โครงการสร้างสรรค์ผู้ประกอบรุ่นใหม่ 2
ส่วนที่ 1 หน่วยงานที่รับผิดชอบ
รายชื่อหน่วยงานสถานะ
มหาวิทยาลัยแม่โจ้ » คณะศิลปศาสตร์
ส่วนที่ 2 สรุปผลการดำเนินการ
ตามที่คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ เป็นหน่วยงานการศึกษาและในฐานะสถาบันอุดมศึกษากลุ่มที่ 2 กลุ่มพัฒนาเทคโนโลยีและส่งเสริมการสร้างนวัตกรรม จึงเล็งเห็นความสำคัญดังกล่าว ในการที่จะช่วยสนองตอบนโยบายการพัฒนาประเทศ พัฒนาแผนการส่งเสริมผูู้ประกอบการเริ่มต้นของประเทศไทย ซึงได้กำหนดแนวทางส่งเสริมผู้ประกอบการเริ่มต้นของไทย โดยเร่งดำเนินการให้มีการเพิ่มบทบาทของมหาวิทยาลัยในการสร้างความตระหนัก สร้างความตื่นตัว การบ่มเพาะผู้ประกอบการเริ่มต้น การบริหารจัดการนวัตกรรม ตลอดจนการถ่ายทอดองค์ความรู้และเทคโนโลยี ผลักดันให้มหาวิทยาลัยเป็นแหล่งสร้างสรรค์ ความคิดและนวัตกรรม ซึ่งเป็นรากฐานในการพัฒนาและปรับเปลี่ยนโครงสร้างอุตสาหกรรมของประเทศ การผลักดันให้มหาวิทยาลัยที่มีศักยภาพเปลี่ยนแปลงไปสู่การเป็นมหาวิทยาลัยแห่งการประกอบการ (Entrepreneurial university) และดำเนินการร่วมกับภาครัฐในการส่งเสริมและสนับสนุน นักศึกษา นักวิจัย และผู้ประกอบการ ให้สามารถเข้าถึงทรัพยากรที่จะส่งเสริมพัฒนาธุรกิจจากความคิดสร้างสรรค์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมได้ เพื่อตอบสนองนโยบายดังกล่าว คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ จึงได้จัดโครงการสร้างจิตวิญญาณ สร้างโอกาส พัฒนาและเตรียมความพร้อมความเป็นผู้ประกอบการรุ่นใหม่สู่ตลาดของธุรกิจ โดยจัดให้คำปรึกษา แนะนำเทคนิค กระบวนการ อบรมแผนธุรกิจ และร่วมแลกเปลี่ยนประสบการณ์การเป็นผู้ประกอบการกับผู้ประกอบธุรกิจ จำนวน 5 ราย ได้แก่ 1.คุณสุชลา จันทร์แจ่ม ตำแหน่ง Creative Designer และเจ้าของร้านอาหาร Gord Chiangmai Kitchen (ครัวกอดเชียงใหม่) (ความเชี่ยวชาญและประสบการณ์ทางด้านการออกแบบสื่อสารและการตลาด) 2.คุณกรณ์กฤตย์ ฉวีวานิชยกุล ตำแหน่ง เจ้าของโรงแรม Anyday (ความเชี่ยวชาญและประสบการณ์ทางด้านการวางแผนและกลยุทธ์ทางการตลาด) 3.คุณศุภโชค ศรีสง่า ตำแหน่ง เจ้าของโรงแรม Ombra House และ Pyur Otel / Ombra Caffe (เพียวโอเทล / ออมบร่า คาเฟ่) (ความเชี่ยวชาญและประสบการณ์ทางด้านการบริหารธุรกิจ) 4.คุณปรินทร์ นาคเสน ตำแหน่ง ผู้บริหารสูงสุดและผู้ก่อตั้ง OneDee.ai 5.คุณมณฑล ชัยมงคล ผู้จัดการธนาคารออมสิน สาขาแม่โจ้ ทั้งนี้ นักศึกษาที่กำลังศึกษาอยู่ในชั้นปีที่ 4 ได้รับทักษะทั้งด้านการผลิต การตลาด การจัดการ และการบริหารการเงินซึ่งเป็นทักษะที่จำเป็นในการดำเนินธุรกิจ อีกทั้ง ทางวิทยากรได้เป็นพี่เลี้ยงในการพัฒนาแบบจำลองโครงร่างแผนธุรกิจ จำนวน 10 แผน ซึ่งนักศึกษาได้ทดลองปฏิบัติจริงนำเสนอโครงร่างแผนธุรกิจกับแหล่งเงินทุน คือ ธนาคารออมสิน อีกด้วย
ส่วนที่ 3 ความสำเร็จตามวัตถุประสงค์โครงการ
ลำดับวัตถุประสงค์ความสำเร็จ
1 เพื่อเตรียมความพร้อม พัฒนาและสร้างโอกาสให้นักศึกษาในการเป็นผู้ประกอบการรุ่นใหม่สู่ตลาดของธุรกิจ นักศึกษาได้รับการอบรมจากผู้ประกอบการในการประกอบธุรกิจ และเปิดพื้นที่ได้ทดลองนำเสนอโครงร่างแผนธุรกิจให้กับแหล่งเงินทุน
2 เพื่อแลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์การเป็นผู้ประกอบการกับผู้ประกอบการทางธุรกิจ นักศึกษาได้แลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณืกับผู้ประกอบการทางด้านธุรกิจ
ส่วนที่ 4 รายงานผลความสำเร็จตามเป้าหมายตัวชี้วัด
ผลผลิตที่ 1 : นักศึกษาได้พัฒนาการเป็นผู้ประกอบการรุ่นใหม่สู่ตลาดธุรกิจ
ตัวชี้วัดประเภทหน่วยนับเป้าหมายผลลัพธ์ความสำเร็จ
1. นักศึกษาชั้นปีที่ 4 มีความรู้ เข้าใจ และสามารถพัฒนาการเป็นผู้ประกอบการ เชิงคุณภาพ ร้อยละ 80 0.00
2. จำนวนนักศึกษาชั้นปีที่ 4 จัดทำโครงร่างแผนธุรกิจ เชิงปริมาณ ร้อยละ 80 0.00
3. จำนวนนักศึกษาชั้นปีที่ 4 เข้าร่วมโครงการพัฒนาการเป็นผู้ประกอบการ เชิงปริมาณ ร้อยละ 80 0.00
4. นักศึกษาสามารถเขียนและนำเสนอโครงร่างแผนธุรกิจ เชิงคุณภาพ แผน 8 0.00
5. โครงร่างแผนธุรกิจ เชิงปริมาณ แผน 8 0.00
รวม      0.00
ผลผลิตที่ 2 : เพิ่มเครือข่ายในการแลกเปลี่ยนความรู้กับผู้ประกอบการภาคธุรกิจ
ตัวชี้วัดประเภทหน่วยนับเป้าหมายผลลัพธ์ความสำเร็จ
1. จำนวนผู้ประกอบการจากสถานประกอบการที่ร่วมแลกเปลี่ยนธุรกิจ เชิงปริมาณ คน 4 0.00
รวม      0.00
ร้อยละความสำเร็จของการดำเนินโครงการตามตัวชี้วัดมีค่าเท่ากับ 0.00
ส่วนที่ 5 ช่วงวันที่ดำเนินงาน
ช่วงเวลาตามแผน ช่วงเวลาดำเนินงานตามจริง
01/08/2566  - 13/08/2566 09/08/2566  - 10/08/2566
ส่วนที่ 6 ภาพประกอบการทำโครงการ