22274 : การถ่ายทอดองค์ความรู้การผลิตผักและเห็ดปลอดภัยแบบครบวงจรให้แก่เกษตรกรในชุมชน
ประเภทแผนโครงการ: ในแผนปฏิบัติการประจำปี 2568
รองศาสตราจารย์ ดร.พุฒิสรรค์ เครือคำ (ผู้เพิ่มข้อมูล)
วันที่ปรับปรุงข้อมูล : 7/11/2567 16:07:17
ส่วนที่ 1 ข้อมูลทั่วไป
รูปแบบโครงการ
โครงการภายใน
ประเภทโครงการ
โครงการบริการวิชาการ (เบิกจ่ายจากงบประมาณบริการวิชาการ)
ช่วงเวลาที่ทำโครงการ
06/11/2567  ถึง  30/09/2568
แผนงาน
กลุ่มเป้าหมาย
จำนวนกลุ่มเป้าหมาย  60  คน
รายละเอียด  กลุ่มเกษตรกรที่สนใจปลูกผักและเพาะเห็ดในเขตตำบลเหมืองแก้ว อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่ และตำบลแม่แฝก อำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่
รูปแบบกิจกรรม
ตอนที่ 2 งบประมาณ
ประเภททุนสนับสนุนหมวดค่าใช้จ่ายคำอธิบายปีงบประมาณจำนวนเงิน(บาท)
งบประมาณแผ่นดิน คณะผลิตกรรมการเกษตร หมวดรายจ่าย » งบอุดหนุน งบบริการวิชาการ ปีงบประมาณ 2568 2568 300,000.00
รวมทั้งหมด0.00
ตอนที่ 3 ผู้รับผิดชอบโครงการ
รายชื่อผู้รับผิดชอบสถานะ
รองศาสตราจารย์ ดร. พุฒิสรรค์  เครือคำ
อาจารย์ วินัย  แสงแก้ว
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. สุธีระ  เหิมฮึก
อาจารย์ ดร. แสงเดือน  อินชนบท
นาย ปรีชา  รัตนัง
น.ส. เบ็ญจา  บำรุงเมือง
ตอนที่ 4 ที่ปรึกษาโครงการ
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 5 หน่วยงานที่รับผิดชอบโครงการ
รายชื่อหน่วยงานสถานะ
คณะผลิตกรรมการเกษตร
ตอนที่ 6 นโยบายมหาวิทยาลัย
นโยบาย
นโยบายด้านการพัฒนาเทคโนโลยี นวัตกรรม และองค์ความรู้
ตอนที่ 7 สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัย
ประเด็นยุทธศาสตร์
[ 2568 ] ประเด็นยุทธศาสตร์ 68 MJU 2. การขับเคลื่อนผลการดำเนินงานตามพันธกิจหลัก
เป้าประสงค์ 68 MJU 2.2 สร้างผลงานวิจัย เทคโนโลยีและนวัตกรรม ที่มีการบูรณาการศาสตร์ โดยใช้เกษตรเป็นรากฐาน และได้รับการยอมรับในระดับชาติและนานาชาติ
ตัวชี้วัด 68 MJU 2.2.3 จำนวนครั้งในการนำผลงานวิจัยหรืองานสร้างสรรค์ที่นำไปใช้ประโยชน์
กลยุทธ์ 68 MJU 2.2.3.2 พัฒนาระบบและกลไกในการติดตาม ผลักดัน การจัดทำฐานข้อมูลการนำผลงานวิจัยไปใช้ประโยชน์
ตอนที่ 8 สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์หน่วยงาน
ประเด็นยุทธศาสตร์
[2568] ประเด็นยุทธศาสตร์ 68 AP 2. การขับเคลื่อนผลการดำเนินงานตามพันธกิจหลัก (MOC)
เป้าประสงค์ 68 AP 2.3 ให้บริการวิชาการเพื่อเป็นที่ยอมรับหรือก่อให้เกิดความเปลี่ยนแปลงในสังคม ชุมชน และประเทศ โดยมีศาสตร์ทางด้านการเกษตรเป็นรากฐาน
ตัวชี้วัด 68 AP 2.3.2 ผลกระทบด้านเศรษฐกิจ สังคม และคุณภาพชีวิตของชุมชนจากการบริการวิชาการ
กลยุทธ์ 68 AP 2.3.2.1 ขับเคลื่อนการสำรวจผลกระทบด้านเศรษฐกิจ สังคม และคุณภาพชีวิตของชุมชนเป้าหมายจากการให้บริการวิชาการและประเมินสัมฤทธิ์ผลของโครงการบูรณาการอย่างเป็นรูปธรรม
ตอนที่ 9 หลักการและเหตุผล

นับตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน “ภาคเกษตร” ได้รับการกล่าวขานว่ามีความสำคัญต่อการพัฒนาระบบเศรษฐกิจและสังคมของประเทศไทยมาโดยตลอด โดยเฉพาะการเป็นฐานอาชีพ และเป็นแหล่งรายได้สำหรับการดำเนินวิถีชีวิตของประชาชนในเขตชนบทแต่ละภูมิภาคต่าง ๆ ของประเทศ ทั้งนี้ในอีกมิติหนึ่งภาคการเกษตรยังเป็นที่มาของแรงงานที่ผันตัวเคลื่อนย้ายเข้าสู่เมืองใหญ่เพื่อขับเคลื่อนระบบเศรษฐกิจ-สังคมอีกโครงสร้างหนึ่งคือ “ภาคอุตสาหกรรมและการบริการ” อย่างไรก็ตามนับตั้งแต่ต้นปี 2563 ประเทศไทยได้ประสบปัญหาการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด 19 ซึ่งเป็นวิกฤตการณ์ที่ตอกย้ำปัญหาที่เกษตรกรได้ประสบมาเป็นระยะเวลายาวนาน อาทิ ราคาผลผลิตทางการเกษตรตกต่ำ การขาดแหล่งตลาดที่รับซื้อผลผลิตที่มีความชัดเจน รวมถึงการประสบภัยพิบัติทางธรรมชาติอื่น ๆ เช่น ภัยแล้ง อุทกภัย หรือการระบาดของศัตรู เป็นต้น โดยการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด 19 ดังกล่าวได้กระทบถึงโครงสร้างทางเศรษฐกิจของครัวเรือนเกษตรกรรายย่อยที่ต้องหยุดชะงักชั่วคราวจากมาตรการควบคุมการแพร่ระบาดที่ส่งผลกระทบต่อระบบขนส่ง (โลจิสติกส์) ที่ไม่สามารถทำการได้ และความต้องการผลผลิตทางการเกษตรของตลาดมีการเปลี่ยนแปลงยากที่จะคาดการณ์ ประกอบกับการรายงานของสถาบันวิจัยเศรษฐกิจป๋วย อึ๊งภากรณ์ (2563) ได้แสดงให้เห็นถึงความไม่มั่นคงทางรายได้ของเกษตรกรจากข้อมูลที่บ่งชี้ว่า ร้อยละ 76 ของครัวเรือนเกษตรไทยพึ่งพิงรายได้จากการประกอบอาชีพนอกภาคเกษตร และมีครัวเรือนถึงร้อยละ 62 มีแหล่งรายได้จากการรับจ้างทั่วไปนอกภาคเกษตร ซึ่งอาจนำไปสู่การมีภาระหนี้สินเพิ่มสูงขึ้นของครัวเรือนเกษตรกรจากการขาดความสามารถใชการชำระหนี้ เนื่องจากลดลงของรายได้ทั้งในภาคการเกษตรและนอกภาคการเกษตร และที่สำคัญสภาพปัญหามิได้เกิดเพียงในโครงการภาคการเกษตรเพียงเท่านั้น แต่ยังกระทบกับแรงงานที่เดินทางไปทำงานในเมืองใหญ่ที่ต้องประสบกับปัญหาการพักงาน หรือการเลิกจ้างจากภาคอุสาหกรรมและการบริการต่าง ๆ ที่จำเป็นต้องเดินทางกลับสู่ภูมิลำเนาเดิม แต่ทว่าวิกฤตการณ์ในครั้งนี้กลับลดศักยภาพของภาคการเกษตรในการรองรับการกลับมาของแรงงานดังกล่าว โดยเฉพาะการปัญหาการขาดแคลนน้ำสำหรับการเกษตร การขาดที่ดินทำกินที่ตนเองมีกรรมสิทธิ์ หรือการประสบอุทกภัย หรือราคาผลผลิตที่ลดลงจากการจำกัดการรับซื้อของตลาด การสร้างโอกาสให้แก่ภาคการเกษตรในพื้นที่ชนบทของประเทศไทยที่จะมีแรงงานคุณภาพและอายุน้อยที่พร้อมเป็นกำลังหลักในการทำงานขับเคลื่อนการพัฒนาภาคเกษตรอันเป็นฐานเศรษฐกิจท้องถิ่น และอีกหนึ่งโอกาสคือ การเกิดข้อจำกัดจากวิกฤตการณ์ที่เกิดขึ้นสามารถบีบบังคับให้เกษตรกรได้เรียนรู้ และใช้เทคโนโลยีต่าง ๆ มาปรับใช้เพื่อยกระดับการผลิต สร้างคุณค่า ตลอดจนการเข้าถึงตลาดของเกษตรกร ทั้งนี้ยังเป็นการเปิดโอกาสให้หน่วยงาน หรือสถาบันทั้งภาครัฐและเอกชนตั้งแต่ในประเทศ ภูมิภาค และท้องถิ่นได้เข้ามามีบทบาทมากขึ้นในการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นกับภาคการเกษตร หรือชุมชนที่มีการเกษตรเป็นรากฐานให้เกิดความเข้มแข็งขึ้น (สถาบันวิจัยเศรษฐกิจป๋วย อึ๊งภากรณ์, 2563) มหาวิทยาลัยแม่โจ้ เป็นมหาวิทยาลัยหรือสถาบันทางการศึกษาที่มีปรัชญาคือ “การมุ่งมั่นพัฒนาบัณฑิตสู่ความเป็นผู้อุดมด้วยปัญญา อดทน สู้งาน เป็นผู้มีคุณธรรมและจริยธรรม เพื่อความเจริญรุ่งเรืองวัฒนาของสังคมไทยที่มีการเกษตรเป็นรากฐาน” โดยมีหนึ่งพันธกิจที่สำคัญในการสร้างและพัฒนานวัตกรรมและองค์ความรู้ในสาขาวิชาต่าง ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งทางการเกษตร และวิทยาศาสตร์ประยุกต์เพื่อการเรียนรู้และถ่ายทอดเทคโนโลยีแก่สังคม” ซึ่งมีคณะผลิตกรรมการเกษตรเป็นหนึ่งในหน่วยงานหนึ่งที่สนับสนุน และขับเคลื่อนวิสัยทัศน์และพันธกิจดังกล่าวให้บรรลุผลสำเร็จภายใต้การดำเนินการของงานบริการวิชาการที่เป็นตัวกลางในการประสานงานทางวิชาการของบุคลากรของแต่ละหลักสูตรภายใต้คณะฯ เพื่อถ่ายทอดนวัตกรรมและเทคโนโลยีการเกษตรสู่การพัฒนาชุมชน และสร้างความร่วมมือในการพัฒนาทักษะอาชีพแก่ประชาชน โดยใช้นวัตกรรมและเทคโนโลยีด้านการเกษตรเป็นฐาน เพื่อนำไปสู่การได้มาซึ่งผลผลิตทางการเกษตร หรือผลิตภัณฑ์ของชุมชน โดยในปัจจุบันคณะผลิตกรรมการเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ได้กำหนดให้พื้นที่ตำบลแม่แฝก อำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่ และตำบลเหมืองแก้ว อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่ เป็นพื้นที่เป้าหมายในการบริการวิชาการ และเป็นหนึ่งในพื้นที่ที่ประสบวิกฤตการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด 19 เช่น รายได้จากการจำหน่ายผลผลิตทางการเกษตรลดลง ปริมาณการรับซื้อผลผลิตทางการเกษตรมีปริมาณลดลง ประชาชนบางส่วนทยอยกลับเข้ามาพักอาศัยในชุมชนจากการประสบปัญหาการว่างงาน หรือการพักงานชั่วคราว เป็นต้น ตลอดจนปัญหาทางสังคมอื่น ๆ โดยเฉพาะปัญหาการเข้าสู่วัยผู้สูงอายุ หรือการขยายตัวของเมืองที่กระทบต่อวิถีชีวิตเกษตรกรรมอันเป็นอาชีพเดิมของประชาชนโดยส่วนใหญ่ ซึ่งจากสภาพปัญหาที่เกิดขึ้นการเสริมวิทยาการความรู้ทางการเกษตรบนฐานทักษะเดิมแก่เกษตรกร การถ่ายทอดเทคโนโลยีเพื่อการพัฒนาทักษะอาชีพด้านการเกษตรแก่ประชาชนที่กลับเข้ามายังชุมชน หรือประชาชนผู้สูงวัยถือเป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่งสำหรับการสร้างคุณภาพชีวิต การฟื้นคืนกลับสู่สภาพเดิมมั่นคง ภายใต้การดำเนินโครงการชื่อว่า “โครงการถ่ายทอดองค์ความรู้การผลิตผักและเห็ดปลอดภัยแบบครบวงจรให้แก่เกษตรกรในชุมชน” ที่งมุ่งเน้นในการถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตรภายใต้คณะผลิตกรรมการเกษตร โดยโครงการนี้สามารถสร้างผลลัพธ์ให้ประชาชนเกิดความพอประมาณในดำเนินชีวิตได้อย่างพอดีจากมีการใช้จ่ายตามกำลังและความสามารถจากความรู้ทางการเกษตรที่ตนเองได้รับ บนฐานของการได้รับความรู้ด้านการเกษตรที่ถูกต้องตามหลักวิชาการ และการถ่ายทอดโดยมุ่งเน้นประชาชนเป็นศูนย์กลางตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง และสอดคล้องกับโครงการพระราชดำริด้านการพัฒนาการเกษตร ตลอดจนยังเป็นไปตามเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนขององค์การสหประชาชาติในเป้าหมายที่ 2 ยุติความหิวโหย บรรลุความมั่นคงทางอาหารและยกระดับโภชนาการ และส่งเสริมเกษตร กรรมที่ยั่งยืน ตามเป้าประสงค์ที่ 2.3 การเพิ่มผลิตภาพทางการเกษตรและรายได้ของผู้ผลิตอาหารรายเล็ก รวมถึงการเข้าถึงที่ดิน ทรัพยากร และปัจจัยในการผลิต ความรู้ บริการทางการเงิน ตลาด และโอกาสสำหรับการเพิ่มมูลค่าและการจ้างงานนอกภาคการเกษตรอย่างปลอดภัยและเท่าเทียม

ตอนที่ 10 วัตถุประสงค์
วัตุประสงค์
เพื่อถ่ายทอดองค์ความรู้การผลิตผักและเห็ดปลอดภัยแบบครบวงจรให้แก่เกษตรกรในชุมชน
เพื่อให้เกษตรกรในชุมชนผลิตและบริโภคพืชผักแบบปลอดภัย
ตอนที่ 11 ผลผลิตของโครงการและตัวชี้วัด
ผลผลิต : กิจกรรมฝึกอบรมถ่ายทอดองค์ความรู้การผลิตผักและเห็ดปลอดภัยแบบครบวงจร และติดตามประเมินผล
KPI 1 : จำนวนผู้รับบริการ
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
30 30 คน 60
KPI 2 : ร้อยละความพึงพอใจของผู้รับบริการในกระบวนการให้บริการ
ประเภท : เชิงคุณภาพ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
80 ร้อยละ 80
KPI 3 : ร้อยละของโครงการที่แล้วเสร็จตามระยะเวลาที่กำหนด
ประเภท : เชิงเวลา
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
100 ร้อยละ 100
KPI 4 : จำนวนเครือข่ายการตลาดสินค้าเกษตร
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
2 เครือข่าย 2
KPI 5 : ร้อยละของผู้เข้าร่วมโครงการลดการใช้สารเคมีในการผลิตพืชผัก
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
80 ร้อยละ 80
KPI 6 : บูรณาการเรียนการสอน วิจัย และบริการวิชาการแก่ชุมชนและสังคม
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
4 รายวิชา 4
KPI 7 : จำนวนผลผลิตที่เกิดจากการดำเนินโครงการ
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
2 ชนิด 2
KPI 8 : ร้อยละของผู้รับบริการที่มีความรู้เพิ่มขึ้นจากการเข้ารับบริการ
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
70 ร้อยละ 70
KPI 9 : ร้อยละของผู้เข้าร่วมโครงการผลิตพืชผักแบบปลอดภัยช่วยลดค่าใช้จ่าย และเพิ่มรายได้ให้กับครอบครัว
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
80 ร้อยละ 80
KPI 10 : ร้อยละของโครงการที่บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ
ประเภท : เชิงคุณภาพ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
100 ร้อยละ 100
KPI 11 : ค่าใช้จ่ายของการให้บริการวิชาการตามงบประมาณที่ได้รับจัดสรร
ประเภท : เชิงต้นทุน
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
0.3 ล้านบาท 0.3
KPI 12 : จำนวนองค์ความรู้ที่ได้รับจากการดำเนินโครงการ
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
2 เรื่อง 2
 
ตอนที่ 12 ผลผลิตของโครงการและค่าใช้จ่าย
ผลผลิต : กิจกรรมฝึกอบรมถ่ายทอดองค์ความรู้การผลิตผักและเห็ดปลอดภัยแบบครบวงจร และติดตามประเมินผล
ชื่อกิจกรรม :
การบริหารจัดการโครงการและการติดตามประเมินผล

ช่วงเวลาดำเนินกิจกรรม : 01/01/2568 - 30/09/2568
รายชื่อผู้รับผิดชอบ
รองศาสตราจารย์ ดร.พุฒิสรรค์  เครือคำ (ผู้รับผิดชอบหลัก)
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สุธีระ  เหิมฮึก (ผู้รับผิดชอบรอง)
น.ส.เบ็ญจา  บำรุงเมือง (ผู้รับผิดชอบรอง)
น.ส.นวลทิพย์  ชัยลิ้นฟ้า (ผู้รับผิดชอบรอง)
นางอภิชนา  วงศ์วารเตชะ (ผู้รับผิดชอบรอง)
งบประมาณดำเนินการ
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
ค่าจ้างเหมาเก็บข้อมูล วิเคราะห์ และประเมินผลโครงการ จำนวน 1 งาน
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 15,000.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 15,000.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าวัสดุ
วัสดุคอมพิวเตอร์ เช่น หมึกพิมพ์ เป็นต้น
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 14,600.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 14,600.00 บาท
รวมจำนวนเงินทั้งหมด 29600.00
ชื่อกิจกรรม :
ฝึกอบรมการปลูกผักปลอดภัยแบบครบวงจร

ช่วงเวลาดำเนินกิจกรรม : 01/01/2568 - 30/09/2568
รายชื่อผู้รับผิดชอบ
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สุธีระ  เหิมฮึก (ผู้รับผิดชอบหลัก)
น.ส.เบ็ญจา  บำรุงเมือง (ผู้รับผิดชอบรอง)
อาจารย์ ดร.แสงเดือน  อินชนบท (ผู้รับผิดชอบรอง)
น.ส.นวลทิพย์  ชัยลิ้นฟ้า (ผู้รับผิดชอบรอง)
นางอภิชนา  วงศ์วารเตชะ (ผู้รับผิดชอบรอง)
งบประมาณดำเนินการ
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
ค่าอาหารกลางวัน (ผู้เข้าร่วมอบรม) จำนวน 30 คนๆ ละ 150 บาท 1 มื้อ 4 ครั้ง
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 18,000.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 18,000.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม (ผู้เข้าร่วมอบรม)จำนวน 30 คนๆ ละ 50 บาท 2 มื้อ 4 ครั้ง
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 12,000.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 12,000.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าตอบแทน
ค่าตอบแทนวิทยากร (บุคลากรของรัฐ) ภาคปฏิบัติ จำนวน 6 ชั่วโมง ๆ ละ 800 บาท 1 คน 4 ครั้ง
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 19,200.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 19,200.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าวัสดุ
วัสดุสำนักงาน เช่น ปากกา แฟ้ม เอกสารประกอบการอบรม เป็นต้น
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 15,000.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 15,000.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าวัสดุ
วัสดุเกษตร เช่น ปุ๋ย ดินปลูก ต้นกล้า เมล็ดพันธุ์ ถุงเพาะ เทป มีดตัด เป็นต้น
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 56,000.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 56,000.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าวัสดุ
วัสดุงานบ้านงานครัว เช่น กล่องพลาสติก กะละมัง ถังพลาสติก เป็นต้น
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 15,000.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 15,000.00 บาท
รวมจำนวนเงินทั้งหมด 135200.00
ชื่อกิจกรรม :
ฝึกอบรมการผลิตเห็ดเศรษฐกิจ

ช่วงเวลาดำเนินกิจกรรม : 01/01/2568 - 30/09/2568
รายชื่อผู้รับผิดชอบ
น.ส.เบ็ญจา  บำรุงเมือง (ผู้รับผิดชอบหลัก)
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สุธีระ  เหิมฮึก (ผู้รับผิดชอบรอง)
นายปรีชา  รัตนัง (ผู้รับผิดชอบรอง)
น.ส.นวลทิพย์  ชัยลิ้นฟ้า (ผู้รับผิดชอบรอง)
นางอภิชนา  วงศ์วารเตชะ (ผู้รับผิดชอบรอง)
งบประมาณดำเนินการ
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
ค่าอาหารกลางวัน (ผู้เข้าร่วมอบรม) จำนวน 30 คนๆ ละ 150 บาท 1 มื้อ 4 ครั้ง
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 18,000.00 บาท 0.00 บาท 18,000.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม (ผู้เข้าร่วมอบรม) จำนวน 30 คนๆ ละ 50 บาท 2 มื้อ 4 ครั้ง
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 12,000.00 บาท 0.00 บาท 12,000.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าตอบแทน
ค่าตอบแทนวิทยากร (บุคลากรของรัฐ) ภาคบรรยาย จำนวน 6 ชั่วโมง ๆ ละ 800 บาท 1 คน 4 ครั้ง
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 19,200.00 บาท 0.00 บาท 19,200.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าวัสดุ
วัสดุสำนักงาน เช่น ปากกา สมุดบันทึก เอกสารประกอบการอบรม เป็นต้น
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 15,000.00 บาท 0.00 บาท 15,000.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าวัสดุ
วัสดุเกษตร เช่น ขี้เลื่อย แกลบ ถุงพลาสติก เป็นต้น
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 56,000.00 บาท 0.00 บาท 56,000.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าวัสดุ
วัสดุงานบ้านงานครัว เช่น ตะกร้า กล่องพลาสติก เป็นต้น
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 15,000.00 บาท 0.00 บาท 15,000.00 บาท
รวมจำนวนเงินทั้งหมด 135200.00
 
ตอนที่ 13 ปัญหาและอุปสรรค
ปัญหาและอุปสรรค
ช่วงเวลาการจัดกิจกรรมอาจตรงกับช่วงฤดูกาลเพาะปลูกหรือการเก็บเกี่ยวของประชาชนที่ประกอบอาชีพเกษตรกรรม ซึ่งอาจส่งผลให้มีผู้เข้าร่วมกิจกรรมน้อยน้อย
งบประมาณที่ได้รับอาจไม่ตรงตามแผนการดำเนินงาน
ตอนที่ 14 แนวทางการแก้ไขปัญหาและอุปสรรค
แนวทางการแก้ปัญหาและอุปสรรค
มีการนัดหมายในช่วงเวลาที่เหมาะสมและอาศัยผู้นำท้องถิ่นในการประสานงานและประชาสัมพันธ์โครงการ
ต้องปรับแผนการดำเนินงานให้สอดคล้องกับงบประมาณที่ได้รับ
ตอนที่ 15 เอกสารประกอบ
ตอนที่ 16 การบูรณาการ
การเรียนการสอน
ไม่มีข้อมูล
งานทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม
ไม่มีข้อมูล
งานวิจัย
ไม่มีข้อมูล
อื่นๆ
ไม่มีข้อมูล