การเข้าถึงอินเทอร์เน็ตด้วยคลื่นความถี่แสง
วันที่เขียน 11/12/2556 11:47:44     แก้ไขล่าสุดเมื่อ 23/11/2567 20:09:07
เปิดอ่าน: 4759 ครั้ง

กลุ่มนักวิทยาศาสตร์จากมหาวิทยาลัยฟู่ตัน (Fudan University) ในกรุงเซี่ยงไฮ้ของจีนได้ค้นพบและพัฒนาหลอดไฟที่สามารถสร้างสัญญาณ Wi-Fi ได้ โดยเทคโนโลยีดังกล่าวถูกเรียกว่า Li-Fi (ซึ่งในขณะนี้ยังเป็นตัวต้นแบบ-แต่ก็สามารถปล่อยสัญญาณและเชื่อมต่อเข้าสู่โลกอินเทอร์เน็ตได้จริง)

การเข้าถึงอินเทอร์เน็ตด้วยคลื่นความถึ่แสง 

             ปัจจุบันบริษัทและองค์กรต่าง ๆ ทั่วโลก ต่างคิดค้นเทคนิคและวิธีการใหม่ ๆ เพื่อสนับสนุนให้มีการเข้าถึงข่าวสาร ความรู้ และส่งเสริมให้เกิดการเติบโตทางธุรกิจในภาพกว้าง

             กลุ่มนักวิทยาศาสตร์จากมหาวิทยาลัยฟู่ตัน (Fudan University) ในกรุงเซี่ยงไฮ้ของจีนได้ค้นพบและพัฒนาหลอดไฟที่สามารถสร้างสัญญาณ Wi-Fi ได้ โดยเทคโนโลยีดังกล่าวถูกเรียกว่า Li-Fi  (ซึ่งในขณะนี้ยังเป็นตัวต้นแบบ-แต่ก็สามารถปล่อยสัญญาณและเชื่อมต่อเข้าสู่โลกอินเทอร์เน็ตได้จริง)

             Li-Fi อาศัยคลื่นความถี่จากแสง (แทนที่จะเป็นคลื่นความถี่วิทยุแบบที่ Wi-Fi ใช้) ในการรับส่งสัญญาณ โดยตัวหลอดไฟมีการติดไมโครชิปเพื่อรับส่งและประมวลผลสัญญาณที่สามารถขึ้นไปได้ถึง 150 Mbps ซึ่งถือว่าสูงกว่าความเร็วอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงทั่วไปในจีน นอกจากนั้นจุดแข็งของ Li-Fi ก็คือ ด้วยความที่ถูกพัฒนามาจากหลอดไฟ ราคาจึงค่อนข้างถูกและคนทั่วไปสามารถซื้อมาใช้งานได้สะดวกขึ้น (Gizmodo. 2556)

  •  
    • อินเตอร์เน็ตไร้สาย ผ่านหลอดไฟ LED

(ที่มา : http://www.techmoblog.com/wireless-internet-led/ , Online 11 ธ.ค. 2556)

 

           Beijing Times ได้ตีพิมพ์บทความ การวิจัยของ สถาบันวิจัยสารกึ่งตัวนำแห่งสถาบันวิทยาศาสตร์ประเทศจีน ในเรื่องการเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตผ่านหลอดไฟ Blue-LED บนเพดาน โดยที่ระบบอินเตอร์เน็ตที่ผ่าน Blue-LED จะสามารถส่งสัญญาณได้เร็วถึง 2Mbps เพียงพอต่อการส่งวีดีโอออนไลน์ได้เลย ระบบการใช้ Blue-LED ในการแชร์อินเตอร์เน็ตนี้ เหมาะในการนำมาใช้กับอาคารที่ไม่สะดวกจะติดตั้ง Wifi hotspot ได้เป็นอย่างดี (akihabaranews.com. 2556)

           แนวทางในการพัฒนาต่อไปของการส่งข้อมูลด้วยแสงคือทำลายข้อจำกัดด้านสภาวะแวดล้อมที่การส่งสัญญาณผ่านคลื่นวิทยุทำไม่ได้  เพราะแม้บางครั้งแม้เห็นหน้ากันแต่สภาพแวดล้อมบางอย่างทำให้การส่งผ่านข้อมูลทำไม่ได้  แต่ด้วยระบบใหม่นี้เราสามารถส่งผ่านข้อมมูลได้ตราบเท่าที่เราเห็นแสงที่ปล่อยออกมา   ซึ่งตอนนี้นักพัฒนากำลังทำให้อุปกรณ์นี้สามารถกันน้ำได้ ซึ่งจะเป็นประโยชน์กับการทำงานที่ต้องลงไปทำใต้น้ำอย่างในทะเลเป็นต้น (TechAdmin. 2555)

 

แหล่งอ้างอิง

 

  1.  (Gizmodo.(2556). นักวิทยาศาสตร์จีนเปิดโลกใหม่ด้วยหลอดไฟที่ปล่อยสัญญาณอินเทอร์เน็ตได้ถึง 150 Mbps. สืบค้นเมื่อ 11 ธันวาคม 2556, จาก http://thumbsup.in.th/2013/10/chinese-lifi-light-bulb/ )
  2. (akihabaranews.com.(2556). อินเตอร์เน็ตไร้สาย ผ่านหลอดไฟ LED. สืบค้นเมื่อ 11 ธันวาคม 2556, จาก http://www.techmoblog.com/wireless-internet-led/ )
  3. (TechAdmin. (2555). สุดล้ำยุค!! ใช้ แสง จากหลอดไฟโอนถ่ายข้อมูลลงบนสมาร์ทโฟน. สืบค้นเมื่อ 11 ธันวาคม 2556,  http://www.technolomo.com/ )  
  4. (cri. (2556). ใช้ Li-Fi ขึ้นเว็บในอนาคตได้หรือเปล่า (1). สืบค้นเมื่อ 11 ธันวาคม 2556,http://thai.cri.cn/247/2013/12/09/121s216201.htm )

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

คำสำคัญ :
กลุ่มบทความ :
หมวดหมู่ :
แชร์ :
https://erp.mju.ac.th/acticleDetail.aspx?qid=265
ความคิดเห็นทั้งหมด (0)
ไม่มีข้อมูลตามเงื่อนไขที่ท่านกำหนด
รายการบทความการแลกเปลี่ยนเรียนรู้หมวดหมู่ : กลุ่มงานเทคโนโลยีสารสนเทศ
กลุ่มงานเทคโนโลยีสารสนเทศ » UX/UI Design ต่างกันอย่างไร
การออกแบบเว็บไซต์ การออกแบบผลิตภัณฑ์และบริการดิจิทัล มีความสำคัญมากขึ้นเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งการออกแบบประสบการณ์ผู้ใช้ (User Experience Design: UX Design) และการออกแบบส่วนต่อประสานผู้ใช้ (...
UI Design  UX Design  UX UI  UX/UI  การออกแบบเว็บ     กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร   กลุ่มงานเทคโนโลยีสารสนเทศ
ผู้เขียน ช่อทิพย์ สิทธิ  วันที่เขียน 6/9/2567 14:14:09  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 22/11/2567 8:40:34   เปิดอ่าน 102  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
การพัฒนาโปรแกรม » การพัฒนาระบบเพื่อลดขั้นตอนการปฏิบัติงาน สำหรับการจัดเก็บและทำลายเอกสาร
การพัฒนาระบบเพื่อลดขั้นตอนการปฏิบัติงาน สำหรับการจัดเก็บและทำลายเอกสาร โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการปฏิบัติงาน โดยการนำระบบจัดเก็บและทำลายเอกสารมาช่วยปรับปรุงประสิทธิผล ในกระบวนการทำ...
Re-Design Process?  ระบบจัดเก็บและทำลายเอกสาร     กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร   กลุ่มงานเทคโนโลยีสารสนเทศ
ผู้เขียน ณัฐกฤตา โกมลนาค  วันที่เขียน 5/9/2567 11:45:54  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 23/11/2567 13:52:26   เปิดอ่าน 257  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
การพัฒนาระบบสารสนเทศ » ข้อมูลเปิด (Open Data) เบื้องต้น
ข้อมูลเปิด (Open Data) คือ ข้อมูลที่สามารถเข้าถึง ใช้งาน แก้ไข และแบ่งปันได้โดยไม่จำกัดข้อกำหนดหรือค่าใช้จ่าย ข้อมูลเปิดมักถูกเผยแพร่ในรูปแบบที่สามารถอ่านและวิเคราะห์ได้ง่าย เช่น ไฟล์ CSV, JSON, หร...
การเข้าถึง  การใช้งาน  การแบ่งปัน  การเปิดเผย  ข้อมูลเปิด     กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร   กลุ่มงานเทคโนโลยีสารสนเทศ
ผู้เขียน สมนึก สินธุปวน  วันที่เขียน 2/9/2567 9:45:13  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 23/11/2567 14:42:02   เปิดอ่าน 101  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง