รหัสอ้างอิง :
616
|
|
ชื่อสมาชิก :
รุ่งทิพย์ กาวารี
|
เพศ :
หญิง
|
อีเมล์ :
rungthip-k@mju.ac.th
|
ประเภทสมาชิก :
บุคลากรภายใน [สังกัด]
|
ลงทะเบียนเมื่อ :
2/11/2554 14:21:47
|
แก้ไขล่าสุดเมื่อ :
2/11/2554 14:21:47
|
|
รายการบทความการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทั้งหมดของ Blog : การเข้าร่วมประชุมวิชาการ
จากการเข้าร่วมประชุมวิชาการ ประจำปี 2558 ระหว่างวันที่ 8-9 ธันวาคม 2558 ณ ศูนย์การศึกษาและฝึกอบรมนานาชาติ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ขอนำเสนอสรุปเนื้อหาและการนำไปใช้ประโยชน์ของการเข้าร่วมประชุมวิชาการดังต่อไปนี้
- การเสวนาวิชาการ ในหัวข้อเรื่อง “การเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ: วิกฤตหรือโอกาสเกษตรไทย (Climate Change: Crisis or Chance of Thai – Agriculture)” โดยมีวิทยากรผู้มีความรู้ชำนาญในด้านต่างๆ อาทิ รศ.สมพร อิศวิลานนท์, ดร.มนตรี คงตระกูลเทียน และ ดร.สมชาย บุญประดับ ซึ่งในการเสวนาครั้งนี้ได้กล่าวถึงภาวะโลกร้อน ที่เกิดจากมีแก๊สเพิ่มขึ้น เกิดเป็น greenhouse effect คือมีสภาพภูมิอากาศปัจจุบันที่มีอุณหภูมิของโลกเริ่มสูงขึ้น หากไม่มีมาตรการควบคุมก็จะทำให้เกิดภาวะโลกร้อนที่รุนแรงขึ้น กระแสน้ำอุ่นก็จะมาไล่กระแสน้ำเย็น เกาะต่างๆ ก็จะหายไป มีความเสี่ยงทางการเกษตรมากขึ้น และน้ำไม่เพียงพอ ภาคเกษตรเป็นแหล่งที่ได้รับผลกระทบโดยตรงจากการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ และมีแนวโน้มที่ผลผลิตจะลดลง ในขณะเดียวกันภาคการเกษตรมีส่วนร่วมในการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ทำให้เกิดความไม่มั่นคงด้านอาหาร ภาคเกษตรเป็นแหล่งที่มีศักยภาพในการกักเก็บและดูดซับก๊าซเรือนกระจก ไฟฟ้าและพลังงานความร้อน (25%) การใช้พื้นที่ในการเกษตร (24%) การก่อสร้างบ้านเรือน (6.4%) การขนส่งและอุตสาหกรรม มีผลทำให้เกิด greenhouse effect โดยเฉพาะกิจกรรมต่างๆ ของมนุษย์ดังต่อไปนี้ การเลี้ยงวัวควาย การเลี้ยงหมู การเลี้ยงไก่ การปลูกธัญพืช การปลูกข้าว การตัดไม้ทำลายป่า นอกจากนี้ อุณหภูมิ น้ำฝน ก็มีส่วนเกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ เมื่ออุณหภูมิสูงขึ้น ทำให้พืชมีอายุสั้นลง แต่พืชประเภทอ้อย ไม่ค่อยได้รับผลกระทบเมื่อสภาพอากาศเปลี่ยนแปลง แต่ต้องใช้พันธุ์ที่ทนแล้ง ส่วนการปลูกมันสำปะหลัง ต้องมีการนำเทคโนโลยี เครื่องมือ ให้เหมาะสมกับชุมชน พื้นที่ เป็นต้น
- ในการนำเสนอผลงานวิจัยภาคบรรยายแยกตามกลุ่มสาขาวิชาและโปสเตอร์ในการประชุมวิชาการครั้งนี้ ได้เปิดโอกาสให้ผู้นำเสนองานวิจัยถ่ายทอดข้อมูลทางวิชาการ ได้มีการแลกเปลี่ยนประสบการณ์งานวิจัยซึ่งกันและกัน ทำให้ผู้เข้าร่วมงานประชุมได้รับความรู้ที่ทันสมัย และได้เปิดวิสัยทัศน์ให้กว้างขวางขึ้น
การนำไปใช้ประโยชน์:
- ได้นำความรู้ที่ได้จากการนำเสนอผลงานวิจัยและการเผยแพร่ผลงานของนักวิจัยจากหลากหลายสถาบัน ทั้งภาครัฐและเอกชน ที่ได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์ ตลอดจนข้อคิดเห็นในการพัฒนางานวิจัย ไปเป็นแนวทางและพัฒนางานวิจัยของตนเองเพื่อจะทำให้เกิดงานวิจัยที่มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นในอนาคต
|
การเข้าร่วมประชุมวิชาการ
»
การเข้าร่วมประชุมวิชาการ
|
จากการเข้าร่วมประชุมวิชาการ ประจำปี 2558 ระหว่างวันที่ 8-9 ธันวาคม 2558 ณ ศูนย์การศึกษาและฝึกอบรมนานาชาติ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ขอนำเสนอสรุปเนื้อหาและการนำไปใช้ประโยชน์ของการเข้าร่วมประชุมวิชาการดังต่อไปนี้
- การเสวนาวิชาการ ในหัวข้อเรื่อง “การเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ: วิกฤตหรือโอกาสเกษตรไทย (Climate Change: Crisis or Chance of Thai – Agriculture)” โดยมีวิทยากรผู้มีความรู้ชำนาญในด้านต่างๆ อาทิ รศ.สมพร อิศวิลานนท์, ดร.มนตรี คงตระกูลเทียน และ ดร.สมชาย บุญประดับ ซึ่งในการเสวนาครั้งนี้ได้กล่าวถึงภาวะโลกร้อน ที่เกิดจากมีแก๊สเพิ่มขึ้น เกิดเป็น greenhouse effect คือมีสภาพภูมิอากาศปัจจุบันที่มีอุณหภูมิของโลกเริ่มสูงขึ้น หากไม่มีมาตรการควบคุมก็จะทำให้เกิดภาวะโลกร้อนที่รุนแรงขึ้น กระแสน้ำอุ่นก็จะมาไล่กระแสน้ำเย็น เกาะต่างๆ ก็จะหายไป มีความเสี่ยงทางการเกษตรมากขึ้น และน้ำไม่เพียงพอ ภาคเกษตรเป็นแหล่งที่ได้รับผลกระทบโดยตรงจากการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ และมีแนวโน้มที่ผลผลิตจะลดลง ในขณะเดียวกันภาคการเกษตรมีส่วนร่วมในการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ทำให้เกิดความไม่มั่นคงด้านอาหาร ภาคเกษตรเป็นแหล่งที่มีศักยภาพในการกักเก็บและดูดซับก๊าซเรือนกระจก ไฟฟ้าและพลังงานความร้อน (25%) การใช้พื้นที่ในการเกษตร (24%) การก่อสร้างบ้านเรือน (6.4%) การขนส่งและอุตสาหกรรม มีผลทำให้เกิด greenhouse effect โดยเฉพาะกิจกรรมต่างๆ ของมนุษย์ดังต่อไปนี้ การเลี้ยงวัวควาย การเลี้ยงหมู การเลี้ยงไก่ การปลูกธัญพืช การปลูกข้าว การตัดไม้ทำลายป่า นอกจากนี้ อุณหภูมิ น้ำฝน ก็มีส่วนเกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ เมื่ออุณหภูมิสูงขึ้น ทำให้พืชมีอายุสั้นลง แต่พืชประเภทอ้อย ไม่ค่อยได้รับผลกระทบเมื่อสภาพอากาศเปลี่ยนแปลง แต่ต้องใช้พันธุ์ที่ทนแล้ง ส่วนการปลูกมันสำปะหลัง ต้องมีการนำเทคโนโลยี เครื่องมือ ให้เหมาะสมกับชุมชน พื้นที่ เป็นต้น
- ในการนำเสนอผลงานวิจัยภาคบรรยายแยกตามกลุ่มสาขาวิชาและโปสเตอร์ในการประชุมวิชาการครั้งนี้ ได้เปิดโอกาสให้ผู้นำเสนองานวิจัยถ่ายทอดข้อมูลทางวิชาการ ได้มีการแลกเปลี่ยนประสบการณ์งานวิจัยซึ่งกันและกัน ทำให้ผู้เข้าร่วมงานประชุมได้รับความรู้ที่ทันสมัย และได้เปิดวิสัยทัศน์ให้กว้างขวางขึ้น
การนำไปใช้ประโยชน์:
- ได้นำความรู้ที่ได้จากการนำเสนอผลงานวิจัยและการเผยแพร่ผลงานของนักวิจัยจากหลากหลายสถาบัน ทั้งภาครัฐและเอกชน ที่ได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์ ตลอดจนข้อคิดเห็นในการพัฒนางานวิจัย ไปเป็นแนวทางและพัฒนางานวิจัยของตนเองเพื่อจะทำให้เกิดงานวิจัยที่มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นในอนาคต
|
คำสำคัญ :
|
กลุ่มบทความ :
บทความการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทั่วไป
|
หมวดหมู่ :
การบริหารจัดการ การจัดการความรู้
|
สถิติการเข้าถึง :
เปิดอ่าน
3424
ครั้ง | แสดงความคิดเห็น
0
ครั้ง
|
ผู้เขียน
รุ่งทิพย์ กาวารี
วันที่เขียน
27/2/2559 19:09:49
แก้ไขล่าสุดเมื่อ
18/11/2567 23:38:35
|
|
|
URL สำหรับอ้างอิงถึงหน้านี้