เรื่องราวน่ารู่ กับการเดินทางไปต่างประเทศ
วันที่เขียน 2/10/2555 12:12:29     แก้ไขล่าสุดเมื่อ 19/4/2567 9:55:26
เปิดอ่าน: 5833 ครั้ง

การเดินทางไปราชการต่างประเทศ ขั้นตอนแรกที่สำคัญ คือ การขอออกหนังสือเดินทางราชการ เพื่อขอรับการตรวจลงตรา ซึ่งมีขั้นตอนที่ควรทราบ ดังนี้

การขอหนังสือเดินทางราชการ

           ตามระเบียบกระทรวงการต่างประเทศ ว่าด้วยการออกหนังสือเดินทาง พ.ศ. 2548 ข้อ 9 กำหนดให้ออกหนังสือเดินทางราชการแก่บุคคลดังต่อไปนี้

  • ข้าราชการซึ่งปฏิบัติหน้าที่ประจำอยู่ ณ สถานเอกอัครราชทูตปรือสถานกงสุลไทย หรือในคณะทูตถาวรประจำองค์การระหว่างประเทศในตำแหน่งอื่นที่มิใช่ตำแหน่งทางการทูต รวมทั้ง คู่สมรส และบุตรที่ชอบด้วยกฎหมายซึ่งอยู่ในความดูแลของบิดา มารดาที่ประจำอยู่ หรือทำการศึกษาอยู่ในประเทศอื่น แต่บุตรต้องอายุไม่เกิน 25 ปี
  • บุคคลที่ได้รับมอบหมายให้ไปราชการต่างประเทศ
  • บุคคลอื่นใดเพื่อประโยชน์แก่ทางราชการหรือในกรณีที่เห็นสมควรเป็นพิเศษ หรือเกี่ยวกับการเผยแพร่ชื่อเสียงเกียรติคุณของประเทศ ให้ปลัดกระทรวงการต่างประเทศ หรือปลัดกระทรวงการต่างประเทศมอบหมาย มีอำนาจใช้ดุลยพินิจในการอนุมัติให้ออกหนังสือเดินทางได้

หนังสือเดินทางราชการมีอายุ ไม่เกิน 5 ปี หรือเมื่อเสร็จภารกิจหรือผู้ถือขาดคุณสมบัติที่จะถือหนังสือเดินทางราชการ ให้ส่งหนังสือเดินทางราชการนั้น แก่กระทรวงการต่างประเทศ ทั้งนี้ ผู้ถือหนังสือเดินทางราชการจะนำไปใช้ในการเดินทางส่วนตัวไม่ได้

เอกสารประกอบการขอหนังสือเดินทางราชการ

* ผู้ยื่นคำร้องขอหนังสือเดินทาง ต้องมาดำเนินการด้วยตนเอง เนื่องจากต้องเก็บข้อมูลชีวภาพของผู้ถือ

หนังสือเดินทาง ได้แก่ ภาพใบหน้า และลายพิมพ์นิ้วมือ เพื่อนำไปบันทึกลงในไมโครชิพที่ฝังในหนังสือเดินทาง

* เอกสารที่ต้องเตรียมมาในวันยื่นคำร้อง

1. หนังสือนำจากต้นสังกัดระดับปลัดกระทรวง หรือผู้ที่ได้รับมอบหมายถึงปลัดกระทรวงการต่างประเทศ ขอให้

ออกหนังสือเดินทาง โดยแจ้งการอนุมัติให้ผู้ยื่นคำร้องเดินทางไปราชการ ให้ระบุประเทศ กำหนดวันเวลาที่จะเดินทาง

2. สำเนาบันทึกหรือสำเนาคำสั่งที่อนุมัติตัวบุคคลให้เดินทางไปราชการ แสดงรายละเอียดการเบิกค่าใช้จ่าย

ได้ตามสิทธิซึ่งอยู่ในหลักเกณฑ์ตามพระราชกฤษฎีกาค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ(ประกอบด้วยค่าเบี้ยเลี้ยง, ค่าที่พัก, ค่าพาหนะเดินทาง ฯลฯ) กรณีที่ได้รับทุนสนับสนุนจากที่อื่น เช่น จากต่างประเทศ หรือหน่วยงานในประเทศ ขอเอกสารที่เกี่ยวข้องประกอบ เช่น การอนุมัติทุน เป็นต้น

3. สำเนาบัตรประจำตัวข้าราชการ และบัตรประจำตัวประชาชนที่มีเลข 13 หลัก

4. สำเนาทะเบียนบ้าน

5. กรณีเป็นพนักงานของรัฐ หรือ พนักงานมหาวิทยาลัย โปรดนำหลักฐานแสดงระยะเวลาการปฏิบัติงานกับต้นสังกัด เช่น สัญญาการจ้างมาแสดง เพื่อประกอบการพิจารณากำหนดอายุการใช้งานของหนังสือเดินทาง

6. ค่าธรรมเนียม ในการขอหนังสือเดินทางราชการ 1,000 บาท สามารถนำใบเสร็จรับเงินเป็นหลักฐานเบิกคืนจากหน่วยงานต้นสังกัด

ขั้นตอนการยื่นขอหนังสือเดินทางราชการ

1. รับบัตรคิว

2. ยื่นเอกสารประกอบการขอหนังสือเดินทางราชการ ตามรายละเอียดข้างต้น

3. เก็บข้อมูลชีวภาพ (วัดส่วนสูง เก็บลายพิมพ์นิ้วมือ นิ้วชี้ขวา และนิ้วชี้ซ้าย ด้วยเครื่องสแกนข้างละ 2 ครั้ง)

4. ชำระค่าธรรมเนียม 1,000 บาท และ/หรือ ค่าส่งไปรษณีย์ 35 บาท รับใบเสร็จรับเงิน และรับใบนัดรับเล่ม

การยกเลิกหนังสือเดินทาง

กองหนังสือเดินทางจะยกเลิกหนังสือเดินทางฉบับเก่าเมื่อผู้ขอได้รับหนังสือเดินทางฉบับใหม่แล้ว จึงขอให้นำ

หนังสือเดินทางเล่มเก่าที่ยังมีอายุใช้งานมายกเลิกเล่มในวันที่ยื่นขอเล่มใหม่ หรือในวันที่รับเล่มใหม่ ในกรณี

ขอรับเล่มทางไปรษณีย์ และยื่นคำร้องที่สำนักงานสาขาในต่างจังหวัด ขอให้นำเล่มเดิมมายกเลิกในวันที่ยื่นร้องด้วย หนังสือเดินทางที่ประทับตรายกเลิกเล่มแล้ว จะคืนผู้ร้องเก็บไว้เป็นหลักฐานต่อไป

คู่มือในการเดินทางไปต่างประเทศ

  1. ก่อนเดินทางไปต่างประเทศ ควรศึกษาเกี่ยวกับประเทศนั้นให้รอบคอบว่าประเทศที่จะเดินทางไปนั้น มีกฎหมายห้ามการนำสิ่งของใดเข้าประเทศ ในบางประเทศ เช่น ประเทศสิงคโปร์ และประเทศมาเลเซีย การนำอาวุธปืน กระสุน วัตถุระเบิด หรือยาเสพติดร้ายแรงเข้าประเทศจะมีโทษถึงประหารชีวิต โดยติดต่อขอทราบรายละเอียดจากสถานทูตหรือสถานกงสุลของประเทศที่จะเดินทางไป
  2. ไม่ควรรับฝากสิ่งของจากผู้อื่น เว้นแต่จะได้ตรวจสอบให้แน่ใจด้วยตนเองแล้วว่าสิ่งของนั้นไม่เป็นของที่ผิดกฎหมาย เช่น ยาเสพติด อาวุธ หรือสารต้องห้าม เพราะหากถูกเจ้าหน้าที่ปลายทางตรวจพบจะยากในการแก้ข้อหา
  3. ควรจำหรือพกพา หมายเลขโทรศัพท์และที่อยู่ของสถานทูต และสถานกงสุลไทยในต่างประเทศไว้ตลอดเวลา เพื่อใช้ติดต่อขอความช่วยเหลือในกรณีฉุกเฉิน
  4. หนังสือเดินทางเป็นเอกสารสำคัญมาก เก็บหนังสือเดินทางไว้กับตัว และควรถ่ายสำเนาเก็บไว้อย่างน้อย 1 ชุด อย่ามอบให้ใคร เก็บไว้นอกจากเจ้าหน้าที่ตำรวจ และเจ้าหน้าที่กองตรวจคนเข้าเมืองที่มีสิทธิขอดูและตรวจสอบ และในกรณีที่หนังสือเดินทางหาย ให้แจ้งความต่อตำรวจท้องถิ่น และนำใบแจ้งความมาติดต่อเจ้าหน้าที่สถานทูตและสถานกงสุลไทยที่อยู่ใกล้ที่สุดทันที เพื่อขอออกเอกสารการเดินทางแทน กรณีเช่นนี้ หากมีบัตรประจำตัวประชาชนมาแสดงก็จะช่วยให้ออกเอกสารเดินทางได้เร็วขึ้น
  5. ควรหมั่นตรวจสอบอายุวีซ่า เพราะหากวีซ่าขาดอายุ ท่านอาจถูกปรับ จำคุก และ/หรือส่งตัวกลับประเทศไทยได้
  6. กรณีประสบเหตุร้ายในต่างประเทศ เช่น ประสบอุบัติเหตุ ถูกล่อลวงไปค้าประเวณี ถูกหน่วงเหนี่ยวกักขังโดยมิชอบ ท่านสามารถขอความช่วยเหลือจากสถานทูต สถานกงสุลไทยทุกแห่ง แม้ว่าท่านอาจไม่มีหนังสือเดินทางหรือวีซ่าขาดอายุ หรือเป็นผู้เข้าเมืองโดยผิดกฎหมายก็ตาม
  7. ผู้ที่จะเดินทางไปต่างประเทศเป็นระยะเวลานาน ควรแจ้งชื่อ ที่อยู่ ให้สถานทูตหรือสถานกงสุลไทยประจำประเทศที่ไปอยู่ทราบ รวมทั้งแจ้งการเปลี่ยนแปลงที่อยู่ทุกครั้ง เพื่อทางสถานทูต สถานกงสุลไทย สามารถติดต่อท่านได้ในยามฉุกเฉินและจัดทำทะเบียนคนไทยเพื่อให้การช่วยเหลือในกรณีมีเหตุจำเป็น รวมทั้งแจ้งญาติ บุคคลในครอบครัว หรือเพื่อนสนิทให้ทราบไว้ด้วย

ในบางประเทศ ไม่ได้ทำความตกลงใช้หนังสือเดินทางราชการกับประเทศไทย เช่น ไต้หวัน ดังนั้น ผู้เดินทางที่มีความจำเป็นต้องไปราชการ ณ ประเทศดังกล่าว ต้องทำหนังสือเดินางธรรมดาเท่านั้น

คำสำคัญ :
กลุ่มบทความ :
หมวดหมู่ :
แชร์ :
https://erp.mju.ac.th/acticleDetail.aspx?qid=221
ความคิดเห็นทั้งหมด (0)
ไม่มีข้อมูลตามเงื่อนไขที่ท่านกำหนด
รายการบทความการแลกเปลี่ยนเรียนรู้หมวดหมู่ : กลุ่มงานบริการการศึกษา
อบรม การพัฒนางานประจำสู่นวัตกรรมการให้บริการ » การพัฒนางานประจำสู่นวัตกรรมการให้บริการ
การปฏิบัติงานในยุคปัจจุบัน ผู้ปฏิบัติงาน นอกจากจะต้องมีความรู้ความสามารถในงานที่ทำแล้ว สิ่งหนึ่งที่ขาดไม่ได้คือการพัฒนา ซึ่งการพัฒนาตนเองทำให้ผู้ปฏิบัติงานเกิดองค์ความรู้ใหม่ๆ เกิดทักษะใหม่ๆ ที่จะน...
การพัฒนา  งานประจำ  นวัตกรรม     กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร   กลุ่มงานบริการการศึกษา
ผู้เขียน กฤตาณัฐ ศรีประภา  วันที่เขียน 22/3/2567 8:02:36  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 19/4/2567 9:35:58   เปิดอ่าน 70  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
กิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทบทวน Program Learning Outcomes (PLOS) และสร้าง Course Learning Outcomes (CLOs) สู่การจัดทำ มคอ.3 เเละมคอ. 5 เพื่อขับเคลื่อน AUN QA Version 4.0 กิจกรรมที่ 2 การสร้างผลการเรียนรู้ของผู้เรียนในรายวิชา » กิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทบทวน Program Learning Outcomes (PLOS) และสร้าง Course Learning Outcomes (CLOs) สู่การจัดทำ มคอ.3 เเละมคอ. 5 เพื่อขับเคลื่อน AUN QA Version 4.0 กิจกรรมที่ 2 การสร้างผลการเรียนรู้ของผู้เรียนในรายวิชา
กิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทบทวน Program Learning Outcomes (PLOS) และสร้าง Course Learning Outcomes (CLOs) สู่การจัดทำ มคอ.3 เเละมคอ. 5 เพื่อขับเคลื่อน AUN QA Version 4.0 กิจกรรมที่ 2 การสร้างผลการเร...
  กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร   กลุ่มงานบริการการศึกษา
ผู้เขียน พัฒนพงศ์ เทียนชัย  วันที่เขียน 10/12/2566 13:41:29  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 18/4/2567 11:10:37   เปิดอ่าน 109  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
กิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทบทวน Program Learning Outcomes (PLOS) และสร้าง Course Learning Outcomes (CLOs) สู่การจัดทำ มคอ.3 เเละมคอ. 5 เพื่อขับเคลื่อน AUN QA Version 4.0 กิจกรรมที่ 1 การสร้างผลการเรียนรู้ของผู้เรียนในรายวิชา » กิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทบทวน Program Learning Outcomes (PLOS) และสร้าง Course Learning Outcomes (CLOs) สู่การจัดทำ มคอ.3 เเละมคอ. 5 เพื่อขับเคลื่อน AUN QA Version 4.0 กิจกรรมที่ 1 การสร้างผลการเรียนรู้ของผู้เรียนในรายวิชา
กิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทบทวน Program Learning Outcomes (PLOS) และสร้าง Course Learning Outcomes (CLOs) สู่การจัดทำ มคอ.3 เเละมคอ. 5 เพื่อขับเคลื่อน AUN QA Version 4.0 กิจกรรมที่ 1 การสร้างผลการเร...
  กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร   กลุ่มงานบริการการศึกษา
ผู้เขียน พัฒนพงศ์ เทียนชัย  วันที่เขียน 10/12/2566 13:31:42  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 17/4/2567 20:14:29   เปิดอ่าน 111  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง