เมนู
มหาวิทยาลัยแม่โจ้
มหาวิทยาลัยแม่โจ้
Maejo University
ติดต่อ
บุคลากร (เข้าสู่ระบบ)
หน้าหลัก
บทความการแลกเปลี่ยนเรียนรู้
ตามคำสำคัญ
ระบบไบโอรีแอคเตอร์จมชั่วคราวแบบขวดแฝด
รายการบทความการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ตามคำสำคัญ
:
ระบบไบโอรีแอคเตอร์จมชั่วคราวแบบขวดแฝด
1
สับปะรด
»
คู่มือการผลิตต้นกล้าสับปะรดเชิงอุตสาหกรรมด้วยวิธีการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ
การผลิตต้นกล้าสับปะรดเชิงอุตสาหกรรมด้วยวิธีการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ ทำได้โดยนำส่วนขยายพันธุ์ของต้นสับปะรด เช่น หน่อข้าง ตะเกียง จุก มาฟอกฆ่าเชื้อแล้วเพาะเลี้ยงด้วยธาตุอาหารสูตร MS (1962) ที่มี BA 1 mg/l ร่วมกับ NAA 0.2 mg/l นาน 1.5-2 เดือน จากนั้นทำการเพิ่มปริมาณต่อจนต้นมีปริมาณมากพอ แล้วตัดข้อเดี่ยวๆ เพาะเลี้ยงด้วยอาหารสูตรเดิมที่มี TDZ 0.1 mg/l ร่วมกับ NAA 0.2 mg/l นาน 1.5 เดือน จึงย้ายลงอาหารสูตรเดิมที่ไม่เติมสารควบคุมการเจริญเติบโต ต้นจะแตกกอมียอดเกิดขึ้นจำนวนมาก จึงตัดแบ่งชิ้นส่วนให้มีขนาดเล็กลงก่อนทำการย้ายลงอาหารสูตรเดิมซ้ำอีกครั้ง ต้นจะยืดยาวขึ้น ใช้เวลาประมาณ 1 เดือนจึงชักนำการออกรากด้วยระบบอาหารแข็งหรือระบบไบโอรีแอคเตอร์จมชั่วคราวแบบขวดแฝด ที่ในอาหารไม่มีสารควบคุมการเจริญเติบโต หรือมี NAA 0.2 mg/l โดยระบบอาหารแข็งใช้เวลา 2-3 เดือน และระบบไบโอรีแอคเตอร์จมชั่วคราวแบบขวดแฝดใช้เวลา 1 เดือน จึงย้ายต้นออกปลูกในโรงเรือน
คำสำคัญ :
การผลิตต้นกล้า
เพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ
ระบบไบโอรีแอคเตอร์จมชั่วคราวแบบขวดแฝด
สับปะรด
กลุ่มบทความ :
กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร
หมวดหมู่ :
กลุ่มงานช่วยวิชาการ
สถิติการเข้าถึง :
เปิดอ่าน
2933
ครั้ง | แสดงความคิดเห็น
0
ครั้ง
ผู้เขียน
รังสิมา อัมพวัน
วันที่เขียน
19/9/2562 14:17:32
แก้ไขล่าสุดเมื่อ
22/11/2567 1:46:05