รายการบทความการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ตามคำสำคัญ  : การสืบค้นสารสนเทศ
บริการสื่อโสตทัศน์ » ฐานข้อมูลภาพยนตร์ดีเด่น : การพัฒนาคอลเลคชัน งานเทคนิคห้องสมุด และการออกแบบโปรแกรมสืบค้นสารสนเทศภาพยนตร์
การวิจัยมีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อสร้างฐานข้อมูลเชิงอ้างอิงภาพยนตร์ดีเด่น (2) เพื่อศึกษาแนวทางการวิเคราะห์และทำรายการสื่อภาพยนตร์ (3) เพื่อศึกษาแนวทางการออกแบบโปรแกรมสืบค้นสารสนเทศภาพยนตร์เพื่อบริการสืบค้น ผลการวิจัยพบว่า 1. ฐานข้อมูลเชิงอ้างอิงภาพยนตร์ดีเด่น มีข้อมูลทั้งสิ้น 3,398 ระเบียน ทดลองใช้งาน ชั่วคราว ณ http://elib.library.mju.ac.th/elib/film.htm/ ด้วยโปรแกรม Elib ที่ปรับปรุงรูปแบบการใช้งาน (skin) 2. การศึกษาแนวทางการวิเคราะห์และทำรายการ พบว่า สามารถทำรายการด้วยหลักเกณฑ์ AACR2 ระดับ 2-3 ข้อมูลรูปแบบมาตรฐาน MARC โดยเพิ่มข้อมูลที่มีคุณค่า (value added data) เช่น ผู้กำกับ นักแสดง เรื่องย่อ ภาพ ตัวอย่างภาพยนตร์ รางวัลและอันดับยอดนิยม หัวเรื่องเกี่ยวกับกลุ่มคอลเลคชัน กลุ่มประเภทภาพยนตร์ และหัวเรื่องเนื้อหาทั่วไป ส่วนการใช้แนวทาง RDA เชิงการจัดกลุ่มข้อมูลยังไม่อาจจัดทำได้เด่นชัด 3. การศึกษาแนวทางการออกแบบโปรแกรมสืบค้นสารสนเทศภาพยนตร์ พบว่า การออกแบบขั้นตอนสืบค้นตามลักษณะสารสนเทศทั่วไป เช่น หนังสือ ยังไม่เพียงพอ ควรปรับปรุงขั้นตอนช่องทางการสืบค้น การแสดงผลลัพธ์แบบย่อและแบบเต็ม โดยเฉพาะที่เกี่ยวกับภาพ และการเชื่อมโยงไปยังข้อมูลอื่นที่เกี่ยวข้อง คำสำคัญ : ภาพยนตร์ ; ฐานข้อมูล ; การพัฒนาทรัพยากรห้องสมุด ; งานเทคนิคห้องสมุด ; การสืบค้นสารสนเทศ
คำสำคัญ : การพัฒนาทรัพยากรห้องสมุด  การสืบค้นสารสนเทศ  งานเทคนิคห้องสมุด  ฐานข้อมูล  ภาพยนตร์  
กลุ่มบทความ : กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร
หมวดหมู่ : กลุ่มงานห้องสมุด
สถิติการเข้าถึง : เปิดอ่าน 3156  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
ผู้เขียน สุธรรม อุมาแสงทองกุล  วันที่เขียน 21/9/2561 11:42:40  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 20/11/2567 16:08:03
บริการสื่อโสตทัศน์ » การพัฒนาโปรแกรมสืบค้นสื่อภาพยนตร์ สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยแม่โจ้ [โดย สุธรรม อุมาแสงทองกุล และ ณัฐชาพงษ์ รักสกุลกานต์]
การวิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาโปรแกรมขนาดเล็กสำหรับสืบค้นสารสนเทศภาพยนตร์ ของสำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยแม่โจ้ เป็นการศึกษาสืบเนื่องจากงานวิจัยเดิมที่ศึกษาเรื่องฐานข้อมูลภาพยนตร์ดีเด่น รูปแบบการวิจัยเป็นการวิจัยเชิงพัฒนาซอฟต์แวร์ มุ่งสร้างผลผลิตคือโปรแกรมสืบค้นสารสนเทศภาพยนตร์ ไม่รวมถึงส่วนยืม-คืน และไม่รวมส่วนบันทึกข้อมูลที่ห้องสมุดใช้งานด้วยโปรแกรมอื่น ประเมินผลโดยผู้มีประสบการณ์และเชี่ยวชาญในงานสาขาโสตทัศนศึกษา บรรณารักษศาสตร์และสารสนเทศศาสตร์ วิทยาการคอมพิวเตอร์ 15 คน และนักศึกษาที่สุ่มแบบบังเอิญ 3 คน รวม 18 คน เครื่องมือที่ใช้คือแบบสอบถามความพึงพอใจ ผลการวิจัยพบว่า 1. โปรแกรมสืบค้นสารสนเทศภาพยนตร์ ชื่อ Film_opac พัฒนาด้วยภาษา PHP เรียกใช้ แฟ้มตารางข้อมูลของโปรแกรมจัดการฐานข้อมูล MS-SQL ที่ออกแบบฐานข้อมูลโดยโปรแกรม Elib เมื่อพัฒนาโปรแกรมสืบค้นแล้วเสร็จได้จัดบริการ ณ http://library.mju.ac.th/film/index.php 2. โปรแกรมที่พัฒนาขึ้นสอดคล้องกับคุณสมบัติ (specification) ของโปรแกรมที่กำหนดไว้ โดยระบุคุณสมบัติด้านข้อมูล 8 ข้อ คุณสมบัติด้านการออกแบบกราฟิกและระบบยูสเซอร์ อินเทอร์เฟส 7 ข้อ และคุณสมบัติด้านด้านการสืบค้น 7 ข้อ 3. ผลการประเมินความพึงพอใจของผู้ทดลองใช้งาน พบว่า ผู้ประเมินมีความพึงพอใจโปรแกรมในด้านการออกแบบระบบยูสเซอร์อินเทอร์เฟสโดยรวมในระดับมาก (Mean 3.81, S.D. 0.71) และด้านการสืบค้นข้อมูล โดยรวมในระดับมาก (Mean 3.94, S.D. 0.72) คำสำคัญ : โปรแกรมห้องสมุด ; การสืบค้นสารสนเทศ ; ภาพยนตร์
คำสำคัญ : การสืบค้นสารสนเทศ  โปรแกรมห้องสมุด  ภาพยนตร์  
กลุ่มบทความ : กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร
หมวดหมู่ : กลุ่มงานห้องสมุด
สถิติการเข้าถึง : เปิดอ่าน 3016  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
ผู้เขียน สุธรรม อุมาแสงทองกุล  วันที่เขียน 21/9/2561 11:41:12  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 21/11/2567 21:05:17
บริการสื่อโสตทัศน์ » ดรรชนีและหัวเรื่องสำหรับสารสนเทศภาพยนตร์ : กรณีศึกษา ฐานข้อมูลภาพยนตร์ดีเด่น ห้องสมุดมหาวิทยาลัยแม่โจ้
การวิจัยมีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อศึกษาแนวทางพัฒนาดรรชนีสืบค้นเนื้อหาสารสนเทศ ภาพยนตร์ (2) เพื่อทดลองนำดรรชนีสืบค้นเนื้อหาสารสนเทศภาพยนตร์ไปใช้ในโปรแกรมสืบค้นสารสนเทศภาพยนตร์ดีเด่นของห้องสมุดมหาวิทยาลัยแม่โจ้ (3) เพื่อสร้างบัญชีคำหัวเรื่องสำหรับเป็นเครื่องมือช่วยการทำรายการและการสืบค้นสารสนเทศภาพยนตร์ การวิจัยหลักเป็นการวิจัยเอกสาร ทำการวิเคราะห์เนื้อหาสื่อภาพยนตร์ สร้างคำดรรชนีหัวเรื่อง รวบรวมหัวเรื่องซึ่งเป็นประชากรในการวิจัยมาวิเคราะห์ และสร้างบัญชีคำหัวเรื่องภาษาไทยสำหรับภาพยนตร์ขึ้น เครื่องมือวิจัยคือแบบบันทึกแนวทางการกำหนดคำดรรชนีสำหรับภาพยนตร์ แบบบันทึกรายการคำดรรชนีลักษณะควบคุมรายการหลักฐาน (authority control) และโปรแกรมจัดการด้านข้อมูลต่างๆ คือ CDS/ISIS, Elib, Film_opac, Microsoft Word สถิติที่ใช้คือ ค่าร้อยละ ผลการวิจัยพบว่า การใช้แบบบันทึกแนวทางการกำหนดคำดรรชนี ที่ศึกษาวิเคราะห์ดรรชนีภาพยนตร์ 6 ประเด็นคือ (1) องค์ประกอบสารสนเทศภาพยนตร์ (2) เขตข้อมูล MARC tag (3) รูปแบบคำดรรชนีที่ใช้ (4) ลักษณะดรรชนีในระบบจัดเก็บและค้นคืนสารสนเทศ คือแฟ้มข้อมูลดรรชนีผกผันและระบบควบคุมรายการหลักฐาน (5) โปรแกรมสืบค้น OPAC กับการสืบค้นตามช่องทางเข้าถึง (6) โปรแกรมสืบค้น OPAC กับการสืบค้นด้วยคำสำคัญ สามารถกำหนดดรรชนีเพื่อเข้าถึงเนื้อหาภาพยนตร์ได้ 5 ชนิด ส่วนใหญ่เป็นดรรชนีแบบหัวเรื่อง ได้แก่ (1) ดรรชนีเนื้อเรื่อง (2) ดรรชนีประเทศภาพยนตร์ (3) ดรรชนีประเภทหรือแนวภาพยนตร์ (4) ดรรชนีรางวัลภาพยนตร์ (5) ดรรชนีรายได้ภาพยนตร์ การทดลองนำไปใช้งานจริงกับฐานข้อมูลภาพยนตร์ดีเด่น ซึ่งให้บริการ ณ เว็บไซต์ https://library.mju.ac.th/film/ การวิจัยพบว่าเมื่อได้ปรับปรุงและพัฒนาโปรแกรมให้มี คุณสมบัติรองรับดรรชนีทั้ง 5 ชนิดดังกล่าวแล้ว สามารถใช้ประโยชน์ของดรรชนีสารสนเทศ ภาพยนตร์ได้ สำหรับหัวเรื่องที่เกิดขึ้นจากการวิเคราะห์และทำรายการภาพยนตร์ดีเด่น พบว่านำมาสร้างบัญชีคำหัวเรื่องภาษาไทยสำหรับภาพยนตร์ได้ โดยมีหัวเรื่อง 2,604 คำ เป็นหัวเรื่องที่มีการใช้บ่อยครั้ง 757 คำ และมีรายการโยงแบบ “ดูที่” 570 คำ คำสำคัญ : ดัชนี ; หัวเรื่อง ; ภาพยนตร์ ; ฐานข้อมูล ; การทำรายการทางบรรณานุกรม ; การสืบค้นสารสนเทศ
คำสำคัญ : การทำรายการทางบรรณานุกรม  การสืบค้นสารสนเทศ  ฐานข้อมูล  ดัชนี  ภาพยนตร์  หัวเรื่อง  
กลุ่มบทความ : กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร
หมวดหมู่ : กลุ่มงานห้องสมุด
สถิติการเข้าถึง : เปิดอ่าน 3159  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
ผู้เขียน สุธรรม อุมาแสงทองกุล  วันที่เขียน 21/9/2561 11:34:10  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 20/11/2567 16:57:39