|
สรุปประชุมวิชาการจีโนมิกส์และพันธุศาสตร์
»
Application of Molecular markers in plant Breeding
|
จีโนม (Genome) คือ สารพันธุกรรมอันได้แก่ ดีเอ็นเอ หรือโครโมโซม ที่มีทั้งหมดในเซลล์ของสิ่งมีชีวิตหรือข้อมูลทั้งหมดของสิ่งมีชีวิต ดังนั้นการศึกษาทางด้านจีโนมและแหล่งพันธุกรรม เพื่อทำsequence จีโนมของพืช แล้วสร้างแผนที่พันธุกรรมที่จำเป็นต่อการระบุตำแหน่งและทิศทาง
Molecular Markers คือสิ่งบ่งชี้ความหลากหลายของสิ่งมีชีวิตโดยต้องอาศัยวิธีการต่างๆดังนี้คือDNA sequence, Isozyme, Gene mapping ส่วน Marker-assisted breedingอาจนำไปใช้ในด้านPlant variety protection,Genetic diversityและ Purify testing
หลักการจำแนกMarkers
1. DNA Marker typesที่เป็น Non-SNP markers เช่น RFLP,AFLP,RAPD,SSR เป็น
วิธีการนี้ไม่ต้องอาศัย PCR (Polymerase Chain Reaction)
2. SNP (Single Nucleotide Polymorphism)วิธีการนี้ต้องอาศัย PCR
ดังนั้นDNA Markersที่ดีจะต้องมีลักษณะpolymorphism Co-dominance inheritance
ตัวอย่างการนำ Molecular markers ไปประยุกต์
1.การตรวจสอบขั้นตอนที่เรียกว่า Trait Genotyping ตัวอย่างเช่น มีการใช้ SSR (simple sequence repeat) เพื่อจำแนกพันธุ์และกำหนดความสัมพันธ์ทางพันธุกรรมโดยใช้ไพรเมอร์ที่มีบริเวณที่แตกต่างกันอย่างง่ายโยอาศัยหลักการที่ว่าสายพันธุ์ที่มีสัณฐานคล้ายกันมากและมีไอไซม์เหมือนกันสามารถจำแนกด้วยการวิเคราะห์ SSR โดยวิธีนื้เป็นวิธีที่มีคุณภาพในการจำแนกสายพันธุ์หรืออาจมีการทำ genotyping routine crop
2. การตรวจสอบขั้นตอนที่เรียกว่าPurity testingโดยอาจมีการทดสอบ parental lines ,New varietyและF1 hybridsนอกจากนี้ยังสามารถนำไปใช้ทดสอบ Homogeneity testingและ
Hybridity testingโดยต้องดู 4SNP markers 100% และGenotyping data 100%
3.การตรวจสอบขั้นตอนที่เรียกว่าMolecular Plant Pathologyเช่น การแบ่งแยกเชื้อที่ก่อให้เกิดโรคออกเป็นสามกลุ่ม คือ
1.DNA Virus
2.RNA Virus and Viroid
3.Other pathogens
วิธีการเหล่านี้จะทำให้สามารถคัดเลือกพันธุ์ที่ต้านทานโรคและสามารถจำแนกสายพันธ์ที่มีความต้านทานโรค
นอกจากนี้ยังอาจมีการใช้วิธีการ Mapping populationและTrue-to-type analysisเพื่อนำไปใช้ประโยชน์ในกระบวนการปรับปรุงพันธุ์พืชด้วยเคริ่องหมายโมเลกุลร่วมกับการใช้ High-throughput SNPs gene typing (Douglas Scientific) โดยอาศัยหลักการของHomogeneity testing และ Hybridity testingซึ่งจะทำให้สามารถวิเคราะห์ตัวอย่างได้ถึง 120,000 ตัวอย่าง/วัน/คน (หลักการ) ทำให้สามารถลดระยะเวลาในการปรับปรุงพันธุ์
|
คำสำคัญ :
