รายการบทความการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทั้งหมดของ Blog : การศึกษาปริมาณสารประกอบฟีนอลิกในงาขี้ม้อนที่เพาะเลี้ยงร่วมกับ Pseudomonas aeruginosa
การศึกษาปริมาณสารประกอบฟีนอลิกในงาขี้ม้อนที่เพาะเลี้ยงร่วมกับ Pseudomonas aeruginosa
Study on Content of Phenolic Compound of Perilla Co-cultivated with Pseudomonas aeruginosa
ศรีกาญจนา คล้ายเรือง* นพมณี โทปุญญานนท์ ปวีณา ภูมิสุทธาผล และปิยะนุช เนียมทรัพย์
Srikanjana Klayraung*, Nopmanee Topoonyanon, Paweena Pumisutthapon
and Piyanuch Niamsup
บทคัดย่อ
นำเชื้อแบคทีเรีย Pseudomonas aeruginosa PF2_L1_B4 ที่แยกได้จากส่วนใบของงาขี้ม้อนที่มีฤทธิ์ยับยั้งการเจริญของเชื้อแบคทีเรียก่อโรคได้ดี ทั้งส่วนของตะกอนเซลล์ และน้ำเลี้ยงเชื้อ มาผสมในอาหารสูตร MS ปริมาณ 5 กรัม/ลิตร และ 5 มิลลิลิตร/ลิตร ตามลำดับ เพื่อใช้เพาะเลี้ยงงาขี้ม้อน นาน 6 สัปดาห์ นำใบงาขี้ม้อนที่ได้มาวิเคราะห์ปริมาณสารประกอบฟีนอลิกทั้งหมด พบว่า ใบงาขี้ม้อนที่ได้จากการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อมีปริมาณสารประกอบฟีนอลิกสูงกว่าใบงาขี้ม้อนจากแปลงปลูก โดยทั้งอาหารที่เติมเชื้อแบคทีเรีย และน้ำเลี้ยงจะมีปริมาณสารประกอบฟีนอลิกทั้งหมดเฉลี่ยประมาณ 23 มิลลิกรัมแกลลิกแอสิด/กรัมของใบแห้ง โดยใบงาขี้ม้อนที่เพาะเลี้ยงในอาหาร MS ผสมตะกอนเชื้อแบคทีเรียเอนโดไฟท์ ตรวจพบปริมาณ rosmarinic acid สูงสุด คือ 0.78 มิลลิกรัม/กรัมน้ำหนักแห้ง ผลการทดลองนี้ชี้ให้เห็นว่าเชื้อแบคทีเรียเอนโดไฟท์อาจกระตุ้นการผลิต rosmarinic acid ในงาขี้ม้อนที่เพาะเลี้ยงด้วยระบบเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืชได้
คำสำคัญ: งาขี้ม้อน สารประกอบฟีนอลิก rosmarinic acid เอนโดไฟท์ Pseudomonas
URL สำหรับอ้างอิงถึงหน้านี้