Blog : รายงานสรุปเนื้อหาและการนำไปใช้ประโยชน์จากการประชุมวิชาการ ในการประชุมใหญ่โครงการส่งเสริมการวิจัยในอุดมศึกษา ครั้งที่ 5 The 5th Higher Education Research Promotion Congress (HERP CONGRESS V) ในระหว่า
รหัสอ้างอิง : 210
ชื่อสมาชิก : เกรียงไกร ราชกิจ
เพศ : ชาย
อีเมล์ : kreangkri@mju.ac.th
ประเภทสมาชิก : บุคลากรภายใน [สังกัด]
ลงทะเบียนเมื่อ : 8/2/2554 16:55:41
แก้ไขล่าสุดเมื่อ : 8/2/2554 16:55:41

รายการบทความการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทั้งหมดของ Blog : รายงานสรุปเนื้อหาและการนำไปใช้ประโยชน์จากการประชุมวิชาการ ในการประชุมใหญ่โครงการส่งเสริมการวิจัยในอุดมศึกษา ครั้งที่ 5 The 5th Higher Education Research Promotion Congress (HERP CONGRESS V) ในระหว่า
ข้าพเจ้า นายเกรียงไกร ราชกิจ ตำแหน่ง ผู้ช่วยศาสตราจารย์ สังกัด สาขาวิชาคณิตศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ ขอนำเสนอรายงานสรุปเนื้อหาและการนำไปใช้ประโยชน์จากการประชุมวิชาการ ในการประชุมใหญ่โครงการส่งเสริมการวิจัยในอุดมศึกษา ครั้งที่ 5 The 5th Higher Education Research Promotion Congress (HERP CONGRESS V) ในระหว่างวันที่ 2 มีนาคม – 4 มีนาคม 2560 ณ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี จังหวัดอุดรธานี ในหัวข้อ เสถียรภาพและการทำให้เสถียรแบบเลขชี้กำลังของระบบไฮบริดจ์แบบใหม่ กระบวนการต่างๆในทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มักมีกระบวนการย่อยๆมากมายซึ่งกระบวนการย่อยๆเหล่านั้นไม่ได้เกิดขึ้นพร้อมๆกันเสมอไป นั่นคือ มีบางเวลาที่กระบวนการย่อยหนึ่งทำงาน ส่วนกระบวนการ ย่อยอื่นๆที่เหลือหยุดทำงาน แต่พอถึงเวลาหนึ่งกระบวนการที่ทำงานอยู่ก็จะหยุดและส่งผลให้กระบวนการย่อยอื่นทำงานต่อสลับกันไปเรื่อยๆ เช่น ระบบอัตโนมัติในยานยนต์ ระบบจราจร ระบบเครื่องจักรกล ฯลฯ ซึ่งระบบดังกล่าวเหล่านี้สามารถอธิบายได้ด้วยระบบสลับ (Switched system) ระบบสลับเป็นระบบที่อธิบายในรูปของสมการอนุพันธ์ที่ประกอบด้วยระบบสมการย่อยๆหลายระบบและมีจำนวนระบบที่จำกัด โดยมีกฎการสลับ (Switching law) ซึ่งจะเป็นตัวกำหนดว่า ระบบใดจะทำงานและระบบใดจะหยุดทำงาน ภายใต้ข้อกำหนดที่ว่า ถ้าระบบหนึ่งทำงานแล้วระบบอื่นๆที่เหลือจะต้องหยุดทำงาน ซึ่งในการศึกษาระบบสลับนั้นมีจุดเด่นที่สำคัญนั่นคือ การหากฎการสลับ เพื่อทำให้ระบบสลับนั้นเสถียร ได้ศึกษาเสถียรภาพทนทานแบบเลขชี้กำลัง สำหรับคลาสของระบบสลับเชิงเส้นที่มีตัวหน่วงขึ้น อยู่กับเวลา ซึ่งระบบที่ศึกษาเกี่ยวกับพารามิเตอร์ที่ไม่ทราบค่าแน่นอนและตัวหน่วงแปรผันตามเวลา ได้ศึกษาเสถียรภาพเชิงเส้นกำกับของระบบสลับที่มีตัวหน่วงเป็นค่าคงที่ ได้ศึกษาเสถียรภาพเชิงเส้นกำกับของระบบสลับที่มีตัวหน่วงแปรผันตามเวลา และ ได้ศึกษาเสถียรภาพเชิงเส้นกำกับของระบบสลับไม่ต่อเนื่องที่มีตัวหน่วงแปรผันตามเวลา ในที่นี้ ได้สร้างเงือนไขสำหรับตัวหน่วงที่ขึ้นกับเวลาและในการศึกษาเสถียรภาพแบบเลขชี้กำลัง โดยอาศัยฟังก์ชัน ไลปูนอฟ – คราฟซอฟกี ซึ่งเงือนไข ถูกเสนอในเทอมของผลเฉลยของสมการริคคาติ และได้ออกแบบกฎการสลับ โดยใช้การพิจารณาเรขาคณิต และได้คำนวณขอบเขตของผลเฉลยในเสถียรภาพแบบเลขชี้กำลังที่มีอัตราการลู่เข้า และได้ศึกษาเงื่อนไขสำหรับการทำให้เสถียรสำหรับระบบสลับเชิงเส้นที่มีตัวพารามิเตอร์ไม่ทราบค่าแน่นอน อีกทั้งมีตัวหน่วงที่แปรผันตามเวลา และมีตัวควบคุมด้วย ซึ่งในที่นี้ได้รับเงื่อนไขเพียงพอ สำหรับการทำให้เสถียรของระบบสลับด้วย ได้นำเสนอการออกแบบกฎการสลับ สำหรับเสถียรภาพและการทำให้เสถียรแบบเลขชี้กำลัง ของระบบสลับเชิงเส้นที่มีตัวหน่วงและพารามิเตอร์ที่ไม่ทราบค่าแน่นอน และได้เงื่อนไขของเสถียรภาพ ซึ่งได้แสดงในเทอมของผลเฉลยของสมการริคคาติ อีกทั้งได้ค่าขอบเขตของผลเฉลยที่มีอัตราการลู่เข้าแบบเลขชี้กำลัง
รายงานสรุปเนื้อหาและการนำไปใช้ประโยชน์จากการประชุมวิชาการ ในการประชุมใหญ่โครงการส่งเสริมการวิจัยในอุดมศึกษา ครั้งที่ 5 The 5th Higher Education Research Promotion Congress (HERP CONGRESS V) ในระหว่า » รายงานสรุปเนื้อหาและการนำไปใช้ประโยชน์จากการประชุมวิชาการ ในการประชุมใหญ่โครงการส่งเสริมการวิจัยในอุดมศึกษา ครั้งที่ 5 The 5th Higher Education Research Promotion Congress (HERP CONGRESS V) ในระหว่า
ในบทความนี้ได้ศึกษาเสถียรภาพและการทำให้เสถียรแบบเลขชี้กำลังของระบบพลวัตเชิงเส้นสลับที่มีตัวหน่วงแปรผันตามเวลา และมีพารามิเตอร์ไม่ทราบค่าที่แปรผันตามเวลา แต่นอร์มของพารามิเตอร์มีขอบเขต โดยใช้ฟังก์ชัน ไลปูนอฟ-คราซอฟกี และ กฎการสลับสำหรับเสถียรภาพและการทำให้เสถียรแบบชี้กำลัง ซึ่งอยู่ในรูปของ ผลเฉลยของสมการริคคาติ ซึ่งเป็นวิธีที่จะทำให้ได้ขอบเขตของผลเฉลยที่มีอัตราการลู่เข้าแบบเลขชี้กำลัง และได้แสดงตัวอย่างสำหรับอธิบายถึงผลที่ได้รับ
คำสำคัญ : การทำให้เสถียร  ระบบพลวัตเชิงเส้นสลับที่มีตัวหน่วงและมีพารามิเตอร์ไม่ทราบค่าแน่นอน  เสถียรภาพ  
กลุ่มบทความ : กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร
หมวดหมู่ : กลุ่มงานสายวิชาการ
สถิติการเข้าถึง : เปิดอ่าน 2542  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
ผู้เขียน เกรียงไกร ราชกิจ  วันที่เขียน 13/3/2560 16:05:39  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 22/11/2567 4:53:46

URL สำหรับอ้างอิงถึงหน้านี้