Blog : สรุปเนือหาเรื่องVR-ARโลกใบที่สองเพื่อการเรียนรู้
รหัสอ้างอิง : 200
ชื่อสมาชิก : ทุเรียน ทาเจริญ
เพศ : หญิง
อีเมล์ : turean@mju.ac.th
ประเภทสมาชิก : บุคลากรภายใน [สังกัด]
ลงทะเบียนเมื่อ : 7/2/2554 10:12:07
แก้ไขล่าสุดเมื่อ : 7/2/2554 10:12:07

รายการบทความการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทั้งหมดของ Blog : สรุปเนือหาเรื่องVR-ARโลกใบที่สองเพื่อการเรียนรู้
ปัจจุบันเทคโนโลยีเสมือนจริง (Reality) มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่องสามารถนำมาใช้ด้านการเรียนการสอน การแพทย์ รวมถึงอุตสาหกรรมการผลิต ซึ่งการใช้งานเทคโนโลยีเสมือนจริง สามารถเพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน ลดความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นในการปฏิบัติงานได้อย่างเห็นผลชัดเจน โดยเฉพาะอย่างยิ่งด้านการเรียนการสอนในปัจจุบันที่เหมาะสมกับ บุคคลเป้าหมายคือGen Z อายุ12-24 เขาจะมีลักษณะฉลาดมุ่งมั่นโลกของเขาปัจจุบันคือ เวลาสอนต้องใช้ข้อสอบแบบสั้นๆ Active learning activity และ Game-base learnดังนั้นอาจแบ่งเทคโนโลยีนี้ออกเป็น 3 อย่างคือ 1. ความเป็นจริงเสริม (augmented reality, AR) คือโลกจริงรวมกับวัตถุเสมือนเริ่มต้นมาจากธุรกิจเป็นเทคโนโลยีใหม่ ที่ผสานเอาโลกแห่งความเป็นจริงเข้ากับโลกเสมือน (Virtual) โดยผ่านอุปกรณ์ทางด้านฮาร์ดแวร์และการใช้ซอฟต์แวร์ต่าง ๆ ทำให้สามารถมองเห็นภาพที่มีลักษณะแสดงผลในจอภาพกลายเป็นวัตถุ 3 มิติ ลอยอยู่เหนือพื้นผิวสร้างในรูปแบบ Interactive Media เทคโนโลยี AR นี้จะสามารถทำให้ผู้ใช้เห็นภาพเสมือนจริงได้รอบ 360 องศา โดยไม่จำเป็นจะต้องเดินทางไปสถานที่จริง ตัวอย่างของการใช้งานคือ เกม Pokemon Go และการจำลองสถานที่ Google Street View เป็นต้น 2.ความเป็นจริงเสมือน (virtual reality, VR) สสวท.ใช้แสดงสาธิตวิธีผ่ากบเป็นภาพสามมิติ ใช้หลักตาซ้ายและตาขวามองเห็นภาพไม่เหมือนกันสมองหลอกตาแต่เราใช้เทคโนโลยีหลอกสมอง 3. เทคโนโลยี Mixed Reality (MR) ที่สามารถแสดงผล 3 มิติ ได้ในพื้นที่จริงคล้ายกับภาพโฮโลแกรมจากภาพยนตร์วิทยาศาสตร์ โดยนำเอาเทคโนโลยีเสมือนจริง (Reality) ที่นำเอาโลกแห่งความเป็นจริงและองค์ประกอบดิจิตอลมารวมกัน Mixed Reality จะทำให้มีการโต้ตอบกับสิ่งของและสภาพแวดล้อมทั้งในโลกแห่งความเป็นจริงและเสมือนโดยใช้เทคโนโลยีการสัมผัสและสร้างภาพยุคใหม่ MR ช่วยให้เราได้เห็นและสัมผัสกับโลกรอบตัว แม้ในขณะที่โต้ตอบกับสภาพแวดล้อมเสมือนด้วยมือของเราเองโดยที่ไม่ต้องถอดแว่น ตัวอย่างการใช้งาน MR เช่น ตัวอย่างเสมือนจริงที่จำลองสภาพแวดล้อมให้ลูกค้าได้สัมผัสบรรยากาศของโครงการที่พักอาศัยได้แบบอินเทอร์แอ็คทีฟ ตัวอย่างการนำมาใช้ในปัจจุบันของมหาวิทยาลัยบางแห่งเช่น 1.ไปใช้ในการเรียนการสอนวิชาเกี่ยวกับโรงงาน โรงแรมช่วยสร้าง deep learning อาจทำให้นักศึกษาสนใจการเรียนรู้มากขึ้น เพราะว่าวิธีการนี้สามารถชดเชยการสอนจริงไม่ได้อย่างน้อยก็ให้มีประสบการณ์ร่วมกันก่อนเช่น ใช้ดูแลผู้สูงอายุเช่นจำลองว่าทานข้าวพร้อมกันทั้งครอบครัว 2.ไปใช้ในการเรียนการสอนวิชาประวัติศาสตร์เอาไปส่องถนนในปัจจุบันแต่ทำให้มันเกิดปราสาทเก่าที่ถูกทำลายไปเป็นการสร้างจิตสำนึกทำให้เกิดความรู้สึกว่าเข้าไปอยู่ในสถานที่จริงก่อให้เกิดความหวงแหนเสียดายร่วมกับคนในประวัติศาสตร์ ข้อดี1.เพิ่มความสนใจในการเรียนการสอนในปัจจุบัน 2.อาจสามารถนำไปใช้ได้ทางภาษาศาสตร์ วิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และศิลปศาสตร์ ข้อเสีย1.เกิดการเสพติดเทคโนโลยี2.คนเป็นโรคหัวใจเพราะว่าตื่นเต้นเกินไป 3.สนุกสนานเกินไปอาจล้ม เดินชน รถชน สรุปโลกจริงยังสดใสที่สุดแต่จริงๆๆแล้วก็ไม่มีอะไรมาทดแทนการได้ลงพื้นที่จริงซึ่งเป็นประสบการณ์ตรงของนักศึกษา แม้ว่า MR มีปฏิกิริยาโต้ตอบ ผศ.ทุเรียน ทาเจริญ
สรุปเนือหาเรื่องVR-ARโลกใบที่สองเพื่อการเรียนรู้ » VR-AR โลกใบที่สองเพื่อการเรียนรู้
ปัจจุบันเทคโนโลยีเสมือนจริง (Reality) มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่องสามารถนำมาใช้ด้านการเรียนการสอน การแพทย์ รวมถึงอุตสาหกรรมการผลิต ซึ่งการใช้งานเทคโนโลยีเสมือนจริง สามารถเพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน ลดความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นในการปฏิบัติงานได้อย่างเห็นผลชัดเจน โดยเฉพาะอย่างยิ่งด้านการเรียนการสอนในปัจจุบันที่เหมาะสมกับ บุคคลเป้าหมายคือGen Z อายุ12-24 เขาจะมีลักษณะฉลาดมุ่งมั่นโลกของเขาปัจจุบันคือ เวลาสอนต้องใช้ข้อสอบแบบสั้นๆ Active learning activity และ Game-base learnดังนั้นอาจแบ่งเทคโนโลยีนี้ออกเป็น 3 อย่างคือ 1. ความเป็นจริงเสริม (augmented reality, AR) คือโลกจริงรวมกับวัตถุเสมือนเริ่มต้นมาจากธุรกิจเป็นเทคโนโลยีใหม่ ที่ผสานเอาโลกแห่งความเป็นจริงเข้ากับโลกเสมือน (Virtual) โดยผ่านอุปกรณ์ทางด้านฮาร์ดแวร์และการใช้ซอฟต์แวร์ต่าง ๆ ทำให้สามารถมองเห็นภาพที่มีลักษณะแสดงผลในจอภาพกลายเป็นวัตถุ 3 มิติ ลอยอยู่เหนือพื้นผิวสร้างในรูปแบบ Interactive Media เทคโนโลยี AR นี้จะสามารถทำให้ผู้ใช้เห็นภาพเสมือนจริงได้รอบ 360 องศา โดยไม่จำเป็นจะต้องเดินทางไปสถานที่จริง ตัวอย่างของการใช้งานคือ เกม Pokemon Go และการจำลองสถานที่ Google Street View เป็นต้น 2.ความเป็นจริงเสมือน (virtual reality, VR) สสวท.ใช้แสดงสาธิตวิธีผ่ากบเป็นภาพสามมิติ ใช้หลักตาซ้ายและตาขวามองเห็นภาพไม่เหมือนกันสมองหลอกตาแต่เราใช้เทคโนโลยีหลอกสมอง 3. เทคโนโลยี Mixed Reality (MR) ที่สามารถแสดงผล 3 มิติ ได้ในพื้นที่จริงคล้ายกับภาพโฮโลแกรมจากภาพยนตร์วิทยาศาสตร์ โดยนำเอาเทคโนโลยีเสมือนจริง (Reality) ที่นำเอาโลกแห่งความเป็นจริงและองค์ประกอบดิจิตอลมารวมกัน Mixed Reality จะทำให้มีการโต้ตอบกับสิ่งของและสภาพแวดล้อมทั้งในโลกแห่งความเป็นจริงและเสมือนโดยใช้เทคโนโลยีการสัมผัสและสร้างภาพยุคใหม่ MR ช่วยให้เราได้เห็นและสัมผัสกับโลกรอบตัว แม้ในขณะที่โต้ตอบกับสภาพแวดล้อมเสมือนด้วยมือของเราเองโดยที่ไม่ต้องถอดแว่น ตัวอย่างการใช้งาน MR เช่น ตัวอย่างเสมือนจริงที่จำลองสภาพแวดล้อมให้ลูกค้าได้สัมผัสบรรยากาศของโครงการที่พักอาศัยได้แบบอินเทอร์แอ็คทีฟ
คำสำคัญ :
กลุ่มบทความ : กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร
หมวดหมู่ : กลุ่มงานสายวิชาการ
สถิติการเข้าถึง : เปิดอ่าน 1629  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
ผู้เขียน ทุเรียน ทาเจริญ  วันที่เขียน 17/5/2564 13:50:49  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 22/11/2567 5:53:25

URL สำหรับอ้างอิงถึงหน้านี้