การตรวจลงตราประเภทคนอยู่ชั่วคราว (Non-Immigrant Visa)
วันที่เขียน 26/9/2560 15:25:16     แก้ไขล่าสุดเมื่อ 21/11/2567 20:55:22
เปิดอ่าน: 4062 ครั้ง

ประเภทของการขอรับการตรวจลงตราเพื่อพำนักในราชอาณาจักรไทยเป็นการชั่งคราว

การตรวจลงตราประเภทคนอยู่ชั่วคราว (Non-Immigrant Visa)

การตรวจลงตราประเภทนี้จะออกให้แก่คนต่างด้าวที่ประสงค์จะเดินทางเข้ามาในราชอาณาจักรเพื่อวัตถุประสงค์อย่างใดอย่างหนึ่ง ดังต่อไปนี้

- การปฏิบัติหน้าที่ทางราชการ (รหัส F)

- การติดต่อหรือประกอบธุรกิจ และการทำงาน (รหัส B)

- การลงทุนที่ได้รับความเห็นชอบจากกระทรวงที่เกี่ยวข้อง (รหัส IM)

- การลงทุนหรือการอื่นภายใต้ข้อบังคับกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมการลงทุน (รหัส IB)

- การศึกษา ดูงาน และฝึกอบรมต่างๆ (รหัส ED)

- การปฏิบัติหน้าที่สื่อมวลชน (รหัส M)

- การเผยแผ่ศาสนาที่ได้รับความเห็นชอบจากกรมการศาสนา กระทรวงศึกษาธิการ (รหัส R)

- การค้นคว้าทางวิทยาศาสตร์หรือฝึกสอนในสถาบันการค้นคว้า หรือสถาบันการศึกษาในราชอาณาจักร (รหัส RS)

- การปฏิบัติงานด้านช่างฝีมือผู้เชี่ยวชาญ (รหัส EX)

- การอื่น (รหัส O) ได้แก่

1) การเข้ามาใช้ชีวิตในบั้นปลายในฐานะผู้สูงอายุ

2) การเข้ามาในฐานะคู่ความหรือพยานสำหรับการพิจารณาดำเนินคดี

3) การปฏิบัติหน้าที่หรือภารกิจในครอบครัวคนต่างด้าว ซึ่งเข้ามาในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราวเพื่อปฏิบัติหน้าที่ทางการทูต กงสุลหรือปฏิบัติภารกิจอื่น โดยเป็นบิดา มารดา คู่สมรส หรือบุตร ซึ่งอยู่ในความอุปการะและเป็นส่วนแห่งครัวเรือนของบุคคลดังกล่าว

4) การปฏิบัติหน้าที่ในฐานะคนรับใช้ส่วนตัวซึ่งเดินทางมาจากต่างประเทศเพื่อมาทำงานตามปกติ ณ ที่พักอาศัยของบุคคลในคณะผู้แทนทางการทูต หรือบุคคลซึ่งมีเอกสิทธิ์เท่าเทียมกัน กับบุคคลซึ่งมีตำแหน่งทางการทูตตามความตกลงที่รัฐบาลไทยได้ทำไว้กับรัฐบาลต่างประเทศ หรือกับองค์การ หรือทบวงการระหว่างประเทศ

5) การให้ความอุปการะแก่หรือรับความอุปการะจากบุคคลสัญชาติไทย หรือบุคคลผู้มีถิ่นที่อยู่ในราชอาณาจักร โดยเป็นบิดา มารดา คู่สมรส หรือบุตร ซึ่งอยู่ในความอุปการะและเป็นส่วนแห่งครัวเรือนของบุคคลดังกล่าว

6) การปฏิบัติหน้าที่ให้แก่รัฐวิสาหกิจ หรือองค์การกุศลสาธารณะ

7) การเข้ามาในราชอาณาจักรของผู้เคยมีสัญชาติไทย เพื่อเยี่ยมญาติ หรือขอกลับเข้ามาอยู่ในราชอาณาจักร

8) การเข้ามาในราชอาณาจักรเพื่อการรักษาพยาบาล

9) การเข้ามาในราชอาณาจักรเพื่อเป็นผู้ฝึกสอนนักกีฬาตามความต้องการของทางราชการ

 

2. อายุวีซ่า

- 3 เดือน สำหรับการเดินทางเข้าราชอาณาจักรได้ครั้งเดียว (single entry)

- 1 ปี สำหรับการเดินทางเข้าราชอาณาจักรได้หลายครั้ง (multiple entries)

 

3. ค่าธรรมเนียม 2,000 บาท (single entry) และ 5,000 บาท (multiple entries)

 

4. ระยะเวลาพำนักในราชอาณาจักร ครั้งละไม่เกิน 90 วัน

 

5. จำนวนเงินที่คนต่างด้าวต้องมีติดตัวขณะเดินทางเข้ามาในราชอาณาจักร คือ ต้องมีเงินหรือเอกสารที่จะพึงจ่ายหรือแลกเปลี่ยนได้เป็นมูลค่าเท่ากับอัตราแลกเปลี่ยนเป็นเงินไทยคนละไม่น้อยกว่า 20,000 บาท ครอบครัวละไม่น้อยกว่า 40,000 บาท

6. การขยายระยะเวลาพำนักในราชอาณาจักร คนต่างด้าวที่มีคุณสมบัติตรงตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่กำหนดโดยสำนักงานตรวจคนเข้าเมือง จะได้รับการพิจารณาขยายระยะเวลาพำนักให้อยู่ต่อไปในราชอาณาจักรเป็นระยะเวลาครั้งละไม่เกิน 1 ปี ทั้งนี้ คนต่างด้าวสามารถยื่นคำร้องได้ ณ สำนักงานตรวจคนเข้าเมือง การพิจารณาอนุมัติขึ้นอยู่กับดุลพินิจของเจ้าพนักงานตรวจคนเข้าเมือง

7. เอกสารที่ใช้ยื่นประกอบในการขอรับการตรวจลงตรา

เนื่องจากการตรวจลงตราประเภทคนอยู่ชั่วคราวครอบคลุมวัตถุประสงค์ของการเดินทางเข้าประเทศไทยหลายประการ เอกสารหลักฐานที่ใช้ยื่นประกอบในการขอรับการตรวจลงตราจึงแตกต่างกันไปตามวัตถุประสงค์ของการเดินทาง และสถานทูตสถานกงสุลอาจขอให้แสดงเอกสารเพิ่มเติมหรือสัมภาษณ์ผู้ขอรับการตรวจลงตราด้วย

เอกสารที่ต้องนำไปแสดง ได้แก่

- หนังสือเดินทางที่มีอายุใช้งานไม่น้อยกว่า 6 เดือน

- แบบฟอร์มวีซ่าที่กรอกข้อความสมบูรณ์

- รูปถ่ายขนาด 2 ½ นิ้ว จำนวน 2 รูป (ถ่ายในระยะเวลาไม่เกิน 6 เดือน /ไม่สวมหมวกและแว่นตาดำ)

- เอกสารประกอบตามวัตถุประสงค์ของการเดินทาง เช่น การเข้ามาในฐานะเป็นบุคคลในครัวเรือนหรือในความอุปการะ (รหัส O)

- หลักฐานการเป็นบิดา มารดา บุตร / สูติบัตร / ใบสำคัญการสมรส

- หนังสือรับรองการทำงาน ใบอนุญาตทำงานที่ยังมีอายุใช้งาน ของผู้ที่ทำงานในประเทศไทย

- หลักฐานแสดงว่าคู่สมรสเป็นคนสัญชาติไทย หรือเป็นผู้ที่มีถิ่นที่อยู่ในราชอาณาจักร หลักฐานแสดงฐานะทางการเงิน

- หนังสือจากสถานเอกอัครราชทูต สถานกงสุลใหญ่ องค์การระหว่างประเทศ หน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ แล้วแต่กรณี

ขั้นตอนการทำวีซ่าเป็น 1 ปีนั้นเมื่อต่างชาติได้วีซ่า Non-Immigrant B มาแล้วเมื่อเข้ามาถึงประเทศไทยควรจะทำใบอนุญาตทำงานเลย หากต่างชาติไปทำเดือนสุดท้ายที่ได้วีซ่า Non-Immigrant B อาจทำให้ต่างชาติขึ้นประกันสังคมและยื่น ภงด.1 ไม่ทันในการต่อวีซ่า 1 ปีเพราะต้องมีการยื่นเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาอย่างน้อย 1 เดือน (หากไม่มีใบอนุญาตทำงานไม่สามารถจ่ายเงินเดือนต่างชาติได้)

Non-Immigrant Visa (Non-B)

วีซ่าเพื่อเข้ามาทำงาน

วีซ่าทำงาน ( Visa 1 year)

ต่างชาติที่เข้ามาทำงานในประเทศไทยนั้นหากต้องการวีซ่าทำงานระยะเวลาทำงาน 1 ปี ต่างชาตินั้นต้องมีใบอนุญาตทำงานก่อน ซึ่งการจะทำใบอนุญาตทำงานได้นั้นจึงสามารถทำวีซ่า 1 ปีได้ซึ่งขั้นตอนก่อนทำวีซ่า 1 ปีนั้นมีดังนี้

- ทำวีซ่า Immigration Non-B ซึ่งหากต่างชาติยังไม่เดินทางเข้ามาประเทศไทยสามารถขอได้ที่สถานทูตไทยในต่างประเทศ หรือหากต่างชาติที่เดินทางเข้ามาประเทศไทยแล้วโดยไม่ได้ทำวีซ่า Non-B เข้ามา ต้องการจะเปลี่ยนประเภทการตรวจลงตราเป็น Non-B ก็สามารถทำได้ที่สำนักงานตรวจคนเข้าเมือง หรือถ้าเป็นวีซ่าแต่งงาน ( Non-Immigrant Non-O ) ก็สามารถขอใบอนุญาตทำงานได้เหมือนกัน วีซ่า Immigration Non-B

- หลังจากนั้นก็ยื่นเรื่องขอใบอนุญาตทำงาน ( Workpermit ) ซึ่งใบอนุญาตทำงานนั้นจะได้รับได้อนุญาตทำงานได้ 1 ปี (แต่วีซ่ายังอยู่ได้ 3 เดือน ) ซึ่งหากต่างชาติต้องการทำงาน 1 ปีต้องทำเรื่องยื่นขอเป็นวีซ่า 1 ปี ตามเงื่อนไขการทำวีซ่าและใบอนุญาตทำงานนั้น

คำสำคัญ :
กลุ่มบทความ :
หมวดหมู่ :
แชร์ :
https://erp.mju.ac.th/acticleDetail.aspx?qid=735
ความคิดเห็นทั้งหมด (0)
ไม่มีข้อมูลตามเงื่อนไขที่ท่านกำหนด
รายการบทความการแลกเปลี่ยนเรียนรู้หมวดหมู่ : กลุ่มงานบริการการศึกษา
ความรู้จากการเข้าร่วมอบรม » รู้หรือไม่ สายfiber optic สามารถย่อโลกให้เล็กลงได้
สายfiber optic หรือ สายใยแก้วนําแสง คือ สายสัญญาณชนิดหนึ่งที่ผลิตมาจากแก้ว หุ้มด้วยใยพิเศษเพื่อป้องกันการกระแทก โดยการส่งข้อมูลของเส้นใยแก้วนำแสง นั้นจะทำงานจาก การแปลงสัญญาณข้อมูลไฟฟ้าจากอุปกรณ์ต...
Fiber Optic Cable  ไฟเบอร์ออฟติก  สายใยแก้วนําแสง     กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร   กลุ่มงานบริการการศึกษา
ผู้เขียน ประทีป สุขสมัย  วันที่เขียน 6/9/2567 16:49:45  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 21/11/2567 16:49:57   เปิดอ่าน 92  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
การศึกษาดูงานบริการการศึกษา ณ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง และ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย » KM งานบริการการศึกษาและกิจการนักศึกษา คณะบริหารธุรกิจ จากการเข้าศึกษาดูงาน มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง วันที่ 1 พฤษภาคม 2567 และมหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงราย วันที่ 3 พฤษภาคม 2567
งานบริการการศึกษาและกิจการนักศึกษา คณะบริหารธุรกิจ มีแผนการพัฒนางานประจำเพื่อนำความรู้ที่ได้มาปรับปรุงงานประจำ หรือพัฒนาให้เกิดนวัตกรรมของงาน จึงได้วางแผนตั้งแต่การขออนุมัติเข้าร่วมอบรม การพัฒนางาน...
KM, งานบริการการศึกษา     กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร   กลุ่มงานบริการการศึกษา
ผู้เขียน กฤตาณัฐ ศรีประภา  วันที่เขียน 30/8/2567 14:58:46  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 21/11/2567 16:04:23   เปิดอ่าน 142  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
อบรมการพัฒนาตนเองด้านความรู้ ทักษะและพฤติกรรม ปี 2567 » กระบวนการพัฒนางานประจำสู่นวัตกรรมการให้บริการ
การพัฒนางานประจำสู่นวัตกรรมการให้บริการนั้นเป็นกระบวนการที่ต้องใช้เวลาและความพยายาม รวมถึงการมีส่วนร่วมจากพนักงานทุกระดับในองค์กร การนำเทคโนโลยีและการปรับปรุงกระบวนการมาใช้ จะช่วยให้องค์กรสามารถสร้...
การพัฒนา งานประจำ นวัตกรรม     กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร   กลุ่มงานบริการการศึกษา
ผู้เขียน ภาวิณี จีปูคำ  วันที่เขียน 27/6/2567 14:10:39  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 21/11/2567 15:43:07   เปิดอ่าน 233  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง