เพชะ คุชะ (Pecha Kucha) ช่วยสร้างสรรค์ความคิดและความมั่นใจ
วันที่เขียน 26/7/2557 17:47:21     แก้ไขล่าสุดเมื่อ 21/11/2567 21:14:04
เปิดอ่าน: 13356 ครั้ง

การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนแบบเพชะ คุชะ (Pecha Kucha) นับเป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่จะช่วยทำให้ผู้เรียนเกิดความคิดเชิงสร้างสรรค์แบบกว้างไกลและมีความมั่นใจในตนเองมากยิ่งขึ้น

 

“ เพชะ คุชะ (Pecha  Kucha) ช่วยสร้างสรรค์ความคิดและความมั่นใจ ”

ผู้เขียน :  ปาณิศา  คงสมจิตต์

นักเอกสารสนเทศ : ห้องสมุดคณะผลิตกรรมการเกษตร

 

        เมื่อไม่นานมานี้ ในขณะที่ผู้เขียนทำการสืบค้นข้อมูลข่าวสารทางด้านสารสนเทศ ผ่านโลกอินเทอร์เน็ต  ได้ไปพบเห็นเรื่องราวเกี่ยวกับ เพชะ คุชะ (Pecha  Kucha) ซึ่งเป็นกิจกรรมหนึ่งที่น่าสนใจและเป็นที่นิยมกันอีกในซีกโลกหนึ่ง  โดยกิจกรรมที่ว่านี้เป็นการเปิดโอกาสให้คนที่มีความคิดสร้างสรรค์ได้เข้าร่วมแชร์หรือแบ่งปันเรื่องราวดีๆ ที่ตนเองประทับใจให้คนอื่นได้รับรู้ และใช้เวลาที่ไม่นาน

           

แรกเริ่มเดิมทีของ เพชะ คุชะ (Pecha  Kucha) นี้เกิดจากความคิดของ 2 สถาปนิก ผู้ก่อตั้งบริษัท Klein Dytham Architects (KDa) ในโตเกียวประเทศญี่ปุ่นที่ชื่อ  Astrid Klein  และ Mark Dytham ด้วยความคิดที่เชื่อว่าความคิดสร้างสรรค์ของคนเราสามารถที่จะเติบโตได้จริงก็ต่อเมื่อได้เรียนรู้และแลกเปลี่ยนกับคนอื่นๆ อย่างเปิดกว้าง  และนั่นเองก็เป็นจุดเริ่มต้นให้มีกิจกรรมเกี่ยวกับ เพชะ คุชะ (Pecha  Kucha)

           

หลักการของ เพชะ คุชะ (Pecha  Kucha) ที่ผู้เขียนสรุปได้ก็คือว่า ให้เรานำความคิดสร้างสรรค์ที่ได้จากการทำงาน  การเรียนรู้  การพบเห็นเหตุการณ์ในเรื่องราวของสิ่งต่างๆ  ที่เกิดขึ้นในชีวิตประจำวันรวมไปถึงสิ่งแวดล้อมที่เกิดขึ้นรอบตัวเรา  นำมาพูดบรรยายให้คนอื่นได้รับทราบโดยเนื้อหาเรื่องราวเหล่านั้นจะถูกนำเสนอผ่านภาพสไลด์จำนวน 20 ภาพ ซึ่งแต่ละภาพจะปรากฏอยู่บนหน้าจอนาน 20 วินาที รวมเวลาแล้วแต่ละคนจะใช้เวลาในการนำเสนอบนเวทีประมาณ 6 นาที 40 วินาที เมื่อพูดจบ ผู้พูดคนต่อไปก็จะขึ้นไปนำเสนอผลงานของตนเองต่อ

           

ในช่วงระยะเวลาเพียงไม่กี่ปีกิจกรรม เพชะ คุชะ (Pecha  Kucha) ก็เป็นที่นิยมไปมากกว่า 70 เมืองทั่วโลกรวมถึงที่ประเทศไทยของเราด้วย เนื่องจากเป็นกิจกรรมที่เปิดโอกาสให้คนทั่วไปซึ่งจะเป็นใครก็ได้ในทุกสาขาหน้าที่อาชีพการงาน ได้มีเวทีแสดงออกถึงความคิดเชิงสร้างสรรค์ กล้าพูด  กล้านำเสนอ  มุมมองในรูปแบบด้านต่างๆ แบบนอกกรอบและทำให้ผู้พูดมีความเชื่อมั่นในตนเองมากขึ้นท่ามกลางผู้ฟังที่หลากหลาย

           

ผู้เขียนเห็นว่าในยุคศตวรรษที่ 21 ที่การเรียนการสอนในบ้านเรามุ่งเน้นให้ผู้เรียนเป็นจุดศูนย์กลางและให้ผู้เรียนมีบทบาทมากขึ้น  ถ้านำกิจกรรมเพชะ คุชะ (Pecha  Kucha) มาประยุกต์  ปรับใช้ในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนก็นับว่าเป็นเรื่องที่น่าสนใจ เพราะผู้เรียนในปัจจุบันส่วนใหญ่ก็ใช้เทคโนโลยีทางด้านคอมพิวเตอร์กันอยู่แล้ว การนำกิจกรรมเพชะ คุชะ (Pecha  Kucha)ไปผสมผสานโดยผ่านรูปแบบที่ใกล้เคียงกับการทำพาวเวอร์พ้อยท์ (Power Point) และให้ผู้เรียนได้นำเนื้อหา / ชิ้นงาน มานำเสนอแบบเพชะ คุชะ (Pecha  Kucha) ก็น่าจะเป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่ช่วยทำให้ได้ความคิดเชิงสร้างสรรค์ของผู้เรียนแบบนอกกรอบ เป็นการเปิดความคิดของผู้เรียนให้กว้างไกลออกไปไม่จำกัด และที่สำคัญทำให้ผู้เรียนเกิดความเชื่อมั่นในตัวเองต่อการนำเสนองานท่ามกลางผู้ฟังจำนวนมาก  ใช้เวลากระชับ  ไม่เยิ่นเย้อ  อีกทั้งเมื่อผู้เรียนได้ฝึกปฏิบัติบ่อยๆ จนเกิดเป็นความชำนาญมากยิ่งขึ้น ก็จะเป็นพื้นฐานที่สามารถนำไปต่อยอดเพื่อนำเสนอผลงานต่าง ๆ ในอนาคตได้เป็นอย่างดี

 

 

  • แหล่งอ้างอิง

คอลัมน์ หนึ่ง-ศูนย์-ศูนย์-หนึ่ง . การนำเสนออย่างอุลตร้าแมน. หนังสือพิมพ์เดลินิวส์ 7 มีนาคม 

            2557  : หน้า 10.

www.manager.co.th/Daily/ViewNews.aspx?NewsID=9490000137866 (ออนไลน์ ) เมื่อ 26

            กรกฎาคม 2557

www.pechakucha.org/faq (ออนไลน์ ) เมื่อ 24 มิถุนายน 2557

ความคิดเห็นทั้งหมด (0)
ไม่มีข้อมูลตามเงื่อนไขที่ท่านกำหนด
รายการบทความการแลกเปลี่ยนเรียนรู้หมวดหมู่ : การศึกษา การเรียนการสอน
การอบรมและสัมมนา » link smart home cabling system technology for the future
เนื้อหาการอบรม link smart home cabling system technology for the future จะเป็นการให้ความรู้เกี่ยวกับความหมายของเครือข่ายและข่ายสายสัญญาณ รูปแบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ (Network Topology) องค์ประกอบพื้น...
เครือข่ายและข่ายสายสัญญาณ  ช่องทางการติดต่อสื่อสารในระบบโทรคมนาคม  ประเภทของสายสัญญาณและ connector  รูปแบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์  เส้นใยนำแสง  องค์ประกอบพื้นฐานในการสื่อสารข้อมูล     บทความการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทั่วไป   การศึกษา การเรียนการสอน
ผู้เขียน ภานุวัฒน์ เมฆะ  วันที่เขียน 10/7/2567 9:56:15  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 21/11/2567 15:56:15   เปิดอ่าน 267  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
ผลงานวิจัย » เทคนิคการเขียนบทความทางวิชาการฯ
ในการเขียนบทความ ควรเริ่มจากการทำแผนที่บทความเพื่อแบ่งสัดส่วนของหัวข้อของบทความข้างต้นตามเกณฑ์วารสารที่กำหนดจะทำให้การเขียนง่ายขึ้น สามารถใช้ ChatGPT ช่วยในการเขียนตามหัวข้อที่กำหนดได้ง่ายขึ้น
  บทความการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทั่วไป   การศึกษา การเรียนการสอน
ผู้เขียน หนึ่งหทัย ชัยอาภร  วันที่เขียน 4/3/2567 10:46:23  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 21/11/2567 15:50:09   เปิดอ่าน 618  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง