|
รายงานสรุปเนื้อหาและการนำไปใช้ประโยชน์จากการเข้าอบรม สัมมนาหรือประชุมวิชาการ การประชุมวิชาการ ประจำปี 2560 มหาวิทยาลัยแม่โจ้ เมื่อวันที่ 7 – 8 ธันวาคม พ.ศ. 2560 ณ อาคารเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา มหาวิทยาลัยแม่โจ้
»
โครงข่ายประสาทเทียม หรือ ข่ายงานประสาทเทียม (artificial neural network)
|
โครงข่ายประสาทเทียม หรือ ข่ายงานประสาทเทียม (artificial neural network) คือ โมเดลทางคณิตศาสตร์หรือโมเดลทางคอมพิวเตอร์สำหรับประมวลผลสารสนเทศด้วยการคำนวณแบบคอนเนคชันนิสต์ (connectionist) แนวคิดเริ่มต้นของเทคนิคนี้ได้มาจากการศึกษาโครงข่ายไฟฟ้าชีวภาพ (bioelectric network) ในสมอง ซึ่งประกอบด้วย เซลล์ประสาท (neurons) และ จุดประสานประสาท (synapses) ตามโมเดลนี้ ข่ายงานประสาทเกิดจากการเชื่อมต่อระหว่างเซลล์ประสาท จนเป็นเครือข่ายที่ทำงานร่วมกัน
การทํางานของระบบประสาทเทียมนั้น เปนการพยายามที่จะเลียนแบบการทํางานของสมองมนุษยผานกลไกของการเรียนรู โดยการใชประโยชนจากตัวอยางที่ผานมาหลายๆตัวอยางในการฝกฝน ซึ่งระบบประสาทเทียมสามารถถูกประยุกตเพื่อแกปญหาที่ไมมีรูปแบบ หรือ มีรูปแบบที่ซับซอนมากและยากที่จะเขาใจไดดวยความสามารถในการเรียนรูจากตัวอยางนี้ทําใหระบบประสาทเทียมมีความยืดหยุน และมีประสิทธิภาพ
ปจจุบันเทคโนโลยีตางๆมีผลตอการใชชีวิตของเราในปจจุบัน อยางมาก ในโลกอุตสาหกรรม หลายๆโรงงานมีการใชแขนกลเปนเครื่องมือสําคัญในการผลิต เชน ในอุตสาหกรรมประกอบรถยนต และ เพื่อควบคุมการทํางานของแขนกลใหเปนไปตามพิกัดเปาหมาย จึงมี ความจําเปนตองออกแบบการทํางานของแขนกลใหมีเสถียรภาพ และ ความแมนยําในระดับสูง
สรุปเนื้อหาการนำไปใช้ประโยชน์
การประยุกต์ใช้งานข่ายงานระบบประสาทเทียม
เนื่องจากความสามารถในการจำลองพฤติกรรมทางกายภาพของระบบที่มีความซับซ้อนจากข้อมูลที่ป้อนให้เรียนรู้ การประยุกต์ใช้ข่ายงานระบบประสาทจึงเป็นทางเลือกใหม่ในการควบคุม ซึ่งมีผู้นำมาประยุกต์ใช้งานหลายประเภท ได้แก่
1. งานการจดจำรูปแบบที่มีความไม่แน่นอน เช่น ลายมือ ลายเซนต์ ตัวอักษร รูปหน้า
2. งานการประมาณค่าฟังก์ชันหรือการประมาณความสัมพันธ์ (มี inputs และ outputs แต่ไม่ทราบว่า inputs กับ outputs มีความสัมพันธ์กันอย่างไร)
3. งานที่สิ่งแวดล้อมเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ (โครงข่ายประสาทเทียมสามารถปรับตัวเองได้)
4. งานจัดหมวดหมู่และแยกแยะสิ่งของ
5. งานทำนาย เช่นพยากรณ์อากาศ พยากรณ์หุ้น
6. การประยุกต์ใช้โครงข่ายประสาทเทียมควบคุมกระบวนการทางเคมีโดยวิธีพยากรณ์แบบจำลอง (Model Predictive Control)
7. การประยุกต์ใช้โครงข่ายประสาทเทียมแบบแพร่กระจายกลับในการทำนายพลังงานความร้อนที่สะสมอยู่ในตัวอาคาร
8. การใช้โครงข่ายประสาทเทียมในการหาไซโครเมตริกชาร์ท การประยุกต์ใช้ข่ายงานระบบประสาทควบคุมระบบ HVAC
|
คำสำคัญ :
โครงข่ายประสาทเทียม
|
กลุ่มบทความ :
กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร
|
หมวดหมู่ :
กลุ่มงานสายวิชาการ
|
สถิติการเข้าถึง :
เปิดอ่าน
9149
ครั้ง | แสดงความคิดเห็น
0
ครั้ง
|
ผู้เขียน
เกรียงไกร ราชกิจ
วันที่เขียน
18/1/2561 10:01:16
แก้ไขล่าสุดเมื่อ
24/11/2567 0:34:04
|
|
|