มาช่วยกันใช้ “คำลงท้าย” ให้ถูกต้องกันดีกว่า ^^
วันที่เขียน 13/1/2554 18:07:25     แก้ไขล่าสุดเมื่อ 21/11/2567 19:05:51
เปิดอ่าน: 66111 ครั้ง

ภาษาไทย เป็นสมบัติของคนไทยทุกคน ดังนั้น จึงเป็นหน้าที่ของพวกเราทุกคนที่ควรช่วยกันรักษาและใช้ให้ถูกต้อง พูดให้ชัด เขียนให้ถูก ไม่ใช่เรื่องยาก..ขอเพียงใส่ใจ และร่วมกันใช้ให้ถูก เท่านั้นเอง ^U^

มาช่วยกันใช้ “คำลงท้าย” ให้ถูกต้องกันดีกว่า ^^

“คำลงท้าย” เป็นคำที่ทำให้หลายคนหวั่นใจ (เมื่อต้องใช้) เพราะไม่แน่ใจ ว่า จะใช้ “นะคะ” หรือ “นะค่ะ” หรือ “น่ะค่ะ” หรือ “นะจ๊ะ” หรือ “นะจ้ะ” หรือ ฯลฯ ดี


     ผู้เขียนในฐานะครูสอนภาษาไทย พบปัญหานี้มาก ในแทบทุกที่และแทบทุกโอกาส จึงพยายามตามแก้ เท่าที่จะทาได้(บางครั้งก็ตามอธิบายด้วย) แต่ก็คงไม่ถึงหนึ่งเปอร์เซ็นต์ของจำนวนที่มีการใช้ผิด วันนี้จึงอยากจะขอเชิญชวนให้ทุกคน เสียเวลานิดหน่อย เพื่อทำความเข้าใจ และดูตัวอย่าง เผื่อว่าจะได้นำไปเป็นแนวเทียบ(เมื่อต้องใช้) และสามารถใช้ได้อย่างถูกต้องเหมาะสม


โอกาสนี้ ขอนำเสนอ “คำลงท้าย” ที่มักใช้กันบ่อย ๆ จำนวน ๒ คู่ ได้แก่ “คะ – ค่ะ” และ “จ๊ะ-จ้ะ”


     คำลงท้าย “คะ“ เป็นคำลงท้ายที่จะปรากฏท้ายประโยคคำถาม ประโยคบอกเล่า และประโยคที่มีลักษณะเป็นการขอร้อง เชิญชวน แนะนำ หรือแสดงความเห็น นอกจากนั้นยังปรากฏหลังคำเรียกขาน คำทักทาย และใช้เป็น คำตอบรับได้ด้วย


ตัวอย่าง

 

  • คุณแม่คะ , อาจารย์คะ, คุณคะ, เพื่อน ๆ คะ, คุณสมชายคะ (คำเรียกขาน)
  • อาจารย์ว่างรึเปล่าคะ (คำถาม)
  • คุณอาเรียกเขาว่ายังไงคะ (คำถาม)
  • คุณแม่ขา คอยหนูเดี๋ยวนะคะ (คำขอร้อง)
  • เชิญนั่งก่อนสิคะท่าน (เชิญชวน)
  • ดิฉันขอแสดงความเห็นสักนิดนะคะ (แสดงความเห็น)
  • ดิฉันบอกคุณสมชายแล้วนะคะ (บอกเล่า)
  • คุณสมชายสบายดีเหรอคะ (คำทักทาย)
  • ขอให้ทุกฝ่ายช่วยกันนะคะ (คำขอร้อง)

CASE 1

  • ก : คุณสมศรีคะ (คำเรียกขาน)
  • ข : คะ1  มีอะไรเหรอคะ2 (1คำตอบรับ) , (2คำถาม)

ขอความกรุณาช่วยติดต่อกลับด้วยนะคะ (ขอร้อง)

