7 เทคนิคฝึก “คิดต่าง”
วันที่เขียน 18/1/2554 11:46:20     แก้ไขล่าสุดเมื่อ 29/3/2567 17:59:22
เปิดอ่าน: 8843 ครั้ง

คิดนอกกรอบ

     ใครที่เคยคิดเพียงว่า 1+1 = 2 หรือคิดอยู่เสมอว่า "มันต้องเป็นไปไม่ได้แน่ๆ" ขอแนะนำให้วางความคิดเหล่านั้นลงข้างตัวสักห้านาที พร้อมเปิดใจให้ขยายออกด้านข้างแล้วกว้างขึ้นอีกนิด เพื่อเตรียมฝึกปรือเทคนิคคิดให้แตกต่าง ซึ่งการคิดต่างหรือที่หลายคนเรียกว่า คิดนอกกรอบ ไม่ได้มีไว้สำหรับนักโฆษณาหรือนักสร้างสรรค์เพียงเท่านั้น แต่การฝึกคิดให้แตกต่าง (อย่างสร้างสรรค์) ยังจำเป็นอย่างมากสำหรับทุกคน ทุกครอบครัว ทุกองค์กร และจำเป็นอย่างที่สุดสำหรับสังคมไทยที่กำลังมีปัญหาเรื้อรังเฉกเช่นปัจจุบัน

     ทั้งนี้เพราะความคิดต่างนอกจากจะเป็นหนทางในการระดมสมอง เพื่อแก้ไขปัญหาให้ลุล่วงไปได้ด้วยหลากหลายวิธีแล้ว การฝึกคิดต่างอย่างสม่ำเสมอยังช่วยให้ใจเราค่อยๆเปิดกว้าง จนสามารถรับความแตกต่างของสังคมได้อย่างแท้จริง และต่อไปนี้คือ 7 เทคนิคการคิดต่างที่จะทำให้ชีวิตคุณแตกต่างไปจากเดิม 

 

  1. หยุดพูดคำว่า "เป็นไปไม่ได้" ทราบหรือไม่ว่าสิ่งแรกที่สกัดกั้นความคิดของเราก็คือคำว่า "เป็นไปไม่ได้" คำนี้มักจะหลุดออกมาทันทีที่สมองได้รับรู้เรื่องราวที่ผิดแปลกไปจากชีวิตประจำวัน และเมื่อเราย้ำคำนี้บ่อยๆ สมองก็จะเริ่มหยุดคิด หยุดที่จะมองหาทางออกใหม่ๆเมื่อเจอปัญหา ครั้งหนึ่งไม่มีใครคิดว่ามนุษย์จะสามารถขึ้นไปเดินเล่นบนดวงจันทร์ ครั้งหนึ่งความคิดเรื่องการบินได้เหมือนนกเป็นสิ่งที่ถูกกล่าวหาว่าเพ้อฝันสิ้นดี แต่จะดีกว่าไหม ถ้าเราเปลี่ยนคำว่า "เป็นไปไม่ได้" ให้กลายเป็น "แน่นอน ฉันต้องทำได้" แล้วให้สมองค่อยๆแตกยอดความคิดใหม่ๆเพื่อหาหนทางไปสู่จุดมุ่งหมาย หรือทางออกที่หลากหลาย ท้ายสุดคำว่า "เป็นไปไม่ได้" ก็จะมีความหมายแค่ "ยังไม่ได้ลงมือทำ" เท่านั้นเอง
  2. "กรอบ" ไม่ใช่ปัญหาเสมอไป หลายครั้งที่กรอบตกเป็นจำเลยของอาการคิดไม่ออกและไม่ยอมคิดให้แตกต่าง ทั้งที่ความจริงแล้วไม่ว่าคุณจะอยู่ในกรอบ นอกกรอบ ในคอก หรือนอกคอก ก็สามารถคิดให้แตกต่างได้ ทว่าสิ่งที่สำคัญที่สุดคือ มุมมองที่มีต่อกรอบนั้นๆ เพราะกรอบสำหรับบางคนเป็นแค่เส้นตรง 4 เส้นประกอบกัน ในขณะที่กรอบของอีกคนเป็นรูปแปดเหลี่ยม และอีกคนกลับมีกรอบที่มีความลึก มีความหนา หรือเป็นกรอบรูปวงกลมเสียด้วยซ้ำไป แน่นอนว่าชีวิตเราย่อมหลีกหนีกรอบ ประเพณี กติกาของสังคมหรือความคิดที่ครอบงำเรามาตั้งแต่วัยเยาว์ไปไม่พ้น แต่สิ่งที่สำคัญยิ่งกว่าคือ เราจะมองกรอบเหล่านั้นด้วยมุมไหน พร้อมทั้งนำกรอบเหล่านั้นมาสร้างสรรค์เป็นสิ่งใหม่ๆได้อย่างไร ถ้าไม่มีกรอบเสียอย่าง เราก็คงไม่หาวิธีคิดนอกกรอบกันหรอก คุณว่าไหม
  3. สร้างเทคนิคด้วยการคิดบวก สำหรับผู้ที่ไม่ชินกับการคิดให้แตกต่าง ขอให้เริ่มต้นประสบการณ์การคิดต่างด้วยการหัด คิดบวกในทันทีที่เจอปัญหา ทั้งนี้ก็เพื่อให้สมองได้ผ่อนคลายจากความตึงเครียดของปัญหา ทั้งยังได้มองหาอีกแง่มุมของคำตอบที่แม้แต่ตัวเราเองก็คาดไม่ถึง ลองดูตัวอย่างบทสนทนาของพ่อ ลูกคู่หนึ่ง ลูกชายเข้าไปเยี่ยมพ่อซึ่งต้องโทษคุมขังอยู่ในคุกด้วยสีหน้าเคร่งเครียดเหมือนกำลังแบกโลกทั้งใบ
    • ลูกชายบอกพ่อว่า "ชีวิตผมกำลังมีปัญหา ผมไม่รู้จะแก้ไขอย่างไร ผมไม่รู้ว่าจะมีชีวิตอยู่ต่อไปได้อย่างไรถ้าแก้ปัญหานี้ไม่ได้"
    • ผู้เป็นพ่อถามกลับไปว่า "แกกำลังโดนใครตามฆ่าอยู่หรือเปล่า"
    • ลูกชายตอบว่า "ไม่ ไม่มีใครตามฆ่าผม"
    • ผู้เป็นพ่อจึงยิ้มและตอบสั้นๆกลับไปว่า "ถ้าอย่างนั้นก็แปลว่าไม่มีปัญหา"
           คำพูดสั้นๆของพ่อที่มองโลกในแง่บวกว่า ถ้ายังไม่ตายก็ไม่มีปัญหาทำให้ลูกชายได้คิดว่าปัญหาของตนนั้นเล็กลงไปถนัดตา เมื่อเทียบกับพ่อที่ติดคุกอยู่และกำลังรอตัดสินโทษประหารในวันพรุ่งนี้ จำไว้ว่า ถ้าคิดอะไรไม่ออก ก็ขอให้คิดบวกหรือมองโลกในแง่ดีไว้ก่อน
  4. หลุมพรางของความฉลาด เอ็ดเวิร์ด เดอ โบโน Edward de Bono เจ้าสำนักคิดนอกกรอบกล่าวไว้ว่า ความฉลาดเป็นหลุมพรางอย่างหนึ่งที่ทำให้คนไม่กล้าคิดให้แตกต่าง ทั้งนี้เพราะคนที่มีประสบการณ์หรือมีความรู้มากเกินไปจะเหมือนน้ำที่ล้นแก้ว มักไม่ยอมรับความคิดที่แปลกใหม่ ทั้งยังมีความเชื่อมั่นในความรู้และประสบการณ์ของตัวเองสูง พร้อมกันนั้นก็มักคิดหาทางออกเวลามีปัญหาในรูปแบบเดิมๆ เพราะคิดว่าตนเองเคยใช้วิธีเช่นนั้นแก้ปัญหาได้ ทั้งที่ตัวแปรของปัญหาอาจเปลี่ยนไปจากเมื่อ 20 ปีก่อนแล้ว

