การจัดการและการใช้ประโยชน์ของเสียจากฟาร์มสุกรขนาดเล็กแบบครบวงจร

รหัสอ้างอิงมหาวิทยาลัย : มจ.1-55-059
รหัสอ้างอิง วช. : -- ไม่ระบุ --
สถานะการดำเนินการ : กำลังดำเนินการ
วันที่ดำเนินการ : 1 ตุลาคม 2554 ถึง 30 กันยายน 2556
ส่วนที่ 1 ข้อมูลทั่วไป
ข้อมูลทั่วไป ภาษาไทย :
หัวข้อ : การจัดการและการใช้ประโยชน์ของเสียจากฟาร์มสุกรขนาดเล็กแบบครบวงจร
บทคัดย่อ :

แผนงานวิจัยเรื่อง การจัดการและการใช้ประโยชน์ของเสียจากฟาร์มสุกรขนาดเล็กแบบครบวงจร เป็นแผนงานที่เสนอรับทุนสนับสนุน 2 ปี ในการดำเนินงานวิจัยตามแผนนี้ได้แยกเป็น 4 โครงการย่อย ได้แก่ โครงการที่ 1 การออกแบบและพัฒนาถังหมักไร้อากาศแบบกวนผสมต้นแบบสำหรับผลิตก๊าซชีวภาพจากฟาร์มสุกรขนาดเล็ก โครงการที่ 2 การแยกเชื้อแบคทีเรียออกซิไดซ์ซัลเฟอร์เพื่อกำจัดไฮโดรเจนซัลไฟล์ โครงการที่ 3 การผลิตก๊าซไฮโดรเจนจากมูลสุกรโดยใช้กระบวนการหมักแบบไม่ใช้ออกซิเจน และโครงการที่ 4 การทดสอบประสิทธิภาพของวัสดุปรับปรุงดินและปุ๋ยน้ำหมักที่ผลิตจากกากตะกอนและน้ำล้น จากถังหมักไร้อากาศแบบกวนผสมต้นแบบต่อการเจริญของพืชผัก ซึ่งการดำเนินงานทั้ง 4 โครงการย่อยมีความก้าวหน้าที่พอใจที่สามารถดำเนินการในปีที่ 2 ได้

แผนงานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการกวนที่มีต่อการหมักแบบไร้อากาศในการผลิตก๊าซชีวภาพและการบำบัดน้ำเสียจากฟาร์มสุกรในระดับอุตสาหกรรม โดยใช้ถังหมักขนาด 1000 ลิตร โดยแบ่งชุดการทดลองออกเป็น 4 ชุดคือ กวนวันละ 2, 4 และ 8 ครั้ง (ครั้งละ 30 นาที) และ (ชุดควบคุม) ไม่มีการกวน เติมน้ำเสียจากฟาร์มสุกรหมักจนเกิดก๊าซจึงเริ่มเติมน้ำเสียวันละ 100 ลิตรทุกถังตลอดการทดลอง จากนั้นทำการตรวจวัดปริมาณก๊าซชีวภาพ โดยพบว่าการกวนผสมมีผลต่อการผลิตก๊าซชีวภาพและการบำบัดน้ำเสียจากฟาร์มสุกร

ตัวอย่างดินจากธรรมชาติ ฟาร์มสุกร และบริเวณโรงงานอุตสาหกรรม รวมทั้งกากตะกอนน้ำเสีย จำนวน 30 แหล่งตัวอย่าง เมื่อนำมาคัดแยกเชื้อ Sulfur-Oxidizing Bacteria บนอาหาร Thiosulfate Broth และ Thiosulfate Agar ที่ระดับ pH 4 และ 7 ได้เชื้อบริสุทธ์ที่เก็บไว้ทั้งสิ้น 51 ไอโซเลต มีเพียง19ไอโซเลตที่สามารถเจริญได้ในน้ำทิ้งจากฟาร์มสุกร พบว่าเชื้อแบคทีเรียทั้งหมดไม่สามารถเจริญที่ pH 3 เท่านั้น และมีประสิทธิภาพสูงในการกำจัดซัลไฟด์ที่ pH เริ่มต้นเท่ากับ 8 เมื่อนำเชื้อแบคทีเรีย WI023, WI048 และ SLP02 ไปจำแนกชนิดด้วยลำดับเบสของ 16S rRNA พบว่า เป็นเชื้อแบคทีเรีย Thiobacillus sp., Thiobacillus ferrooxidans และ Acinetobacter sp. ตามลำดับ

ศึกษาการผลิตก๊าซไฮโดรเจนจากน้ำทิ้งฟาร์มสุกรโดยใช้กระบวนการหมักแบบ 2 ขั้นตอน ทำการปรับสภาพตะกอนหัวเชื้อโดยการใช้ความร้อนที่อุณหภูมิ 100 OC เป็นเวลา 30 นาที ทำการออกแบบถังปฏิกรณ์ที่ใช้ในการผลิตก๊าซไฮโดรเจนโดยกระบวนการหมักแบบ 2 ขั้นตอน ประกอบด้วยถังผลิตกรด และถังผลิตก๊าซไฮโดรเจน ขนาด 60 ลิตร ทำการศึกษาระยะเวลาการกักเก็บ (HRT) ที่ 12, 24, 36 และ 48 ชั่วโมง ต่อการผลิตก๊าซไฮโดรเจนทำการหมักที่มีการควบคุม pH ที่ 5.0 พบว่าระยะเวลาการกักเก็บที่ 24 ชั่วโมง สามารถผลิตก๊าซไฮโดรเจนได้สูงสุด

ศึกษาประสิทธิภาพของวัสดุปรับปรุงดินและปุ๋ยน้ำหมักที่ผลิตได้จากกากตะกอนและน้ำล้นจากถังหมักไร้อากาศแบบกวนผสมต้นแบบ ทดสอบกับของเสียมูลสุกรของคณะสัตวศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยแม่โจ้ โดยออกแบบให้มีการวนน้ำที่ล้นออกจากระบบ 8 ครั้งต่อวันเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของระบบ โดยเมื่อนำกากตะกอนและน้ำล้นไปทดสอบดัชนีการงอกของเมล็ดพืชพบว่ากากตะกอนและน้ำล้นมีค่าดัชนีการงอกที่ใกล้เคียงกับค่ามาตรฐานปุ๋ยอินทรีย์ อีกทั้งการใช้กากตะกอนยังเป็นการเพิ่มอินทรียวัตถุในดินอีกด้วย

คำสำคัญ : ถังหมักไร้อากาศแบบกวนผสม ก๊าซชีวภาพ ก๊าซไฮโดรเจนซัลไฟด์ แบคทีเรียที่ออกซิไดซ์ซัลเฟอร์ ของเสียจากสุกร การผลิตก๊าซไฮโดรเจน มูลสุกร พลังงานชีวภาพ การหมัก กรดไขมันระเหย วัสดุปรับปรุงดิน ปุ๋ยน้ำหมัก
ข้อมูลทั่วไป ภาษาอังกฤษ :
Title : Integrated waste management and utilization of small pig farm
Abstract :

Research project on Integrated Waste Management and Utilization of Small Pig Farm was firstly planned for 2 years and comprised of 4 subprojects. There are 1) Design and Development of Prototype of Mixed Anaerobic Digester for Biogas Production from Small Pig Farm, 2), Isolation of sulfur oxidizing bacteria for hydrogen sulfide removal, 3) Bio-Hydrogen Production from Swine Manure Using Anaerobic Fermentation and 4) The Study on the Efficient Testing of Soil Amendment and Fermented Liquid Fertilizer Production from Sludge and Effluent from Prototype of Mixed Anaerobic Digester for Vegetable Production. All subprojects showed progressive results and hopefully, beneficial enough for the project next year

The objective of this research is to study the effect of mixing on anaerobic digestion, biogas production and swine wastewater treatment in pilot scale. Four sets of experiments were performed using swine wastewater feed and gas began to fill up of water a day in the different mixing 2, 4 and 8 times a day (30 min/times ) and (control) unmix were performed in 1000 liters bioreactor .Bioreactor ware started up by swine wastewater, and operated biogas produced. After that, swine wastewater was feed to all reactors 100 liters per day throughout experiment. It was found that efficiency that the mixing had affected to biogas production and swine wastewater treatment efficiency.

Soil samples were collected from natural farms and factories. Include sewage sludge sample of 30 sources. When taken into isolation. Sulfur-Oxidizing Bacteria on culture medium, Thiosulfate Agar and Thiosulfate Broth at pH 4 and 7 were purified, stored total 51 isolates; only 19 isolates were able to grow in wastewater from pig farms. Found that the bacteria were not able to grow at pH 3 only, and were highly effective in the removal of sulfide at pH starting at 8 when bacteria WI023, WI048 and SLP02 to classification by sequencing of 16S. rRNA showed that the bacteria Thiobacillus sp., Thiobacillus ferrooxidans and Acinetobacter sp. respectively.

Biohydrogen production from swine farm wastewater by two-phase anaerobic fermentation was investigated in this research. The inoculum sludge was heat-treated at 100 OC for 30 minutes. The two-phase bioreactors for hydrogen production consisting of acid tank and hydrogen production tank with 60 L in total volume and 36 L in working volume were design. The hydraulic retention times (HRT) of 12, 24, 36, and 48 h under controlled pH at 5.0 were studied. The maximum hydrogen concentration of 540 mg/m3 was occurred at HRT of 24 h.

This objective of experiment was to study the efficiency of soil amendment and liquid fertilizer production from sludge and effluent from prototype of mixed anaerobic digester. In this experiment, tests with Swine waste of Maejo University’s animal science and technology, with the agitation rate to 8 times per day by the water effluent to increase the efficiency. The germination test of digester sludge and effluent water were found the germination index similar to the standard of organic fertilizer and the digester sludge also increases the organic matter in the soil.

Keyword : Mixed anaerobic digester, Biogas, Hydrogen sulfide, Sulfide oxidizing bacteria, Swine manure, hydrogen production, swine manure, bio-energy, fermentation, volatile fatty acid, soil amendment, fermented liquid fertilizer
รูปแบบงานวิจัย : -- ไม่ระบุ --
ประเภทงานวิจัย : -- ไม่ระบุ --
สาขางานวิจัย : สาขาเกษตรศาสตร์และชีววิทยา
กิจกรรมที่เกี่ยวข้อง : -- ไม่ระบุ --
Road map : -- ไม่ระบุ --
ส่วนที่ 2 ประเภทโครงการวิจัย
ชุดโครงการ : โครงการวิจัยนี้เป็นงานวิจัยภายใต้งานวิจัย
ส่วนที่ 3 ลักษณะโครงการวิจัย
โครงการใหม่
ส่วนที่ 4 ข้อมูลเจ้าของผลงานวิจัย
 รายชื่อนักวิจัยตำแหน่งนักวิจัยสัดส่วน (%)ประเภทนักวิจัย
1 ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ฐปน ชื่นบาล
ประเภทบุคคล : บุคลากรภายใน     กลุ่มนักวิจัย : วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
หน่วยงานต้นสังกัด : คณะวิทยาศาสตร์
ผู้วิจัยหลัก
(2555)
100 นักวิจัยรุ่นเก่า
ส่วนที่ 5 แหล่งทุนสนับสนุนงานวิจัย
 ปีงบประมาณ / วันที่รายละเอียดแหล่งทุนจำนวนเงิน (บาท)
1
ปีงบประมาณ : 2555
1/6/2555 ถึง 31/5/2556
ประเภทแหล่งทุน : งบประมาณภายในสถาบัน งบภายในมหาวิทยาลัย
งบประมาณแผ่นดินมหาวิทยาลัยแม่โจ้
1,152,000.00
   รวมจำนวนเงิน : 1,152,000.00
ส่วนที่ 6 การนำเสนองานวิจัย
ไม่มีข้อมูลการนำเสนองานวิจัย
ส่วนที่ 7 การตีพิมพ์เผยแพร่
ไม่มีข้อมูลการนำเสนองานวิจัย
ส่วนที่ 8 การอ้างอิงงานวิจัย
ไม่มีข้อมูลการอ้างอิงงานวิจัย
ส่วนที่ 9 การนำงานวิจัยไปใช้ประโยชน์
วันที่ดำเนินการรายละเอียด
1 ตุลาคม 2565
ลักษณะการนำไปใช้ประโยชน์ : การพัฒนาสาธารณะ
ที่อยู่การติดต่อ
กองเทคโนโลยีดิจิทัล สำนักงานมหาวิทยาลัย
มหาวิทยาลัยแม่โจ้ เลขที่ 63 หมู่ 4 ตำบลหนองหาร อำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่ 50290
โทรศัพท์สอบถาม
งานประชาสัมพันธ์ มหาวิทยาลัย 0-5387-3000
ระบบสารสนเทศสำหรับนักศึกษา 0-5387-3457
ระบบสารสนเทศสำหรับบุคลากร 0-5387-3285
ERP Maejo University - All Rights Reserved 2023