รหัสอ้างอิง :
210
|
|
ชื่อสมาชิก :
เกรียงไกร ราชกิจ
|
เพศ :
ชาย
|
อีเมล์ :
kreangkri@mju.ac.th
|
ประเภทสมาชิก :
บุคลากรภายใน [สังกัด]
|
ลงทะเบียนเมื่อ :
8/2/2554 16:55:41
|
แก้ไขล่าสุดเมื่อ :
8/2/2554 16:55:41
|
|
รายการบทความการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทั้งหมดของ Blog : ความรู้จากการเข้าอบรม ประชุมวิชาการ
กระบวนการต่างๆในทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มักมีกระบวนการย่อยๆมากมายซึ่งกระบวนการย่อยๆเหล่านั้นไม่ได้เกิดขึ้นพร้อมๆกันเสมอไป นั่นคือ มีบางเวลาที่กระบวนการย่อยหนึ่งทำงาน ส่วนกระบวนการ ย่อยอื่นๆที่เหลือหยุดทำงาน แต่พอถึงเวลาหนึ่งกระบวนการที่ทำงานอยู่ก็จะหยุดและส่งผลให้กระบวนการย่อยอื่นทำงานต่อสลับกันไปเรื่อยๆ เช่น ระบบอัตโนมัติในยานยนต์ ระบบจราจร ระบบเครื่องจักรกล ฯลฯ ซึ่งระบบดังกล่าวเหล่านี้สามารถอธิบายได้ด้วยระบบสลับ (Switched system)
ระบบสลับเป็นระบบที่อธิบายในรูปของสมการอนุพันธ์ที่ประกอบด้วยระบบสมการย่อยๆหลายระบบและมีจำนวนระบบที่จำกัด โดยมีกฎการสลับ (Switching law) ซึ่งจะเป็นตัวกำหนดว่า ระบบใดจะทำงานและระบบใดจะหยุดทำงาน ภายใต้ข้อกำหนดที่ว่า ถ้าระบบหนึ่งทำงานแล้วระบบอื่นๆที่เหลือจะต้องหยุดทำงาน ซึ่งในการศึกษาระบบสลับนั้นมีจุดเด่นที่สำคัญนั่นคือ การหากฎการสลับ เพื่อทำให้ระบบสลับนั้นเสถียร
ในบทความนี้ได้ศึกษาการทำให้เสถียรของระบบไฮบริดจ์แบบใหม่ซึ่งระบบที่ศึกษาเกี่ยวกับพารามิเตอร์ที่ไม่ทราบค่าแน่นอนและตัวหน่วงแปรผันตามเวลา ได้ศึกษาการทำให้เสถียรของระบบไฮบริดจ์แบบใหม่ที่มีตัวหน่วงเป็นค่าคงที่ ได้ศึกษาการทำให้เสถียรของระบบไฮบริดจ์แบบใหม่ที่มีตัวหน่วงแปรผันตามเวลา และได้ศึกษาการทำให้เสถียรของระบบไฮบริดจ์แบบใหม่ไม่ต่อเนื่องที่มีตัวหน่วงแปรผันตามเวลา ในที่นี้ ได้สร้างเงือนไขสำหรับตัวหน่วงที่ขึ้นกับเวลาและในการศึกษาการทำให้เสถียรของระบบไฮบริดจ์แบบใหม่ โดยอาศัยฟังก์ชันไลปูนอฟ – คราฟซอฟกี ซึ่งเงือนไข ถูกเสนอในเทอมของผลเฉลยของสมการริคคาติ และได้ออกแบบกฎการสลับ โดยใช้การพิจารณาเรขาคณิต และได้คำนวณขอบเขตของผลเฉลยในการทำให้เสถียรของระบบไฮบริดจ์แบบใหม่ที่มีอัตราการลู่เข้า และได้ศึกษาเงื่อนไขสำหรับการทำให้เสถียรของระบบไฮบริดจ์แบบใหม่ที่มีตัวพารามิเตอร์ไม่ทราบค่าแน่นอน อีกทั้งมีตัวหน่วงที่แปรผันตามเวลา และมีตัวควบคุมด้วย ซึ่งในที่นี้ได้รับเงื่อนไขเพียงพอ สำหรับการทำให้เสถียรของระบบไฮบริดจ์แบบใหม่ด้วย ดังนั้นจะเห็นว่าระบบไฮบริดจ์แบบใหม่ และเป็นกลาง ได้ถูกนำมาประยุกต์ใช้มากมาย ซึ่งข้าพเจ้าจะนำความรู้ที่ได้ศึกษา มาประยุกต์ใช้กับการเรียนการสอนในรายวิชา คศ 464 ปัญหาค่าขอบ และเพื่อพัฒนาไปสู่งานวิจัยต่อไปในอนาคต
URL สำหรับอ้างอิงถึงหน้านี้