ตอนที่ 1 : ข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก
รหัสอ้างอิง : 313
ชื่อสมาชิก : ศรีกาญจนา คล้ายเรือง
เพศ : หญิง
อีเมล์ : srikanja@mju.ac.th
ประเภทสมาชิก : บุคลากรภายใน[สังกัด]
ลงทะเบียนเมื่อ : 16/3/2554 15:47:07
แก้ไขล่าสุดเมื่อ : 16/3/2554 15:47:07


ตอนที่ 2 : ประวัติการเขียนบทความของสมาชิก
ประชุมวิชาการ 61
การศึกษาปริมาณสารประกอบฟีนอลิกในงาขี้ม้อนที่เพาะเลี้ยงร่วมกับ Pseudomonas aeruginosa Study on Content of Phenolic Compound of Perilla Co-cultivated with Pseudomonas aeruginosa ศรีกาญจนา คล้ายเรือง* นพมณี โทปุญญานนท์ ปวีณา ภูมิสุทธาผล และปิยะนุช เนียมทรัพย์ Srikanjana Klayraung*, Nopmanee Topoonyanon, Paweena Pumisutthapon and Piyanuch Niamsup บทคัดย่อ นำเชื้อแบคทีเรีย Pseudomonas aeruginosa PF2_L1_B4 ที่แยกได้จากส่วนใบของงาขี้ม้อนที่มีฤทธิ์ยับยั้งการเจริญของเชื้อแบคทีเรียก่อโรคได้ดี ทั้งส่วนของตะกอนเซลล์ และน้ำเลี้ยงเชื้อ มาผสมในอาหารสูตร MS ปริมาณ 5 กรัม/ลิตร และ 5 มิลลิลิตร/ลิตร ตามลำดับ เพื่อใช้เพาะเลี้ยงงาขี้ม้อน นาน 6 สัปดาห์ นำใบงาขี้ม้อนที่ได้มาวิเคราะห์ปริมาณสารประกอบฟีนอลิกทั้งหมด พบว่า ใบงาขี้ม้อนที่ได้จากการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อมีปริมาณสารประกอบฟีนอลิกสูงกว่าใบงาขี้ม้อนจากแปลงปลูก โดยทั้งอาหารที่เติมเชื้อแบคทีเรีย และน้ำเลี้ยงจะมีปริมาณสารประกอบฟีนอลิกทั้งหมดเฉลี่ยประมาณ 23 มิลลิกรัมแกลลิกแอสิด/กรัมของใบแห้ง โดยใบงาขี้ม้อนที่เพาะเลี้ยงในอาหาร MS ผสมตะกอนเชื้อแบคทีเรียเอนโดไฟท์ ตรวจพบปริมาณ rosmarinic acid สูงสุด คือ 0.78 มิลลิกรัม/กรัมน้ำหนักแห้ง ผลการทดลองนี้ชี้ให้เห็นว่าเชื้อแบคทีเรียเอนโดไฟท์อาจกระตุ้นการผลิต rosmarinic acid ในงาขี้ม้อนที่เพาะเลี้ยงด้วยระบบเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืชได้ คำสำคัญ: งาขี้ม้อน สารประกอบฟีนอลิก rosmarinic acid เอนโดไฟท์ Pseudomonas
- ยังไม่มีรายการคำถาม
โครงการอบรม เรื่อง “Basic Bioinformatics for Microbiologists” ทำให้มีความรู้ความเข้าใจและได้ฝึกปฏิบัติจริงในการวิเคราะห์ แปลผล และประยุกต์ใช้ข้อมูลทางชีวสารสนเทศ (bioinformatics) ซึ่งมีความจำเป็นในงานวิจัยทางจุลชีววิทยาในปัจจุบัน โดยวิทยากรผู้บรรยายคือ Dr.Apichai Tuanyok นักวิจัยไทยที่ดำรงตำแหน่ง Assistant Professor ณ Department of Infectious Diseases & Pathology, College of Veterinary Medicine, University of Florida โดยได้บรรยาย และแนะนำในการฝึกปฏิบัติในหัวข้อต่อไปนี้ 1. หลักการ และโปรแกรมพื้นฐานในการศึกษาจีโนมของแบคทีเรีย ได้แก่ Genome Viewer, BioEdit Alignment Editor 2. การเปรียบเทียบจีโนม โดยใช้ Artemis Comparison Tool (ACT) 3. จีโนมของแบคทีเรียก่อโรคที่สำคัญได้ Streptococcus suis และ Burkholderia pseudomallei 4. การใช้ Online Bioinformatic Software Tools ได้แก่ PATRIC (Pathosystem Resource Integration Center) ทั้งในส่วนของ Genome Assembly และ Genome Annotation โดยเป้าหมายในการนำมาใช้เป็นข้อมูลในงานวิจัย คือ การใช้ เทคนิค next generation sequencing วึ่งเป้นเทคนิคที่นิยมใช้การอย่างแพร่หลายมาขึ้น เนื่องจากทำให้ได้ข้อมูลขอลำดับ nucleotides จำนวนมาก ซึ่งข้อมูลที่ได้นั้นต้องมีการวิเคราะห์ และแปลผลด้วยโปรแกรมที่เหมาะสมดังกล่าวข้างต้น ให้ได้เป็นข้อมูลทางชีวสารสนเทศ ที่สามารถนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์ได้
- ยังไม่มีรายการคำถาม
จากการเข้าร่วมประชุม และนำเสนอผลงานวิจัย ในงานประชุมวิชาการวิชาการ การอบรมชิงปฏิบัติการสำหรับเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยทางชีวภาพครั้งที่ ๒ ทำให้มีความรู้ความเข้าใจด้านความปลอดภัยทางชีวภาพ รวมทั้งมาตรฐานความปลอดภัยทางชีวภาพอย่างถูกต้อง และเป็นสากล ทั้งนี้เนื่องจากในปัจจุบันได้มีสถานการณ์ระบาดของโรคติดเชื้อต่างๆ เช่น ไวรัสไข้หวัดใหญ่ ไวรัสเมอรส์ และไวรัสอีโบลา ซึ่งประเทศไทยได้เล็งเห็นความสำคัญ ที่จะหาแนวทางที่จะช่วยลดความเสี่ยง และยับยั้งการแพร่กระจายของเชื้อจากโรงพยาบาล และห้องปฏิบัติการไปสู่ชุมชน และสิ่งแวดล้อม หน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้แก่สมาคมชีวนิรภัย สมาคมไวรัสวิทยา ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ และสำนักงานคณะกรรมการการวิจัยแห่งชาติ (วช.) จึงได้ร่วมกันจัดการประชุมวิชาการ และอบรมเชิงปฏิบัติการฯ ครั้งนี้ขึ้น โดยเนื้อหาการอบรมเชิงปฏิบัติการฯ นี้ประกอบด้วย 1. บทเรียนการติดเชื้อจากห้องปฏิบัติการ ซึ่งการติดเชื้อในห้องปฏิบัติการอาจเกิดจากการได้รับโดยตรง หรือโดยอ้อม อาจมีอาการหรือไม่มีอาการ โดยกรณีศึกษาที่รุนแรงคือ โรคฝีดาษ และโรค SARS เป็นต้น 2. หลักการของความปลอดภัยทางชีวภาพ (biosafety) ซึ่งเป็นหลักการป้องกันความปลอดภัยในห้องปฏิบัติการที่เกิดจากความไม่ตั้งใจ และความมั่นคงทางชีวภาพ (biosecurity) เป็นวิธีการ หรือกระบวนการที่จะป้องกัน ควบคุม เชื้อจุลินทรีย์ สารพิษ รวมทั้งข้อมูลจากการสูญหาย หรือนำไปใช้ในทางที่ไม่ถูกต้อง 3. การประเมินความเสี่ยง และการจัดการความเสี่ยง โดยเป็นการประเมินตามความเสี่ยงตามความสามารถต่างๆ เช่น การก่อโรค ลักษณะการแพร่กระจาย และที่มาของเชื้อ ซึ่งอาศัยเกณฑ์ปฏิบัติของหน่วยงานที่รับผิดชอบ เช่น WHO กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ หรือศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ 4. ระดับความปลอดภัยทางชีวภาพในห้องปฏิบัติการ โดยปัจจัยสำคัญที่ต้องคำนึงถึงคือ ในการปฏิบัติงานต้องมีทักษะทางจุลชีววิทยาที่ดี มีวิธีการทดลองที่ปลอดภัย มีอุปกรณ์ที่ให้ความปลอดภัย และป้องกันอันตรายที่จะเกิดกับผู้ปฏิบัติงาน และมีสิ่งอำนวยความสะดวกในอาคารที่ถูกต้อง เหมาะสม 5. การจัดการเมื่อเกิดการหกเปื้อนของสารชีวภาพ โดยห้องปฏิบัติการต้องมีแผนการ และวิธีการตอบสนองต่อเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น และจะต้องมีการเตรียมชุดอุปกรณ์ที่ใช้ในการกำจัดสารชีวภาพ หรือสารเคมีที่หกเปื้อน
- ยังไม่มีรายการคำถาม
วัตถุประสงค์ของการวิจัยนี้เพื่อทดสอบฤทธิ์ต้านแบคทีเรียก่อโร คของแบคทีเรียที่อยู่ร่วมกับไลเคนจีนัส Parmotrema sp. โดยแยกเชื้อแบคทีเรียที่อยู่ร่วมกับไลเคนได้ทั้งสิ้น 50 ไอโซเลต จากไลเคน 6 ตัวอย่าง นำมาทดสอบฤทธิ์ยับยั้งเบื้องต้นต่อแบคทีเรียก่อโรค Escherichia coli, Listeria monocytogenes, Pseudomonas aeruginosa และ Staphylococcus aureus ด้วยวิธี spot on lawn พบว่ามีแบคทีเรียที่อยู่ร่วมกับไลเคนจำนวน 10 ไอโซเลตที่สามารถยับยั้งเชื้อแบคทีเรีย S. aureus ได้ และเมื่อนำน้ำเลี้ยงเชื้อที่ปราศจากเซลล์มาทดสอบกิจกรรมการยับยั้ง ด้วยวิธี Agar well diffusion assay พบว่า มีแบคทีเรียในจีนัส Bacillus จำนวน 3 ไอโซเลต ที่แสดงความสามารถในการยับยั้งการเจริญของ S. aureus จากลำดับเบสของยีน 16S rRNA แบคทีเรียที่อยู่ร่วมกับไลเคนจำนวน 9 ไอโซเลต จัดอยู่ในจีนัส Bacillus ประกอบด้วย B. velezensis,B. pumilus, B. safensis, B. invictae และ B. megaterium ส่วนอีก 1 ไอโซเลต จำแนกเป็น Lysinibacillus fusiformis
- ยังไม่มีรายการคำถาม
จากการเข้าร่วมประชุม และนำเสนอผลงานวิจัย ในงานประชุมวิชาการวิชาการระดับชาติ “มศว วิจัย” ครั้งที่ 9 ทำให้เกิดการแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ในศาสตร์สาขาต่างๆ ระหว่างผู้เข้าร่วมนำเสนอผลงานวิจัย กับผู้ทรงคุณวุฒิ ในกลุ่มสหวิทยาการด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ทั้งภาคบรรยายและภาคโปสเตอร์นั้น สามารถสรุปได้ดังนี้ 1. การพัฒนาผลิตภัณฑ์ไอศกรีมเพื่อสุขภาพจากข้าวไรซ์เบอรี่ ผู้วิจัยได้รายงานว่าสูตรไอศกรีมที่ผลิตจากข้าวไรซ์เบอรี่หุงสุก ไฟเบอร์ซอล และน้ำตาลมอลติทอล ได้รับการยอมรับจากผู้บริโภค และมีฤทธิ์ทางชีวภาพที่ถือว่ามีประโยชน์ต่อสุขภาพ ซึ่งจะเป็นการเพิ่มมูลค่าข้าวไรซ์เบอรี่ และสามารถนำผลงานวิจัยนี้สู่การผลิตภาคอุตสาหกรรมในอนาคต 2. การใช้อนุภาคเงินดัดแปลงสารออกฤทธิ์ทางชีวภาพจากราเอนโดไฟท์ที่แยกได้จากสาหร่ายทะเล และฤทธิ์ยับยั้งแบคทีเรียก่อโรคแกรมลบบางชนิด ซึ่งในงานนี้ผู้วิจัยได้แยกและจำแนกราเอนโดไฟท์จากสาหร่ายทะเล Gracillaria spp. และ Chaetomopha antemina ได้เชื้อราในจีนัส Aspergillus และ Penicillium ที่สามารถยับยั้งแบคทีเรียก่อโรคแกรมลบได้ โดยเมื่อนำมาพัฒนาสารออกฤทธิ์ทางชีวภาพโดยใช้อนุภาคเงิน พบว่าสามารถเพิ่มประสิทธิภาพในการยับยั้งแบคทีเรียได้ ๓. การใช้ความหลากหลายของไลเคนเพื่อบ่งชี้คุณภาพอากาศในมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ องครักษ์ จังหวัดนครนายก เป็นงานวิจัยที่ใช้ไลเคนเป็นเครื่องมือ พบไลเคนทั้งหมด 8 ชนิด โดยจีนัสที่พบมากที่สุด คือ Graphis sp. ซึ่งบ่งบอกถึงความไม่บริสุทธิ์ของอากาศ และชนิดที่พบน้อยที่สุดคือ Chrysotrix sp.
- ยังไม่มีรายการคำถาม
1. ในหลักสูตร ข้อกำหนดและการตรวจติดตามภายในตามมาตรฐาน BRC Food Issue 7 ในวันที่ 30-31 มกราคม 2559 โดยวิทยากร คือ คุณธรรมรัตน์ รุ่งสังข์ สรุปได้ว่า มาตรฐาน BRC หรือ BRC Global standard คือ มาตรฐานสำหรับสุขลักษณะอาหารสำหรับ Brand owner ที่แสดงว่ามีการควบคุม และรับผิดชอบทางด้านกฎหมายต่อความปลอดภัยของผลิตภัณฑ์ และผู้บริโภค และลดการประเมินซ้ำซ้อน ซึ่งเป็นการสร้างมาตรฐานร่วมกันของกลุ่มค้าปลีกของสหภาพยุโรป โดยมีขอบเขตครอบคลุมถึงกระบวนการผลิตอาหาร suppliers และ วัตถุดิบ โดยการได้มาซึ่งมาตรฐานจะต้องประกอบด้วยองค์ประกอบต่อไปนี้คือ 1.1 ความมุ่งมั่นของฝ่ายบริหารและการปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง รวมทั้งมีการกำหนดโครงสร้างและอำนาจหน้าที่รับผิดชอบอย่างชัดเจน 1.2 มีระบบไปประยุกต์ใช้ และวางแผนการจัดการความปลอดภัยอาหารอย่างมีประสิทธิภาพตามหลักการของ HACCP Codex 1.3 มีคู่มือคุณภาพและความปลอดภัยของอาหาร 1.4 มีการกำหนดมาตรฐานทั้งส่วนที่เกี่ยวข้องกับมาตรฐานภายใน และภายนอก รวมทั้งมาตรการในการรักษาความมั่นคง เช่นระบบในการควบคุมการเข้าถึง และความปลอดภัย 1.5 การควบคุมผลิตภัณฑ์ ทั้งในส่วนของการออกแบบ การติดฉลาก การบริหารจัดการสารก่อให้เกิดภูมิแพ้ และมีระบบการสอบย้อนกลับความเป็นจริงของผลิตภัณฑ์ การอ้างถึง รวมถึงโซ่การคุ้มครอง อีกทั้งมีการตรวจสอบผลิตภัณฑ์ และการทดสอบในห้องปฏิบัติการ 1.6 มีการควบคุมกระบวนการผลิต ที่มีระเบียบปฏิบัติ หรือเอกสารที่จะทำได้ถูกต้องสอดคล้องกับ HACCP Plan 1.7 มีการฝึกอบรม ที่จะทำให้บุคลากรที่ทำงานสามารถที่จะทำหน้าที่ให้ถูกต้อง ปลอดภัย สอดคล้องกับข้อกำหนดกฎหมาย และคุณภาพ 2. หลักสูตรข้อกำหนดและการตรวจติดตามภายในตามมาตรฐาน ISO 14001: 2015 ในวันที่ 6-7 กุมภาพันธ์ 2559 สรุปได้ว่า มาตรฐาน ISO 14001 เป็นมาตรฐานทางสิ่งแวดล้อมที่มีประโยชน์ในส่วนช่วยลดต้นทุนในระยะยาว สร้างภาพลักษณ์ที่ดีต่อองค์กร ทำให้องค์กรได้เปรียบในการแข่งขัน เพิ่มโอกาสทางการค้า และการเจรจาต่อรอง โดย ISO 14001 เป็นมาตรฐานที่ถูกปรับเปลี่ยนมาจากระบบบริหารมาตรฐาน ISO ต่างๆ เพื่อลดความยุ่งยาก และความซ้ำซ้อนในการเข้าใจระบบที่ต่างกัน เพื่อทำให้ทั้งหมดอยู่ในรูปแบบเดียวกัน ซึ่งตามโครงสร้างที่ถูกกำหนดโดย Annex SL มีการกำหนดมาตรฐานไว้ใน 10 หัวข้อ คือ 2.1 ขอบข่าย 2.2 การอ้างอิงเอกสาร 2.3 คำศัพท์ และคำนิยาม 2.4 บริบทขององค์กร 2.5 ความเป็นผู้นำ 2.6 การวางแผน 2.7 ส่วนสนับสนุน 2.8 การปฏิบัติการ 2.9 การประเมินสมรรถนะ 2.10 การปรับปรุง การนำไปใช้ประโยชน์ 1. สามารถนำไปสอนในวิชาอื่นๆที่เกี่ยวข้อง เช่น ชว 462 จุลชีววิทยาสิ่งแวดล้อม และ วิชาเทคโนโลยีชีวภาพทางอาหาร 2. สามารถนำไปใช้ในวิชา วท 497 สหกิจศึกษาและ วท 498 การเรียนรู้อิสระในการทำวิจัยของนักศึกษาสาขาเทคโนโลยีชีวภาพทั้งในหลักสูตร และร่วมกับสถานประกอบการ
- ยังไม่มีรายการคำถาม
proceeding