รหัสอ้างอิง :
200
|
|
ชื่อสมาชิก :
ทุเรียน ทาเจริญ
|
เพศ :
หญิง
|
อีเมล์ :
turean@mju.ac.th
|
ประเภทสมาชิก :
บุคลากรภายใน [สังกัด]
|
ลงทะเบียนเมื่อ :
7/2/2554 10:12:07
|
แก้ไขล่าสุดเมื่อ :
7/2/2554 10:12:07
|
|
รายการบทความการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทั้งหมดของ Blog : สรุปเนื้อหาและการนำไปใช้ประโยชน์ของประชุมวิชาการพันธุศาสตร์แห่งชาติครั้งที่ 21
ข้าพเจ้า นางทุเรียน ทาเจริญ ตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์ สังกัด สาขาพันธุศาสตร์ ขอนำเสนอรายงานสรุปเนื้อหาและการนำไปใช้ประโยชน์จากการเข้าร่วมประชุมวิชาการพันธุศาสตร์แห่งชาติครั้งที่ 21เรื่อง“พันธุศาสตร์เพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน” ตามหนังสืออนุญาตเลขที่.....ศธ ๐๕๒๓.๔.๙.๑/๑๔๐... ลงวันที่ ๒๑ ก.พ.๒๕๖๒ ดังนั้นจึงขอนำเสนอสรุปเนื้อหาและการนำไปใช้ประโยชน์ของการประชุมวิชาการดังต่อไปนี้
1.การศึกษาการแก้ความเป็นหมันของละอองเรณูระบบ WA-CMS ของข้าวสุพรรณ 1 โดยการทดสอบความมีชีวิต ร่วมกับเครื่องหมายดีเอ็นเอที่สัมพันธ์กับยีนแก้ความเป็นหมันตำแหน่ง Rf 3 สรุปพบว่ายีนตำแหน่ง Rf 4 ในข้าวสุพรรณ1 สามารถแก้ความเป็นหมันของละอองเรณูได้โดยคาดว่าข้าวพันธุ์สุพรรณ 1มียีนควบคุมลักษณะแก้ความเป็นหมัน 1 คู่
2.การใช้เครื่องหมายดีเอ็นเอของยีน OsB1สำหรับใช้ตรวจสอบข้าวลูกผสมชั่วที่1ของคู่ผสมระหว่างข้าวที่มีเยื่อหุ้มเมล็ดสีขาวและม่วง ข้าวพันธุ์ไรซ์เบอรี่มีปริมาณแอนโทไซยานินและฤทธิ์การต้านอนุมูลอิสระสูงกว่าข้าวพันธุ์ปทุมธานี 1 ดังนั้นเครื่องหมายดีเอ็นเอของยีน OsB1ที่สำคัญต่อการควบคุมการสังเคราะห์แอนโทไซยานินสำหรับใช้ตรวจสอบข้าวลูกผสมตั้งแต่ระยะต้นกล้าและช่วยคัดเลือกลักษณะเยื่อหุ้มเมล็ดสีม่วงเพื่อการปรับปรุงพันธุ์ข้าวให้มีคุณค่าทางโภชนาการสูงขึ้น
3.การประยุกต์ใช้เครื่องหมายดีเอ็นเอของยีน OsC1 สำหรับใช้ตรวจสอบสีเยื่อหุ้มเมล็ดของข้าวไทย
สามารถใช้เครื่องหมายดีเอนเอชนิด Indelที่จำเพาะกับยีน OsC1 ที่สำคัญต่อการควบคุมการสังเคราะห์แอนโทไซยานินมาช่วยคัดเลือกในการปรับปรุงพันธุ์ข้าวไทยให้มีปริมาณแอนโทไซยานินสูงและคัดเลือกต้นข้าวที่มีเยื่อหุ้มเมล็ดสีดำแยกจากข้าวขาวและข้าวแดงได้
4.ผลของความเครียดจากความเค็มต่อปริมาณแป้งและน้ำตาลในข้าวขาวดอกมะลิ105ที่มีการแสดงออกของยีน OsCam1-1เกินปกติ พบว่าการแสดงออกเกินปกติของยีน OsCam1-1ส่งผลต่อแมแทบอลิซึมของคาร์โบไฮเดรตในข้าวและในข้าวขาวดอกมะลิ105ที่มีการแสดงออกของยีน OsCam1-1เกินปกติพบว่าใบอายุมากที่สุดที่เวลา 13.00 น.มีปริมาณน้ำตาลซูโครสสูงกว่าในภาวะปกติ
5.เครื่องหมายดีเอ็นเอของยีน OsRc เพื่อตรวจสอบข้าวที่มีเยื่อหุ้มเมล็ดสีแดงและข้าวลูกผสมชั่วที่ 1การใช้เครื่องหมายดีเอ็นเอที่จำเพาะต่อยีนนี้ที่สำคัญต่อการควบคุมการสังเคราะห์แอนโทไซยานินสามารถใช้คัดเลือกข้าวที่มีเยื่อหุ้มเมล็ดสีแดงได้และประยุกต์ใช้ในการตรวจสอบข้าวลูกผสมระหว่างข้าวขาวและข้าวแดงเพื่อการปรับปรุงพันธุ์ข้าวให้มีสารต้านอนุมูลอิสระสูง
6.เรื่องการแสดงออกของยีนในกระบวนการสังเคราะห์แป้งของมันสำปะหลังโดยวิธี Real-time PCRสรุปการแสดงออกของยีนโดยใช้เทคนิค Real-time PCR จะเป็นข้อมูลสำคัญในการพัฒนาการผลิตมันสำปะหลัง ในกระบวนการสังเคราะห์แป้งของมันสำปะหลังพบว่าการแสดงออกของยีน scb1(starch branching enzme 1)และss (starch shythase) ที่ใบอ่อนสูงสุดในมันสำปะหลังสายพันธุ์ระยอง72และระยอง13ตามลำดับส่วนผลการวิเคราะห์ปริมาณแป้งที่รากพบว่าทุกสายพันธุ์สะสมแป้งมากกว่า 70%
7.ความรู้รอบตัวเกี่ยวกับเรื่องสถานการณ์ความไม่สงบในสามชายแดนภาคใต้ต้องอาศัยความรู้ทางด้านการวิเคราะห์ร่วมกับผลดีเอ็นเอบุคคลเพื่อการพิสูจน์ทราบบุคคลที่มีประสิทธิภาพสามารถแบ่งออกเป็นสามมิติคือ มิติที่ 1การพิสูจน์ทราบโดยตรงเหมือนคดีทั่วไป มิติที่ 2 การพิสูจน์ทราบเพื่อขยายผล มิติที่ 3 การนำผลการตรวจดีเอนเอบุคคลที่ปรากฏในเหตุการณ์ต่าง ๆมาวิเคราะห์ร่วมกันข้อมูลพฤติการณ์คดี สรุปงานนิติต้องใช้พันธุศาสตร์มีปนระโยชน์ในแง่กระบวนการยุติธรรมเพราะสามารถนำผลการตรวจวิเคราะห์อย่างมีประสิทธิภาพ พิสูจน์เอกลักษณ์บุคคล การพิสูจน์ความสัมพันธ์ของบิดา-มารดา-บุตร
8.ขั้นตอนการตรวจรหัสพันธุกรรมทั้งจีโนม (WGS) โดยใช้เทคนิคการถอดรหัสพันธุกรรมยุคใหม่ ความรู้ที่ครอบคลุมทั้งทางด้านพันธุศาสตร์และนำความรู้ไปใช้ในการเรียนการสอนและงานวิจัยในอนาคตเพื่อพัฒนาด้านวิจัยและวิชาการของประเทศไทยต่อไป
9.การเปลี่ยนแปลงการสะสมธาตุอาหารและการแสดงออกของยีนที่เกี่ยวข้องกับการลำเลียงธาตุอาหารในเนื้อเยื่อมันสำปะหลัง สรุปได้ว่ายีนแสดงออกมากในรากฝอย แต่มีการแสดงออกลดลงในรากสะสมอาหาร แม้ว่ายีนดังกล่าวจะมีบทบาทในการลำเลียงธาตุในราก ยีนส่วนมากยังมีการแสดงออกมากในใบที่โตเต็มที่อีกด้วยแสดงให้เห็นว่ายีนเหล่านี้มีบทบาทในการลำเลียงธาตุในใบมันสำปะหลังเช่นกัน
URL สำหรับอ้างอิงถึงหน้านี้