รายงานสรุปเนื้อหาและการนำไปใช้ประโยชน์จากโครงการศึกษาดูงานเพื่อพัฒนาวิสัยทัศน์บุคลากร
วันที่เขียน 11/9/2560 14:40:59     แก้ไขล่าสุดเมื่อ 22/11/2567 1:36:39
เปิดอ่าน: 2286 ครั้ง

การเข้าร่วมโครงการดังกล่าว ได้มีการเข้าศึกษาดูงานหลักๆ 3 แห่ง ประกอบด้วย องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ/คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต และคณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยข้าพเจ้าขอสรุปเนื้อหาและความรู้ต่างๆ ที่ได้รับจากการเข้าร่วมศึกษาดูงาน

การเข้าร่วมโครงการดังกล่าว ได้มีการเข้าศึกษาดูงานหลักๆ 3 แห่ง ประกอบด้วย องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ/คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต และคณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยข้าพเจ้าขอสรุปเนื้อหาและความรู้ต่างๆ ที่ได้รับจากการเข้าร่วมศึกษาดูงานแยกตามสถานที่ศึกษาดูงานรายละเอียดดังนี้

  1. องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ วันที่ 22 เมษายน 2560

ได้มีการเข้าศึกษาและเยี่ยมชมพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์ ซึ่งประกอบด้วยองค์ความรู้ต่างๆ ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี รวมถึงความรู้ต่างๆ เกี่ยวกับการทำเกษตร เกษตรอินทรีย์ เกษตรผสมผสาน และเศรษฐกิจพอเพียง รวมถึงเรื่องของอาหารการกินที่ปลอดภัยสำหรับสุขภาพของผู้บริโภค ซึ่งจากการเข้าศึกษาดูงานทำให้สามารถนำความรู้มาประยุกต์ใช้ในการมีส่วนร่วมกับกิจกรรมต่างๆ ภายในคณะวิทยาศาสตร์ พร้อมทั้งยังสามารถนำประโยชน์และความรู้ทางด้านเทคโนโลยีที่ได้จากการศึกษาดูงานนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันต่อไป

  1. คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต วันที่ 24 เมษายน 2560

คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2529 เป็นคณะลำดับที่ 9 ของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และเป็นคณะแรกที่ตั้งขึ้น ณ ศูนย์รังสิต และนับเป็นคณะวิทยาศาสตร์ที่ก่อตั้งเป็นแห่งที่ 18 ของประเทศ ในขณะนั้น ด้วยนโยบายของมหาวิทยาลัยในการส่งเสริมและสนับสนุนการศึกษาทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เริ่มเปิดการเรียนการสอนใน 5 สาขาวิชา คือ สาขาวิชาคณิตศาสตร์ สาขาวิชาสถิติ สาขาวิชาศาสตร์คอมพิวเตอร์ สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม และสาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ ต่อมาคณะฯได้ขยายการเรียนการสอนในสาขาวิชาเพิ่มขึ้นเป็นลำดับ ควบคู่กับมหาวิทยาลัยก่อตั้งคณะวิชาใหม่ ๆ ทางด้านวิศวกรรมศาสตร์ และด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพ ซึ่งคณะฯรับผิดชอบในการจัดการเรียนการสอนวิชาพื้นฐานทางด้านวิทยาศาสตร์ทั้งหมดให้กับทุกคณะวิชาณศูนย์รังสิต 

ซึ่งจากการรับฟังการบรรยายและการร่วมแลกเปลี่ยนความรู้ ทำให้ทราบถึงการเป็นมหาวิทยาลัยในกำกับจะต้องมีการปรับโครงสร้างขององค์กรเพื่อให้สอดคล้องกับนโยบายของแต่ละมหาวิทยาลัย ซึ่งในการปรับโครงสร้างขององค์กรจะต้องมีการสลับสับเปลี่ยนหน้าที่ของบุคลากรเพื่อให้เกิดความเหมาะสมและเพื่อให้เกิดการดำเนินงานตามพันธกิจของหน่วยงาน หลังจากมีการแลกเปลี่ยนความรู้ในเรื่องของการบริหารในแบบมหาวิทยาลัยกำกับ ทำให้ได้เห็นภาพรวมของการทำงานในส่วนงานบริหารชัดขึ้น  

  1. คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย วันที่ 25 เมษายน 2560

คณะวิทยาศาสตร์ได้รับการก่อตั้งในปีพุทธศักราช 2459 โดยเป็นส่วนหนึ่งของ คณะอักษรศาสตร์แลวิทยาศาสตร์ และเปิดสอนวิชาวิทยาศาสตร์พื้นฐานเบื้องต้น สำหรับนิสิตในคณะแพทยศาสตร์และวิศวกรรมศาสตร์ ซึ่งในปัจจุบันนี้ คณะวิทยาศาสตร์ประกอบด้วยภาควิชาต่าง ๆ 14 ภาควิชา ที่ทำการสอนทั้งในระดับปริญญาบัณฑิตและปริญญาดุษฎีบัณฑิต ภาควิชาที่เกิดขึ้นในภายหลังได้แก่ ภาควิชาชีวเคมี พฤกษศาสตร์ วิทยาศาสตร์ทั่วไป ธรณีวิทยา วิทยาศาสตร์ทางทะเล จุลชีววิทยา และภาควิชาทางด้านเทคโนโลยีอีก 4 ภาควิชา ได้แก่ เคมีเทคนิค เทคโนโลยีทางอาหาร วัสดุศาสตร์ วิทยาศาสตร์ทางภาพถ่ายและเทคโนโลยีทางการพิมพ์ และยังมีหลักสูตรมหาบัณฑิตและดุษฎีบัณฑิตในสาขาวิชาใหม่ ๆ เช่น เทคโนโลยีชีววิทยา วิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม และ ปิโตรเคมีและโพลิเมอร์ ซึ่งเกิดจากความร่วมมือกันระหว่างภาควิชา นอกจากนี้ คณาจารย์ของภาควิชายังให้การสอนวิชาวิทยาศาสตร์พื้นฐานให้กับนิสิตจากคณะอื่น ๆ เช่น คณะวิวกรรมศาสตร์ คณะครุศาสตร์ คณะอักษรศาสตร์ และ คณะแพทยศาสตร์

วิธีการนำไปใช้ประโยชน์

ซึ่งจากการได้ศึกษาดูงาน ณ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต และคณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์ ได้นำมาใช้ประโยชน์ในด้านการประกันคุณภาพการศึกษาของหน่วยงาน ให้ดียิ่งขึ้น

คำสำคัญ :
กลุ่มบทความ :
หมวดหมู่ :
แชร์ :
https://erp.mju.ac.th/acticleDetail.aspx?qid=730
ความคิดเห็นทั้งหมด (0)
ไม่มีข้อมูลตามเงื่อนไขที่ท่านกำหนด
รายการบทความการแลกเปลี่ยนเรียนรู้หมวดหมู่ : กลุ่มงานบริการการศึกษา
ความรู้จากการเข้าร่วมอบรม » รู้หรือไม่ สายfiber optic สามารถย่อโลกให้เล็กลงได้
สายfiber optic หรือ สายใยแก้วนําแสง คือ สายสัญญาณชนิดหนึ่งที่ผลิตมาจากแก้ว หุ้มด้วยใยพิเศษเพื่อป้องกันการกระแทก โดยการส่งข้อมูลของเส้นใยแก้วนำแสง นั้นจะทำงานจาก การแปลงสัญญาณข้อมูลไฟฟ้าจากอุปกรณ์ต...
Fiber Optic Cable  ไฟเบอร์ออฟติก  สายใยแก้วนําแสง     กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร   กลุ่มงานบริการการศึกษา
ผู้เขียน ประทีป สุขสมัย  วันที่เขียน 6/9/2567 16:49:45  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 21/11/2567 16:49:57   เปิดอ่าน 92  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
การศึกษาดูงานบริการการศึกษา ณ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง และ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย » KM งานบริการการศึกษาและกิจการนักศึกษา คณะบริหารธุรกิจ จากการเข้าศึกษาดูงาน มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง วันที่ 1 พฤษภาคม 2567 และมหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงราย วันที่ 3 พฤษภาคม 2567
งานบริการการศึกษาและกิจการนักศึกษา คณะบริหารธุรกิจ มีแผนการพัฒนางานประจำเพื่อนำความรู้ที่ได้มาปรับปรุงงานประจำ หรือพัฒนาให้เกิดนวัตกรรมของงาน จึงได้วางแผนตั้งแต่การขออนุมัติเข้าร่วมอบรม การพัฒนางาน...
KM, งานบริการการศึกษา     กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร   กลุ่มงานบริการการศึกษา
ผู้เขียน กฤตาณัฐ ศรีประภา  วันที่เขียน 30/8/2567 14:58:46  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 21/11/2567 23:11:29   เปิดอ่าน 143  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
อบรมการพัฒนาตนเองด้านความรู้ ทักษะและพฤติกรรม ปี 2567 » กระบวนการพัฒนางานประจำสู่นวัตกรรมการให้บริการ
การพัฒนางานประจำสู่นวัตกรรมการให้บริการนั้นเป็นกระบวนการที่ต้องใช้เวลาและความพยายาม รวมถึงการมีส่วนร่วมจากพนักงานทุกระดับในองค์กร การนำเทคโนโลยีและการปรับปรุงกระบวนการมาใช้ จะช่วยให้องค์กรสามารถสร้...
การพัฒนา งานประจำ นวัตกรรม     กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร   กลุ่มงานบริการการศึกษา
ผู้เขียน ภาวิณี จีปูคำ  วันที่เขียน 27/6/2567 14:10:39  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 21/11/2567 22:27:51   เปิดอ่าน 234  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง