ความรู้ที่ได้จากการเข้าร่วมสัมมนาทางวิชาการ เครื่องมือวิเคราะห์โลหะหนักที่มีความเป็นพิษด้วยเทคนิควิเคราะห์มวล และเครื่องมือวิเคราะห์ค่า TOC/TN Elemental Analyzer สำหรับงานด้านพลังงานและสิ่งแวดล้อม
วันที่เขียน 28/6/2566 14:01:28     แก้ไขล่าสุดเมื่อ 24/3/2568 10:33:01
เปิดอ่าน: 3346 ครั้ง

เครื่องวิเคราะห์ปริมาณรวมของคาร์บอนอินทรีย์ (Total organic carbon, TOC) เป็นการวัดปริมาณอินทรีย์คาร์บอนทั้งหมดในตัวอย่างที่สามารถออกซิไดซ์เปลี่ยนสภาพไปเป็นก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ และทำการหาปริมาณก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์

สรุปเนื้อหาที่ได้รับจากการเข้าประชุม/อบรม

1. รับฟังบรรยายในหัวข้อ “เครื่องมือวิเคราะห์ค่า TOC/TN Elemental Analyzer สำหรับงานด้านพลังงานและสิ่งแวดล้อม” โดย คุณสุดาพร กองสุวรรณ บจ. อนาไลติค เยนา อินสตรูเมนท์ (ประเทศไทย) (สำนักงานใหญ่) โดยมีเนื้อหาของการบรรยายเกี่ยวกับทฤษฎีและหลักการของเครื่องวิเคราะห์ TOC (Total Organic Carbon) ในการควบคุมคุณภาพน้ำ และความสัมพันธ์กับค่า COD (Chemical Oxygen Demand) รวมทั้งค่า TNb (Total Nitrogen bound ในรูปของแอมโมเนีย แอมโมเนียม ไนไตรท์ ไนเตรท ยกเว้นโมเลกุลก๊าซไนโตรเจน) โดยตัวอย่างที่เป็นของเหลวจะถูกย่อยและเปลี่ยนเป็นก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์และ NO ก่อนการตรวจวัด รวมทั้งบรรยายเกี่ยวกับส่วนประกอบของเครื่อง TOC และตัวอย่างการประยุกต์ใช้ในการวิเคราะห์น้ำผิวดิน น้ำเสีย น้ำทะเล และอุตสาหกรรมแบตเตอรีลิเทียม

2. รับฟังบรรยายในหัวข้อ “การวิเคราะห์หาปริมาณสารโลหะหนักด้วย HR-ICP MS: Speciation Analysis ด้วย LC-ICPMS และการวิเคราะห์โลหะหนักในของแข็ง (LA-ICPMS)” โดย คุณชวัลรัตน์ วัฒนวิบูลย์ บจ. อนาไลติค เยนา อินสตรูเมนท์ (ประเทศไทย) (สำนักงานใหญ่) โดยมีเนื้อหาของการบรรยายเกี่ยวกับทฤษฎีของ ICP-MS (Inductively Coupled Plasma Mass Spectroscopy) หลักการทำงาน การแยกไอออนโดยใช้ค่า mass-to-charge ratio, m/z และส่วนประกอบของเครื่อง ICP-MS ประสิทธิภาพ และข้อได้เปรียบของเทคนิค การกำจัดสารรบกวน (interference management system, iCRC) การเพิ่ม sensitivity ระบบสุญญากาศ และดีเทคเตอร์ (detector) และการประยุกต์ใช้สำหรับตัวอย่างของเหลวและของแข็ง

3. การซัก-ถาม ตอบข้อสงสัยระหว่างวิทยากรและผู้เข้าร่วมอบรม

ความคิดเห็นทั้งหมด (0)
ไม่มีข้อมูลตามเงื่อนไขที่ท่านกำหนด
รายการบทความการแลกเปลี่ยนเรียนรู้หมวดหมู่ : กลุ่มงานสายวิชาการ
การหาเสถียรภาพ (Stability) ของสมการเชิงอนุพันธ์ » การหาเสถียรภาพ (Stability) ของสมการเชิงอนุพันธ์
การหาเสถียรภาพ (Stability) ของสมการเชิงอนุพันธ์เป็นกระบวนการที่ใช้ตรวจสอบว่าคำตอบของสมการเชิงอนุพันธ์มีแนวโน้มที่จะคงที่หรือเปลี่ยนแปลงไปเมื่อเวลาผ่านไป โดยทั่วไป การพิจารณาเสถียรภาพขึ้นอยู่กับพฤต...
การหาเสถียรภาพ  สมการเชิงอนุพันธ์     กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร   กลุ่มงานสายวิชาการ
ผู้เขียน ธวัชชัย เพชรธาราทิพย์  วันที่เขียน 7/3/2568 14:18:42  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 24/3/2568 10:18:12   เปิดอ่าน 69  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
การจัดการองค์ความรู้ที่ได้จากการเข้าร่วมประชุม อบรม สัมมนา » จริยธรรมการวิจัยในมนุษย์ด้านสังคมและพฤติกรรมศาสตร์ รุ่นที่ ๕ : จากหลักการสู่การปฏิบัติ
จริยธรรมการวิจัยในมนุษย์ด้านสังคมและพฤติกรรมศาสตร์ ในทางปฏิบัติมีความจำเป็นจะต้องพิจารณาก่อนที่จะดำเนินการวิจัย โดยยึดหลักตามหลักการของ Belmont Report and Basic Ethical (1978) ประกอบด้วย 3 หลักกา...
จริยธรรมวิจัย  พฤติกรรมศาสตร์  วิจัยในมนุษย์  สังคมศาสตร์     กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร   กลุ่มงานสายวิชาการ
ผู้เขียน ศิรศักดิ์ ศศิวรรณพงศ์  วันที่เขียน 26/2/2568 16:09:31  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 24/3/2568 10:20:22   เปิดอ่าน 94  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
การใช้ AI ในการพัฒนางานวิจัย » ขอรายงานสรุปเนื้อหาและการนำไปใช้ประโยชน์
ตามที่ข้าพเจ้าได้รับอนุญาตให้เข้าร่วมอบรมเชิงปฏิบัติการ หัวข้อ “การใช้ AI ในการพัฒนางานวิจัย” ภายใต้ โครงการการใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่เพื่อขับเคลื่อนงานวิจัยและนวัตกรรมสู่การนำไปใช้ประโยชน์ในวันพุธที่...
AI  งานวิจัย     กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร   กลุ่มงานสายวิชาการ
ผู้เขียน พรพรรณ อุตมัง  วันที่เขียน 21/2/2568 9:49:39  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 24/3/2568 10:21:47   เปิดอ่าน 179  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง