1. คำนำ
เทคโนโลยีสารสนเทศ หรือ Information Technology (เรียกกันย่อ ๆ ว่า IT ) นับวันจะมีความสำคัญเพิ่มขึ้นต่อเศรษฐกิจของชาติต่าง ๆ ทั้งนี้เพราะข่าวสารข้อมูล สามารถนำมาใช้เป็นอาวุธ ในการแข่งขันด้านเศรษฐกิจระดับชาติของภาครัฐ หรือด้านธุรกิจสำหรับกิจการต่างๆ ของภาคเอกชน คำว่า IT อาจตีความออกมาได้หลายแง่มุม แต่ในบทความนี้จะอาศัยความหมายซึ่งเป็นที่ยอมรับกันทั่วไป คือ IT ประกอบด้วยเทคโนโลยี (และธุรกิจ) ด้านข้อมูล/ข่าวสาร ด้านอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ ด้านการสื่อสาร และด้านซอฟต์แวร์ แต่ละด้านเป็นทั้งธุรกิจ อุตสาหกรรมการผลิต และการบริการในตัวมันเอง และหากนำไปใช้ถูกทางก็จะเป็นเครื่องมือสำหรับใช้ทำธุรกิจอื่นๆ ได้ทุกแขนง ปัจจัยแห่งความสำเร็จ ของธุรกิจต่างๆ ก็คือ การรับทราบข่าวสาร ที่สำคัญต่อการตัดสินใจได้อย่างแม่นยำ และรวดเร็วกว่าคู่แข่งขัน
ข่าวสารและข้อมูลเป็นสิ่งซึ่งมักจะเป็นนามธรรม ที่ใช้ในการสื่อความเข้าใจจากบุคคลไปยังบุคคล ดังนั้น มาตรฐานขั้นต่ำที่จะทำให้การสื่อได้ผลก็คือการมีภาษา ที่ผู้นำเสนอและผู้รับสามารถเข้าใจกันได้ ภาษาในที่ นี้ไม่ได้จำกัดอยู่ที่ภาษาธรรมขาติที่มนุษย์ใช้กัน แต่อาจจะถูกแทนที่ ด้วยสิ่งประดิษฐ์ต่างๆ ที่มนุษย์พัฒนาขึ้นมาใช้งานเป็น 'สื่อ' ข้อมูล เช่น กระดาษ สัญญาณไฟฟ้า สภาพแม่เหล็กในสื่อแบบแม่เหล็ก คลื่นวิทยุ (คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า) คลื่นเสียง ฯลฯ ภาษาที่ไช้ในการสื่อความจึงจำเป็นจะต้องครอบคลุมไปถึงข้อตกลง ต่างๆ ที่ทำขึ้นระหว่างผู้ส่งและผู้รับ ซึ่งล้วนแล้วแต่เป็นประดิษฐกรรมที่ช่วยในการสื่อความหมายทั้งสิ้น
2. หน่วยงานมาตรฐานสากล
องค์การ ISO จัดได้ว่าเป็นหน่วยงานกลางที่มีความสำคัญที่สุดในการจัดทำมาตรฐานนานาชาติ สำหรับประเทศต่างๆ ใช้ร่วมกัน นอกจาก ISO แล้วก็มี CCITT ซึ่งกำหนดมาตรฐานเฉพาะด้านโทรคมนาคม เพราะเป็นองค์กรภายใต้ ITU(International Telecommunications Union) ของสหประชาชาติ
นอกจาก ISO และ CCITT แล้วก็ยังมีหน่วยงานระดับภูมิภาคเช่น ECMA หน่วยงานหลายชาติ เช่น IEEE ทำหน้าที่พัฒนามาตรฐานเฉพาะด้านขึ้นมาและถัดไปจากนั้นอีกก็เป็นองค์กรระดับชาติ (national standard body) เช่นสำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมของไทย (TISI) ทำหน้าที่กำหนดมาตรฐานของประเทศ และเป็นสมาชิกของ ISO เพื่อทำหน้าที่รับรองมาตรฐานสากลของ ISO ด้วย
องค์กรเอกชนหลายกลุ่มก็จัดทำมาตรฐานขึ้นมาใช้เป็น "มาตรฐานอุตสาหกรรม" เพื่อใช้ร่วมกันในวงการ ตัวอย่างเช่น OSF (Open Software Foundation) ซึ่งมีผู้ประกอบการต่างๆ หลายสิบแห่งเป็นสมาชิก รวมทั้งยักษ์ใหญ่ IBM ,HP และ Digital กลุ่ม OSF มีอิทธิพลสำคัญต่อการกำหนดมาตรฐานผลิตภัณฑ์แบบระบบเปิดด้วย
3. การพัฒนามาตรฐานด้านสารสนเทศในประเทศไทย
ประเทศไทย สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (สมอ.) ได้มีการแต่งตั้งคณะกรรมการวิชาการคณะที่ 536 ขึ้นมาดูแลงานด้านมาตรฐานของเทคโนโลยีสารสนเทศ โดยมีดร.ปัญญา เปรมปรีดิ์ เป็นประธานคนปัจจุบัน และมีตัวแทนจากภาคราชการ รัฐวิสาหกิจ ธุรกิจ/อุตสาหกรรม IT และผู้ทรงคุณวุฒิ เป็นกรรมการรวมสิบกว่าท่าน
ปัจจุบันกว.536 ได้บริหารงานโดยจัดตั้งเป็นอนุกรรมการขึ้นมาช่วยงาน 2 คณะ คณะที่ 1 ทำหน้าที่กำหนดรหัสจังหวัดของไทย มีผลงานออกมาเป็น มอก.1099-2535 ปัจจุบันกำลังยกร่างรหัสอำเภอ ส่วนคณะที่ 2 ทำหน้าที่ยกร่างมาตรฐานว่าด้วยรหัสอักขระ การเขียนโปรแกรมและโครงการซอฟต์แวร์สำหรับใช้ทั่วโลก มีผลงานเป็นร่างมาตรฐานวทท. 2.0 จำนวน 3 ฉบับ
นอกจาก สมอ. แล้ว ยังมีหน่วยงานอื่นที่ทำงานด้านกำหนดมาตรฐานทาง IT เช่นกัน ตัวอย่างเช่น
ราชบัณฑิตยสภา มีคณะอนุกรรมการบัญญัติศัพท์คอมพิวเตอร์ คณะกรรมการกำหนด
วิธีการเขียนคำไทยด้วยอักขระโรมัน คณะอนุกรรมการพิจารณาร่าง
หลักเกณฑ์โครงสร้าง ของตัวอักษรไทย ฯลฯ
หอสมุดแห่งชาติ เป็นหน่วยงานกลางที่เป็นผู้กำหนดเลขรหัสหนังสือสากล (ISBN)
สำหรับหนังสือทุกเล่มที่พิมพ์ขึ้นอย่างถูกกฎหมายในประเทศไทย
สภาอุตสาหกรรม เป็นผู้กำหนดหมายเลขผลิตภัณฑ์ที่สามารถจดทะเบียนและนำมาพิมพ์
เป็นรหัสแท่ง (barcode) เพื่อใช้ในระบบการตรวจสินค้าคงคลัง/การ
จำหน่ายที่จุดขายด้วยระบบรหัสแท่งได้
4. ทำไมต้องพัฒนาและใช้มาตรฐาน
1. ทำให้ทำงานร่วมกันได้ (interoperate) มีภาษาและความเข้าใจตรงกัน
2. ทำให้มีเกณฑ์กลางในการทำงาน การบริการ แลกเปลี่ยนข้อมูล และรักษาความมั่นคง
3. สำหรับผู้ใช้หรือผู้ซื้อเป็นการลดความเสี่ยง
4. ทำให้ทำงานข้ามระบบได้ (interoperability)
5. ลดอุปสรรคทางการค้า
5. มาตรฐานสำคัญอย่างไร (ที่มา: ครรชิต มาลัยวงศ์)
เป็นเกณฑ์สำหรับ
1. วิธีปฏิบัติที่ดีที่สุด
2. งานที่มีประสิทธิภาพและได้ผล
3. ความสามารถบุคคล / องค์กร
4. การทำงานร่วมกัน
5. การกำหนดระดับความยอมรับ
6. มาตรฐานด้านICT
เกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว
เป็นเกณฑ์สำหรับ
1. อุปกรณ์และเครื่องมือ
2. การต่อเชื่อมและโปรโตคอล
3. ภาษาและอักษร
4. การจัดการและบริการ
5. ความมั่นคงและความเชื่อถือได้
6. ข้อมูลและการบันทึก
7. ตัวอย่างมาตรฐานทางด้าน ICT ประเภทต่าง ๆ
ที่มา : http://www.opdc.go.th/uploads/files/ict.pdf , หน้า 13, online 7 ส.ค. 2555
ที่มา : http://www.opdc.go.th/uploads/files/ict.pdf , หน้า 14 , online 7 ส.ค. 2555
ที่มา : http://www.opdc.go.th/uploads/files/ict.pdf , หน้า 15 , online 7 ส.ค. 2555
- มาตรฐานบุคคลที่เกี่ยวข้องกับ IT
ที่มา : http://www.opdc.go.th/uploads/files/ict.pdf , หน้า 22 , online 7 ส.ค. 2555
- มาตรฐานบุคลากรของบริษัทเอกชน
ที่มา : http://www.opdc.go.th/uploads/files/ict.pdf , หน้า 25 , online 7 ส.ค. 2555
ที่มา : http://www.opdc.go.th/uploads/files/ict.pdf , หน้า 26 , online 7 ส.ค. 2555
ที่มา : http://www.opdc.go.th/uploads/files/ict.pdf , หน้า 27 , online 7 ส.ค. 2555
ที่มา : http://www.opdc.go.th/uploads/files/ict.pdf , หน้า 28 , online 7 ส.ค. 255
8.หน่วยงานของประเทศไทยที่ทำงานด้านนี้
ที่มา : http://www.opdc.go.th/uploads/files/ict.pdf , หน้า 21 , online 7 ส.ค. 2555
สรุป
กระบวนการที่กล่าวมาทั้งหมดข้างต้นนั้น จำเป็นต้องได้รับการส่งเสริมและสนับสนุนจากผู้บริหารขององค์กรในการดำเนินการ อีกทั้งการวางแผนงานในแต่ละกระบวนการนั้นจะต้องสอดคล้อง และมีการส่งต่องานระหว่างกันอย่างมีประสิทธิภาพ ดังนั้น การแต่งตั้งคณะทำงานอย่างเหมาะสม และการจัดประชุมหารือร่วมกันระหว่างผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่ายอย่างสม่ำเสมอจึงเป็นสิ่งสำคัญอันจะนำมาซึ่งการบริหารบริการ IT ที่มีประสิทธิภาพ เป็นที่ยอมรับตามมาตรฐานระดับสากล และเป็นกุญแจสู่ความสำเร็จของการดำเนินธุรกิจในยุคดิจิตอลนั่นเอง
แหล่งอ้างอิง
1. (ทวีศักดิ์ กออนันตกูล.(2535). มาตรฐานอุตสาหกรรมเทคโนโลยีสารสนเทศและระบบเปิด. กรุงเทพฯ : ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ. สืบค้นเมื่อ 7 สิงหาคม 2555, จาก http://www.nectec.or.th/it-standards/ITStaNew.htm )
2. (รอม หิรัญพฤกษ์.(2535). มาตรฐานเทคโนโลยีสารสนเทศ. กรุงเทพฯ : สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. สืบค้นเมื่อ 7 สิงหาคม 2555, จาก http://www.opdc.go.th/uploads/files/ict.pdf )
3. (ม.ช.ต.(.ม.ป.ป.). CMMI คืออะไร. กรุงเทพฯ : บจก.วีแอลบิสซิเนสคอนซัลแตนท์. สืบค้นเมื่อ 9 สิงหาคม 2555, จาก http://visootl.wordpress.com/2010/10/08/cmmi-%E0%B8%84%E0%B8%B7%E0%B8%AD/)
4. (ครรชิต มาลัยวงศ์.(2551). มาตรฐานไอทีสำหรับสถานศึกษา. กรุงเทพฯ : บจม. ไอ.ซี.ซี. อินเตอร์เนชั่นแนล. สืบค้นเมื่อ 9 สิงหาคม 2555, จาก http://wunca19.uni.net.th/doc/std_it.ppt)
5. (ม.ช.ต.(.ม.ป.ป.). CMMI(Capability Maturity Model Integration. กรุงเทพฯ : เนคเทค. สืบค้นเมื่อ 17 สิงหาคม 2555,จาก http://www.thaisocial.net/kuisci/upload/521_document_1290654953_0.doc )
6. (ปริญญา หอมเอนก.(.ม.ป.ป.). บทวิเคราะห์กระบวนการบริหารจัดการงานบริการเทคโนโลยีสารสนเทศ. กรุงเทพฯ : ACIS. สืบค้นเมื่อ 17 สิงหาคม 2555, จาก http://www.slideshare.net/yaguza2/itil-8779201
7. (พัสกร ปลอดโปร่ง.(.ม.ป.ป.). ITIL - สุดยอดการบริหารจัดการด้านบริการ ตอนที่1. สงขลา : มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์. สืบค้นเมื่อ 17 สิงหาคม 2555, จากhttp://www.gotoknow.org/blogs/posts/164653 )
8. (ม.ช.ต.(.ม.ป.ป.). ISO/IEC 29110. กรุงเทพฯ :บริษัท วิชั่นเน็ต จำกัด. สืบค้นเมื่อ 24 สิงหาคม 2555, จาก http://www.vn.co.th/news111206_vniso.php )
9. (ม.ช.ต.(2549). ISO/IEC 12207. กรุงเทพฯ. สืบค้นเมื่อ 24 สิงหาคม 2555 จาก http://www.takkabutr.com/EAU/SW_Project50/Mod_Download_File-42-5469.ppt )
10.(เทพฤทธิ์ ฤทธิ์ทองพิทักษ์.(2551). IT Infrastructure Library (ITIL). กรุงเทพฯ : สมาคมเวชสารสนเทศไทย. สืบค้นเมื่อ 24 สิงหาคม 2555, จากhttp://www.tmi.or.th/index.php?option=com_content&view=article&id=282&catid=27:it-infrastructure&Itemid=49 )
11.(ม.ช.ต. (2552). ISO 20000: มาตรฐานงานบริการด้าน IT สำหรับองค์กรในโลกยุคดิจิตอล [ Part I ]. กรุงเทพฯ : บริษัท เอซีอินโฟเทค จำกัด. สืบค้นเมื่อ 24 สิงหาคม 2555, จาก http://www.acinfotec.com/viewsecurityarticles.php?ID=12 )
12.(ม.ช.ต. (2552). ISO 20000: มาตรฐานงานบริการด้าน IT สำหรับองค์กรในโลกยุคดิจิตอล [ Part III ]. กรุงเทพฯ : บริษัท เอซีอินโฟเทค จำกัด. สืบค้นเมื่อ 24 สิงหาคม 2555, จาก http://www.acinfotec.com/viewsecurityarticles.php?ID=12 )
13.(พ่อปู่เขี้ยวเพชร. (2549). Thai Quality Software (TQS). กรุงเทพฯ : www.takkabutr.com สืบค้นเมื่อ 24 สิงหาคม 2555, จาก http://www.takkabutr.com/EAU/SW_Project50/Mod_Download_File-42-5469.ppt )
14.(ม.ช.ต. (2553). มาตรฐาน ISO/IEC 15504. กรุงเทพฯ : poster สืบค้นเมื่อ 25 สิงหาคม 2555, จาก http://pimlapas.blogspot.com/2010/06/isoiec-15504.html )
15.(วชิราพร ปัญญาพินิจนุกุร. (2552). มาตรฐานการรักษาความมั่นคงปลอดภัย ISO/IEC 27001 และ ISO/IEC 17799 ฉบับประเทศไทย. กรุงเทพฯ : คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยรังสิต สืบค้นเมื่อ 27 สิงหาคม 2555, จาก http://www.oknation.net/blog/weblog/2009/02/27/entry-4 )