         จริงอยู่ว่าประสบการณ์และความรู้เป็นสิ่งที่ทำให้เกิดความคิดที่ครบถ้วนรอบด้าน แต่จะดียิ่งกว่าหากเราเก็บความรู้ไว้เป็นน้ำครึ่งแก้วที่พร้อมจะเติมน้ำหวานสีใหม่ๆ ลงไป เพื่อให้เกิดน้ำรสชาติใหม่ที่ไม่ซ้ำกับใคร
  5. แปรความเสี่ยงเป็นปัจจัยบวก  อุปสรรคอีกอย่างหนึ่งที่ทำให้หลายคนไม่กล้าคิดแตกต่างก็คือ ความเสี่ยง บางคนไม่กล้าเปลี่ยนจากนักบัญชีไปเป็นนักดนตรีตอนอายุสามสิบเศษ เพราะประเมินแล้วว่าอาชีพนักดนตรีมีความเสี่ยงมากกว่า หรือกลัวว่าถ้าเสี่ยงแล้วทำได้ไม่ดีก็จะเกิดความล้มเหลว (ทั้งที่ยังไม่ได้ลงมือทำ) บางคนไม่ยอมหย่าสามีทั้งที่ทะเลาะตบตีกัน เพราะไม่กล้าเสี่ยงที่จะใช้ชีวิตตามลำพัง (ยอมทุกข์อยู่คนเดียวทุกวัน) บ้างก็ไม่กล้าตัดสินใจทำในสิ่งที่แตกต่างเพราะความกลัวจะเกิดความล้มเหลวตามมา

         แน่นอนว่าชีวิตย่อมมีทั้งความสำเร็จและความล้มเหลว แต่จะดีกว่าไหม หากเราค้นหาเป้าหมายและความต้องการของเราให้ชัดเจน จากนั้นจึงเลือกเดินเข้าไปในจุดที่เรียกว่า ความเสี่ยง  พร้อมทั้งแปรเปลี่ยนความเสี่ยงเป็นปัจจัยบวก เป็นจุดเริ่มต้นใหม่ที่เต็มเปี่ยมด้วยความตั้งใจและพลังแห่งความสร้างสรรค์
        
        พร้อมทั้งจำให้ขึ้นใจไว้ว่า ความล้มเหลว ความผิดหวัง และปัญหา มีไว้ให้เราคิดหาทางแก้ หากชีวิตไม่มีความเสี่ยงหรือไม่มีความล้มเหลวในวันนี้ ก็ย่อมจะไม่มีทางใหม่ๆให้เราได้เดินไปสู่ความสำเร็จในวันหน้า
  6. 1+1 ไม่เท่ากับ 2 เสมอไป หากจะคิดให้แตกต่างอย่างแท้จริง สิ่งที่จะต้องลืมให้ได้ในบางครั้งคือทฤษฎีเดิมๆที่เราเคยใช้มองโลกมาตลอดหลายสิบปี เช่น ครูถามนักเรียนอนุบาลว่า มีเงินอยู่ 10 บาท ซื้อขนมไป 3 บาท จะได้เงินทอนเท่าไร แน่นอนว่านักเรียนเกือบทั้งห้องต้องตอบ 7 บาท แต่อาจมีนักเรียนบางคนตอบว่าเหลือ 2 บาท หรือแม้แต่ตอบว่าไม่ต้องทอน เหตุผลของเด็กที่ตอบ 2 บาท ก็เพราะเขาจินตนาการว่า เงิน 10 บาท หมายถึงเหรียญ 5 สองเหรียญ เมื่อซื้อขนม 3 บาท เขาให้เหรียญ 5 แม่ค้าไป จึงได้รับเงินทอน 2 บาท  ส่วนเด็กอีกคนคิดว่าตัวเองมีเหรียญบาทอยู่ในกระเป๋า 10 เหรียญ เขาจ่ายค่าขนมเป็นเหรียญบาท 3 เหรียญ จึงไม่ต้องรับเงินทอนจากแม่ค้า จริงอยู่ว่าในห้องเรียนหรือห้องสอบทุกคำถามมีคำตอบได้เพียง 1 แต่ในโลกแห่งความเป็นจริง 1 คำถามมีได้มากกว่า 1 คำตอบ  เชียงใหม่อาจจะใช้เวลา 1 ชั่วโมง 1 วัน หรือ 1 เดือนในการเดินทางไป ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับว่าเราจะเลือกใช้ยานพาหนะชนิดไหน หรือใช้เส้นทางใดในการเดินทางไปนั่นเอง
  7. ในโลกนี้ไม่มี Good Idea ที่แท้จริง  จงอย่ากลัวที่จะคิด เพียงเพราะเกรงว่าความคิดที่ออกไปจะไม่ใช่ Good Idea หรือความคิดที่ดีเลิศ เพราะในความเป็นจริง ไม่มีความคิดที่ถูกต้องที่สุดบนโลกใบนี้ หากเมื่อใดที่ความคิดที่ดีที่สุดถูกเก็บอยู่ในลิ้นชัก ความคิดนั้นก็มีค่าไม่ต่างอะไรกับศูนย์ ตรงกันข้าม เมื่อไรที่ความคิดที่ (คุณคิดไปเองว่า) แย่ที่สุดถูกดึงขึ้นมาใช้แก้ปัญหาได้ เมื่อนั้น Bad Idea ก็จะกลับกลายมาเป็น Good Idea ในทันที

