|
บริการสื่อโสตทัศน์
»
การวิเคราะห์และทำรายการสื่อโสตทัศน์ห้องสมุดด้วยเทคนิคแปลงผันข้อมูล กรณีดรรชนีบทความวารสารและการสร้างคอลเลกชันพิเศษ [บันทึกสรุปจาก KM ห้องสมุด สายงานพัฒนาทรัพยากร ของผู้เขียน, 5of5 / 2565]
|
0. ข้อมูลใน KM blog ของผู้เขียนเนื้อหานี้มี 5 ชิ้น เนื้อหาตอนต้นเหมือนกัน แต่ตอนท้ายให้รายละเอียดแตกต่างกันตามสื่อโสตทัศน์แต่ละชนิด ในการนี้แยกเป็นบทความ blog 5 ชิ้นเพื่อให้เนื้อหาตามงานแต่ละงานเป็นเอกเทศ ศึกษาเรียนรู้ได้สะดวกไม่ปะปนกัน
1. สรุปเนื้อหาจากกิจกรรม KM ภายในสำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยแม่โจ้ เพื่อถ่ายทอดประสบการณ์และแลกเปลี่ยนเรียนรู้งานของบุคลากรแต่ละคน ตามภาระงานในข้อตกลงการทำงาน (TOR) ปีงบประมาณ 2565 (หมายเหตุ เอกสารนำเสนอในวง KM มีรายละเอียดและภาพประกอบมากกว่าที่สุดใน blog นี้ รวมทั้งใน blog ไม่อาจนำข้อมูลภาพประกอบมาลงได้)
2. ผู้เขียนได้เสนอแนวทางการพัฒนาระบบงาน โดยใช้เทคนิคการแปลงผันข้อมูล (data conversion) ของรายการบรรณานุกรมเอกสารในฐานข้อมูลห้องสมุด จากการรวบรวมข้อมูลเอกสารที่พบในแหล่งข้อมูลภายนอก มานำเข้าห้องสมุด โดยผ่านโปรแกรมช่วยงานต่างๆ เช่น โปรแกรมประมวลผลคำ (text editor) โปรแกรมจัดการฐานข้อมูล (database management system, DBMS) ที่เอื้อต่อการทำงาน ก่อนถ่ายข้อมูลรายการบรรณานุกรมตามมาตรฐานการแลกเปลี่ยนข้อมูล ISO-2709 data exchange format เข้าสู่ฐานข้อมูลห้องสมุดที่เป็นระบบหลักในปัจจุบันคือ ALIST
3. วิธีการแปลงผันข้อมูลโดยย่อ (ตามโปรแกรมช่วยงาน ลักษณะงานปัจจุบัน) คือ (1) สืบค้นแหล่งสารสนเทศที่ให้ข้อมูล (2) ใช้โปรแกรม Notepad.exe จัดเก็บข้อมูล (3) ใช้โปรแกรม Microsoft Word 97 ปรับปรุงข้อมูล (4) ใช้โปรแกรม Qedit.exeบรรณาธิกรข้อมูล (5) ใช้โปรแกรมจัดการฐานข้อมูล CDS/ISIS ปรับปรุงข้อมูล (6) ถ่ายโอนข้อมูลเป็นแฟ้มข้อมูล ISO-2709 data exchange format (อาจจัดในขั้นตอน 5) (7) ใช้โปรแกรม ISO2MARC.exe ปรับปรุงข้อมูล (8) ใช้โปรแกรม Editplus ปรับปรุงข้อมูล (9) ใช้โปรแกรม ALIST โปรแกรมย่อย Cataloging Module - Import นำ เข้าข้อมูล ISO (10) ใช้โปรแกรม ALIST โปรแกรมย่อย Cataloging Module – Edit ปรับปรุงข้อมูล MARC
4. สรุปประโยชน์ (1) สามารถสร้างระเบียน/คอลเลกชัน ได้จำนวนมาก และอย่างรวดเร็ว เพราะทำงานแบบ batch processing หรือเป็นกลุ่มใหญ่ (ทำนองโรงงาน) (แม้ขั้นตอนมากขึ้น) (2) ข้อมูลรายการบรรณานุกรมมีคุณภาพ ทั้งรายละเอียดของข้อมูลที่เก็บได้ (ไม่ต้อง key in เอง ที่จะทำได้น้อย) และการตรวจสอบ แก้ไข ปรับปรุงข้อมูลทั้งในข้อมูลแต่ละเชิงระเบียน (record) และในภาพรวมของกลุ่มข้อมูลทั้งชุดที่ทำหรือทั้งคอลเลกชัน (3) สามารถนำแนวทางไปประยุกต์ใช้กับงานอื่นได้ หรือการพิจารณาใช้เครื่องมือ (เช่น โปรแกรมใดๆ) ที่แต่ละคนถนัด มาปฏิบัติงาน
5. ลักษณะเฉพาะของงาน TOR หรือสื่อ/เอกสารแต่ละประเภท กรณี blog นี้คืองาน
การทำดรรชนีวารสาร (อนาคต Staffs คอลเลกชันตามหัวข้อโดยรวบรวมบทความจาก ThaiJo) ได้เสนอเป็นแนวความคิดไว้ สำหรับการพัฒนาคอลเลกชันและบริการห้องสมุดแก่ผู้ใช้ในระยะต่อไป โดยบุคลากรห้องสมุดอื่นอาจจัดทำคอลเลกชันตามหัวข้อ (สมัยอดีตนิยมเรียกว่า แฟ้มสารสนเทศเฉพาะทาง) บริการผู้ใช้ เช่น เก็บรวบรวมข้อมูลปลาบึก ข้อมูลการพยาบาลผู้สูงอายุ ห้องสมุดสีเขียว ฯลฯ จากบทความออนไลน์ ThaiJo ได้ ในที่นี้งานจะมีลักษณะทำนองเดียวกับงานตาม blogข้อ 2 คือ “ เอกสารเนื้อหา Green“ ที่เคยกล่าวถึง สามารถดูรายละเอียดใน blog นั้นได้. [end]
|
คำสำคัญ :
การพัฒนาทรัพยากรสารสนเทศ งานเทคนิค (ห้องสมุด) ฐานข้อมูลเฉพาะทาง บทความอิเล็กทรอนิกส์ สื่ออิเล็กทรอนิกส์ โสตทัศนวัสดุ
|
กลุ่มบทความ :
กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร
|
หมวดหมู่ :
กลุ่มงานห้องสมุด
|
สถิติการเข้าถึง :
เปิดอ่าน
845
ครั้ง | แสดงความคิดเห็น
0
ครั้ง
|
ผู้เขียน
สุธรรม อุมาแสงทองกุล
วันที่เขียน
13/8/2565 3:56:28
แก้ไขล่าสุดเมื่อ
21/11/2567 19:15:31
|
|
|
บริการสื่อโสตทัศน์
»
PMEST facet กับการทำดรรชนี
|
งานสำคัญประการหนึ่งของการจัดระบบเอกสารหรือสื่อหรือทรัพยากรสารสนเทศในห้องสมุดคือ การวิเคราะห์และทำรายการเอกสาร (cataloging) ซึ่งบางกรณีเรียกว่างานเทคนิคห้องสมุด เป็นงานที่อาศัยความรู้ ทักษะ ทางบรรณารักษศาสตร์และสารสนเทศศาสตร์
PMEST เป็นหลักการหรือมุมมองในการวิเคราะห์เนื้อหาเอกสารที่จะให้บริการของห้องสมุด โดยอาศัยแนวคิดเกี่ยวกับการพิจารณาหรือการใช้มุมมองสิ่งใดๆ เป็นแง่มุม (facet) เฉพาะด้านหลายๆ ด้าน (มุมมอง) เพื่อให้เข้าใจสิ่งนั้นๆ รอบด้านและถี่ถ้วนขึ้น ซึ่งเมื่อนำมาใช้กับการทำงานวิเคราะห์เอกสาร ก็จะทำให้สามารถกำหนดคำดรรชนีได้ละเอียดขึ้น เพื่อช่วยการเข้าถึงเนื้อหาเอกสารต่างๆ ได้ครอบคลุมประเด็นเนื้อหาให้ครบถ้วน (รอบด้าน) มากขึ้น ผู้ใช้ห้องสมุดก็สามารถสืบค้นเรื่องที่ต้องการจากคำดรรชนีได้อย่างมีคุณภาพมากขึ้น
PMEST เป็นอักษรย่อจากคำว่า Pesronality Material Energy Space Time
P = Pesronality = บุคคล กลุ่มบุคคล องค์กร เช่น ภูมิพลอดุลยเดชฯ กษัตริย์ สถาบันพระมหากษัตริย์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้
M = Material วัตถุ สิ่งของ เช่น วัง บ้าน รถยนต์ เสื้อผ้า อาหาร
E = Energy พลังงาน สิ่งไร้รูป สิ่งนามธรรม กิจกรรมและการกระทำ เช่น ดนตรี แสงสว่าง ความดี การเล่นกีฬา วิทยาศาสตร์
S = Space สถานที่ ชื่อภูมิศาสตร์ เช่น ไทย เชียงใหม่ สันทราย มหาวิทยาลัย ฟาร์ม
T = Time เวลา เหตุการณ์ เช่น กลางคืน ศตวรรษที่ 21 แผ่นดินไหว น้ำท่วม
เมื่อนำ PMEST มาใช้กับการวิเคราะห์และทำรายการสื่อโสตทัศน์ของห้องสมุด จะทำให้บรรณารักษ์และนักเอกสารสนเทศมีมุมมองกำหนดคำดรรชนีได้มากขึ้น และตรวจสอบได้ว่าวิเคราะห์เนื้อหาสื่อได้ครบถ้วนทุกมุมมองหรือไม่
ตัวอย่างเช่น สื่อโสตทัศน์ CD ภาพยนตร์เรื่อง Bohemian Rhapsody (2018) ซึ่งเป็นเรื่องชีวประวัติของ Freddie Mercury นักร้องนำวงดนตรี Queen สามารถใช้หลักการ PMEST กำหนดดรรชนีได้ดังนี้
P = Pesronality = Mercury, Freddie ; นักร้อง ; นักดนตรี ; Queen (วงดนตรี) ; วงดนตรี
M = Material เช่น [ภาพยนตร์ไม่มีเนื้อหาสำคัญที่เน้นมุมมอง facet นี้]
E = Energy เช่น ดนตรีร็อค ความใฝ่ฝัน การร้องเพลง
S = Space สถานที่ ชื่อภูมิศาสตร์ เช่น [ภาพยนตร์ไม่มีเนื้อหาสำคัญที่เน้นมุมมอง facet นี้]
T = Time เวลา เหตุการณ์ เช่น คอนเสิร์ต การแสดงดนตรี
การนำไปใช้กับสื่อหรือเอกสารเรื่องอื่น เช่น Titanic หรือสื่อลักษณะอื่น เช่น เอกสารวิชาการ ตำรา นวนิยาย ก็จะมีลักษณะแตกต่างกันไป
อนึ่ง การนำเสนอแนวคิด PMEST ในครั้งนี้ให้ข้อมูลเพียงสังเขป พร้อมกับได้ทำสไลด์ Powerpoint 17 ภาพ และตัวอย่างแบบทดสอบประกอบ ซึ่งภาพยนตร์เรื่อง Titanic มีเนื้อหาสามารถกำหนดดรรชนีตาม PMEST ได้ครบทุกมุมมอง (facet) โดยสไลด์ดังกล่าวใช้ในกิจกรรม KM ของสำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ข้อมูลโดยละเอียดและการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ ผู้สนใจสามารถติดต่อผู้เขียน blog ได้ ซึ่งผู้เขียนพร้อมบริการผู้สนใจด้วยความยินดี. [end]
|
คำสำคัญ :
PMEST การวิเคราะห์และทำรายการเอกสาร ดรรชนี ทรัพยากรสารสนเทศ สื่อโสตทัศน์
|
กลุ่มบทความ :
กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร
|
หมวดหมู่ :
กลุ่มงานห้องสมุด
|
สถิติการเข้าถึง :
เปิดอ่าน
2222
ครั้ง | แสดงความคิดเห็น
0
ครั้ง
|
ผู้เขียน
สุธรรม อุมาแสงทองกุล
วันที่เขียน
18/9/2562 16:25:16
แก้ไขล่าสุดเมื่อ
20/11/2567 16:54:00
|
|
|