รายการบทความการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ตามคำสำคัญ  : การเขียนบทความทางวิชาการ
รายงานสรุปเนื้อหาและการนำไปใช้ปรโยชน์จากการเข้าร่วม การอบรมโครงการ แนวทางการเขียนบทความวิจัยเพื่อการตีพิมพ์ » ประโยชน์จากการเข้าร่วม การอบรมโครงการ แนวทางการเขียนบทความวิจัยเพื่อการตีพิมพ์
หลักการสำคัญในการเขียนบทความวิจัยให้มีคุณภาพเพื่อตีพิมพ์นั้น ในหนึ่งบทความต้องมีส่วนประกอบสำคัญๆ ดังนี้ 1. ต้องมีการกล่าวถึงหลักการทางทฤษฏี (Theory) แนวคิด (Concept) ที่สนับสนุนงานวิจัยอย่างถูกต้อง ตรงกับศาสตร์ที่วรสารนั้นมุ่งตีพิมพ์ 2. ข้อมูลและระเบียบวิธีการวิจัยต้องถูกต้องที่สุด สมเหตุสมผลตามประเด็นเรื่องวิจัย 3. วรรณกรรม และงานวิจัยที่อ้างอิงในบทนำ การอภิปรายผล ต้องตรงกับคำสำคัญของงานวิจัย เรื่องที่ไม่เกี่ยวข้องห้ามนำมาอภิปรายร่วม 4. การเขียนต้องจบที่ละประเด็น ไม่เขียนวกวน การเขียนต้องถูกหลักไวยากรณ์ คำวิชาการเฉพาะทาง (Technical term) การเขียนบทความทางวิชาการหนึ่งๆ ต้องมีการวางแผนที่บทความ (Article map) เพื่อจะได้เป็นไกด์ไลน์ในการเขียนได้อย่างถูกต้องและกระชับ
คำสำคัญ : การเขียนบทความทางวิชาการ  
กลุ่มบทความ : กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร
หมวดหมู่ : กลุ่มงานสายวิชาการ
สถิติการเข้าถึง : เปิดอ่าน 3303  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
ผู้เขียน ชมัยพร นิธิกาจณ์พานิช  วันที่เขียน 28/8/2561 17:03:54  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 20/11/2567 13:59:22
การพัฒนาตนเอง » การพัฒนาตนเอง เรื่องการเขียนบทความวิชาการ
รายงานสรุปเนื้อหาและการนำไปใช้ประโยชน์จากการเข้าอบรม เรื่อง การการเขียนบทความทางวิชาการ/บทความวิจัยเพื่อตีพิมพ์ในวารสารระดับนานาชาติ ณ ห้องช้องนาง สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยแม่โจ้ วันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2558 และขอนำเสนอสรุปเนื้อหาและการนำไปใช้ประโยชน์ของการฝึกอบรม ดังต่อไปนี้ 1. การพัฒนาเกี่ยวกับงานวิจัย ได้รับฟังการบรรยายจาก ผศ. มรกต สุกโชติรัตน์ เรื่องการเลือกวารสารให้สอดคล้องกับงานวิจัย และ รศ. ดร. ด้วง พุธศุกร์ เรื่องเทคนิคการเขียนบทความทางวิชาการ/บทความวิจัย ทำให้ได้รับความรู้ในเรื่องการเขียนบทความวิจัยเพื่อตีพิมพ์ในวารสารระดับนานาชาติ การใช้เลือกใช้คำศัพท์ต่างๆ รูปแบบการเขียนประโยคภาษาอังกฤษ ซึ่งสามารถนำไปใช้ในการเขียนบทความวิจัยได้ เข้าร่วมอบรมเชิงปฏิบัติการการใช้โปรแกรม EndNote เพื่อจัดเก็บบรรณานุกรม โดยคุณประภัย สุขอิน ซึ่งเป็นโปรแกรมที่ช้ำหรับการจัดเก็บบรรณานุกรม ที่ได้จากการสืบค้นมาจากฐานข้อมูล สามารถใช้งานร่วมกับโปรแกรม Microsoft word ได้ สามารถทำให้การเขียนบรรณานุกรมมีความง่ายมากขึ้น 2. การพัฒนาการเรียนการสอน สามารถนำความรู้ที่ได้จากการเข้าร่วมอบรมเชิงปฏิบัติการในครั้งนี้ มาพัฒนาการเรียนการสอนในวิชา วท 498 การเรียนรู้อิสระ และ วท 497 สหกิจศึกษา ในส่วนของการเขียนงานวิจัยได้
คำสำคัญ : การเขียนบทความทางวิชาการ  
กลุ่มบทความ : กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร
หมวดหมู่ : กลุ่มงานสายวิชาการ
สถิติการเข้าถึง : เปิดอ่าน 3844  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
ผู้เขียน มยุรา ศรีกัลยานุกูล  วันที่เขียน 18/3/2558 10:35:30  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 21/11/2567 23:46:33