ประชุมวิชาการ EENET 2014
วันที่เขียน 2/5/2557 13:40:58     แก้ไขล่าสุดเมื่อ 21/11/2567 18:33:37
เปิดอ่าน: 5235 ครั้ง

การได้เข้าร่วมประชุมวิชาการในงาน EENET 2014 ครั้งนี้ ทำให้ได้รับการเพิ่มพูนความรู้ ทักษะทางวิชาการ และการวิจัยด้านวิศวกรรมไฟฟ้าและสาขาวิชาที่เกี่ยวข้อง

การได้เข้าร่วมประชุมวิชาการในงาน EENET 2014 ครั้งนี้ ทำให้ได้รับการเพิ่มพูนความรู้ ทักษะทางวิชาการ และการวิจัยด้านวิศวกรรมไฟฟ้าและสาขาวิชาที่เกี่ยวข้อง เพราะในงานนี้มีนักวิชาการและนักวิจัยเข้าร่วมและส่งบทความเป็นจำนวนมาก ซึ่งเป็นงานวิจัยที่มีความหลากหลายกลุ่มทางด้านวิศวกรรม เช่น ไฟฟ้ากำลัง (Electrical Power) อิเล็กทรอนิกส์ (Electronics) ไฟฟ้าสื่อสาร (Electric Communication) อิเล็กทรอนิกส์กำลัง (Power Electronics) คอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ (Computer and Information Technology) ระบบควบคุมและการวัด (Control Systems and Instrumentation) การประมวลผลสัญญาณดิจิตอล (Digital Signal Processing) พลังงานและการอนุรักษ์พลังงาน (Energy and Energy Saving) และนวัตกรรมและสิ่งประดิษฐ์ (Innovation and Invention) โดยมี Keynote Speakers ซึ่งได้แก่ ศ.ดร. ดุสิต เครืองาม กรรมการผู้จัดการ บริษัทไทยโซลาร์ฟิวเจอร์ จำกัด นายกสมาคมอุตสาหกรรมเซลล์แสงอาทิตย์ไทย มาบรรยายในหัวข้อ “สถานภาพการเทคโนโลยีและการส่งเสริมการผลิตไฟฟ้าด้วยเซลล์แสงอาทิตย์ของประเทศไทย และบทบาทของสถาบันการศึกษาด้านวิศวกรรมไฟฟ้า" ซึ่งท่านได้บรรยายให้ผู้เข้าร่วมประชุมได้ตะหนักถึงการใช้พลังงานทดแทนอย่างเช่น เซลล์แสงอาทิตย์ ซึ่งการผลิตกระแสไฟฟ้าด้วยเซลล์แสงอาทิตย์เป็นหนึ่งในนโยบายการผลิตพลังงานทดแทนของประเทศไทย และเมื่อเปรียบเทียบกับพลังงานทดแทนอื่นๆ ที่มีการค้นคว้าวิจัยในประเทศไทย เช่น พลังงานลม พลังงานความร้อนใต้พิภพ ปรากฏเห็นได้เด่นชัดว่า เทคโนโลยีเซลล์แสงอาทิตย์ถูกนำมาใช้งานได้อย่างประสบความสำเร็จมากที่สุด เช่น ใช้ในหมู่บ้านชนบทห่างไกลที่สายไฟฟ้าไปไม่ถึง ใช้สูบน้ำบาดาลในพื้นที่ทุรกันดาร ใช้ในระบบสื่อสารถ่ายทอดสัญญาณโทรศัพท์ ใช้ในการทหาร ฯลฯ สำหรับในประเทศไทย บนพื้นที่ 1 ตารางเมตร จะได้รับพลังงานแสงอาทิตย์ประมาณ 1,000 W หรือเฉลี่ย 4-5 kWh/m2/day ซึ่งหมายความว่า ในวันหนึ่งๆ บนพื้นที่เพียง 1 ตารางเมตรนั้น เราได้รับพลังงานแสงอาทิตย์ 1 kW เป็นเวลานานถึง 4-5 ชั่วโมงนั่นเอง ถ้าเซลล์แสงอาทิตย์มีประสิทธิภาพในการแปลงพลังงานเท่ากับ 15% ก็แสดงว่า เซลล์แสงอาทิตย์ที่มีพื้นที่ 1 ตารางเมตร จะสามารถผลิตพลังงานไฟฟ้าได้ 150 W หรือเฉลี่ย 600-750 kWh/m2/day นั่นเอง ดังนั้นถ้าทุกคนหันมาใช้พลังงานแสงอาทิตย์ก็จะช่วยลดการใช้น้ำมันไปได้มากทีเดียว นอกจากนี้ยังได้รับฟังบรรยายจาก ดร. ฐิติพร สังข์เพชร จากการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย บรรยายในหัวข้อ “Smart Grid Technologies กับแนวทางการพัฒนาระบบส่งไฟฟ้าของไทย” ซึ่งท่านได้บรรยายให้ผู้เข้าร่วมประชุมได้รู้จักกับระบบส่งจ่ายกำลังไฟฟ้าอัจฉริยะ หรือ Smart Grid ซึ่งเป็นโครงข่ายไฟฟ้าที่ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ และการสื่อสารมาบริหารจัดการ ควบคุมการผลิต ส่ง และจ่ายพลังงานไฟฟ้า สามารถรองรับการเชื่อมต่อระบบไฟฟ้าจากแหล่งพลังงานทางเลือกที่สะอาดที่กระจายอยู่ทั่วไป (Distributed Energy Resource : DER) และระบบบริหารการใช้สินทรัพย์ให้เกิดประโยชน์สูงสุด รวมทั้งให้บริการกับผู้เชื่อมต่อกับโครงข่ายผ่านมิเตอร์อัจฉริยะได้อย่างมีประสิทธิภาพ มีความมั่นคง ปลอดภัย เชื่อถือได้ มีคุณภาพไฟฟ้าได้มาตรฐานสากล ซึ่งในปัจจุบันประเทศไทยกำลังอยู่ในขั้นศึกษาและทดสอบระบบส่งจ่ายกำลังไฟฟ้าอัจฉริยะนี้ โดยต้องคำนึงถึงการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีอย่างเหมาะสม ต้องส่งผลให้เกิดความมั่นคงด้านพลังงาน ต้องสามารถลดผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมและสามารถเพิ่มประสิทธิภาพด้านการใช้พลังงานของประเทศด้วย

ในด้านของงานวิจัย จากการได้เข้าร่วมประชุมวิชาการในครั้งนี้พบว่า งานวิจัยทางด้านวิศวกรรมไฟฟ้ายังขาดการใช้หลักการทางคณิตศาสตร์เข้ามาช่วยในการทำวิจัยอย่างเชิงลึก ส่วนใหญ่จะเน้นไปที่การทำการทดลอง ซึ่งจะต้องมีการทดลองซ้ำหลายๆครั้ง ซึ่งในความเป็นจริงแล้ว สามารถที่จะนำความรู้ทางด้านแบบจำลองทางคณิตศาสตร์มาช่วยในเรื่องนี้ได้ ซึ่งจะช่วยลดเวลาและค่าใช้จ่ายในการทำการทดลองไปได้มาก จึงเป็นแนวทางในการคิดหัวข้อวิจัยต่อไปที่จะนำแบบจำลองทางคณิตศาสตร์มาประยุกต์ใช้กับงานทางด้านวิศวกรรมไฟฟ้า

 

คำสำคัญ :
กลุ่มบทความ :
หมวดหมู่ :
แชร์ :
https://erp.mju.ac.th/acticleDetail.aspx?qid=292
ความคิดเห็นทั้งหมด (0)
ไม่มีข้อมูลตามเงื่อนไขที่ท่านกำหนด
รายการบทความการแลกเปลี่ยนเรียนรู้หมวดหมู่ : การศึกษา การเรียนการสอน
การอบรมและสัมมนา » link smart home cabling system technology for the future
เนื้อหาการอบรม link smart home cabling system technology for the future จะเป็นการให้ความรู้เกี่ยวกับความหมายของเครือข่ายและข่ายสายสัญญาณ รูปแบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ (Network Topology) องค์ประกอบพื้น...
เครือข่ายและข่ายสายสัญญาณ  ช่องทางการติดต่อสื่อสารในระบบโทรคมนาคม  ประเภทของสายสัญญาณและ connector  รูปแบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์  เส้นใยนำแสง  องค์ประกอบพื้นฐานในการสื่อสารข้อมูล     บทความการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทั่วไป   การศึกษา การเรียนการสอน
ผู้เขียน ภานุวัฒน์ เมฆะ  วันที่เขียน 10/7/2567 9:56:15  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 21/11/2567 15:56:15   เปิดอ่าน 267  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
ผลงานวิจัย » เทคนิคการเขียนบทความทางวิชาการฯ
ในการเขียนบทความ ควรเริ่มจากการทำแผนที่บทความเพื่อแบ่งสัดส่วนของหัวข้อของบทความข้างต้นตามเกณฑ์วารสารที่กำหนดจะทำให้การเขียนง่ายขึ้น สามารถใช้ ChatGPT ช่วยในการเขียนตามหัวข้อที่กำหนดได้ง่ายขึ้น
  บทความการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทั่วไป   การศึกษา การเรียนการสอน
ผู้เขียน หนึ่งหทัย ชัยอาภร  วันที่เขียน 4/3/2567 10:46:23  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 21/11/2567 15:50:09   เปิดอ่าน 618  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง