เภสัชภัณฑ์จากน้ำมันหอมระเหยในการกำจัดเหาและไรในไก่พื้นเมือง

รหัสอ้างอิงมหาวิทยาลัย : มจ.1-63-07-001
รหัสอ้างอิง วช. : 63A111000027
สถานะการดำเนินการ : ดำเนินการเสร็จสมบูรณ์แล้ว
วันที่ดำเนินการ : 30 เมษายน 2563 ถึง 30 กันยายน 2563
ส่วนที่ 1 ข้อมูลทั่วไป
ข้อมูลทั่วไป ภาษาไทย :
หัวข้อ : เภสัชภัณฑ์จากน้ำมันหอมระเหยในการกำจัดเหาและไรในไก่พื้นเมือง
บทคัดย่อ :

ประสิทธิภาพของน้ำมันหอมระเหย 6 ชนิดจากการสกัดด้วยวิธีการกลั่นด้วยน้ำ ได้แก่ น้ำมัน

หอมระเหยจากกานพลู (Eugenia caryophyllata Thunb.) ตะไคร้หอม (Cymbopogon nardus Rendle.)

ตะไคร้ต้น (Litsea cubeba (Lour.) Pers.) ขิง (Zingiber officinale Roscoe) มะกรูด (Citrus hystrix DC.)

และอบเชย (Cinnamomum zeylanicum) ต่อการตายของเหา (Menopon gallinae) และ ไร (Ornythonyssus

bursa) ทำการทดสอบด้วยวิธี Filter contact paper bioassay ผลการศึกษาพบว่าความเข้มข้นของน้ำมัน

หอมระเหยที่สูงขึ้นทำให้มีอัตราการตายของเหาและไรเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) โดย

กลุ่มที่ทดสอบด้วยน้ำมันหอมระเหยทุกชนิดที่ความเข้มข้น 0.416 ?g?cm-2 และ 0.832 ?g?cm-2 มีอัตรา

การตายของเหาเท่ากับ 100 % ส่วนความเข้มข้น 0.208 ?g?cm-2 พบว่าอัตราการตายของเหาจากน้ำมัน

หอมระเหยตะไคร้หอม, ขิง, อบเชย และ ตะไคร้ต้น มีการตายมากที่สุดตามลำดับ โดยมีค่า 100, 96.67,

96.67 และ 93.33 % ซึ่งมีประสิทธิภาพดีกว่าน้ำมันหอมระเหยกานพลูและมะกรูด ซึ่งมีอัตราการตายเท่ากับ 80.00 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) ในขณะที่การทดสอบการตายของไรพบว่ากลุ่มที่

ทดสอบด้วยน้ำมันหอมระเหยทุกชนิดที่ความเข้มข้น 6.656 ?g?cm-2 มีอัตราการตายของไรเท่ากับ 100 %

ในขณะที่ความเข้มข้น 3.328 ?g?cm-2 พบว่าอัตราการตายของไรจากน้ำมันหอมระเหยตะไคร้หอม, ขิง

และอบเชยมีการตายไม่แตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p>0.05) กับ น้ำมันหอมระเหยตะไคร้ต้น แต่

มีประสิทธิภาพดีกว่ากานพลู และมะกรูดอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ(p<0.05) ค่า LC50 ต่อเหาของน้ำมัน

หอมระเหยกานพลู, ตะไคร้หอม, ตะไคร้ต้น, ขิง, มะกรูด และอบเชย เท่ากับ 0.70, 0.63, 0.67, 0.66, 0.68

และ 0.66 ?g.cm-2 ตามลำดับ ส่วนค่า LC50 ต่อไรของน้ำมันหอมระเหยกานพลู, ตะไคร้หอม, ตะไคร้ต้น,

ขิง, มะกรูด และอบเชย เท่ากับ 6.36, 5.73, 5.88, 5.23, 6.87 และ 1.18 ?g.cm-2 ตามลำดับ การทดสอบ

ประสิทธิภาพของสูตรผสมน้ำมันหอมระเหย 2 ชนิด ต่อการกำจัดเหาในตัวไก่และไรในรังไข่ โดยใช้

ความเข้มข้นของน้ำมันหอมระเหยทั้งสองชนิดที่ 2% ผสมในอัตราส่วนของน้ำมันตะไคร้หอม:ขิง

เท่ากับ 30:70 และ 50:50 และนับจำนวนเหาและไรภายหลังให้สาร 1, 7 และ 14 วัน พบว่าสูตรผสม

น้ำมันหอมระเหยที่มีสัดส่วนของน้ำมันหอมระเหยขิงมากกว่าจะมีประสิทธิภาพในการลดจำนวนเหา

และไรได้มากกว่า ซึ่งมีค่าใกล้เคียงกับกลุ่มที่ใช้ trichlorfon แต่ทั้งสองอัตราส่วนสามารถลดจำนวนเหา

และไรได้มากกว่ากลุ่มที่ใช้สารเจือจางน้ำมันหอมระเหยอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ(p<0.05) โดยฤทธ์ิของ

สูตรผสมน้ำมันหอมระเหยทั้ง 2 ชนิดสามารถลดจำนวนเหาในตัวไก่ได้อย่างน้อย 14 วัน แต่ลดจำนวน

ไรในรังไข่ได้น้อยกว่า 7 วัน อย่างไรก็ตามน้ำมันหอมระเหยขิงและตะไคร้หอมก็เป็นสมุนไพรทางเลือก

หนึ่งที่สามารถนำมาใช้ในการผลิตสัตว์ในระบบอินทรีย์เพื่อทดแทนการใช้สารฆ่าแมลงซึ่งอาจตกค้าง

ในสิ่งแวดล้อมและส่งผลเสียต่อผู้บริโภคได้

คำสำคัญ : น้ำมันหอมระเหย , เหา , ไร , ไก่พื้นเมือง , การกำจัด
ข้อมูลทั่วไป ภาษาอังกฤษ :
Title : Development of pharmaceutical product from essential oils to eliminate lice and mite in indigenous chicken
Abstract :

Efficacy of six essential oils using water distillation method, clove (Eugenia caryophyllata

Thunb.), citronella (Cymbopogon nardus Rendle.), litsea (Litsea cubeba (Lour.) Pers.), ginger

(Zingiber officinale Roscoe), kaffir lime (Citrus hystrix DC.) and cinnamon (Cinnamomum

zeylanicum), against mortality of shaft louse (Menopon gallinae) and tropical fowl mite (Ornythonyssus

bursa). The experiment was evaluated by filter contact paper bioassay method. It was found that higher

concentrations of essential oils led to a significant increase in mortality of lice and mites (p <0.05). For

The group tested with all essential oils at concentrations of 0.416 ?g cm-2 and 0.832 ?g cm-2 had 100%

mortality rate of lice. Additionally, the group tested with citronella, ginger, cinnamon and litsea oil at

the concentrations of 0.208 ?g?cm-2 revealed 100, 96.67, 96.67 and 93.33% mortality rate, respectively.

That is more significant effective than clove and kaffir lime oils which had 80.00% mortality rate

(p<0.05). For the mortality of mite, the group tested with all essential oils at the 6.656 ?g cm-2

concentration had 100% mortality rate, while the 3.328 ?g cm-2 concentration of citronella, ginger and

cinnamon oils had no significant different of mortality rate compare with litsea oil (p>0.05) but had

more significant effective than clove oil and kaffir lime (P<0.05). The LC50 value against lice of cloves,

citronella, litsea, ginger, kaffir lime and cinnamon were 0.70, 0.63, 0.67, 0.66, 0.68 and 0.66 ?g.cm-2,

respectively. While LC50 against mite of cloves, citronella, litsea, ginger, kaffir lime and cinnamon

were 6.36, 5.73, 5.88, 5.23, 6.87 and 1.18 ?g.cm-2, respectively. Efficacy test of two essential oil

formulas for extermination of lice in the chickens and mite in the chicken nest at 2% concentration of

the two essential oils was mixed in the ratio of citronella oil: ginger, 30:70 and 50:50, and the number

of lice and mites were counted after 1, 7 and 14 days. Essential oils with a higher proportion of ginger

essential oil are more effective in reducing the number of lice and mite which were similar to group

used Trichlorfon. However, both ratios were significantly lower in the number of lice and mites than

the group which was the essential oil diluent (p <0.05). The effect of both types of essential oil formulas

can reduce the number of lice in the chicken for at least 14 days but reduce the number of mite in the

chicken nests for less than 7 days. However, ginger and citronella oils are alternative herbs that can be used in organic animal production as a substitute for pesticides, which can residue in the environment

and have a negative impact on consumers.

Keyword : essential oil, louse, mite, indigenous chicken, elimination
รูปแบบงานวิจัย : -- ไม่ระบุ --
ประเภทงานวิจัย : -- ไม่ระบุ --
สาขางานวิจัย : สาขาเกษตรศาสตร์และชีววิทยา
กิจกรรมที่เกี่ยวข้อง : -- ไม่ระบุ --
Road map : Green
ส่วนที่ 2 ประเภทโครงการวิจัย
โครงการเดี่ยว
ส่วนที่ 3 ลักษณะโครงการวิจัย
โครงการใหม่
ส่วนที่ 4 ข้อมูลเจ้าของผลงานวิจัย
 รายชื่อนักวิจัยตำแหน่งนักวิจัยสัดส่วน (%)ประเภทนักวิจัย
1 ผู้ช่วยศาสตราจารย์ สัตวแพทย์หญิง ดร.กฤดา ชูเกียรติศิริ
ประเภทบุคคล : บุคลากรภายใน     กลุ่มนักวิจัย : เกษตรศาสตร์
หน่วยงานต้นสังกัด : คณะสัตวศาสตร์และเทคโนโลยี
ผู้วิจัยหลัก
(2563)
50 ไม่ระบุ
2 ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ประภากร ธาราฉาย
ประเภทบุคคล : บุคลากรภายใน     กลุ่มนักวิจัย : เกษตรศาสตร์
หน่วยงานต้นสังกัด : คณะสัตวศาสตร์และเทคโนโลยี
ผู้วิจัยร่วม
30 ไม่ระบุ
3 ผศ.ดร.ภญ. สุนีย์ จันทร์สกาว
ประเภทบุคคล : บุคคลภายนอก
หน่วยงานต้นสังกัด : มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ คณะเภสัชศาสตร์
ผู้วิจัยร่วม
10 ไม่ระบุ
4 รศ.ภก. ปราโมทย์ ทิพย์ดวงตา
ประเภทบุคคล : บุคคลภายนอก
หน่วยงานต้นสังกัด : มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
ผู้วิจัยร่วม
10 ไม่ระบุ
ส่วนที่ 5 แหล่งทุนสนับสนุนงานวิจัย
 ปีงบประมาณ / วันที่รายละเอียดแหล่งทุนจำนวนเงิน (บาท)
1
ปีงบประมาณ : 2563
1/10/2562 ถึง 30/9/2563
ประเภทแหล่งทุน : งบประมาณภายในสถาบัน งบภายในมหาวิทยาลัย
งบประมาณแผ่นดินมหาวิทยาลัยแม่โจ้
190,000.00
   รวมจำนวนเงิน : 190,000.00
ส่วนที่ 6 การนำเสนองานวิจัย
ไม่มีข้อมูลการนำเสนองานวิจัย
ส่วนที่ 7 การตีพิมพ์เผยแพร่
ไม่มีข้อมูลการนำเสนองานวิจัย
ส่วนที่ 8 การอ้างอิงงานวิจัย
ไม่มีข้อมูลการอ้างอิงงานวิจัย
ส่วนที่ 9 การนำงานวิจัยไปใช้ประโยชน์
วันที่ดำเนินการรายละเอียด
1 มกราคม 2564
ลักษณะการนำไปใช้ประโยชน์ : การพัฒนาสาธารณะ
14 มกราคม 2564
ลักษณะการนำไปใช้ประโยชน์ : การพัฒนาสาธารณะ
6 มกราคม 2566
ลักษณะการนำไปใช้ประโยชน์ : การพัฒนาสาธารณะ
ที่อยู่การติดต่อ
กองเทคโนโลยีดิจิทัล สำนักงานมหาวิทยาลัย
มหาวิทยาลัยแม่โจ้ เลขที่ 63 หมู่ 4 ตำบลหนองหาร อำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่ 50290
โทรศัพท์สอบถาม
งานประชาสัมพันธ์ มหาวิทยาลัย 0-5387-3000
ระบบสารสนเทศสำหรับนักศึกษา 0-5387-3457
ระบบสารสนเทศสำหรับบุคลากร 0-5387-3285
ERP Maejo University - All Rights Reserved 2023