติงานเกิดองค์ความรู้ใหม่ๆ เกิดทักษะใหม่ๆ ที่จะน...
การพัฒนา  งานประจำ  นวัตกรรม     กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร   กลุ่มงานบริการการศึกษา
ผู้เขียน กฤตาณัฐ ศรีประภา  วันที่เขียน 22/3/2567 8:02:36  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 25/4/2567 16:48:53   เปิดอ่าน 81  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
กิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทบทวน Program Learning Outcomes (PLOS) และสร้าง Course Learning Outcomes (CLOs) สู่การจัดทำ มคอ.3 เเละมคอ. 5 เพื่อขับเคลื่อน AUN QA Version 4.0 กิจกรรมที่ 2 การสร้างผลการเรียนรู้ของผู้เรียนในรายวิชา » กิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทบทวน Program Learning Outcomes (PLOS) และสร้าง Course Learning Outcomes (CLOs) สู่การจัดทำ มคอ.3 เเละมคอ. 5 เพื่อขับเคลื่อน AUN QA Version 4.0 กิจกรรมที่ 2 การสร้างผลการเรียนรู้ของผู้เรียนในรายวิชา
กิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทบทวน Program Learning Outcomes (PLOS) และสร้าง Course Learning Outcomes (CLOs) สู่การจัดทำ มคอ.3 เเละมคอ. 5 เพื่อขับเคลื่อน AUN QA Version 4.0 กิจกรรมที่ 2 การสร้างผลการเร...
  กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร   กลุ่มงานบริการการศึกษา
ผู้เขียน พัฒนพงศ์ เทียนชัย  วันที่เขียน 10/12/2566 13:41:29  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 26/4/2567 13:30:33   เปิดอ่าน 115  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
กิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทบทวน Program Learning Outcomes (PLOS) และสร้าง Course Learning Outcomes (CLOs) สู่การจัดทำ มคอ.3 เเละมคอ. 5 เพื่อขับเคลื่อน AUN QA Version 4.0 กิจกรรมที่ 1 การสร้างผลการเรียนรู้ของผู้เรียนในรายวิชา » กิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทบทวน Program Learning Outcomes (PLOS) และสร้าง Course Learning Outcomes (CLOs) สู่การจัดทำ มคอ.3 เเละมคอ. 5 เพื่อขับเคลื่อน AUN QA Version 4.0 กิจกรรมที่ 1 การสร้างผลการเรียนรู้ของผู้เรียนในรายวิชา
กิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทบทวน Program Learning Outcomes (PLOS) และสร้าง Course Learning Outcomes (CLOs) สู่การจัดทำ มคอ.3 เเละมคอ. 5 เพื่อขับเคลื่อน AUN QA Version 4.0 กิจกรรมที่ 1 การสร้างผลการเร...
  กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร   กลุ่มงานบริการการศึกษา
ผู้เขียน พัฒนพงศ์ เทียนชัย  วันที่เขียน 10/12/2566 13:31:42  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 26/4/2567 13:30:41   เปิดอ่าน 118  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง