โครงการสัมมนา ในหัวข้อเรื่อง “Microsoft Azure Dev Tools for Teaching & Trends Technology ๒๐๒๓” รู้ทันลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์ ทำอย่างไรให้ถูกต้อง เพื่อส่งเสริมการใช้งานโปรแกรมไมโครซอฟท์อย่างถูกลิขสิทธิ์และใช้งานให้เกิดประโยชน์สูงสุด
วันที่เขียน 28/3/2566 13:07:17     แก้ไขล่าสุดเมื่อ 20/4/2567 10:17:13
เปิดอ่าน: 369 ครั้ง

จัดขึ้นในวันพุธที่ ๑๕ มีนาคม ๒๕๖๖ เวลา ๐๙.๐๐-๑๒.๐๐ น. ผ่านระบบออนไลน์ ด้วย Webinar MS Teams

1. Microsoft Azure Dev Tools for Teaching คือชุดเครื่องมือการเรียนการสอนของ Microsoft เพื่อให้อาจารย์และนักศึกษาได้ใช้ซอฟต์แวร์และเครื่องมือพัฒนาต่างๆ โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย ซึ่งสามารถลงชื่อเข้าใช้งานได้ที่ลิงก์ >>>  https://portal.azure.com/   โดยอาจารย์และนักศึกษาจะได้ credit ฟรี คนละ ๑๐๐$ ต่อ ๑ ปี (Education)

ซึ่งประเภทการให้บริการสำหรับการประมวลผลบนคราวด์ของ Microsoft Azure Dev Tools for Teaching สามารถแบ่งออกได้ ๓ ประเภทดังนี้

  • Infrastructure-a-service (IaaS) เป็นการให้บริการเกี่ยวกับโครงสร้างพื้นฐานไม่ว่าจะเป็น Virtua’ Machine ที่ประกอบด้วย CPU, Memory, Storage และ Networking
  • Platform-as-a-service (PaaS) เป็นการให้บริการแพลดฟอร์มบนคลาสด์ที่เป็นเครื่องมือสำหรับช่วยให้ Developer สามารถพัฒนาซอฟต์แวร์หรือแอบพลิเคชันต่างๆ ได้อย่างสะดวก รวดเร็ว ปรับเปลี่ยนได้ตามต้องการความเหมาะสม ไม่จำเป็นต้องกังวลเรื่องการจัดซื้อทรัพยากร การวางแผนขีดความสามารถ การบำรุงรักษา
  • Software-as-a-service (SaaS) เป็นการให้บริการซอฟต์แวร์พร้อมใช้งานที่ผู้ใช้บริการสามารถใช้งานผ่านอินเทอร์เน็ต โดยสามารถสมัครสมาชิกและเข้าใช้งานได้ทันที ซอฟต์แวร์ดังกล่าวก็ทำงานอยู่บนคลาวด์ โดยผู้ให้บริการเป็นผู้ดูแล

อีกทั้งในโปรแกรมของ Microsoft Azure Dev Tools for Teaching แบบ Education จะมีแหล่งเรียนรู้ที่ให้ผู้ใช้งานสามารถเรียนรู้การใช้งานของโปรแกรมได้ ซึ่งสามารถแบ่งออกเป็น ๔ ส่วนดังนี้

  • Roles
  • Software
  • Learning
  • Templates

2. Trends Technology ๒๐๒๓

จากงานแสดงเทคโนโลยี CSE๒๐๒๓ ในช่วงวันที่ ๕-๘ ม.ค. ๒๕๖๖ ที่เมืองลาสเวกัส ประเทศสหรัฐอเมริกา (CES is the most influential tech event in the world – the proving ground for breakthrough technologies and global innovators) จะเห็นได้ว่าเทรนหรือแนวโน้มของเทคโนโลยี ในปี ค.ศ.๒๐๒๓ จะเน้นด้านหลักๆ ทั้งหมด ๕ ด้าน ได้แก่

  • ด้านสุขภาพดิจิทัล (Digital Health)
  • ด้านประสบการณ์ดิจิทัล (Digital Experiences)
  • ด้านการใช้ชีวิตดิจิทัล (Digital Lifestyle)
  • ด้านความยั่งยืนและเมืองอัจฉริยะ (Sustainability & Smart City)
  • ด้านโรงงานอัจฉริยะ (Smart Industry)       

ประโยชน์ที่ได้รับจาการอบรม

  1. บุคลากรสายวิชาการและนักศึกษาสามารถนำโปรแกรม Microsoft Azure Dev Tools for Teaching แบบ Education สำหรับประยุกต์ใช้ในการเรียนการสอน
  2. บุคลากรสายวิชาการและนักศึกษาสามารถเข้าไปศึกษาแหล่งเรียนรู้เพิ่มเติม เพื่อนำมาใช้ในการเรียนการสอนและพัฒนางานในรูปแบบต่างๆ ได้
  3. บุคลากรสายวิชาการได้นำทิศทางของเทคโนโลยีและนวัตกรรม ในปี ค.ศ.๒๐๒๓ มาวางแผนสำหรับคิดหัวข้อวิจัยและบริการวิชาการต่อไปในอนาคตได้

 

ความคิดเห็นทั้งหมด (0)
ไม่มีข้อมูลตามเงื่อนไขที่ท่านกำหนด
รายการบทความการแลกเปลี่ยนเรียนรู้หมวดหมู่ : การศึกษา การเรียนการสอน
ผลงานวิจัย » เทคนิคการเขียนบทความทางวิชาการฯ
ในการเขียนบทความ ควรเริ่มจากการทำแผนที่บทความเพื่อแบ่งสัดส่วนของหัวข้อของบทความข้างต้นตามเกณฑ์วารสารที่กำหนดจะทำให้การเขียนง่ายขึ้น สามารถใช้ ChatGPT ช่วยในการเขียนตามหัวข้อที่กำหนดได้ง่ายขึ้น
  บทความการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทั่วไป   การศึกษา การเรียนการสอน
ผู้เขียน หนึ่งหทัย ชัยอาภร  วันที่เขียน 4/3/2567 10:46:23  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 20/4/2567 9:52:46   เปิดอ่าน 106  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
ผลงานวิจัย » จริยธรรมในการวิจัย
หลักจริยธรรมการวิจัย โดยให้ความสำคัญกับการได้มาซึ่งข้อมูลที่เป็นหน่วยวิเคราะห์ เช่น คน มนุษย์ สัตว์ ซึ่งการวิจัยในมนุษย์นั้น จะเน้นที่ The Belmont Report ส่วนนิยาม จรรยาบรรณ สำนักการวิจัยแห่งชาติ ไ...
  บทความการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทั่วไป   การศึกษา การเรียนการสอน
ผู้เขียน หนึ่งหทัย ชัยอาภร  วันที่เขียน 20/2/2566 14:13:37  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 19/4/2567 22:37:53   เปิดอ่าน 759  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง