Development of flow injection chemiluminescence procedure for the determination of hydroquinone in cosmetics after extraction by magnetic solid phase extraction
วันที่เขียน 13/9/2562 14:30:42     แก้ไขล่าสุดเมื่อ 27/4/2567 3:40:49
เปิดอ่าน: 2034 ครั้ง

The flow injection chemiluminescence (FI-CL) procedure was developed for the measurement of hydroquinone. The chemiluminescence reaction based on the oxidation of luminol with potassium ferric cyanide in the presence of hemin in alkaline media. The light emitted was measured with a blue sensitive photomultiplier tube at the constant voltage of 650 volts. The preliminary experimental concentrations were that luminol at concentration of 6×10-5 M, potassium ferric cyanide at 1×10-4 M and hemin at 6×10-7 g mL-1. The presence of hydroquinone was found to restrain the CL signal which made it possible for the determination of hydroquinone at low concentration. The relative CL intensity was found to be linear at the concentration of standard hydroquinone ranging from 1×10-7 to 4×10-7 g mL-1. The extraction of hydroquinone was carried out via the magnetic solid phase extraction by chitosan coated with graphene oxide nanoparticles. The proposed FI-CL procedure was successfully applied for the determination of hydroquinone in cosmetic samples.

ได้ถูกพัฒนาระบบเคมิลูมิเนสเซนต์โฟลอินเจคชันขึ้นสำหรับการตรวจวิเคราะห์สารไฮโดรควิโนน โดยอาศัยปฏิกิริยาการเรืองแสงจากปฏิกิริยาออกซิเดชันของลูมินอลกับโพแทสเซียมเฟอริกไซยาไนด์ ซึ่งสามารถทำให้เห็นชัดเจนขึ้นได้ด้วยสารฮีมินในสภาวะที่เป็นเบส โดยแสงเคมิลูมิเนสเซนต์ที่ปลดปล่อยออกมาจะถูกตรวจวัดด้วยหลอดโฟโตมัลติพลายเออร์ ที่ถูกควบคุมศักย์ไฟฟ้าไว้ที่ 650 โวลต์ โดยสภาวะความเข้มข้นของสารเคมีที่ใช้ในการทดลองเบื้องต้นคือ ลูมินอลเข้มข้น 7×10-5 โมลาร์ โพแทสเซียมเฟอริกไซยาไนด์เข้มข้น 5x10-4 โมลาร์ และฮีมิน 7x10-6 กรัมต่อมิลลิลิตร นอกจากนี้พบว่าเมื่อมีสารไฮโดรควิโนนเข้าร่วมในปฏิกิริยาจะทำให้ค่าการคายแสงของปฏิกิริยาจะถูกยับยั้งและเป็นสัดส่วนโดยตรงกับความเข้มข้นของสารไฮโดรควิโนนที่ความเข้มข้นต่ำๆ โดยช่วงความเป็นเส้นตรงในการวิเคราะห์สารละลายมาตรฐานไฮโดรควิโนนจะอยู่ในช่วง 2×10-7 ถึง 5×10-6 มิลลิกรัมต่อมิลลิลิตร ในงานวิจัยนี้ จะได้ทำการสกัดสารไฮโดรควิโนนในตัวอย่าง โดยวิธีการสกัดด้วยเฟสของแข็งอนุภาคนาโนแม่เหล็กที่เคลือบบนผิวของแกรฟีนออกไซด์ (GO–Fe3O4) วิธีการที่พัฒนาขึ้นนี้ถูกนำไปประยุกต์ใช้ในการทดสอบสารไฮโดรควิโนนในตัวอย่างเครื่องสำอาง

โดยงานวิจัยนี้ได้นำไปเสนอในที่ประชุมวิชาการนานาชาติ 14th International conference on flow analysis (Flow Analysis XIV 2018) ที่จัดขึ้นที่ โรงแรมอโนมาแกรนด์ ปทุมวัน ระหว่างวันที่ 2-7 ธันวาคม 2561โดยเป็นการนำเสนอองค์ความรู้เรื่องการใช้วัสดุนาโนคอมโพสิตสำหรับการวิเคราะห์สารตกค้างที่เป้นอันตรายต่อสุขภาพ

คำสำคัญ :
กลุ่มบทความ :
หมวดหมู่ :
แชร์ :
https://erp.mju.ac.th/acticleDetail.aspx?qid=1017
ความคิดเห็นทั้งหมด (0)
ไม่มีข้อมูลตามเงื่อนไขที่ท่านกำหนด
รายการบทความการแลกเปลี่ยนเรียนรู้หมวดหมู่ : การศึกษา การเรียนการสอน
ผลงานวิจัย » เทคนิคการเขียนบทความทางวิชาการฯ
ในการเขียนบทความ ควรเริ่มจากการทำแผนที่บทความเพื่อแบ่งสัดส่วนของหัวข้อของบทความข้างต้นตามเกณฑ์วารสารที่กำหนดจะทำให้การเขียนง่ายขึ้น สามารถใช้ ChatGPT ช่วยในการเขียนตามหัวข้อที่กำหนดได้ง่ายขึ้น
  บทความการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทั่วไป   การศึกษา การเรียนการสอน
ผู้เขียน หนึ่งหทัย ชัยอาภร  วันที่เขียน 4/3/2567 10:46:23  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 25/4/2567 16:48:53   เปิดอ่าน 119  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง