การเขียนผลงานวิเคราะห์จากงานประจำ
วันที่เขียน 5/3/2563 15:44:19     แก้ไขล่าสุดเมื่อ 4/12/2567 0:14:42
เปิดอ่าน: 7427 ครั้ง

การเขียนผลงานวิเคราะห์จากงานประจำ มีวัตถุประสงค์เพื่อให้บุคลากรสายสนับสนุนวิชาการสามารถทำผลงานทางวิชาการได้อย่างมีคุณภาพและถูกต้องตามหลักวิชาการ และเพื่อเป็นการพัฒนาบุคลากรและองค์กร

การเขียนผลงานวิเคราะห์จากงานประจำ

  ได้รับความรู้จากการฝึกอบรมโครงการค่ายฝึกอบรมการทำวิจัยและผลงานทางวิชาการ ณ สำนักบริการวิชาการ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

วิทยากร นายเรืองชัย จรุงศิรวัฒน์ นักวิเคราะห์นโยบายและแผน 9 ผู้เชี่ยวชาญระดับ 9

การวิเคราะห์ (1) หมายถึง การจำแนก แยกแยะองค์ประกอบของสิ่งใดสิ่งหนึ่งออกเป็นส่วนๆ เพื่อค้นหาว่ามาจากอะไรเชื่อมโยงสัมพันธ์กันอย่างไร เพื่อค้นหาสาเหตุแท้จริงของสิ่งที่เกิดขึ้น (เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์.2547 : 2)

  การวิเคราะห์ (2) หมายถึง ผลงานที่แสดงการแยกแยะองค์ประกอบของเรื่องอย่างมีระบบ มีการศึกษาในแต่ละองค์ประกอบและความสัมพันธ์ขององค์ประกอบต่างๆ เพื่อให้เกิดความรู้ความเข้าใจในเรื่องนั้น ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อหน่วยงานและสถาบันอุดมศึกษา (เอกสาร 5 ประกาศแนบท้าย ก.พ.อ. เรื่องมาตรฐานการกำหนดระดับตำแหน่ง และการแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา ให้ดำรงตำแหน่งสูงขึ้น พ.ศ.2523 ลงวันที่ 22 ธ.ค.53)

สายสนับสนุนในมหาวิทยาลัยจะวิเคราะห์อะไรได้บ้าง ?

  1. การวิเคราะห์งาน (Job Analysis) หมายถึง กระบวนการในการเก็บรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับงาน หน้าที่ ความรับผิดชอบงาน ชนิดของบุคคล ความรู้ ความสามารถและทักษะที่ต้องการสำหรับงาน เพื่อให้การปฏิบัติงานนั้นๆ ประสบผลสำเร็จตามเป้าหมาย
  2. การวิเคราะห์เอกสาร (Documentary Analysis) หมายถึง หลักเกณฑ์ วิธีการ เงื่อนไข แบบฟอร์ม พระราชกฤษฎีกา พระราชบัญญัติ กฎ ระเบียบ ข้อบังคับ ประกาศ หนังสือเวียน มติที่ประชุม คำสั่ง ระบบไอที ฯลฯ

 

เรื่องอะไรที่จะทำการวิเคราะห์ได้บ้าง ?

เลือกงาน/เอกสาร เฉพาะที่มีปัญหา หรือเป็นงาน/เอกสารที่ไม่สำเร็จตามตัวชี้วัดหรืองานที่จะพัฒนามาตั้งเป็นชื่อเรื่องที่จะวิเคราะห์

 

โครงร่างของเอกสารการวิเคราะห์

           จากการที่การวิเคราะห์ มีลักษณะคล้ายคลึงกับการวิจัย ดังนั้นในการเขียนโครงร่างของการวิเคราะห์จึงเขียนล้อตามโครงร่างของการเขียนงานวิจัย ซึ่งแบ่งเป็น 5 บทดังนี้

บทที่ 1 บทนำ

บทที่ 2 แนวคิดทฤษฎีและงานวิเคราะห์/วิจัย ที่เกี่ยวข้อง

บทที่ 3 หลักเกณฑ์และวิธีการวิเคราะห์

บทที่ 4 ผลการวิเคราะห์

บทที่ 5 สรุปและข้อเสนอแนะ

 

 เทคนิคการเขียนรายงานการวิเคราะห์

  การเขียนรายงานการวิเคราะห์แบบเชิงวิชาการ มีส่วนประกอบที่สำคัญ 3 ส่วน คือ

  1. ส่วนหน้า
  2. ส่วนเนื้อหา
  3. ส่วนเอกสารอ้างอิง

 

ส่วนหน้า ประกอบด้วย

  • ปกหน้า
  • ปกใน
  • บทสรุป
  • คำนำ
  • สารบัญ

ส่วนเนื้อหา ประกอบด้วย

  • บทที่ 1 บทนำ ประกอบด้วย

- ความเป็นมาและความสำคัญ

- วัตถุประสงค์

- ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ

- ขอบเขต

- คำจำกัดความเบื้องต้น

  • บทที่ 2 แนวคิดทฤษฎีและงานวิเคราะห์/วิจัย ที่เกี่ยวข้อง ประกอบด้วย

- แนวคิดทฤษฎี

- งานวิเคราะห์/วิจัย ที่เกี่ยวข้อง

  • บทที่ 3 หลักเกณฑ์และวิธีการวิเคราะห์ ประกอบด้วย

- ขั้นตอนการดำเนินงาน

- ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง

- เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล

- การเก็บรวบรวมข้อมูล

- สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล

- การวิเคราะห์ข้อมูล

- เทคนิคในการวิเคราะห์ข้อมูล

  • บทที่ 4 ผลการวิเคราะห์

ในบทนี้จะเขียนถึงการศึกษาที่เกี่ยวกับการวิเคราะห์ข้อมูลในรูปของการพรรณนาการวิเคราะห์ การใช้สถิติวิเคราะห์ การแปลความหมาย อาจนำเสนอในรูปแบบที่เป็นตาราง แผนภูมิ หรือกราฟ ในการช่วยให้เข้าใจง่ายขึ้น

การนำเสนอผลการศึกษา ควรนำเสนอตามลำดับเรื่องของวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ในบทที่ 1 ซึ่งผลของการศึกษาวิเคราะห์จะต้องตอบวัตถุประสงค์ได้ทุกข้อตามที่ตั้งไว้

  • บทที่ 5 สรุปและข้อเสนอแนะ ประกอบด้วย

- สรุปผลการวิเคราะห์

- ข้อเสนอแนะ

 

ส่วนเอกสารอ้างอิง ประกอบด้วย

  • บรรณานุกรม
  • ภาคผนวก

คำสำคัญ :
กลุ่มบทความ :
หมวดหมู่ :
แชร์ :
https://erp.mju.ac.th/acticleDetail.aspx?qid=1089
ความคิดเห็นทั้งหมด (0)
ไม่มีข้อมูลตามเงื่อนไขที่ท่านกำหนด
รายการบทความการแลกเปลี่ยนเรียนรู้หมวดหมู่ : กลุ่มงานเทคโนโลยีสารสนเทศ
กลุ่มงานเทคโนโลยีสารสนเทศ » UX/UI Design ต่างกันอย่างไร
การออกแบบเว็บไซต์ การออกแบบผลิตภัณฑ์และบริการดิจิทัล มีความสำคัญมากขึ้นเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งการออกแบบประสบการณ์ผู้ใช้ (User Experience Design: UX Design) และการออกแบบส่วนต่อประสานผู้ใช้ (...
UI Design  UX Design  UX UI  UX/UI  การออกแบบเว็บ     กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร   กลุ่มงานเทคโนโลยีสารสนเทศ
ผู้เขียน ช่อทิพย์ สิทธิ  วันที่เขียน 6/9/2567 14:14:09  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 3/12/2567 3:01:10   เปิดอ่าน 112  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
การพัฒนาโปรแกรม » การพัฒนาระบบเพื่อลดขั้นตอนการปฏิบัติงาน สำหรับการจัดเก็บและทำลายเอกสาร
การพัฒนาระบบเพื่อลดขั้นตอนการปฏิบัติงาน สำหรับการจัดเก็บและทำลายเอกสาร โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการปฏิบัติงาน โดยการนำระบบจัดเก็บและทำลายเอกสารมาช่วยปรับปรุงประสิทธิผล ในกระบวนการทำ...
Re-Design Process?  ระบบจัดเก็บและทำลายเอกสาร     กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร   กลุ่มงานเทคโนโลยีสารสนเทศ
ผู้เขียน ณัฐกฤตา โกมลนาค  วันที่เขียน 5/9/2567 11:45:54  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 3/12/2567 18:04:30   เปิดอ่าน 316  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
การพัฒนาระบบสารสนเทศ » ข้อมูลเปิด (Open Data) เบื้องต้น
ข้อมูลเปิด (Open Data) คือ ข้อมูลที่สามารถเข้าถึง ใช้งาน แก้ไข และแบ่งปันได้โดยไม่จำกัดข้อกำหนดหรือค่าใช้จ่าย ข้อมูลเปิดมักถูกเผยแพร่ในรูปแบบที่สามารถอ่านและวิเคราะห์ได้ง่าย เช่น ไฟล์ CSV, JSON, หร...
การเข้าถึง  การใช้งาน  การแบ่งปัน  การเปิดเผย  ข้อมูลเปิด     กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร   กลุ่มงานเทคโนโลยีสารสนเทศ
ผู้เขียน สมนึก สินธุปวน  วันที่เขียน 2/9/2567 9:45:13  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 3/12/2567 19:04:18   เปิดอ่าน 119  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง