"ดูแล(ตา)ตัวเองด้วยนะ..."
วันที่เขียน 7/5/2557 16:41:05     แก้ไขล่าสุดเมื่อ 21/11/2567 22:47:09
เปิดอ่าน: 5054 ครั้ง

การทำงานหน้าจอคอมพิวเตอร์เป็นเระยะเวลาที่ยาวนาน ก่อให้เกิดอาการคอมพิวเตอร์วิชั่นซินโดรม (Computer Vision Syndrome) เรามารู้จักดูแลและป้องกันตัวเองกันเถอะค่ะ

 

“ดูแล(ตา)ตัวเองด้วยนะ...”

ผู้เขียน : ปาณิศา  คงสมจิตต์

นักเอกสารสนเทศ : ห้องสมุดคณะผลิตกรรมการเกษตร

 

            แทบจะกล่าวได้ว่าในสมัยปัจจุบัน โดยเฉพาะคนยุคใหม่ที่จำเป็นต้องใช้เทคโนโลยีและอุปกรณ์ไอที เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งที่ช่วยในการทำงานหรือชีวิตประจำวันที่ต้องข้องเกี่ยวกับโลกของโซเชียล ออนไลน์ มักจะหลีกหนีไม่พ้นในการที่จะต้องใช้สายตาผ่านหน้าจอต่างๆ อาทิเช่น จอคอมพิวเตอร์  จอสมาร์ทโฟน  จอแท็บเล็ต  จอโทรทัศน์ เพื่อที่จะดูหนัง  ฟังเพลง  เล่นเกม  ดูซีรีส์  ส่งอีเมล์  เล่นเฟซบุ๊คส์  ส่งข้อความ  เล่นไลน์ ฯลฯ

            กิจกรรมที่หลากหลายเหล่านี้  ล้วนแล้วแต่ทำให้เราต้องใช้สายตาผ่านหน้าจอต่าง ๆ โดยเฉลี่ยถึงวันละ 8 – 10 ชั่วโมง ก็จะมีผลทำให้กล้ามเนื้อลูกตาของเราต้องทำงานหนัก  จากสถิติพบว่าถ้าคนเราใช้สายตาอยู่กับหน้าจอนานต่อเนื่องมากกว่า 3 ชั่วโมงต่อวัน  จะทำให้เกิดอาการตาเบลอ  ตาแห้ง  แสบตา  สู้แสงไม่ได้  ซึ่งเป็นสัญญาณอันตรายที่เราไม่รู้ตัวและหากใช้สายตามากขึ้นก็จะเกิดอาการคอมพิวเตอร์วิชั่นซินโดรม (Computer  Vision  Syndrome) ซึ่งนอกจากจะทำให้เกิดผลเสียต่อสายตาแล้ว  ก็ยังจะมีอาการของกล้ามเนื้อด้วย เช่น ปวดศีรษะ  ปวดเมื่อยบ่า  ต้นคอ  โดยถ้ามีอาการปวดมากก็จะทำให้นอนไม่หลับ และถ้าพักผ่อนไม่เพียงพอด้วยแล้วก็จะเป็นสาเหตุให้เกิดโรคอื่นตามมาได้

            สำหรับอาการคอมพิวเตอร์วิชั่นซินโดรม (Computer  Vision  Syndrome) มักจะเกิดขึ้นกับคนที่ทำงานอยู่หน้าจอคอมพิวเตอร์ติดต่อกันเป็นเวลานานๆ เช่น เกิน 2- 3 ชั่วโมง มักจะมีอาการปวดตา  ตาเมื่อยล้า  ตาแห้ง  แสบตา  ตาพร่ามัว  ตาสู้แสงไม่ได้  ปวดเมื่อยบ่า  ไหล่  คอ  หรือปวดหลัง  และบ่อยครั้งที่จะมีอาการปวดหัวร่วมด้วย  อาการทางสายตาเหล่านี้เกิดจากการจ้องดูข้อมูลบนคอมพิวเตอร์ติดต่อกันเป็นเวลานานเกินไป  เรียกกลุ่มอาการเหล่านี้ว่า “คอมพิว เตอร์วิชั่นซินโดรม (Computer  Vision  Syndrome)”  หรือ “โรคซีวีเอส”  โดยอาการเหล่านี้พบได้ถึงร้อยละ 75 ของบุคคลที่ใช้คอมพิวเตอร์

            ในอดีตโรคทางสายตามักจะเกิดกับผู้ที่มีอายุเกิน 50 ปี ขึ้นไป แต่ในยุคสมัยนี้ ที่จัดว่าเป็นยุค  Gen Me  ( Me  Generation  คนในยุค Gen Me จะมีลักษณะที่อยากมีตัวตนในสังคม  อยากอวดเรื่องของตัวเองให้คนอื่นรับรู้  มีความมั่นใจในตัวเองและอยากรู้อยากเห็นเรื่องของชาวบ้าน   อยากโพสต์รูป   โพสต์ข้อความ   กดแชร์   เรียกไลค์ (Like)   สร้างกระแสให้คนอื่นสนใจตัวเอง ) วิถีชีวิตของคนยุค Gen Me ที่อยู่ในกลุ่มวัยทำงานและกลุ่มวัยรุ่นต้องใช้เทคโนโลยีทางด้านไอทีกันค่อนข้างมาก  จึงส่งผลให้สุขภาพทางสายตาของคนไทยมากกว่า 15 ล้านคน มีสายตาที่ผิดปกติ  โดยในจำนวนนี้คาดว่าจะมีคนไทยตาบอดและสายตาเลือนรางไม่ต่ำว่า 1 ล้านคน  ผู้เขียนอยากให้คุณผู้อ่านได้สำรวจพฤติกรรมการใช้ชีวิตประจำวันของตัวเองดูก่อนว่าเราจัดเข้าข่ายอยู่ในกลุ่มคนที่จำเป็นต้องอยู่หน้าจอต่างๆ เป็นเวลานานหรือไม่  หากจำเป็นก็จะต้องรู้จักดูแลป้องกันถนอมสายตาของตัวเราเอง  ก่อนที่ทุกอย่างจะสายเกินแก้

            ลองมาดูวิธีการช่วยป้องกันและดูแลถนอมสายตากันค่ะ....

 

            1. เมื่อต้องนั่งทำงานอยู่หน้าจอคอมพิวเตอร์ให้หมั่นพักสายตาทุก  15  นาที หรือกะะพริบตาให้บ่อยขึ้น

            2. ปรับแสงหน้าจอคอมพิวเตอร์ให้พอเหมาะหรือนั่งทำงานในที่ที่มีแสงสว่างเพียงพอ

            3. ปรับขนาดตัวหนังสือให้มีขนาดใหญ่ขึ้น  อ่านได้ง่ายชัดเจน

            4. หากดวงตาเกิดอาการล้า ให้นวดคลึงเบาๆ และควรบริหารดวงตาด้วยการกลอกตาไปรอบๆ เป็นวงกลม สัก 5 – 6 รอบ และใช้นิ้วนางทั้ง 2 นิ้ว แตะที่หัวตาแต่ละข้าง คลึงเบาๆ แบบกดจุด นานประมาณ 1 – 2 วินาที

            5 รับประทานอาหารที่มีวิตามินเอ เพื่อช่วยบำรุงสายตาและทานผัก-ผลไม้ ต่างๆ โดยเฉพาะผลไม้ตระกูลเบอรี่ เช่น สตรอเบอรี่  ราสเบอรี่  ฯลฯ ซึ่งมีแอนโธไซยานินและสารต้านอนุมูลอิสระที่จะช่วยคลายความเหนื่อยล้าของดวงตาและช่วยถนอมดวงตาไม่ให้โดนทำลาย

            ผู้เขียนก็หวังว่า  บทความเรื่องนี้ก็คงพอเป็นแนวทางให้คุณผู้อ่านที่ต้องใช้ชีวิตติดอยู่กับหน้าจอนานๆ นำไปประยุกต์และดูแล(ตา)ตัวเอง กันได้บ้างนะคะ  ฝากทิ้งท้ายด้วยภาษิตที่บอกว่า 

“ อัตตาหิ  อัตตาโนนาโถ    ตน...แล  เป็นที่พึ่งแห่งตน”   ดูแลตัวเองกันด้วยนะคะ......

 

 

 

*แหล่งอ้างอิง            

            - คอลัมน์หมายเหตุประชาชน  . หนังสือพิมพ์เดลินิวส์ :  หน้า 8 , ฉบับวันที่ 27  กุมภาพันธ์ 2557.

- คอลัมน์ชีวิตและสุขภาพ  . หนังสือพิมพ์เดลินิวส์ :  หน้า 6 , ฉบับวันที่ 9 มีนาคม 2557.

- guru.sanook.com/8053/โรคคอมพิวเตอร์วิชั่นซินโดรม- (Computer – Vision-  Syndrome) (ออนไลน์)  7 พฤษภาคม 2557.

- policeprinting.police.go.th/ppb/?p=1297(ออนไลน์)  7 พฤษภาคม 2557.

- talk.mthai.com/topic/384209 (ออนไลน์)  7 พฤษภาคม 2557.

 

 

 

ความคิดเห็นทั้งหมด (0)
ไม่มีข้อมูลตามเงื่อนไขที่ท่านกำหนด
รายการบทความการแลกเปลี่ยนเรียนรู้หมวดหมู่ : การแพทย์ สุขภาพ สุขภาวะ
การจัดการความรู้ » บุหรี่ไฟฟ้า: อันตรายและการป้องกันการสูบในวัยรุ่น
การสูบบุหรี่ไฟฟ้าในวัยรุ่นพบว่ามีจำนวนเพิ่มสูงขึ้น สาเหตุหนึ่งคือความเข้าใจผิดคิดว่าบุหรี่ไฟฟ้าไม่มีอันตรายเรื่องจากมีการแต่งกลิ่นต่างๆ เพื่อจูงใจวัยรุ่น แต่ในความเป็นจริงแล้วยังมีสารเสพติดที่ร้ายแ...
บุหรี่ไฟฟ้า นิโคติน การป้องกันการสูบบุหรี่ในวัยรุ่น     บทความการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทั่วไป   การแพทย์ สุขภาพ สุขภาวะ
ผู้เขียน วารุณี ผ่องแผ้ว  วันที่เขียน 11/2/2566 0:34:07  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 21/11/2567 15:43:41   เปิดอ่าน 896  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
ไบโอเซนเซอร์ » ทำไมไบโอเซนเซอร์เป็นงานวิจัยที่น่าสนใจในปัจจุบัน
จากบทความตอนที่แล้วที่ได้กล่าวถึงคุณลักษณะของไบโอเซนเซอร์ไปแล้ว ในปัจจุบันไบโอเซนเซอร์มีความก้าวหน้ามากขึ้นเนื่องจากความสะดวกสบายในการใช้งาน ราคาที่จับต้องได้ และยังปัจจัยอื่นๆ ที่ทำให้งานวิจัยด้าน...
ตลาดของไบโอเซนเซอร์     บทความการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทั่วไป   การแพทย์ สุขภาพ สุขภาวะ
ผู้เขียน ธานินทร์ แตงกวารัมย์  วันที่เขียน 4/9/2561 5:17:39  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 21/11/2567 16:18:00   เปิดอ่าน 3923  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
ไบโอเซนเซอร์ » ไบโอเซนเซอร์
ไบโอเซนเซอร์เป็นอุปกรณ์การตรวจวัดทางชีวภาพโดยการใช้สารชีวภาพเปลี่ยนปริมาณสารที่ต้องการตรวจวัด (Converts) ให้เป็นสัญญาณทางไฟฟ้า (Electrical signal) ที่สามารถตรวจวัดได้ การพัฒนาไบโอเซนเซอร์และเซนเซอร...
  บทความการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทั่วไป   การแพทย์ สุขภาพ สุขภาวะ
ผู้เขียน ธานินทร์ แตงกวารัมย์  วันที่เขียน 18/3/2560 21:55:36  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 21/11/2567 22:09:27   เปิดอ่าน 20847  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
โครงการพัฒนาบุคลากรสายสนับสนุนวิชาการ ประจำปีงบประมาณ 2559 » การจัดสถานที่ในการทำงานและการยืดกล้ามเนื้อในระหว่างการทำงาน
การจัดสถานที่ในการทำงานและท่าทางที่เหมาะสมในการทำงานสำคัญอย่างไร? เคยมีอาการปวดเมื่อยกล้ามเนื้อคอ ไหล่และหลังกันบ้างรึเปล่า? เคยมีอาการปวดศีรษะ ปวดตากันบ้างไหม? แล้วทำไมเราถึงเกิดอาการเหล่านี้ได้...
การจัดสถานที่การทำงาน  การยืดเหยียดกล้ามเนื้อ  ท่าทางการทำงาน     บทความการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทั่วไป   การแพทย์ สุขภาพ สุขภาวะ
ผู้เขียน จิราดร ถิ่นอ่วน  วันที่เขียน 29/8/2559 16:05:46  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 21/11/2567 15:35:22   เปิดอ่าน 4572  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง