ทีวีดิจิตอล Digital TV
วันที่เขียน 19/4/2557 15:11:08     แก้ไขล่าสุดเมื่อ 21/11/2567 17:30:30
เปิดอ่าน: 11240 ครั้ง

ถ้าพูดถึง "ทีวีดิจิตอล" หรือทีวีดิจิทัล (Digital TV) หลายคนอาจเคยผ่านตากับกระแสที่กำลังเป็นข่าวครึกโครมกันอยู่ในช่วงนี้ ว่าวงการทีวีไทยในบ้านเราจะมีการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ ซึ่งคำถามที่ตามมาก็คือ แล้วเจ้าทีวีดิจิตอล คืออะไร?? แล้วทีวีที่เราใช้กันอยู่ในปัจจุบันเรียกว่าอะไร?? ทำไมจึงต้องเปลี่ยน

ทีวีดิจิตอลคืออะไร?

ช่วงนี้หลายท่านอาจจะได้ข่าวหนึ่งที่น่าสนใจก็คือ การเปิดประมูลทีวีระบบดิจิตอลของ กสทช.ทำให้หลายคนสงสัยว่า “ทีวีดิจิตอลหรือโทรทัศน์ระบบดิจิตอลคืออะไร?” มีประโยชน์กับคนไทยอย่างไร

ทีวีดิจิตอลหรือโทรทัศน์ระบบดิจิตอล (Digital television) เป็นระบบการส่งผ่านสัญญาณภาพวีดีโอและเสียงโดยระบบดิจิตอล ซึ่งแต่เดิมระบบการรับสัญญาณโทรทัศน์ในบ้านเราใช้เป็นระบบอะนาล็อก โดยระบบดิจิตอลมีจุดเด่นกว่าระบบอนาล็อกทั้งในด้านความคมชัดของภาพและเสียง และการส่งข้อมูลแบบดิจิตอลสามารถส่งข้อมูลได้มากกว่าแบบเดิม (Multicasting) ซึ่งตอนนี้หลายๆ ประเทศได้ทำการพัฒนาระบบการรับส่งสัญญาณดิจิตอลไปอีกระดับแล้วครับ เช่น โทรทัศน์จอกว้าง ( WIDE SCREEN )โทรทัศน์ความคมชัดสูง ( HDTV ) ในขณะที่ระบบอะนาล็อกไม่สามารถพัฒนาประสิทธิภาพได้ ซึ่ง ระบบสัญญาณดิจิตอลเกิดขึ้นมาจากการนำระบบคอมพิวเตอร์นำมาพัฒนาใช้ในการช่วย โทรทัศน์ แล้วจึงได้มีการปรับปรุงโทรทัศน์ให้ใช้ระบบดิจิตอลด้วย

 

จุดด้อยของระบบการส่งสัญญาณแบบเดิม (อะนาล็อก)

1. หากอยู่ใกล้อุปกรณ์ไฟฟ้าหรือแม่เหล็ก จะส่งผลให้ภาพไม่คมชัด โดยเฉพาะช่องต่ำ

2. หากมีสัญญาณอื่นที่ส่งมาจากสถานีวิทยุหรือโทรทัศน์มารบกวน จะทำให้การรับสัญญาณไม่คมชัด

3. หาก โทรทัศน์ที่รับสัญญาณอยู่ในพื้นที่ที่มีสิ่งปลูกสร้างอย่างตึก หรือภูเขาบังการรับสัญญาณโทรทัศน์ทำให้ให้เครื่องรับไม่สามารถรับสัญญาณได้ดี

4. แบบอะนาล็อกไม่สามารถบีบอัดสัญญาณได้ ทำให้ต้องใช้ความถี่มากในการส่ง ทำให้มีสถานีน้อย

5. การส่งสัญญาณอื่นๆ ไปร่วมกันสัญญาณแบบอะนาล็อกทำได้โดยยาก เพราะจะมีผลต่อการรบกวนคลื่นสัญญาณ

6. ช่องสัญญาณน้อย ไม่พอการใช้งานที่มีการเติบโตขึ้นเรื่อยๆ

จุดเด่นของระบบการส่งสัญญาณแบบใหม่ (ดิจิตอล)

1. ระบบ ดิจิตอลมีระบบการบีบอัดสัญญาณ ( Digital Compression ) ทำให้สามารถส่งรายการต่อช่องได้มากขึ้น จากเดิม 1 ช่องส่งได้ 1 รายการ แต่ระบบดิจิตอล 1 ช่อง จะสามารถส่งได้ถึง 4-6 รายการทางภาคพื้นดิน และ 8-10 รายการทางดาวเทียม

2. สามารถให้บริการเสริมอื่นๆ ได้ (ในกรณีที่กฎหมายอนุญาต)

3. สามารถรับชมขณะอยู่ในพาหนะเคลื่อนที่ได้ เช่น รับโทรทัศน์บนรถยนต์ได้

4. สามารถให้บริการฟรี ( Free to Air ) หรือบริการเก็บค่าสมาชิกได้

5. เนื่องจากเครื่องส่ง 1 เครื่อง สามารถส่งได้หลายรายการ ทำให้ค่าใช้จ่ายต่อรายการลดลง(จากเดิม 1ช่องส่งได้ 1 รายการ)

6. ระบบ ดิจิตอล สามารถพัฒนาให้มีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้นได้ เพื่อรองรับเทคโนโลยีในการส่งและรับโทรทัศน์ในอนาคตได้ เช่น โทรทัศน์จอกว้าง ( WIDE SCREEN ) โทรทัศน์ความคมชัดสูง ( HDTV )ในขณะที่ระบบอะนาล็อกไม่สามารถพัฒนาประสิทธิภาพได้

7. เนื่องจากระบบดิจิตอลนั้น เครื่องส่งใช้กำลังออกอากาศลดลง ทำให้ประหยัดพลังงาน

8. และ ข้อที่สำคัญที่สุดก็คือ คุณภาพในการรับชมดีขึ้น ไม่มีเงา การรบกวนน้อย เพราะถ้าจะรับได้ชัดก็ชัดเลยแต่ถ้าอยู่ในที่รับไม่ชัดก็จะรับไม่ได้

แล้วทำยังไงเราถึงจะดู Digital TV ได้ล่ะ ?

1. ใช้กล่องรับสัญญาณ Digital TV หรือ ( Set Top Box ) ที่สามารถรับสัญญาณ DVB-T2 ได้ ข้อดีคือไม่ว่าคุณจะใช้ทีวีรุ่นไหนก็ตาม CRT / LCD TV / LED TV / PLASMA TV จะเก่าจะใหม่ ก็สามารถดูได้หมดยกตัวอย่าง ถ้าทีวีมีช่องต่อ HDMI ก็ใช้ต่อผ่านช่องนี้เพื่อรับชมด้วยสัญญาณดิจิทัลได้เลย ถ้าเป็นจอแก้วรุ่นเก่าใช้ช่องต่อ AV แดงขาวเหลือง ตัวกล่องก็จะทำหน้าที่แปลงสัญญาณจากดิจิทัลเป็นอนาล็อกเพื่อเข้าทีวีรับชมได้เหมือนกัน

2. ใช้ทีวีที่มี Digital Tuner แบบ DVB-T2 ในตัว ในปัจจุบันทีวีที่วางขายส่วนมากจะมีแต่แบบ DVB-Tซึ่งไม่สามารถใช้ร่วมกับมาตรฐานแบบ DVB-T2 ได้ แต่เชื่อว่าในปีนี้ 2013 ทีวีที่กำลังจะเปิดตัวตั้งแต่เดือนเมษายนเป็นต้นไป บางรุ่นจะมี Digital Tuner DVB-T2 ติดมาด้วยแน่นอน !!

 

ถ้ายังอยากใช้แบบเก่า จะสามารถดูฟรีทีวีได้หรือไม่ ?

ถ้า ที่บ้านไม่มี Digital TV ที่สามารถรับ DVB-T2 ได้ และยังไม่มีกล่องรับสัญญาณ Set Top Boxก็ยังสามารถรับชมฟรีทีวีเหมือนเดิมได้ทุกประการ ผ่านการส่งสัญญาณแบบ Analog ที่ใช้อยู่ ณ ปัจจุบัน ซึ่งรัฐบาลมีข้อตกลงว่าจะทำการแพร่ภาพระบบ Analog และ Digital ควบคู่กันไป จนถึงปี 2563 หรืออีกประมาณ 7 ปีนั่นเอง

 

ถ้าที่บ้านใช้ระบบ "จานแดง จานเหลือง" อยู่แล้วล่ะ ?

ต้อง แยกกันระหว่างระบบที่ส่งสัญญาณภาพพื้นดิน กับระบบดาวเทียม ถ้าที่บ้านใช้จานรับสัญญาณดาวเทียมดูผ่าน Set Top Box อยู่แล้ว ไม่ว่าจะเป็นของ True Vision , GMM-Z และอื่นๆ ก็ยังสามารถรับชมได้ตามปกติครับ ไม่มีปัญหาใดๆ



บทสรุปของทีวีดิจิตอล

สามารถสรุปง่ายๆ ว่าทีวีดิจิตอลถูกพัฒนาขึ้นมาเพื่อใช้แทนทีวีแอนะล็อก เนื่องจากรูปแบบการทำงานเหมือนกัน แต่คุณภาพดีกว่า มีจำนวนช่องมากกว่า อีกทั้งยังทำให้เพิ่มช่องทางให้ประชาชนได้รับข้อมูลจากรายการอื่นๆ ได้มากขึ้น แต่ก็มีปัญหาจากหลายส่วนด้วยกันถึงกรณีที่ต่างจังหวัดหากใช้ทีวีแบบเก่า จะสามารถรับชมสัญญาณดิจิตอลทีวีได้หรือไม่

ทางออกของปัญหานี้คือ ทางรัฐจะแพร่ภาพทั้งสองระบบควบคู่กันไปสักระยะหนึ่ง และประกาศล่วงหน้าว่าจะมีการเปลี่ยนคุณภาพสัญญาณให้ประชาชนเตรียมความพร้อมในการเปลี่ยนแปลง อีกทางหนึ่งรัฐได้สนับสนุนงบประมาณให้ประชาชนซื้อกล้องแปลงสัญญาณแอนะล็อกเป็นดิจิตอลที่ถูกกว่าราคาท้องตลาด (ราว 300-500 บาท) เพื่อเร่งให้ประชาชนพร้อมใช้ระบบดิจิตอลมากขึ้นครับ

คำสำคัญ :
กลุ่มบทความ :
หมวดหมู่ :
แชร์ :
https://erp.mju.ac.th/acticleDetail.aspx?qid=290
ความคิดเห็นทั้งหมด (0)
ไม่มีข้อมูลตามเงื่อนไขที่ท่านกำหนด
รายการบทความการแลกเปลี่ยนเรียนรู้หมวดหมู่ : กลุ่มงานเทคโนโลยีสารสนเทศ
กลุ่มงานเทคโนโลยีสารสนเทศ » UX/UI Design ต่างกันอย่างไร
การออกแบบเว็บไซต์ การออกแบบผลิตภัณฑ์และบริการดิจิทัล มีความสำคัญมากขึ้นเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งการออกแบบประสบการณ์ผู้ใช้ (User Experience Design: UX Design) และการออกแบบส่วนต่อประสานผู้ใช้ (...
UI Design  UX Design  UX UI  UX/UI  การออกแบบเว็บ     กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร   กลุ่มงานเทคโนโลยีสารสนเทศ
ผู้เขียน ช่อทิพย์ สิทธิ  วันที่เขียน 6/9/2567 14:14:09  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 21/11/2567 16:01:52   เปิดอ่าน 101  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
การพัฒนาโปรแกรม » การพัฒนาระบบเพื่อลดขั้นตอนการปฏิบัติงาน สำหรับการจัดเก็บและทำลายเอกสาร
การพัฒนาระบบเพื่อลดขั้นตอนการปฏิบัติงาน สำหรับการจัดเก็บและทำลายเอกสาร โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการปฏิบัติงาน โดยการนำระบบจัดเก็บและทำลายเอกสารมาช่วยปรับปรุงประสิทธิผล ในกระบวนการทำ...
Re-Design Process?  ระบบจัดเก็บและทำลายเอกสาร     กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร   กลุ่มงานเทคโนโลยีสารสนเทศ
ผู้เขียน ณัฐกฤตา โกมลนาค  วันที่เขียน 5/9/2567 11:45:54  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 21/11/2567 15:53:41   เปิดอ่าน 250  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
การพัฒนาระบบสารสนเทศ » ข้อมูลเปิด (Open Data) เบื้องต้น
ข้อมูลเปิด (Open Data) คือ ข้อมูลที่สามารถเข้าถึง ใช้งาน แก้ไข และแบ่งปันได้โดยไม่จำกัดข้อกำหนดหรือค่าใช้จ่าย ข้อมูลเปิดมักถูกเผยแพร่ในรูปแบบที่สามารถอ่านและวิเคราะห์ได้ง่าย เช่น ไฟล์ CSV, JSON, หร...
การเข้าถึง  การใช้งาน  การแบ่งปัน  การเปิดเผย  ข้อมูลเปิด     กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร   กลุ่มงานเทคโนโลยีสารสนเทศ
ผู้เขียน สมนึก สินธุปวน  วันที่เขียน 2/9/2567 9:45:13  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 21/11/2567 16:01:22   เปิดอ่าน 98  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง