|
งานวิจัย
»
การจัดการองค์ความรู้ในสวนสมุนไพร โดยประยุกต์ใช้คิวอาร์โค้ด
|
โครงการสวนสมุนไพรมหาวิทยาลัยแม่โจ้ เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ครบรอบพระชนมายุ 80 พรรษา ซึ่งปัจจุบันรองรับการเรียนการสอนด้านสมุนไพรของหลักสูตรการแพทย์แผนไทยของมหาวิทยาลัยแม่โจ้ โดยมีแนวคิดการจัดสวนสมุนไพรตามพิกัดยาไทย ซึ่งมีพืชสมุนไพรต่างๆ ที่จัดเป็นกลุ่ม ตามตำรับยาแผนโบราณ ที่มีการอ้างอิงในการเรียนแพทย์แผนไทย สภาเภสัชกรรมไทย มีส่วนของกลุ่มสมุนไพรสาธารณสุขมูลฐานหรือสมุนไพรประจำบ้าน ที่กระทรวงสาธารณสุขแนะนำให้ใช้จำนวน 61 พืช สมุนไพรล้านนาและสมุนไพรอื่นๆ ภายในพื้นที่สวนจัดวางตำแหน่งตามเส้นทางเดินศึกษาภายในสวน
ปัจจุบันเทคโนโลยีโทรศัพท์เคลื่อนที่ได้เปลี่ยนแปลงไปจากอดีตอย่างมาก และการให้บริการเกี่ยวกับบาร์โค้ด 2 มิติ (2 Dimension Barcode) ที่สามารถนำมาประยุกต์ใช้ในการจัดเก็บข้อมูล และสามารถสืบค้นข้อมูลเพื่อมาแสดงผลบนอุปกรณ์โทรศัพท์เคลื่อนที่ได้ ทางคณะผู้วิจัยได้เล็งเห็นความสำคัญได้นำเอาเทคโนโลยีบาร์โค้ด 2 มิติมาประยุกต์เชื่อมโยงเข้ากับฐานสมุนไพรในสวนพฤกษศาสตร์กล้วยไม้ร้อยปีสมเด็จย่า มหาวิทยาลัยแม่โจ้ เพื่อให้ผู้เข้าเยี่ยมชมสามารถสืบค้นข้อมูล ต่าง ๆ ของพันธุ์ไม้ สมุนไพรในสวนสมุนไพรเฉลิมพระเกียรติ จากอุปกรณ์โทรศัพท์เคลื่อนที่
|
คำสำคัญ :
คิวอาร์โค้ด ฐานข้อมูล บาร์โค้ด 2 มิติ ระบบสืบค้นสารสนเทศ
|
กลุ่มบทความ :
กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร
|
หมวดหมู่ :
กลุ่มงานเทคโนโลยีสารสนเทศ
|
สถิติการเข้าถึง :
เปิดอ่าน
4741
ครั้ง | แสดงความคิดเห็น
0
ครั้ง
|
ผู้เขียน
สมชาย อารยพิทยา
วันที่เขียน
15/8/2562 10:40:02
แก้ไขล่าสุดเมื่อ
21/11/2567 19:03:25
|
|
|
|
|
คู่มือการใช้งานระบบสารสนเทศ
»
คู่มือการใช้งานระบบฐานข้อมูลนก มหาวิทยาลัยแม่โจ้
|
ตามที่คณะทำงานโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่่องมาจากพระราชดำริฯ ของมหาวิทยาลัย ได้จัดพิมพ์หนังสือ “นกในมหาวิทยาลัยแม่โจ้” ขึ้น ซึ่ง ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ประภากร ธาราฉาย เป็นผู้รวบรวมฐานข้อมูลและจัดรูปแบบให้ผู้อ่านเข้าใจได้ง่าย เพื่อใช้เป็นคู่มือสำหรับการศึกษา การฝึกดูนกสำหรับนักศึกษา บุคลากรในมหาวิทยาลัย และใช้ในกิจกรรมการปลูกจิตสำนึก ด้านการอนุรักษ์ของโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริฯ โดยมีวัตถุประสงค์สำคัญคือ การกระตุ้นให้ทุกคนได้เห็นคุณค่าของ “นก” เหล่านั้น รวมถึงสภาพธรรมชาติรอบตัว ซึ่งมีความสัมพันธ์เกี่ยวข้องกัน เป็นระบบนิเวศวิทยาของสิ่่งมีชีวิตที่่ต้องอาศัยเกื้อกูลกันในการดำรงอยู่ อันจะเป็นการสร้างความเข้าใจที่ก่อให้เกิดจิตสำนึกในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติได้อย่างยั่งยืน ด้วยพระปรีชาสามารถและพระบารมีที่่ทรงเป็นผู้วางรากฐานการอนุรักษ์ทรัพยากรไทยอย่างยั่งยืนเพื่อให้เป็นแบบอย่างต่อไป มหาวิทยาลัยแม่โจ้ขอมุ่งเป็นส่วนหนึ่ง ในการสนองพระราชดำริฯ เพื่ออนุรักษ์พันธุกรรมพืชและเผยแพร่ให้เกิดประโยชน์ต่อความหลากหลายทางชีวภาพท้องถิ่นอย่างยั่งยืนสืบไป
ดังนั้นผู้วิจัยจึงมีแนวคิดในการทำวิจัยและพัฒนาระบบฐานข้อมูลนก เพื่อหาจำนวนนกในเขตภาคเหนือตอนบนขึ้น เพื่อเป็นการอนุรักษ์ให้นกเหล่านั้นได้มีชีวิตที่ดีและสามารถดำรงอยู่ในธรรมชาติเพื่อแต่งเติมสีสันและสร้างความสมดุลให้กับธรรมชาติอย่างยั่งยืนต่อไป โดยรวบรวมข้อมูลทางวิชาการจากหลากหลายแห่ง แสวงหาข้อมูลเชิงภาพถ่ายดิจิทัล การเพิ่มคุณภาพแก่ข้อมูล และการเผยแพร่สารสนเทศให้สามารถเข้าถึงข้อมูลได้อย่างมีประสิทธิภาพด้วยการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศมาพัฒนาระบบฐานข้อมูลให้บริการวิชาการบนเว็บไซต์หรือเครือข่ายอินเตอร์เน็ต เพื่อให้ผู้ใช้งานสามารถนำไปใช้ประโยชน์ในการศึกษา การค้นคว้า การวิจัย การพัฒนาเชิงนวัตกรรมทางการเกษตรได้ต่อไป
|
คำสำคัญ :
นก ; ปักษีวิทยา ; ฐานข้อมูล ; ระบบสืบค้นสารสนเทศ
|
กลุ่มบทความ :
กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร
|
หมวดหมู่ :
กลุ่มงานเทคโนโลยีสารสนเทศ
|
สถิติการเข้าถึง :
เปิดอ่าน
6973
ครั้ง | แสดงความคิดเห็น
0
ครั้ง
|
ผู้เขียน
สมชาย อารยพิทยา
วันที่เขียน
14/7/2560 15:11:19
แก้ไขล่าสุดเมื่อ
21/11/2567 21:44:44
|
|
|