|
กลุ่มบทความ :
กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร
|
หมวดหมู่ :
กลุ่มงานสายวิชาการ
|
สถิติการเข้าถึง :
เปิดอ่าน
3795
ครั้ง | แสดงความคิดเห็น
0
ครั้ง
|
ผู้เขียน
ทุเรียน ทาเจริญ
วันที่เขียน
13/3/2560 9:27:32
แก้ไขล่าสุดเมื่อ
11/11/2567 13:02:38
|
|
|
สรุปประชุมวิชาการจีโนมิกส์และพันธุศาสตร์
»
จีโนมิกส์และพันธุศาสตร์
|
เทคโนโลยีทางด้านจีโนมิกส์และพันธุศาสตร์ มีความก้าวหน้าอย่างรวดเร็ว สามารถจะนำมาใช้ศึกษาวิจัยและประยุกต์ทางการแพทย์ คือ การศึกษาสาเหตุและกลไกของโรคพันธุกรรมและโรคที่มีปัจจัยทางพันธุกรรม การวินิจฉัยและทำนายโรค การพัฒนายาและวิธีรักษาแบบใหม่ โดยต้องมีการนำข้อมูลทางพันธุกรรมและจีโนมมาประกอบในการดูแลและรักษาผู้ป่วย ฯลฯ ซึ่งในอนาคตวิธีการรักษาโรคจะจำเพาะต่อตัวบุคคล และมีความถูกต้องแม่นยำมากขึ้น ตัวอย่างที่สำคัญ 2 ชนิด คือการปรับแต่งจีโนม (GENOME EDITING) เป็นเทคโนโลยีการปรับแต่งจีโนมโดยเปลี่ยนรหัสพันธุกรรมที่ตำแหน่งจำเพาะของสิ่งมีชีวิตให้คงอยู่อย่างถาวร โดยเทคโนโลยีการปรับแต่งจีโนมที่ได้รับการพัฒนาในปัจจุบันส่วนใหญ่ใช้เอนไซม์ที่เรียกว่า programmable nuclease ซึ่งมีหลายชนิด เช่น meganuclease และ CRISPR เป็นต้น ปัจจุบันนักวิทยาศาสตร์สามารถนำไปใช้รักษาโรคที่เกิดจากไวรัสได้ด้วย เช่น HIV, human papilloma virus (HPV), ไวรัสตับอักเสบชนิดบี (hepatitis B virus) เป็นต้น ทำให้เกิดแนวทางการศึกษากลไกการทำงานของยีนกับการเกิดโรคเพื่อนำไปสู่แนวทางในการรักษาคือ การเปลี่ยนลำดับเบสหรือการปรับแต่งจีโนมในเซลล์หรือเนื้อเยื่อที่เกิดโรค โดยเฉพาะโรคที่เกิดจากยีนเดียว (monogenic disease) เช่น โรคฮีโมฟีเลีย (hemophilia) เป็นต้นส่วน การแพทย์แม่นยำ (Precision Medicine) คือ การที่แพทย์ต้องมีความเชี่ยวชาญ และสามารถใช้ข้อมูลจากผลการวิเคราะห์ตัวอย่างจากหลากหลายวิธีจากหลายแหล่ง
ดังนั้นกล่าวโดยสรุปสองหลักการนี้นำมาใช้ในการวิจัยต่าง ๆเป็นอย่างมากอันจะก่อให้เกิดประโยชน์มากมายทางด้านการแพทย์ในปัจจุบันเป็นอย่างมากก่อให้เกิดวิทยาการใหม่ๆมากมายแก่วงการแพทย์เป็นอย่างมากที่สามารถช่วยเหลือคนไข้ให้หายจากโรคและสามารถใช้เป็นแนวทางในการป้องกันการเกิดโรคไดในอนาคต
|
คำสำคัญ :
GENOME EDITING Precision medicine
|
กลุ่มบทความ :
กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร
|
หมวดหมู่ :
กลุ่มงานสายวิชาการ
|
สถิติการเข้าถึง :
เปิดอ่าน
13494
ครั้ง | แสดงความคิดเห็น
0
ครั้ง
|
ผู้เขียน
ทุเรียน ทาเจริญ
วันที่เขียน
22/8/2559 16:07:38
แก้ไขล่าสุดเมื่อ
22/11/2567 4:19:40
|
|
|