1.การคัดเลือกเครื่องหมายดีเอ็นเอชนิด SSR ที่ยึดติดกับยีน OsB1 และ OsB2 ที่ควบคุมการสังเคราะห์แอนโทไซยานินในเยื่อหุ้มเมล็ด (ช่อทิพาและคณะ,2564)จากการศึกษาและคัดเลือกเครื่องหมาย ดีเอ็นเอชนิด SSR ที่ยึดติดกับยีนควบคุมการสังเคราะห์แอนโทไซยานินบริเวณเยื่อหุ้มเมล็ดข้าว คือ ยีน OsB1 และ OsB2 จากการสืบค้นตำแหน่งของยีนในฐานข้อมูล GenBank พบว่า ยีน OsB1 อยู่ตำแหน่งที่ 27,948,854 ถึง 27,956,850 คู่เบส ติดกับยีน OsB2 ซึ่งอยู่ที่ตำแหน่ง 27,916,190 ถึง 27,916,850 คู่เบส บนโครโมโซมที่ 4 จากนั้นคัดเลือกเครื่องหมายดีเอ็นเอชนิด SSR ที่ยึดติดกับยีน OsB1 และ OsB2 จากฐานข้อมูล Gramene ได้ 22 เครื่องหมาย ที่ขนาบทั้ง 2 ด้าน ของยีน พร้อมทั้งทำการตรวจสอบเครื่องหมายดีเอ็นเอในข้าวพันธุ์ต่าง ๆ ด้วยเทคนิคพีซีอาร์ พบ 10 เครื่องหมาย ที่ให้แถบดีเอ็นเอ แบบโพลีมอร์ฟิคซึ่งสามารถแยกความแตกต่างระหว่างข้าวที่มีเยื่อหุ้มเมล็ดสีขาวและดำ โดยเครื่องหมายดีเอ็นเอชนิด SSR ที่ได้จะพัฒนาและนำไปใช้ตรวจสอบลูกผสมระหว่างข้าวที่มีเยื่อหุ้มเมล็ดสีขาวและดำ ในระยะต้นกล้าในการปรับปรุงพันธุ์ข้าวโดยวิธีผสมกลับเพื่อช่วยให้การปรับปรุงพันธุ์ข้าวมีความแม่นยำและรวดเร็ว
2.การทดสอบผลผลิตของสายพันธุ์ข้าวสังข์หยดพัทลุง ที่ไม่ไวต่อช่วงแสง ต้นเตี้ย ข้าวเจ้า และข้าวเหนียว มีกลิ่นหอม สีแดง มีคุณค่าทางโภชนาการสูง(วราภรณ์ แสงทองและคณะ,2564)พันธุ์ข้าวสังข์หยดพัทลุงสินค้าบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์(Geographic Indication: GI)) เป็นข้าวที่มีคุณค่าทางอาหารสูง เหมาะกับผู้ป่วยโรคเบาหวาน เพราะมีค่าดัชนีน้ำตาล (Glycemic index : GI) ต่ำจากประโยชน์ด้านคุณค่าทางโภชนาการของข้าวสังข์หยดพัทลุงทำให้คณะผู้วิจัยได้เล็งเห็นถึงความสำคัญของพันธุ์ข้าวนี้แต่เนื่องจากข้าวสังข์หยดพัทลุงเป็นข้าวไวต่อช่วงแสงจึงปลูกได้เฉพาะฤดูนาปีเท่านั้น และเป็นข้าวต้นสูงหักล้มง่ายทำให้ผลผลิตลดลง จึงได้นำข้าวสังข์หยดพัทลุงมาปรับปรุงพันธุ์ให้ไม่ไวต่อช่วงแสงสามารถปลูกได้ทุกฤดูต้นเตี้ยเพื่อป้องกันการหักล้ม ที่มีกลิ่นหอม มีสีแดงและยังมีคุณค่าทางโภชนาการสูง โดยงานวิจัยนี้ปลูกเปรียบเทียบผลผลิตและศึกษาลักษณะทางการเกษตรที่สำคัญของสายพันธุ์ข้าวสังข์หยดพัทลุง ที่ไม่ไวต่อช่วงแสงต้นเตี้ย เป็นข้าวเจ้า/ข้าวเหนียว ที่มีกลิ่นหอม มีสีแดง จำนวน 10 สายพันธุ์ ที่ได้จาการปรับปรุงพันธุ์ในฤดูนาปี 2562ในแปลงนาอินทรีย์เพื่อศึกษาศักยภาพของสายพันธุ์ข้าวที่ได้จากการปรับปรุงพันธุ์เมื่อปลูกในระบบอินทรีย์ได้ปลูกเปรียบเทียบผลผลิตของสายพันธุ์สังข์หยดพัทลุงที่ได้จากการปรับปรุงพันธุ์ โดยทำการปลูกทดสอบในฤดูนาปี 2562 ในแปลงนาทดลองอินทรีย์ ที่มหาวิทยาลัยแม่โจ้ จังหวัดเชียงใหม่ สายพันธุ์ข้าวสังข์หยดพัทลุง ที่ไม่ไวต่อช่วงแสง ต้นเตี้ย เป็นข้าวเจ้า/ข้าวเหนียว ที่มีกลิ่นหอม มีสีแดง จำนวน 10 สายพันธุ์ และพันธุ์เปรียบเทียบจำนวน 3 พันธุ์ คือ สังหยดพัทลุง ทับทิมชุมแพ และ กข-แม่โจ้ 2 ผลการทดลองพบว่าผลผลิตของสายพันธุ์ข้าวสังข์หยดพัทลุง ที่ไม่ไวต่อช่วงแสง ต้นเตี้ย เป็นข้าวเจ้า/ข้าวเหนียว ที่มีกลิ่นหอม มีสีแดง จำนวน 4 สายพันธุ์สูงกว่าของพันธุ์สังหยดพัทลุง และผลผลิตของข้าว 7 สายพันธุ์สูงกว่าของพันธุ์ทับทิมชุมแพ อายุวันออกดอกของข้าวทั้ง 10 สายพันธุ์สั้นกว่าของพันธุ์สังหยดพัทลุงและอายุวันออกดอกของข้าว 6 สายพันธุ์ สั้นกว่าของพันธุ์ทับทิมชุมแพ นอกจากนี้ความสูงต้นของข้าวทั้ง 10 สายพันธุ์ เตี้ยกว่าของพันธุ์สังหยดพัทลุง และความสูงต้นของข้าวทั้ง 10 สายพันธุ์ ไม่แตกต่างจากของพันธุ์ทับทิมชุมแพสายพันธุ์ข้าวเหล่านี้จะถูกคัดเลือกไปปลูกทดสอบในแปลงเกษตรกรต่อไป
3.การทดสอบพันธุ์ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ลูกผสมดีเด่นในไร่เกษตรกรที่เหมาะสมกับพื้นที่ จังหวัดภาคเหนือตอนบนเชียงราย พะเยา แพร่ และลำปาง (ธนพล และคณะ,2564) การทดสอบพันธุ์ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ลูกผสมดีเด่นระดับแปลงเกษตรกรในฤดูแล้ง ปี 2563 จากโครงการปรับปรุง พันธุ์ข้าวโพดมหาวิทยาลัยพะเยาร่วมกับพันธุ์เปรียบเทียบในพื้นที่จังหวัดเชียงราย พะเยา แพร่ และลำปาง จังหวัดละ 6 แหล่งปลูก รวม 24 แหล่งปลูก วางแผนการทดลองแบบสุ่มบล็อกสมบูรณ์ จำนวน 2 ซ้ำ 17 พันธุ์ เพื่อทดสอบพันธุ์ที่ให้ ผลผลิต และมีลักษณะทางการเกษตรที่ดีเหมาะสมกับจังหวัดภาคเหนือตอนบน พบว่าพันธุ์ที่ให้ผลผลิตสูงที่สุด 5 อันดับ แรก คือ UPFC205, UPFC269, UPFC155, UPFC242 และ UPFC319 มีค่าเท่ากับ 1,541, 1,514, 1,506, 1,483 และ 1,439 กก./ไร่ ตามลำดับ ขณะที่พันธุ์เปรียบเทียบ ได้แก่ พันธุ์ PAC339 CP639 DK9979C PAC789 และ NS5 มีค่า เท่ากับ 1,590, 1,589, 1,554, 1,532 และ 1,396 กก./ไร่ตามลำดับ ขณะที่เปอร์เซ็นต์การกะเทาะที่ดีที่สุด 5 อันดับแรก คือ UPFC319, UPFC205, UPFC242, UPFC269 และ UPFC227 มีเปอร์เซ็นต์การกะเทาะเท่ากับ 82, 81, 78, 77 และ 77 เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับ ในส่วนของพันธุ์เปรียบเทียบ ได้แก่ DK9979C, PAC789, NK6253, PAC339 และ P4546 มี เปอร์เซ็นต์การกะเทาะเท่ากับ 83, 82, 81, 80 และ 80 เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับ โดยคัดเลือกพันธุ์ที่มีศักยภาพทาง การเกษตรให้เหลือ1-2 พันธุ์ คือ UPFC269 และUPFC242 เพื่อทำการปลูกแปลงสาธิต และปลูกทดสอบเพื่อขอการขึ้น ทะเบียนคุ้มครองพันธุ์พืชต่อไป
สรุปจากงานทดลองทั้งสามเรื่องจะสามารถเห็นได้ว่าลักษณะเชิงปริมาณจะถูกควบคุมด้วยพันธุกรรมและสิ่งแวดล้อมร่วมกันสามารถจะนำไปต่อยอดทางด้านการปรับปรุงพันธุ์ร่วมกับความรู้ทางด้านพันธุศาสตร์โมเลกุลเพื่อช่วยทำให้การคัดเลือกพันธุ์มีความแม่นยำและย่นระยะเวลาการปรับปรุงพันธุ์ได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด โดยการทดลองที่รวบรวมมาเป็นตัวอย่างผลงานที่เกี่ยวข้องกับข้าวและข้าวโพดที่เป็นพืชเศรษฐกิจที่สำคัญของประเทศ โดยจากผลงานต่าง ๆ อาจจะมีการทดสอบเพื่อขอการขึ้น ทะเบียนคุ้มครองพันธุ์พืชต่อไปพันธุ์ข้าวเหล่านี้จะถูกคัดเลือกไปปลูกทดสอบในแปลงเกษตรกรต่อไปนอกจากนี้เครื่องหมายดีเอ็นเอชนิด SSR ที่ได้จะพัฒนาและนำไปใช้ตรวจสอบลูกผสมระหว่างข้าวที่มีเยื่อหุ้มเมล็ดสีขาวและดำ ในระยะต้นกล้าในการปรับปรุงพันธุ์ข้าวโดยวิธีผสมกลับเพื่อช่วยให้การปรับปรุงพันธุ์ข้าวมีความแม่นยำและรวดเร็ว
|