 


โลกคือทุกสิ่งที่คุณคิด แค่คุณเปลี่ยนมุมมองความคิด โลกก็พร้อมจะเปลี่ยนไปตามคุณ


ที่มา : ?SECRET vol. 3 no. 53 September2010 p64-66

คำสำคัญ :
กลุ่มบทความ :
หมวดหมู่ :
แชร์ :
https://erp.mju.ac.th/acticleDetail.aspx?qid=53
ความคิดเห็นทั้งหมด (0)
ไม่มีข้อมูลตามเงื่อนไขที่ท่านกำหนด
รายการบทความการแลกเปลี่ยนเรียนรู้หมวดหมู่ : ข้อคิดชีวิต ปรัชญา ศาสนา
เก็บมาคิด...เก็บมาเขียน » พักกาย-พักใจ ให้สงบ...เติมพลังให้ชีวิต
การดำเนินชีวิตในยุคศตวรราที่ 21 ต้องมีสติรู้เท่าทันสังคม เทคโนโลยี และสิ่งแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไป การทำสมาธิเพื่อให้จิตสงบเป็นแนวทางหนึ่งที่จะช่วยทำให้คนเรามีสติรู้เท่าทันพร้อมทั้งมีจิตใจที่เข้มแข็...
เข้าพรรษา  คณะผลิตกรรมการเกษตร  ปาณิศา คงสมจิตต์  มหาวิทยาลัยแม่โจ้  ศตวรรษที่ 21  ห้องสมุด     บทความการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทั่วไป   ข้อคิดชีวิต ปรัชญา ศาสนา
ผู้เขียน ปาณิศา วงค์ใส  วันที่เขียน 11/8/2559 16:25:41  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 28/3/2567 15:22:11   เปิดอ่าน 4242  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
เรื่องนี้ต้องแบ่งปัน » ภูมิปัญญาบรรพบุรุษจากกลองหลวงล้านนาไทย
บทความเรื่อง"ภูมิปัญญาบรรพบุรุษจากกลองหลวงล้านนาไทย"มีวัตถุประสงค์เพื่อร่วมส่งเสริมในด้านทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมของคณะผลิตกรรมการเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้ โดยบทความนี้ได้รับการตีพิมพ์ลงในวารสารแม่โจ้ปร...
กลองหลวงล้านนา  ภูมิปัญญา  มหาวิทยาลัยแม่โจ้  ศิลปวัฒนธรรม  ห้องสมุดคณะผลิตกรรมการเกษตร     บทความการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทั่วไป   ข้อคิดชีวิต ปรัชญา ศาสนา
ผู้เขียน ปาณิศา วงค์ใส  วันที่เขียน 7/9/2558 15:37:43  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 28/3/2567 21:33:14   เปิดอ่าน 4337  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
เรื่องนี้ต้องแบ่งปัน » ชีวิตยังงดงาม...ด้วยเส้นทางแห่งแรงบุญ
"ชีวิตยังงดงาม...ด้วยเส้นทางแห่งแรงบุญ" เป็นการเล่าเรื่องประกอบภาพที่ผู้เขียนได้มีโอกาสร่วมเดินทางไปพร้อมกับบุคลากรของคณะผลิตกรรมการเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้ เนื่องในกิจกรรมถวายเทียนพรรษา ประจำปี 255...
คณะผลิตกรรมการเกษตร  ถวายเทียนพรรษา  วัดพระเจ้าหลวง(ม่อนพระเจ้าหลาย)  ห้องสมุด     บทความการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทั่วไป   ข้อคิดชีวิต ปรัชญา ศาสนา
ผู้เขียน ปาณิศา วงค์ใส  วันที่เขียน 30/7/2558 15:05:27  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 28/3/2567 11:14:34   เปิดอ่าน 4446  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง