การเลือกใช้สาย สำหรับกล้องวงจรปิดแบบ Analog
วันที่เขียน 11/3/2559 13:53:40     แก้ไขล่าสุดเมื่อ 21/11/2567 21:27:36
เปิดอ่าน: 9161 ครั้ง

การเลือกใช้สาย สำหรับกล้องวงจรปิดแบบ Analog

สาย Coaxial (โคแอคเชียล) หรือ “สายแกนร่วม” หรือ RG (Radio Guide) หรือ สายนำสัญญาณวิทยุ  คือสายชนิดเดียวกันทั้งหมด
สาย RG6 ส่วนใหญ่แล้วใช้ในงาน ด้านกล้องวงจรปิด สายอากาศทีวี สายจานดาวเทียม ส่วนประกอบหลักๆ จะประกอบไปด้วย

 

        1. Conductor (ตัวนำสัญญาณ) ส่วนใหญ่แล้วจะเป็นเหล็กหุ้มด้วยทองแดง ถ้าหุ้มด้วยทองแดง CCS (Copper Covered Steel)จะบอกเป็น % ของทองแดงหุ้มหรือบางครั้งจะใช้เป็นทองแดงล้วนไปเลย สาเหตุที่ส่วนใหญ่ไม่ใช้เป็นแกนทองแดงล้วนเพราะ ราคาทองแดงราคาสูง และกระแสไฟฟ้าส่วนใหญ่จะไหลผ่านตัวนำที่บริเวณพื้นที่ผิวของวัตถุ

        2. Insulator (ฉนวนหุ้ม) ทำหน้าที่ป้องกันสัญญาณรบกวน จะใช้เป็นโฟม หรือ PE แล้วหุ้มทับด้วยเทปอลูมิเนียม

        3. Wire Braid Shield (ชิลด์หรือเส้นถัก) ส่วนใหญ่ทำจากอลูมิเนี่ยมและทองแดง ป้องกันการแพร่กระจายของสัญญาณรบกวน และการกระจายของสัญญาณออกมาภายนอก จะบอกเป็น % คือพื้นที่ความหนาแน่นที่ในการถัก เช่น 60% 90% 95% สูงสุดอยู่ที่ 95% หรือจำนวนของเส้นที่ใช้ในการถัก เช่น 112, 120, 124, 144 เส้นยิ่งมากก็ยิ่งช่วยในการนำสัญญาณได้ดี และป้องกันสัญญาณรบกวนจากภายนอก ทำให้เดินได้ในระยะที่ไกลขึ้นและป้องกันการกวนของสัญญาณจากภายนอกได้ดี

        4. Jacket (เปลือกหุ้มสาย) ทำหน้าที่หุ้มสายทั้งหมด ถ้าใช้ภายในจะทำด้วย PVC (Polyvinylchloride) ส่วนภายนอกจะใช้วัสดุที่เป็น PE (Polyethylene ) ซึ่งมีคุณสมบัติสามารถป้องกันน้ำและทนแดด สามารถใช้ภายนอกได้

        สายที่ส่วนมากที่นิยมใช้สำหรับกล้องวงจรปิดจะมีอยู่ด้วยกัน 3 ชนิด มาตรฐานของสายสัญญาณ RG ระยะที่แนะนำมีดังนี้

  RG59 สามารถเดินได้ไกล ระยะ 350 เมตร ขนาดของสาย จะมีขนาดเล็กกว่ายืดหยุ่นกว่าเหมาะสำหรับเดินระยะไม่ไกลมาก ตัวสายดัดโค้งงอได้ง่าย 
 RG6   สามารถเดินได้ไกล ระยะ 450 เมตร เป็นที่นิยมที่สุดเพราะราคาถูกเดินได้ระยะไกลกว่าสายไม่แข็งมาก 
 RG11 สามารถเดินได้ไกล ระยะ 750 เมตร เหมาะสำหรับเดินภายนอกอาคารที่ระยะไกลๆ ขนาดของสายเส้นจะใหญ่กว่าทุกแบบ

        ถ้าระยะที่เกินกว่านี้ส่วนมากจะใช้ไฟเบอร์ออฟติกเพื่อทำการแปลงสัญญาณจาก Analog เป็นคลื่นแสงแบบดิจิตอล แล้วทำการแปลงสัญญาณกลับมาเป็นสัญญาณ Analog ที่ใช้กับกล้องอีกครั้ง เช่น ไฟเบอร์ออฟติก แบบมัลติโหมด สามารถเดินได้ถึง 2 กิโลเมตร ส่วนถ้าเป็น Single Mode สามารถเดินได้ถึง 80 กิโลเมตรกันเลยทีเดียว

 

                                                                       ลักษณะของสายRG แบบต่างฯ

 

 

                                                              คอนเนคเตอร์สำหรับใช้เข้าสายCCTV

คำสำคัญ :
กลุ่มบทความ :
หมวดหมู่ :
แชร์ :
https://erp.mju.ac.th/acticleDetail.aspx?qid=473
ความคิดเห็นทั้งหมด (0)
ไม่มีข้อมูลตามเงื่อนไขที่ท่านกำหนด
รายการบทความการแลกเปลี่ยนเรียนรู้หมวดหมู่ : กลุ่มงานบริการการศึกษา
ความรู้จากการเข้าร่วมอบรม » รู้หรือไม่ สายfiber optic สามารถย่อโลกให้เล็กลงได้
สายfiber optic หรือ สายใยแก้วนําแสง คือ สายสัญญาณชนิดหนึ่งที่ผลิตมาจากแก้ว หุ้มด้วยใยพิเศษเพื่อป้องกันการกระแทก โดยการส่งข้อมูลของเส้นใยแก้วนำแสง นั้นจะทำงานจาก การแปลงสัญญาณข้อมูลไฟฟ้าจากอุปกรณ์ต...
Fiber Optic Cable  ไฟเบอร์ออฟติก  สายใยแก้วนําแสง     กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร   กลุ่มงานบริการการศึกษา
ผู้เขียน ประทีป สุขสมัย  วันที่เขียน 6/9/2567 16:49:45  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 21/11/2567 16:49:57   เปิดอ่าน 92  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
การศึกษาดูงานบริการการศึกษา ณ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง และ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย » KM งานบริการการศึกษาและกิจการนักศึกษา คณะบริหารธุรกิจ จากการเข้าศึกษาดูงาน มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง วันที่ 1 พฤษภาคม 2567 และมหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงราย วันที่ 3 พฤษภาคม 2567
งานบริการการศึกษาและกิจการนักศึกษา คณะบริหารธุรกิจ มีแผนการพัฒนางานประจำเพื่อนำความรู้ที่ได้มาปรับปรุงงานประจำ หรือพัฒนาให้เกิดนวัตกรรมของงาน จึงได้วางแผนตั้งแต่การขออนุมัติเข้าร่วมอบรม การพัฒนางาน...
KM, งานบริการการศึกษา     กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร   กลุ่มงานบริการการศึกษา
ผู้เขียน กฤตาณัฐ ศรีประภา  วันที่เขียน 30/8/2567 14:58:46  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 21/11/2567 16:04:23   เปิดอ่าน 142  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
อบรมการพัฒนาตนเองด้านความรู้ ทักษะและพฤติกรรม ปี 2567 » กระบวนการพัฒนางานประจำสู่นวัตกรรมการให้บริการ
การพัฒนางานประจำสู่นวัตกรรมการให้บริการนั้นเป็นกระบวนการที่ต้องใช้เวลาและความพยายาม รวมถึงการมีส่วนร่วมจากพนักงานทุกระดับในองค์กร การนำเทคโนโลยีและการปรับปรุงกระบวนการมาใช้ จะช่วยให้องค์กรสามารถสร้...
การพัฒนา งานประจำ นวัตกรรม     กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร   กลุ่มงานบริการการศึกษา
ผู้เขียน ภาวิณี จีปูคำ  วันที่เขียน 27/6/2567 14:10:39  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 21/11/2567 15:43:07   เปิดอ่าน 233  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง