Blog : สรุปประชุมวิชาการแม่โจ้ 2561ของผศ.ทุเรียน ทาเจริญ
รหัสอ้างอิง : 200
ชื่อสมาชิก : ทุเรียน ทาเจริญ
เพศ : หญิง
อีเมล์ : turean@mju.ac.th
ประเภทสมาชิก : บุคลากรภายใน [สังกัด]
ลงทะเบียนเมื่อ : 7/2/2554 10:12:07
แก้ไขล่าสุดเมื่อ : 7/2/2554 10:12:07

รายการบทความการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทั้งหมดของ Blog : สรุปประชุมวิชาการแม่โจ้ 2561ของผศ.ทุเรียน ทาเจริญ
ข้าพเจ้า นางทุเรียน ทาเจริญ ตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์ สังกัด สาขาพันธุศาสตร์ ขอนำเสนอรายงานสรุปเนื้อหาและการนำไปใช้ประโยชน์จากการเข้าร่วมประชุมวิชาการแม่โจ้ 2561 เมื่อวันที่ ..11-13ธันวาคม 2561.. ณ ห้องข้าวหอมมะลิ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ จ.เชียงใหม่...ตามหนังสืออนุญาตเลขที่... ศธ 0523.4.9.1/338... ลงวันที่ 12 พ.ย.2561.... ดังนั้นจึงขอนำเสนอสรุปเนื้อหาและการนำไปใช้ประโยชน์ของการประชุมวิชาการดังต่อไปนี้ 1.การศึกษาความสามารถของยีนแก้หมันของเรณูระบบ WA-CMS ในข้าวพันธุ์ขาวดอกมะลิ 105 ด้วยข้อมูลฟีโนไทป์จะสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้โดยการนำสายพันธุ์เป็นหมันที่ได้ไปทดสอบผสมกลับและผสมกับข้าวไทยพันธุ์ดีอื่นๆ เพื่อให้ได้สายพันธุ์ที่ให้ผลผลิตสูงต่อไป จากการทดลองครั้งนี้พบว่า ความมีชีวิตของละอองเรณูของ F1 เป็น 93.2% และการติดเมล็ดแต่การติดเมล็ดเพียง 13.8% ร่วมกับข้อมูลจีโนไทป์จากเครื่องหมายที่สัมพันธ์กับยีนแก้หมันตำแหน่ง Rf3 และ Rf4 ทำให้สรุปได้ว่าการไม่มียีนแก้หมันสำหรับระบบ WA-CMS ในข้าวพันธุ์ขาวดอกมะลิ 105และการติดสีของละอองเรณูที่มีชีวิตใน F2 พบว่ามีลักษณะการติดสีคล้ายกับละอองเรณูที่เป็นหมันของระบบ BT-CMS ที่มียีนแก้หมัน Rf1A และ Rf1B อยู่บนโครโมโซมที่ 10 เช่นเดียวกันกับยีนตำแหน่งRf4 โดยข้าวพันธุ์ขาวดอกมะลิ 105 อาจจะมียีนแก้หมันของระบบ BT-CMS เนื่องจากทั้ง Rf4 และ Rf1A/ Rf1Bเป็นยีน PPR เช่นเดียวกัน ที่สามารถช่วยแก้ไขความเป็นหมันของละอองเรณูได้บ้าง และการแสดงจีโนไทป์เป็นยีนแก้หมัน (R) ทั้ง 3 ตำแหน่ง (F2 ต้นที่ 7) แต่ไม่เพียงพอที่จะแก้ความเป็นหมันของระบบ WA-CMS ส่วนในระบบ WA-CMS ข้าวพันธุ์ขาวดอกมะลิ 105 จัดเป็นกลุ่ม B-line ที่นำจะมียีนแก้หมันของระบบ BT-CMSเช่นเดียวกับที่พบในข้าวจากประเทศไทยที่มีค่าความมีชีวิตของละอองเรณู/การติดเมล็ดเป็นสำหรับระบบ WA-CMSมีค่าเท่ากับ 31.7/38.9 และ BT-CMS มีค่าเท่ากับ 80.5/78.0 2.การจำแนกพันธุ์ลำไยโดยใช้เครื่องหมายไอเอสอาร์และเอสเอสอาร์ เพื่อใช้เป็นแหล่งพันธุกรรมสำหรับการปรับปรุงพันธุ์ โดยเลือกใช้เทคนิค ISSR (Inter Simple Sequence Repeat) และ SSR (Simple Sequence Repeats) ในการจำแนกพันธุ์ลำไย จำนวน 31 พันธุ์ ด้วยไพรเมอร์ 20 ไพรเมอร์ พบว่าไพรเมอร์ที่แสดงความหลากหลายทางพันธุกรรม 15 ไพรเมอร์ มีแถบดีเอ็นเอมีทั้งหมด 73 แถบ ขนาดประมาณ 100-3,000 คู่เบส มีแถบดีเอ็นเอ 12 แถบ ที่ไม่มีความหลากหลายทางพันธุกรรม คิดเป็นร้อยละ 16.44 และแถบดีเอ็นเอที่มีความหลากหลายทางพันธุกรรม 61 แถบ คิดเป็นร้อยละ 83.56 เมื่อนำลายพิมพ์ดีเอ็นเอมาวิเคราะห์ความสัมพันธ์ทางพันธุกรรม พบว่างานวิจัยนี้สามารถใช้เทคนิคทางชีวโมเลกุลมาช่วยในการบ่งชี้ความแตกต่างระหว่างพันธุ์ลำไยสามารถจำแนกลำไยได้เป็น 6 กลุ่ม โดยมีค่าสัมประสิทธิ์ความเหมือนอยู่ระหว่าง 0.44-1.00 3.ความสัมพันธ์ทางพันธุกรรมในลิ้นจี่จากลำดับนิวคลีโอไทด์บางส่วนของยีน matK” เพื่อการจำแนกโดยจากการศึกษาลิ้นจี่ 23 พันธุ์โดยวิธีการหาลำดับนิวคลีโอไทด์ของยีน matK ของลิ้นจี่ในจากการวิเคราะห์ลำดับนิวคลีโอไทด์บางส่วนของยีน matK ความยาว 725 คู่เบส พบว่าลิ้นจี่แต่ละพันธุ์มีความสัมพันธ์ทางพันธุกรรมสูง โดยพบความแตกต่างของนิวคลีโอไทด์เพียง 1 ตำแหน่ง คือ ตำแหน่งที่ 520 ซึ่งเกิดการเปลี่ยนแปลงนิวคลีโอไทด์จากไทมีน (T) เป็นไซโทซีน (C) โดยพันธุ์ที่แตกต่างจากพันธุ์อื่น คือ พันธุ์จีนแดง ดังนั้นจากการทดลองครั้งนี้สามารถสรุปว่าวิธีการหาลำดับนิวคลีโอไทด์บางส่วนของยีน matK ยังไม่สามารถจำแนกพันธุ์ลิ้นจี่ได้จึงควรใช้ยีนบริเวณอื่นร่วมด้วยในการจำแนกพันธุ์ลิ้นจี่ 4.ผลของรังสีแกมมาต่ออัตราการรอดชีวิตของเมล็ดถั่วเขียวเพื่อศึกษาผลของรังสีแกมมาต่ออัตราการรอดชีวิตของถั่วเขียวเมล็ดแห้งและแช่น้ำของเมล็ดถั่วเขียว โดยการนำเมล็ดถั่วเขียวไปแช่น้ำเป็นเวลา 12 ชั่วโมง หลังจากนั้นนำไปฉายรังสีแกมมาที่ปริมาณ 0, 2, 4, 6, 8 และ 10 กิโลแรดตามลำดับ ขณะที่เมล็ดแห้งจะนำไปฉายที่ปริมาณ 0, 100, 200, 300, 400 และ 500 กิโลแรดตามลำดับ จากผลของการศึกษาพบว่าค่า LD50 หลังปลูกเป็นเวลา 2 สัปดาห์ ของเมล็ดถั่วเขียวที่แช่น้ำเท่ากับ 6.2 กิโลแรด และเมล็ดแห้งเท่ากับ 225 กิโลแรด ตามลำดับ จากคำ LD50 ที่แตกต่างกันในเมล็ดที่แช่น้ำและเมล็ดแห้ง แสดงว่ารังสีแกมมามีผลที่รุนแรงต่อเมล็ดถั่วเขียวที่แช่น้ำมากกว่าที่เมล็ดแห้ง 5.การจัดการองค์ความรู้ในสวนสมุนไพรโดยประยุกต์ใช้คิวอาร์โค้ดโครงการสวนสมุนไพรมหาวิทยาลัยแม่โจ้ โดย จัดเป็นกลุ่มตามสมุนไพรต่างๆ ตามตำรับยาแผนโบราณ จำนวน 61 พืช และการให้บริการเกี่ยวกับ 2 Dimension barcode แสดงผลบนอุปกรณ์โทรศัพท์เคลื่อนที่ และได้มีการนำเอาเทคโนโลยี 2 Dimension barcode มาประยุกต์เชื่อมโยงเข้ากับฐานข้อมูลสมุนไพรในสวนพฤกษศาสตร์กล้วยไม้ร้อยปีสมเด็จย่า มหาวิทยาลัยแม่โจ้ เพื่อให้ผู้เข้าเยี่ยมชมสามารถสืบค้นข้อมูลต่างๆ ของพันธุ์ไม้ สมุนไพรในสวนสมุนไพรเฉลิมพระเกียรติ จากอุปกรณ์โทรศัพท์เคลื่อนที่เครื่องมือนี้ไปใช้ในการพัฒนาระบบประกอบด้วยโปรแกรมที่ใช้ในการพัฒนาระบบสารสนเทศ ความรู้ที่ได้จากการเข้าร่วมประชุมวิชาการในครั้งนี้จะถูกนำไปใช้ประกอบการเรียนการสอนในอนาคต
สรุปประชุมวิชาการแม่โจ้ 2561ของผศ.ทุเรียน ทาเจริญ » สรุปประชุมวิชาการมหาวิทยาลัยแม่โจ 2561
การนำไปใช้ประโยชน์ของการประชุมวิชาการดังต่อไปนี้ 1.การศึกษาความสามารถของยีนแก้หมันของเรณูระบบ WA-CMS ในข้าวพันธุ์ขาวดอกมะลิ 105 ด้วยข้อมูลฟีโนไทป์จะสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้โดยการนำสายพันธุ์เป็นหมันที่ได้ไปทดสอบผสมกลับและผสมกับข้าวไทยพันธุ์ดีอื่นๆ เพื่อให้ได้สายพันธุ์ที่ให้ผลผลิตสูงต่อไป จากการทดลองครั้งนี้พบว่า ความมีชีวิตของละอองเรณูของ F1 เป็น 93.2% และการติดเมล็ดแต่การติดเมล็ดเพียง 13.8% ร่วมกับข้อมูลจีโนไทป์จากเครื่องหมายที่สัมพันธ์กับยีนแก้หมันตำแหน่ง Rf3 และ Rf4 ทำให้สรุปได้ว่าการไม่มียีนแก้หมันสำหรับระบบ WA-CMS ในข้าวพันธุ์ขาวดอกมะลิ 105และการติดสีของละอองเรณูที่มีชีวิตใน F2 พบว่ามีลักษณะการติดสีคล้ายกับละอองเรณูที่เป็นหมันของระบบ BT-CMS ที่มียีนแก้หมัน Rf1A และ Rf1B อยู่บนโครโมโซมที่ 10 เช่นเดียวกันกับยีนตำแหน่งRf4 โดยข้าวพันธุ์ขาวดอกมะลิ 105 อาจจะมียีนแก้หมันของระบบ BT-CMS เนื่องจากทั้ง Rf4 และ Rf1A/ Rf1Bเป็นยีน PPR เช่นเดียวกัน ที่สามารถช่วยแก้ไขความเป็นหมันของละอองเรณูได้บ้าง และการแสดงจีโนไทป์เป็นยีนแก้หมัน (R) ทั้ง 3 ตำแหน่ง (F2 ต้นที่ 7) แต่ไม่เพียงพอที่จะแก้ความเป็นหมันของระบบ WA-CMS ส่วนในระบบ WA-CMS ข้าวพันธุ์ขาวดอกมะลิ 105 จัดเป็นกลุ่ม B-line ที่นำจะมียีนแก้หมันของระบบ BT-CMSเช่นเดียวกับที่พบในข้าวจากประเทศไทยที่มีค่าความมีชีวิตของละอองเรณู/การติดเมล็ดเป็นสำหรับระบบ WA-CMSมีค่าเท่ากับ 31.7/38.9 และ BT-CMS มีค่าเท่ากับ 80.5/78.0 2.การจำแนกพันธุ์ลำไยโดยใช้เครื่องหมายไอเอสอาร์และเอสเอสอาร์ เพื่อใช้เป็นแหล่งพันธุกรรมสำหรับการปรับปรุงพันธุ์ โดยเลือกใช้เทคนิค ISSR (Inter Simple Sequence Repeat) และ SSR (Simple Sequence Repeats) ในการจำแนกพันธุ์ลำไย จำนวน 31 พันธุ์ ด้วยไพรเมอร์ 20 ไพรเมอร์ พบว่าไพรเมอร์ที่แสดงความหลากหลายทางพันธุกรรม 15 ไพรเมอร์ มีแถบดีเอ็นเอมีทั้งหมด 73 แถบ ขนาดประมาณ 100-3,000 คู่เบส มีแถบดีเอ็นเอ 12 แถบ ที่ไม่มีความหลากหลายทางพันธุกรรม คิดเป็นร้อยละ 16.44 และแถบดีเอ็นเอที่มีความหลากหลายทางพันธุกรรม 61 แถบ คิดเป็นร้อยละ 83.56 เมื่อนำลายพิมพ์ดีเอ็นเอมาวิเคราะห์ความสัมพันธ์ทางพันธุกรรม พบว่างานวิจัยนี้สามารถใช้เทคนิคทางชีวโมเลกุลมาช่วยในการบ่งชี้ความแตกต่างระหว่างพันธุ์ลำไยสามารถจำแนกลำไยได้เป็น 6 กลุ่ม โดยมีค่าสัมประสิทธิ์ความเหมือนอยู่ระหว่าง 0.44-1.00 3.ความสัมพันธ์ทางพันธุกรรมในลิ้นจี่จากลำดับนิวคลีโอไทด์บางส่วนของยีน matK” เพื่อการจำแนกโดยจากการศึกษาลิ้นจี่ 23 พันธุ์โดยวิธีการหาลำดับนิวคลีโอไทด์ของยีน matK ของลิ้นจี่ในจากการวิเคราะห์ลำดับนิวคลีโอไทด์บางส่วนของยีน matK ความยาว 725 คู่เบส พบว่าลิ้นจี่แต่ละพันธุ์มีความสัมพันธ์ทางพันธุกรรมสูง โดยพบความแตกต่างของนิวคลีโอไทด์เพียง 1 ตำแหน่ง คือ ตำแหน่งที่ 520 ซึ่งเกิดการเปลี่ยนแปลงนิวคลีโอไทด์จากไทมีน (T) เป็นไซโทซีน (C) โดยพันธุ์ที่แตกต่างจากพันธุ์อื่น คือ พันธุ์จีนแดง ดังนั้นจากการทดลองครั้งนี้สามารถสรุปว่าวิธีการหาลำดับนิวคลีโอไทด์บางส่วนของยีน matK ยังไม่สามารถจำแนกพันธุ์ลิ้นจี่ได้จึงควรใช้ยีนบริเวณอื่นร่วมด้วยในการจำแนกพันธุ์ลิ้นจี่ 4.ผลของรังสีแกมมาต่ออัตราการรอดชีวิตของเมล็ดถั่วเขียวเพื่อศึกษาผลของรังสีแกมมาต่ออัตราการรอดชีวิตของถั่วเขียวเมล็ดแห้งและแช่น้ำของเมล็ดถั่วเขียว โดยการนำเมล็ดถั่วเขียวไปแช่น้ำเป็นเวลา 12 ชั่วโมง หลังจากนั้นนำไปฉายรังสีแกมมาที่ปริมาณ 0, 2, 4, 6, 8 และ 10 กิโลแรดตามลำดับ ขณะที่เมล็ดแห้งจะนำไปฉายที่ปริมาณ 0, 100, 200, 300, 400 และ 500 กิโลแรดตามลำดับ จากผลของการศึกษาพบว่าค่า LD50 หลังปลูกเป็นเวลา 2 สัปดาห์ ของเมล็ดถั่วเขียวที่แช่น้ำเท่ากับ 6.2 กิโลแรด และเมล็ดแห้งเท่ากับ 225 กิโลแรด ตามลำดับ จากคำ LD50 ที่แตกต่างกันในเมล็ดที่แช่น้ำและเมล็ดแห้ง แสดงว่ารังสีแกมมามีผลที่รุนแรงต่อเมล็ดถั่วเขียวที่แช่น้ำมากกว่าที่เมล็ดแห้ง 5.การจัดการองค์ความรู้ในสวนสมุนไพรโดยประยุกต์ใช้คิวอาร์โค้ดโครงการสวนสมุนไพรมหาวิทยาลัยแม่โจ้ โดย จัดเป็นกลุ่มตามสมุนไพรต่างๆ ตามตำรับยาแผนโบราณ จำนวน 61 พืช และการให้บริการเกี่ยวกับ 2 Dimension barcode แสดงผลบนอุปกรณ์โทรศัพท์เคลื่อนที่ และได้มีการนำเอาเทคโนโลยี 2 Dimension barcode มาประยุกต์เชื่อมโยงเข้ากับฐานข้อมูลสมุนไพรในสวนพฤกษศาสตร์กล้วยไม้ร้อยปีสมเด็จย่า มหาวิทยาลัยแม่โจ้ เพื่อให้ผู้เข้าเยี่ยมชมสามารถสืบค้นข้อมูลต่างๆ ของพันธุ์ไม้ สมุนไพรในสวนสมุนไพรเฉลิมพระเกียรติ จากอุปกรณ์โทรศัพท์เคลื่อนที่เครื่องมือนี้ไปใช้ในการพัฒนาระบบประกอบด้วยโปรแกรมที่ใช้ในการพัฒนาระบบสารสนเทศ ความรู้ที่ได้จากการเข้าร่วมประชุมวิชาการในครั้งนี้จะถูกนำไปใช้ประกอบการเรียนการสอนในอนาคต
คำสำคัญ : ความเป็นหมันของพืช รังสี เคริ่องหมายโมเลกุล  
กลุ่มบทความ : กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร
หมวดหมู่ : กลุ่มงานสายวิชาการ
สถิติการเข้าถึง : เปิดอ่าน 2560  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
ผู้เขียน ทุเรียน ทาเจริญ  วันที่เขียน 8/1/2562 13:06:43  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 25/4/2567 16:47:44

URL สำหรับอ้างอิงถึงหน้านี้