ประเภททุนการศึกษาต่อต่างประเทศ
วันที่เขียน 24/9/2555 10:14:58     แก้ไขล่าสุดเมื่อ 21/11/2567 21:45:33
เปิดอ่าน: 13600 ครั้ง

งานทุนและความร่วมมือระหว่างประเทศ กองวิเทศสัมพันธ์ ได้รวบรวมข้อมูลแหล่งทุนที่น่าสนใจจากแหล่งทุนต่างๆ เพื่อเป็นข้อมูลพื้นฐานให้ผู้ที่สนใจแสวงหาแหล่งทุนเพื่อไปศึกษาต่อ วิจัย ฝึกอบรม และแลกเปลี่ยนได้ใช้เป็นข้อมูลในการพิจารณาตัดสินใจเลือกแหล่งทุนที่ตรงกับความต้องการ โดยรวบรวมแหล่งทุนไว้จำนวน 22 แหล่งทุน โดยแต่ละแหล่งทุนได้เปิดโอกาสให้บุคลากรและนักศึกษาที่สนใจและมีคุณสมบัติเหมาะสมสมัครเพื่อขอรับทุนตามวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้

งานทุนและความร่วมมือระหว่างประเทศ กองวิเทศสัมพันธ์ เป็นหน่วยงานที่มีภารกิจหลักในการดำเนินงานด้านทุนการศึกษาจากต่างประเทศ ซึ่งจะช่วยสนับสนุนให้บุคลากรและนักศึกษาของมหาวิทยาลัยแม่โจ้ ได้มีโอกาสในการพัฒนาศักยภาพของตนเองโดยการเดินทางไปศึกษา วิจัย ฝึกอบรม และแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในด้านที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาและปฏิบัติงานกับหน่วยงานในต่างประเทศ งานทุนและความร่วมมือระหว่างประเทศ จึงได้รวบรวมข้อมูลแหล่งทุนต่างๆ และแยกประเภททุนเพื่อให้นักศึกษาและบุคลการที่สนใจได้รับทราบข้อมูลทุนที่มีการประชาสัมพันธ์ผ่านมหาวิทยาลัยแม่โจ้ เพื่อเป็นแนวทางให้ผู้ที่ประสงค์จะสมัครรับทุนหรือผู้ที่ปฏิบัติงานเกี่ยวกับทุนจากต่างประเทศได้ใช้ประโยชน์ต่อไป

การแบ่งทุนตามแหล่งทุนที่สนับสนุนและมหาวิทยาลัยแม่โจ้ได้ดำเนินการประชาสัมพันธ์ให้บุคลากรและนักศึกษาที่สนใจทราบ โดยแบ่งทุนออกเป็น 4 ประเภท ดังนี้

ประเภทที่ 1  ทุนโครงการแลกเปลี่ยนของสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.)

ทุนประเภทนี้เป็นทุนที่สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) ได้สนับสนุนงบประมาณให้บุคลากรและนักศึกษาในสถาบันอุดมศึกษาที่สนใจสมัครเข้าร่วมโครงการเพื่อส่งเสริมความร่วมมือทางวิชาการผ่านกิจกรรมแลกเปลี่ยนอาจารย์ นักวิชาการ นักศึกษา ข่าวสารข้อมูลและการวิจัยร่วม ซึ่งจะต้องสมัครโดยผ่านการเสนอชื่อจากหน่วยงานต้นสังกัดและได้รับการตอบรับให้เข้าร่วมกิจกรรมจากสถาบันอุดมศึกษาต่างประเทศ ดังนี้

     1) โครงการแลกเปลี่ยนบุคลากรและนักศึกษาไทยกับประเทศอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง (Greater Mekong Sub-region: GMS)

     2) โครงการแลกเปลี่ยนนักศึกษาของสถาบันอุดมศึกษาไทยกับต่างประเทศ (UMAP)

     3) โครงการทุนการศึกษาภายใต้ ASEM-DUO Fellowship Program

     4)  โครงการแลกเปลี่ยนนักศึกษาไทยและอาเซียน

ประเภทที่ 2 ทุนต่างประเทศที่อยู่ภายใต้การกำกับดูแลของหน่วยงานไทย

ทุนประเภทนี้เป็นทุนที่ผู้สมัครจะต้องสมัครโดยให้หน่วยงานต้นสังกัดเป็นผู้เสนอชื่อผ่านหน่วยงานที่ได้รับการประสานจากแหล่งทุนให้เป็นผู้กำกับดูแลในการเสนอชื่อผู้สมัครไปยังแหล่งทุนอีกต่อหนึ่ง เช่น

     1) ทุนที่ให้โดยรัฐบาลประเทศต่างๆ เช่น ทุนรัฐบาลญี่ปุ่น ทุนรัฐบาลจีน ทุนรัฐบาลสวีเดน ทุนรัฐบาลอียิปต์ ทุนรัฐบาลฝรั่งเศส ทุนรัฐบาลอินโดนีเซีย เป็นต้น

     2) ทุนการศึกษาระดับปริญญาโทและปริญญาเอกด้านการเกษตรและสาขาที่เกี่ยวข้องของ ศูนย์ระดับภูมิภาคว่าด้วยบัณฑิตศึกษาและวิจัยด้านเกษตรศาสตร์ของซีมีโอ (SEAMEO SEARCA)

     3) ทุน IATSS Forum จากประเทศญี่ปุ่น

     4) ทุน UNESCO

     5) ทุน Technology Grants ของรัฐบาลออสเตรีย

     6) ทุนโครงการฝึกงานด้านเทคนิคในต่างประเทศของ IAESTE Thailand

ประเภทที่ 3 ทุนจากสถาบันอุดมศึกษาต่างประเทศหรือหน่วยงานต่างประเทศที่มีความร่วมมือทางวิชาการกับมหาวิทยาลัยแม่โจ้

ทุนประเภทนี้เป็นทุนที่มหาวิทยาลัยหรือหน่วยงานต่างประเทศได้มีการลงนามความร่วมมือทางวิชาการ (MOU) กับมหาวิทยาลัยแม่โจ้และได้ประกาศให้ทุนกับบุคลากรและนักศึกษาที่สนใจสมัครรับทุนเพื่อไปศึกษา วิจัย หรือแลกเปลี่ยน

     1) ทุนการศึกษาต่อระดับบัณฑิตศึกษา Special Three-Year Doctoral Program for International Students in Tropical and Subtropical Agriculture and Related Sciences

     2) ทุน  Exchange Program Okayama (EPOK) ของ Okayama University ประเทศญี่ปุ่น 

     3) ทุน  Exchange Students from Partner Universities  (Special Auditing Students และ Special Research Students ของ Mie University ประเทศญี่ปุ่น

     4) โครงการ Women-Tenure-Track Faculty Staff Positions (WTT Staff) ของ Okayama University ประเทศญี่ปุ่น

     5) ทุน Exchange Visiting Scholarship ของ Tokai University (Kyushu Campuses) ประเทศญี่ปุ่น

     6) โครงการแลกเปลี่ยน Program for Academic Exchange (PAX) ของ National Chung Hsing University (NCHU) ไต้หวัน

     7) ทุนโครงการทัศนศึกษาภายใต้โครงการ The Asian Association of Agricultural Colleges and Universities Study Tour Programme (AAACU Study Tour Programme)

ประเภทที่ 4 ทุนจากแหล่งทุนต่างประเทศโดยตรง ทุนประเภทนี้เป็นทุนเปิดซึ่งผู้สมัครสามารถสมัครโดยตรงกับสถาบัน/หน่วยงานที่ให้ทุน

ทุนประเภทนี้เป็นทุนเปิดที่แหล่งทุนต่างประเทศประกาศให้ทุน ซึ่งผ่านการสมัคร พิจารณาและรับทุนจากแหล่งทุนนั้นๆ โดยตรง เช่น

     1) ทุนมูลนิธิการศึกษาไทย-อเมริกัน (ฟุลไบรท์) จากประเทศสหรัฐอเมริกา

     2)  ทุน Endeavour Awards จากรัฐบาลออสเตรเลีย

     3) ทุน Deutscher Akademischer Austausch Dient (DAAD) หรือ German Academic Exchange Service จากประเทศเยอรมัน

     4) ทุนอีราสมุส มุนดุส (Erasmus Mundus)

     5) ทุนการศึกษาระดับอุดมศึกษาของรัฐบาลญี่ปุ่น (Monbukagakusho: MEXT)

หมายเหตุ: ผู้ประสงค์จะสมัครรับทุนต่างประเทศ สามารถติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่กองวิเทศสัมพันธ์ หรือที่เว็บไซด์ http://www.interaffairs.mju.ac.th/

คำสำคัญ :
กลุ่มบทความ :
หมวดหมู่ :
แชร์ :
https://erp.mju.ac.th/acticleDetail.aspx?qid=219
ความคิดเห็นทั้งหมด (0)
ไม่มีข้อมูลตามเงื่อนไขที่ท่านกำหนด
รายการบทความการแลกเปลี่ยนเรียนรู้หมวดหมู่ : กลุ่มงานบริการการศึกษา
ความรู้จากการเข้าร่วมอบรม » รู้หรือไม่ สายfiber optic สามารถย่อโลกให้เล็กลงได้
สายfiber optic หรือ สายใยแก้วนําแสง คือ สายสัญญาณชนิดหนึ่งที่ผลิตมาจากแก้ว หุ้มด้วยใยพิเศษเพื่อป้องกันการกระแทก โดยการส่งข้อมูลของเส้นใยแก้วนำแสง นั้นจะทำงานจาก การแปลงสัญญาณข้อมูลไฟฟ้าจากอุปกรณ์ต...
Fiber Optic Cable  ไฟเบอร์ออฟติก  สายใยแก้วนําแสง     กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร   กลุ่มงานบริการการศึกษา
ผู้เขียน ประทีป สุขสมัย  วันที่เขียน 6/9/2567 16:49:45  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 21/11/2567 16:49:57   เปิดอ่าน 92  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
การศึกษาดูงานบริการการศึกษา ณ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง และ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย » KM งานบริการการศึกษาและกิจการนักศึกษา คณะบริหารธุรกิจ จากการเข้าศึกษาดูงาน มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง วันที่ 1 พฤษภาคม 2567 และมหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงราย วันที่ 3 พฤษภาคม 2567
งานบริการการศึกษาและกิจการนักศึกษา คณะบริหารธุรกิจ มีแผนการพัฒนางานประจำเพื่อนำความรู้ที่ได้มาปรับปรุงงานประจำ หรือพัฒนาให้เกิดนวัตกรรมของงาน จึงได้วางแผนตั้งแต่การขออนุมัติเข้าร่วมอบรม การพัฒนางาน...
KM, งานบริการการศึกษา     กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร   กลุ่มงานบริการการศึกษา
ผู้เขียน กฤตาณัฐ ศรีประภา  วันที่เขียน 30/8/2567 14:58:46  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 21/11/2567 16:04:23   เปิดอ่าน 142  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
อบรมการพัฒนาตนเองด้านความรู้ ทักษะและพฤติกรรม ปี 2567 » กระบวนการพัฒนางานประจำสู่นวัตกรรมการให้บริการ
การพัฒนางานประจำสู่นวัตกรรมการให้บริการนั้นเป็นกระบวนการที่ต้องใช้เวลาและความพยายาม รวมถึงการมีส่วนร่วมจากพนักงานทุกระดับในองค์กร การนำเทคโนโลยีและการปรับปรุงกระบวนการมาใช้ จะช่วยให้องค์กรสามารถสร้...
การพัฒนา งานประจำ นวัตกรรม     กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร   กลุ่มงานบริการการศึกษา
ผู้เขียน ภาวิณี จีปูคำ  วันที่เขียน 27/6/2567 14:10:39  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 21/11/2567 15:43:07   เปิดอ่าน 233  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง