Blog : ประชุมวิชาการการอบรมชิงปฏิบัติการสำหรับเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยทางชีวภาพครั้งที่ ๒

รายการบทความการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทั้งหมดของ Blog : ประชุมวิชาการการอบรมชิงปฏิบัติการสำหรับเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยทางชีวภาพครั้งที่ ๒
จากการเข้าร่วมประชุม และนำเสนอผลงานวิจัย ในงานประชุมวิชาการวิชาการ การอบรมชิงปฏิบัติการสำหรับเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยทางชีวภาพครั้งที่ ๒ ทำให้มีความรู้ความเข้าใจด้านความปลอดภัยทางชีวภาพ รวมทั้งมาตรฐานความปลอดภัยทางชีวภาพอย่างถูกต้อง และเป็นสากล ทั้งนี้เนื่องจากในปัจจุบันได้มีสถานการณ์ระบาดของโรคติดเชื้อต่างๆ เช่น ไวรัสไข้หวัดใหญ่ ไวรัสเมอรส์ และไวรัสอีโบลา ซึ่งประเทศไทยได้เล็งเห็นความสำคัญ ที่จะหาแนวทางที่จะช่วยลดความเสี่ยง และยับยั้งการแพร่กระจายของเชื้อจากโรงพยาบาล และห้องปฏิบัติการไปสู่ชุมชน และสิ่งแวดล้อม หน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้แก่สมาคมชีวนิรภัย สมาคมไวรัสวิทยา ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ และสำนักงานคณะกรรมการการวิจัยแห่งชาติ (วช.) จึงได้ร่วมกันจัดการประชุมวิชาการ และอบรมเชิงปฏิบัติการฯ ครั้งนี้ขึ้น โดยเนื้อหาการอบรมเชิงปฏิบัติการฯ นี้ประกอบด้วย 1. บทเรียนการติดเชื้อจากห้องปฏิบัติการ ซึ่งการติดเชื้อในห้องปฏิบัติการอาจเกิดจากการได้รับโดยตรง หรือโดยอ้อม อาจมีอาการหรือไม่มีอาการ โดยกรณีศึกษาที่รุนแรงคือ โรคฝีดาษ และโรค SARS เป็นต้น 2. หลักการของความปลอดภัยทางชีวภาพ (biosafety) ซึ่งเป็นหลักการป้องกันความปลอดภัยในห้องปฏิบัติการที่เกิดจากความไม่ตั้งใจ และความมั่นคงทางชีวภาพ (biosecurity) เป็นวิธีการ หรือกระบวนการที่จะป้องกัน ควบคุม เชื้อจุลินทรีย์ สารพิษ รวมทั้งข้อมูลจากการสูญหาย หรือนำไปใช้ในทางที่ไม่ถูกต้อง 3. การประเมินความเสี่ยง และการจัดการความเสี่ยง โดยเป็นการประเมินตามความเสี่ยงตามความสามารถต่างๆ เช่น การก่อโรค ลักษณะการแพร่กระจาย และที่มาของเชื้อ ซึ่งอาศัยเกณฑ์ปฏิบัติของหน่วยงานที่รับผิดชอบ เช่น WHO กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ หรือศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ 4. ระดับความปลอดภัยทางชีวภาพในห้องปฏิบัติการ โดยปัจจัยสำคัญที่ต้องคำนึงถึงคือ ในการปฏิบัติงานต้องมีทักษะทางจุลชีววิทยาที่ดี มีวิธีการทดลองที่ปลอดภัย มีอุปกรณ์ที่ให้ความปลอดภัย และป้องกันอันตรายที่จะเกิดกับผู้ปฏิบัติงาน และมีสิ่งอำนวยความสะดวกในอาคารที่ถูกต้อง เหมาะสม 5. การจัดการเมื่อเกิดการหกเปื้อนของสารชีวภาพ โดยห้องปฏิบัติการต้องมีแผนการ และวิธีการตอบสนองต่อเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น และจะต้องมีการเตรียมชุดอุปกรณ์ที่ใช้ในการกำจัดสารชีวภาพ หรือสารเคมีที่หกเปื้อน
URL สำหรับอ้างอิงถึงหน้านี้