เมนู
มหาวิทยาลัยแม่โจ้
มหาวิทยาลัยแม่โจ้
Maejo University
ติดต่อ
บุคลากร (เข้าสู่ระบบ)
หน้าหลัก
บทความการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทั่วไป
วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี
Phayao Research Conference 7
Blog : Phayao Research Conference 7
รหัสอ้างอิง :
553
ชื่อสมาชิก :
ฤทธิชัย อัศวราชันย์
เพศ :
ชาย
อีเมล์ :
rittichai@mju.ac.th
ประเภทสมาชิก :
บุคลากรภายใน [
สังกัด
]
ลงทะเบียนเมื่อ :
6/8/2554 0:06:53
แก้ไขล่าสุดเมื่อ :
6/8/2554 0:06:53
รายการบทความการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทั้งหมดของ Blog : Phayao Research Conference 7
1
บทคัดย่อในงานประชุมวิชาการพะเยาครั้งที่ 7 ระหว่างวันที่ 25-26 มกราคม 2561
Phayao Research Conference 7
»
สภาวะที่เหมาะสมในการทอดสุญญากาศการของกล้วยน้ำว้าแผ่น
โครงการวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ในการศึกษาผลของปัจจัยของการแปรรูปกล้วยน้ำว้าแผ่นด้วยการทอดสุญญากาศ ได้แก่ อุณหภูมิในการทอด (X1), เวลาในการทอด (X2) และเวลาในการสลัดน้ำมันภายใต้สภาวะสุญญากาศ (X3) ต่อปริมาณไขมันทั้งหมดที่หลงเหลือ (Y) โดยสภาวะที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ อุณหภูมิในการทอด (85, 95 และ 105 องศาเซลเซียส), เวลาในการทอด (30, 45 และ 60 นาที) และเวลาในการสลัดน้ำมันภายใต้สภาวะสุญญากาศ (5, 10 และ 15 นาที) โดยใช้วิธีวิเคราะห์ทางสถิติเพื่อหาพื้นทิ่ผิวตอบสนองและออกแบบการทดลองด้วยบ็อกซ์-เบห์นเคน (Box-Behnken Design ; BBD) จากผลการศึกษาในการแปรรูปกล้วยน้ำว้าแผ่นด้วยการทอดสุญญากาศ พบว่าการทอดที่อุณหภูมิ 96.03 องศาเซลเซียส, เวลาในการทอด 46.66 นาที และเวลาในการสลัดน้ำมันภายใต้สภาวะสุญญากาศที่ 10.11 นาที เป็นสภาวะที่เหมาะสมที่สุดในการแปรรูปกล้วยน้ำว้าแผ่นด้วยการทอดสุญญากาศ เนื่องจากผลการตรวจวิเคราะห์กล้วยน้ำว้าแผ่นมีปริมาณไขมันทั้งหมดหลงเหลือน้อยที่สุด เท่ากับ 17.24 กรัม/ตัวอย่าง 100 กรัม
คำสำคัญ :
กล้วยน้ำว้า, การทอดสุญญากาศ, ปริมาณไขมันทั้งหมด, ออกแบบการทดลองแบบบ็อกซ์-เบห์นเคน
กลุ่มบทความ :
บทความการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทั่วไป
หมวดหมู่ :
วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี
สถิติการเข้าถึง :
เปิดอ่าน
2967
ครั้ง | แสดงความคิดเห็น
0
ครั้ง
ผู้เขียน
ฤทธิชัย อัศวราชันย์
วันที่เขียน
12/3/2561 20:34:49
แก้ไขล่าสุดเมื่อ
22/11/2567 7:45:55
Phayao Research Conference 7
»
ผลกระทบของวิธีการแปรรูปต่อการเปลี่ยนแปลงคุณภาพของเนื้อลำไยกรอบ
โครงการวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ในการศึกษาผลกระทบของการแปรรูปเนื้อลำไยกรอบด้วยเทคนิคต่างๆ เช่น การอบกรอบด้วยคลื่นไมโครเวฟระบบสุญญากาศ (MWD) การอบแห้งแบบแช่เยือกแข็ง (FD) และการทอดสุญญากาศ (VF) ต่อการเปลี่ยนแปลงคุณภาพของเนื้อลำไยกรอบคุณลักษณะเนื้อลำไยกรอบ เช่น ค่าความชื้นสุดท้าย การระเหยน้ำ และสมบัติเชิงทัศนศาสตร์ในระบบสี CIE - L*a*b* จากผลการศึกษาว่าเนื้อลำไยกรอบด้วยการวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบหางเดียวของค่าความชื้นสุดท้าย ปริมาณน้ำอิสระ และสมบัติเชิงทัศนศาสตร์ในระบบสี CIE - L*a*b* ด้วยค่าพารามิเตอร์ (b*) และค่าความแตกต่างสีโดยรวม (TCD) ไม่มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับความเชื่อมั่นร้อยละ 95 โดยเนื้อลำไยกรอบด้วยวิธีการแปรรูปด้วยคลื่นไมโครเวฟมีค่าความสว่าง (L*) และมีความเป็นสีแดงมากที่สุด (a*) เนื้อลำไยกรอบด้วย VF มีอัตราการระเหยน้ำได้มากกว่าเนื้อลำไยกรอบจากเทคโนโลยี MWD และ FD ที่ 5.89 และ 23.57 เท่าตามลำดับ
คำสำคัญ :
เนื้อลำไย, คลื่นไมโครเวฟระบบสุญญากาศ การอบแห้งแบบแช่เยือกแข็ง การทอดสุญญากาศ
กลุ่มบทความ :
บทความการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทั่วไป
หมวดหมู่ :
วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี
สถิติการเข้าถึง :
เปิดอ่าน
2988
ครั้ง | แสดงความคิดเห็น
0
ครั้ง
ผู้เขียน
ฤทธิชัย อัศวราชันย์
วันที่เขียน
12/3/2561 20:25:15
แก้ไขล่าสุดเมื่อ
22/11/2567 7:05:19
Phayao Research Conference 7
»
ผลของอุณหภูมิและความหนาต่อค่าสัมประสิทธิ์การแพร่ยังผลของการอบแห้งหัวไชเท้าแผ่น
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาคุณลักษณะเฉพาะของการอบแห้งแผ่นหัวไชเท้าขาวที่ความหนา 2, 3 และ 4 มิลลิเมตร และอุณหภูมิอากาศในการอบแห้งที่ 60, 70 และ 80 องศาเซลเซียส พบว่าความชื้นลดลงจากผลของระดับความหนาและอุณหภูมิอากาศในการอบแห้งจาก 10.11±0.83 ถึง 0.031±0.0014 กรัมน้ำ กรัม-1น้ำหนักแห้ง โดยใช้เวลาในการอบแห้งประมาณ 95 ถึง 230 นาที ผลของความหนาและอุณหภูมิในการอบแห้งถูกนำมาวิเคราะห์ค่าสัมประสิทธิ์การแพร่ยังผล (Deff) ในการถ่ายเทมวลความชื้นของหัวไชเท้าแผ่น ซึ่งสามารถอธิบายได้จากสมการการแพร่ของฟิค และค่า Deff มีค่าระหว่าง 1.220.001 ×10-10 ถึง 9.730.043 ×10-10 ตารางเมตรต่อวินาที ค่า Deff มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเมื่ออุณหภูมิและระดับความหนาเพิ่มขึ้น ค่าพลังงานกระตุ้น (Ea) ซึ่งได้จากสมการอาร์เรเนียสมีค่าเท่ากับ 53.795.82, 61.91 7.20 และ 66.5111.27 กิโลจูลต่อโมล
คำสำคัญ :
หัวไชเท้า การอบแห้ง ค่าสัมประสิทธิ์การแพร่ยังผล พลังงานกระตุ้น สมการอาร์เรเนียส
กลุ่มบทความ :
บทความการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทั่วไป
หมวดหมู่ :
วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี
สถิติการเข้าถึง :
เปิดอ่าน
2572
ครั้ง | แสดงความคิดเห็น
0
ครั้ง
ผู้เขียน
ฤทธิชัย อัศวราชันย์
วันที่เขียน
12/3/2561 20:23:17
แก้ไขล่าสุดเมื่อ
22/11/2567 7:45:56
Phayao Research Conference 7
»
ค่าการนำไฟฟ้าของน้ำมะเกี๋ยงในระหว่างการให้ความร้อนแบบโอห์มมิค
โครงการวิจัยนี้ ดำเนินการศึกษาการให้น้ำมะเกี๋ยงสกัดสดด้วยการให้ความร้อนระบบด้วยเซลล์โอห์มมิคแบบสถิตย์ ขนาดห้องปฏิบัติการโดยใช้ความเข้มของสนามไฟฟ้า 3 ระดับ (10, 15 และ 20 โวลต์ต่อเซ็นติเมตร) ในช่วงอุณหภูมิ 25 ถึง 95 องศาเซลเซียส จากผลการศึกษาพบว่าค่าการนำไฟฟ้าของน้ำมะม่วงที่ช่วงอุณหภูมิ 30 ถึง 95 องศาเซลเซียส ผลของความเข้มของสนามไฟฟ้าไม่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงต่อสมบัติการนำไฟฟ้าอย่างที่นัยสำคัญ (ระดับความเชื่อมั่น ร้อยละ 95) ค่าการนำไฟฟ้าของน้ำมะเกี๋ยงที่ได้จากการทดลองมีค่าอยู่ระหว่าง 0.1878-0.3677 ซีเมนต์ต่อเมตร เมื่ออุณหภูมิของน้ำมะเกี๋ยงเพิ่มสูงขึ้นส่งผลให้ค่าการนำไฟฟ้ามีค่ามากขึ้นในรูปแบบสมการเชิงเส้น แบบจำลองทางคณิตศาสตร์แสดงบ่งชี้ให้เห็นความสัมพันธ์ของค่าการนำไฟฟ้าและอุณหภูมิ ผลการทำนายค่าการนำไฟฟ้าของแบบจำลองทางคณิตศาสตร์พบว่ามีความแม่นยำในการทำนาย และมีค่าสัมประสิทธิ์การตัดสินใจสูงสุด (R2) เท่ากับ 0.9975 ผลการวิเคราะห์ค่าสัมประสิทธิ์สมรรถนะการเกิดความร้อนด้วยวิธีโอห์มมิคเท่ากับ 70.24 2.91, 79.27 1.41, 74.69 1.71 เปอร์เซ็นต์ ที่ระดับความเข้มสนามไฟฟ้าที่ 10, 15 และ 20 โวลต์ต่อเซ็นติเมตร ตามลำดับ
คำสำคัญ :
น้ำมะเกี๋ยง สมบัติการนำไฟฟ้า การให้ความร้อนแบบโอห์มมิค
กลุ่มบทความ :
บทความการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทั่วไป
หมวดหมู่ :
วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี
สถิติการเข้าถึง :
เปิดอ่าน
2470
ครั้ง | แสดงความคิดเห็น
0
ครั้ง
ผู้เขียน
ฤทธิชัย อัศวราชันย์
วันที่เขียน
12/3/2561 20:19:16
แก้ไขล่าสุดเมื่อ
22/11/2567 7:46:04
Phayao Research Conference 7
»
จลนพลศาสตร์ของสลายของแอนโทไซยานินของน้ำมะเกี๋ยงด้วยการให้ความร้อน
โครงการวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ในการศึกษาผลกระทบของอุณหภูมิต่อการสลายตัวของปริมาณแอนโธไซยานินในน้ำมะเกี๋ยงด้วยการแปรรูปด้วยความร้อนที่อุณหภูมิที่อุณหภูมิ ที่ 75, 85 และ 95 องศาเซลเซียส ตามลำดับ น้ำมะเกี๋ยงที่ผ่านการให้ความร้อนที่อุณหภูมิต่างๆ นำมาวิเคราะห์หาปริมาณแอนโธไซยานินผลการศึกษาพบว่าปริมาณแอนโธไซยานินของน้ำมะเกี๋ยงสกัดมีค่าเท่ากับ 30.180.574 มิลลิกรัมต่อ 100 กรัม และเมื่อนำมาผ่านความร้อนเพื่อการแปรรูปที่ 75, 85 และ 95 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 10 นาที พบว่ามีปริมาณแอนโธไซยานินได้เท่ากับ 27.080.19, 24.234.26 และ 23.560.39 มิลลิกรัมต่อ 100 กรัม ตามลำดับ เมื่ออุณหภูมิสูงขึ้นส่งผลกระทบต่อการสลายปริมาณแอนโธไซยานิน และมีแนวโน้มลดลงอย่างนัยสำคัญ (ที่ระดับความเชื่อมั่นร้อยละ 95) ผลการสลายตัวของปริมาณแอนโธไซยานินที่เวลาใดๆ ในระหว่างการให้ความร้อนที่เวลาใดๆ พบว่าแบบจำลองของจลนพลศาสตร์ปฏิกิริยาอันดับหนึ่งมีความเหมาะสม
คำสำคัญ :
น้ำมะเกี๋ยง แอนโธไซยานิน การให้ความร้อน ผลกระทบของอุณหภุมิ แบบจำลองจลนพลศาสตร์
กลุ่มบทความ :
บทความการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทั่วไป
หมวดหมู่ :
วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี
สถิติการเข้าถึง :
เปิดอ่าน
2943
ครั้ง | แสดงความคิดเห็น
0
ครั้ง
ผู้เขียน
ฤทธิชัย อัศวราชันย์
วันที่เขียน
12/3/2561 20:14:13
แก้ไขล่าสุดเมื่อ
23/11/2567 0:06:24
URL สำหรับอ้างอิงถึงหน้านี้
https://erp.mju.ac.th/blog.aspx?bid=553