ปัจจัยทำนายความเหนื่อยล้าของมารดาหลังผ่าตัดคลอดในเขตภาคเหนือ

รหัสอ้างอิงมหาวิทยาลัย : พยบ-66-05
รหัสอ้างอิง วช. : -- ไม่ระบุ --
สถานะการดำเนินการ : ดำเนินการเสร็จสมบูรณ์แล้ว
วันที่ดำเนินการ : 1 ตุลาคม 2560 ถึง 30 กันยายน 2563
ส่วนที่ 1 ข้อมูลทั่วไป
ข้อมูลทั่วไป ภาษาไทย :
หัวข้อ : ปัจจัยทำนายความเหนื่อยล้าของมารดาหลังผ่าตัดคลอดในเขตภาคเหนือ
บทคัดย่อ :

การวิจัยครั้งนี้เพื่อศึกษาความเหนื่อยล้าและปัจจัยทำนายความเหนื่อยล้าของมารดาหลังผ่าตัดคลอดใน เขตภาคเหนือ กลุ่มตัวอย่างเป็นมารดาหลังผ่าตัดคลอดในระยะ 48 ชั่วโมง และ 72 ชั่วโมง ที่พักรักษาตัวอยู่ใน แผนกหลังคลอดและ/หรือแผนกนรีเวชวิทยาของโรงพยาบาลในจังหวัดเขตภาคเหนือ 9 แห่ง จำนวน 259 ราย เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล แบ่งเป็น 6 ส่วน คือ 1) แบบบันทึกข้อมูลส่วนบุคคล 2) แบบบันทึกข้อมูล จากแฟ้มประวัติมารดาหลังผ่าตัดคลอด 3) แบบประเมินความเจ็บปวดแผลผ่าตัด 4) แบบประเมินความเหนื่อยล้า 5) แบบประเมินการรบกวนการนอนหลับ และ 6) แบบประเมินความเครียดในบทบาทของมารดาหลังผ่าตัดหลัง คลอด เก็บข้อมูลตั้งแต่เดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2561 จนถึงเดือนตุลาคม พ.ศ. 2562 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิง พรรณนา และการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ ผลการวิจัยพบว่า มารดามีความเหนื่อยล้าระดับปานกลางทั้ง 2 ระยะ ปัจจัยที่สามารถร่วมทำนาย ความเหนื่อยล้าของกลุ่มตัวอย่างในระยะ 48 ชั่วโมง และระยะ 72 ชั่วโมง คือ ความเจ็บปวดแผลผ่าตัด การ รบกวนการนอนหลับ และความเครียดในการปรับบทบาทมารดาหลังคลอด โดยสามารถทำนายความเหนื่อยล้าได้ ร้อยละ 28.10 และ ร้อยละ 12.10 ตามลำดับ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 สรุปและข้อเสนอแนะ มารดาหลังผ่าตัดคลอดควรได้รับการวางแผนจัดการความเจ็บปวดแผลผ่าตัด การส่งเสริมการนอนหลับของมารดา และการจัดการความเครียดในการปรับบทบาทของมารดาที่เหมาะสม เพื่อ ช่วยมารดาลดความเหนื่อยล้าหลังผ่าตัดคลอด 3-คำสำคัญในการค้นหาภาษาไทย ความเหนื่อยล้า มารดาหลังคลอด ผ่าตัดคลอด เขตภาคเหนือ

คำสำคัญ : ามเหนื่อยล้า มารดาหลังคลอด ผ่าตัดคลอด เขตภาคเหนือ
ข้อมูลทั่วไป ภาษาอังกฤษ :
Title : Predicting Factors of fatigue in Postpartum mothers undergoing Cesarean section in Northern Thailand
Abstract :

The research was aimed at examining level and predictive factors for fatigue in postpartum mothers who have undergone cesarean section in northern Thailand. The data were collected from 259 postpartum mothers 48, and 72 hours after cesarean section at postpartum wards or gynecological wards of 9 hospitals in northern Thailand. The data were collected using a questionnaire. The questionnaire consisted of 6 parts, namely 1) demographic data, 2 ) medical records, 3 ) the postoperative pain wound, 4 ) postoperative fatigue, 5) sleep disturbances and 6) the maternal role stress. Data collection took place during the period of July 2018 to October 2019. Descriptive statistics and multiple regression were used to analyze the data. The results revealed that mothers had moderate level of fatigue after 48 hours and also 72 hours after birth. The postoperative pain wound, sleep disturbance and maternal role stress were found to be the predictors and could explain 28.10% and 12.10% of the variances in fatigue at 48 hours and 72 hours after birth. Conclusion: Mothers should be planned to arrange the postoperative wound pain, promoting maternal sleep and adjust appropriately stress management in postpartum maternal role. There can help mother to reduce fatigue after cesarean section.

Keyword : Fatigue, Postpartum mother, Cesarean Section, Northern Thailand
รูปแบบงานวิจัย : งานวิจัยเชิงปริมาณ
ประเภทงานวิจัย : การวิจัยพื้นฐาน
สาขางานวิจัย : สาขาวิทยาศาสตร์การแพทย์
กิจกรรมที่เกี่ยวข้อง : กิจกรรมด้านการวิจัย
Road map : Eco
ส่วนที่ 2 ประเภทโครงการวิจัย
โครงการเดี่ยว
ส่วนที่ 3 ลักษณะโครงการวิจัย
โครงการใหม่
ส่วนที่ 4 ข้อมูลเจ้าของผลงานวิจัย
 รายชื่อนักวิจัยตำแหน่งนักวิจัยสัดส่วน (%)ประเภทนักวิจัย
1 ผู้ช่วยศาสตราจารย์กัญญาพัชญ์ จาอ้าย
ประเภทบุคคล : บุคคลภายนอก
หน่วยงานต้นสังกัด : คณะพยาบาลศาสตร์แมคคอร์มิค มหาวิทยาลัยพายัพ
ผู้วิจัยหลัก
(2560)
75 นักวิจัยรุ่นเก่า
2 อาจารย์อมรเลิศ พันธ์วัตร์
ประเภทบุคคล : บุคลากรภายใน     กลุ่มนักวิจัย : วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
หน่วยงานต้นสังกัด : คณะพยาบาลศาสตร์
ผู้วิจัยร่วม
25 นักวิจัยรุ่นใหม่
ส่วนที่ 5 แหล่งทุนสนับสนุนงานวิจัย
 ปีงบประมาณ / วันที่รายละเอียดแหล่งทุนจำนวนเงิน (บาท)
1
ปีงบประมาณ : 2561
18/4/2561 ถึง 10/9/2563
ประเภทแหล่งทุน : อื่น ๆ อื่น ๆ
มหาวิทยาลัยพายัพ สัญญาทุน มพย.2560/04-22
50,000.00
   รวมจำนวนเงิน : 50,000.00
ส่วนที่ 6 การนำเสนองานวิจัย
ไม่มีข้อมูลการนำเสนองานวิจัย
ส่วนที่ 7 การตีพิมพ์เผยแพร่
วันที่ดำเนินการรายละเอียดน้ำหนักการตีพิมพ์
1 กรกฎาคม 2563
วารสารที่ตีพิมพ์ : วารสารพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยสยาม 
ฉบับที่ : ปีที่ 21 ฉบับที่ 41 (กรกฎาคม-ธันวาคม 2563)
หน้า : 8-19
ระดับการนำเสนอ : ระดับชาติ
เจ้าของวารสาร : มหาวิทยาลัยสยาม
0.6
ส่วนที่ 8 การอ้างอิงงานวิจัย
ไม่มีข้อมูลการอ้างอิงงานวิจัย
ส่วนที่ 9 การนำงานวิจัยไปใช้ประโยชน์
ไม่มีข้อมูลการนำงานวิจัยไปใช้ประโยชน์
ที่อยู่การติดต่อ
กองเทคโนโลยีดิจิทัล สำนักงานมหาวิทยาลัย
มหาวิทยาลัยแม่โจ้ เลขที่ 63 หมู่ 4 ตำบลหนองหาร อำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่ 50290
โทรศัพท์สอบถาม
งานประชาสัมพันธ์ มหาวิทยาลัย 0-5387-3000
ระบบสารสนเทศสำหรับนักศึกษา 0-5387-3457
ระบบสารสนเทศสำหรับบุคลากร 0-5387-3285
ERP Maejo University - All Rights Reserved 2023