คำลงท้าย “ค่ะ” เป็นคำลงท้ายที่ปรากฏท้ายประโยคบอกเล่า ประโยคปฏิเสธ หรือประโยคที่มีลักษณะเชิญชวนหรือขอร้อง และยังใช้เป็นคำตอบรับ (Response) ได้ด้วย

ตัวอย่าง

  • อาจารย์คะ หนังสือที่อาจารย์สั่งซื้อ ยังไม่มาเลยค่ะ (บอกเล่า)
  • ขอความกรุณาช่วยส่งจดหมายตอบกลับด้วยค่ะ (ขอร้อง)
  • อาจารย์ขา หนูกราบขอบพระคุณค่ะ (บอกเล่า)
  • ขอเชิญทุกท่านรับชมได้เลยค่ะ (เชิญชวน)
  • น้องก็ยังตรวจงานนักศึกษาไม่เสร็จเหมือนกันค่ะ (ปฏิเสธ)
  • ส่งต้นฉบับได้ตั้งแต่วันนี้จนถึงวันที่ ๑๐ สิงหาคม ๒๕๕๓ ค่ะ (บอกเล่า)
  • ยายหนูหัวแข็งเหลือเกินเจ้าค่ะหลวงพ่อ (บอกเล่า)
  • หลวงปู่คะ นิมนต์เจ้าค่ะ (ขอร้อง)


      คำลงท้าย “จ๊ะ” เป็นคำลงท้ายที่ปรากฏท้ายประโยคประเภทเดียวกับคำลงท้าย “คะ” คือ จะปรากฏท้ายประโยคคำถาม บอกเล่า ขอร้อง เชิญชวน แนะนำ หรือแสดงความเห็น นอกจากนั้นยังปรากฏหลังคำเรียกขาน คำทักทาย และใช้เป็นคำตอบรับได้ด้วย

     คำลงท้ายนี้จะใช้ในกรณีที่ไม่เป็นทางการ แต่ก็นับว่าเป็นคำลงท้ายที่ใช้แสดงความสุภาพในการสนทนาเช่นกัน มักจะใช้ในกรณีที่คู่สนทนามีความสนิทสนม หรือเป็นกันเอง คือผู้พูดและผู้ฟังมีฐานะทางสังคมเท่ากัน และมักมีอายุไล่เลี่ยกัน เช่น การสนทนาระหว่างเพื่อนฝูง เป็นต้น ส่วนใหญ่ผู้ใช้มักเป็นผู้หญิง


ตัวอย่าง

  • สุธานีตัวเองให้เด็กทำอะไรอยู่จ๊ะนั่น (คำถาม)
  • อรพรรณไปซื้อปากกาให้ครูหน่อยได้มั้ยจ๊ะ (คำถาม)
  • นั่งก่อนซิจ๊ะเธอ (เชิญชวน)
  • นุชให้เค้าไปด้วยคนนะจ๊ะ (ขอร้อง)
  • เธอลองพูดกับเขาก่อนซิจ๊ะ (แนะนำ)
  • ติ๋มจ๊ะ อย่าลืมหนังสือของเค้าล่ะ (คำเรียกขาน)
  • สบายดีเหรอจ๊ะเธอ (คำทักทาย)
  • ต๋อมจ๊ะ (คำเรียกขาน), จ๊ะ อะไรเหรอ (คำตอบรับ)
  • เราไปหาเขามาแล้วนะจ๊ะ (บอกเล่า)
  • ขอให้ทุกคนให้ความร่วมมือด้วยนะจ๊ะ (ขอร้อง)


      คำลงท้าย “จ้ะ” เป็นคำลงท้ายที่ปรากฏท้ายประโยคประเภทเดียวกับคำลงท้าย “ค่ะ” คือจะปรากฏท้ายประโยคบอกเล่า ปฏิเสธ หรือประโยคคำสั่ง ขอร้อง และใช้เป็นคำตอบรับด้วย

คำลงท้ายนี้จะใช้ในกรณีที่ไม่เป็นทางการ แต่ก็นับว่าเป็นการแสดงความสุภาพในการสนทนาด้วยเช่นกัน

ตัวอย่าง

  • นักศึกษาช่วยครูยกเอกสารหน่อยจ้ะ (ขอร้อง)
  • เราไม่อยากไปหรอกจ้ะ (บอกเล่า)
  • โอเคจ้ะ ชรัสเธอจัดการได้เลยนะ (คำบอกเล่า)
  •   ก : กินข้าวด้วยกันซิจ๊ะ
      ข : ไม่หรอกจ้ะ ขอบใจ (ปฏิเสธ)
  •   ก : น้อย ตัวเองอย่าลืมซื้อหนังสือให้เค้านะ
      ข : จ้ะ ไม่ลืมหรอก (คำตอบรับ)
  •   ลูก : อันนี้ของผมใช่มั้ยครับ
      แม่ : จ้ะลูก (คำตอบรับ)


ภาษาไทย เป็นสมบัติของคนไทยทุกคน ดังนั้น จึงเป็นหน้าที่ของพวกเราทุกคนที่ควรช่วยกันรักษาและใช้ให้ถูกต้อง พูดให้ชัด เขียนให้ถูก ไม่ใช่เรื่องยาก..ขอเพียงใส่ใจ และร่วมกันใช้ให้ถูก  เท่านั้นเอง ^U^

เรียบเรียบโดย

  1. อ.สุวรรณ เลียงหิรัญถาวร กลุ่มวิชาภาษาไทยและภาษาตะวันออก คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ (สิงหาคม ๒๕๕๓)

คำสำคัญ :
กลุ่มบทความ :
หมวดหมู่ :
แชร์ :
https://erp.mju.ac.th/acticleDetail.aspx?qid=42
ความคิดเห็นทั้งหมด (1)
zSqTbmlTqBnEyT     วันที่เขียน : 15/8/2554 0:00:00

life insurance 615 home insurance dnrqd

รายการบทความการแลกเปลี่ยนเรียนรู้หมวดหมู่ : การศึกษา การเรียนการสอน
การอบรมและสัมมนา » link smart home cabling system technology for the future
เนื้อหาการอบรม link smart home cabling system technology for the future จะเป็นการให้ความรู้เกี่ยวกับความหมายของเครือข่ายและข่ายสายสัญญาณ รูปแบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ (Network Topology) องค์ประกอบพื้น...
เครือข่ายและข่ายสายสัญญาณ  ช่องทางการติดต่อสื่อสารในระบบโทรคมนาคม  ประเภทของสายสัญญาณและ connector  รูปแบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์  เส้นใยนำแสง  องค์ประกอบพื้นฐานในการสื่อสารข้อมูล     บทความการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทั่วไป   การศึกษา การเรียนการสอน
ผู้เขียน ภานุวัฒน์ เมฆะ  วันที่เขียน 10/7/2567 9:56:15  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 21/11/2567 15:56:15   เปิดอ่าน 267  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
ผลงานวิจัย » เทคนิคการเขียนบทความทางวิชาการฯ
ในการเขียนบทความ ควรเริ่มจากการทำแผนที่บทความเพื่อแบ่งสัดส่วนของหัวข้อของบทความข้างต้นตามเกณฑ์วารสารที่กำหนดจะทำให้การเขียนง่ายขึ้น สามารถใช้ ChatGPT ช่วยในการเขียนตามหัวข้อที่กำหนดได้ง่ายขึ้น
  บทความการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทั่วไป   การศึกษา การเรียนการสอน
ผู้เขียน หนึ่งหทัย ชัยอาภร  วันที่เขียน 4/3/2567 10:46:23  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 21/11/2567 15:50:09   เปิดอ่าน 618  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง