Blog : โครงการสัมมนาสร้างเครือข่ายความร่วมมือระหว่างมหาวิทยาลัย แหล่งทุน ผู้ประกอบการ และนักวิจัยระดับบัณฑิตศึกษาเพื่อการพัฒนาหัวข้อวิจัยสำหรับตอบโจทย์ Thailand 4.0
รหัสอ้างอิง : 1002
ชื่อสมาชิก : ปารวี กาญจนประโชติ
เพศ : หญิง
อีเมล์ : parawee@mju.ac.th
ประเภทสมาชิก : บุคลากรภายใน [สังกัด]
ลงทะเบียนเมื่อ : 29/3/2555 5:18:19
แก้ไขล่าสุดเมื่อ : 29/3/2555 5:18:19

รายการบทความการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทั้งหมดของ Blog : โครงการสัมมนาสร้างเครือข่ายความร่วมมือระหว่างมหาวิทยาลัย แหล่งทุน ผู้ประกอบการ และนักวิจัยระดับบัณฑิตศึกษาเพื่อการพัฒนาหัวข้อวิจัยสำหรับตอบโจทย์ Thailand 4.0
การเข้าร่วมโครงการสัมมนาในครั้งนี้ได้มีการบรรยายเกี่ยวกับเรื่อง Thailand 4.0 ประเทศไทยยังคงมีการทำเกษตรกรรมแบบเก่า การทำอุตสาหกรรมและการใช้เทคโนโลยียังไม่สูงมากนัก จะเป็นการใช้แรงงานเป็นส่วนมาก Thailand 4.0 เป็นการทำเทคโนโลยีแบบสูงเข้ามาช่วยในการทำเกษตรกรรม ทำให้ได้ผลผลิตแบบมีมูลค่าสูง ซึ่งงานวิจัยในมหาวิทยาลัยที่จะสามารถพัฒนาต่อยอดเพื่อนำไปใช้ให้เข้ากับ Thailand 4.0 ได้นั้น เมื่อต้องการให้งานวิจัยที่จะใช้เพื่อพัฒนาประเทศประสบความสำเร็จจะต้องมีการให้งบประมาณเงินวิจัยที่ต่อเนื่องในระยะยาว มีเครื่องมือ บุคลากรที่มีความสามารถพร้อมสำหรับงานวิจัย โดยมักจะมีการทำงานวิจัยร่วมกับภาคเอกชน ซึ่งส่วนสำคัญที่จะพัฒนาประเทศไปสู่ Thailand 4.0 ได้นั้น ส่วนหนึ่งต้องมีการพัฒนาคนไทย ให้เป็นคนไทย 4.0 ด้วย หมายถึง คนที่มีความรู้ความสามารถ มีจิตสาธารณะ และพร้อมที่จะรับความรู้อยู่เรื่อยๆ นอกจากนี้ยังได้มีการบรรยายถึง การพัฒนางานวิจัยในมหาวิทยาลัยให้ไปสู่นวัตกรรมได้อย่างไร เพื่อเข้าสู่ Thailand 4.0 และได้ยกตัวอย่างถึงไต้หวัน ที่สมัยก่อนไต้หวันเป็นประเทศที่ทำการเกษตรกรรมคล้ายกับประเทศไทยในปัจจุบัน แต่ได้มีการพัฒนาสินค้าเกษตรโดยได้ผ่านกระบวนการหรือการตัดแต่งเพื่อให้ได้คุณภาพ ไม่ให้เน่าเสีย เป็นการเพิ่มมูลค่าของสินค้าเกษตร ไม่เหมือนประเทศไทยในปัจจุบัน ที่สินค้าเกษตรยังคงวางขายกองอยู่ที่พื้นถนน ที่เก็บเกี่ยวจากที่ปลูกและนำมาขายเลยโดยไม่ผ่านกระบวนการใดๆ ดังนั้นสินค้าเกษตรในประเทศไทยควรใช้งานวิจัยมาช่วยในการพัฒนาให้สินค้าเกษตรอยู่ในระดับที่คงราคาได้ นอกจากนี้แล้ว สิ่งที่น่าสนใจในการทำการเกษตรที่เข้ากับ Thailand 4.0 ที่สามารถพัฒนางานวิจัยมาช่วยในการเพาะปลูกได้ คือ Precision Agricultural เป็นการทำการเกษตรแบบแม่นยำ ที่จะช่วยลดต้นทุนและทำให้ได้ผลผลิตที่มีคุณภาพและปริมาณมากขึ้น
โครงการสัมมนาสร้างเครือข่ายความร่วมมือระหว่างมหาวิทยาลัย แหล่งทุน ผู้ประกอบการ และนักวิจัยระดับบัณฑิตศึกษาเพื่อการพัฒนาหัวข้อวิจัยสำหรับตอบโจทย์ Thailand 4.0 » เข้าร่วมโครงการสัมมนาสร้างเครือข่ายความร่วมมือระหว่างมหาวิทยาลัย แหล่งทุน ผู้ประกอบการ และนักวิจัยระดับบัณฑิตศึกษาเพื่อการพัฒนาหัวข้อวิจัยสำหรับตอบโจทย์ Thailand 4.0
การเข้าร่วมโครงการสัมมนาในครั้งนี้ได้มีการบรรยายเกี่ยวกับเรื่อง Thailand 4.0 ประเทศไทยยังคงมีการทำเกษตรกรรมแบบเก่า การทำอุตสาหกรรมและการใช้เทคโนโลยียังไม่สูงมากนัก จะเป็นการใช้แรงงานเป็นส่วนมาก Thailand 4.0 เป็นการทำเทคโนโลยีแบบสูงเข้ามาช่วยในการทำเกษตรกรรม ทำให้ได้ผลผลิตแบบมีมูลค่าสูง ซึ่งงานวิจัยในมหาวิทยาลัยที่จะสามารถพัฒนาต่อยอดเพื่อนำไปใช้ให้เข้ากับ Thailand 4.0 ได้นั้น เมื่อต้องการให้งานวิจัยที่จะใช้เพื่อพัฒนาประเทศประสบความสำเร็จจะต้องมีการให้งบประมาณเงินวิจัยที่ต่อเนื่องในระยะยาว มีเครื่องมือ บุคลากรที่มีความสามารถพร้อมสำหรับงานวิจัย โดยมักจะมีการทำงานวิจัยร่วมกับภาคเอกชน ซึ่งส่วนสำคัญที่จะพัฒนาประเทศไปสู่ Thailand 4.0 ได้นั้น ส่วนหนึ่งต้องมีการพัฒนาคนไทย ให้เป็นคนไทย 4.0 ด้วย หมายถึง คนที่มีความรู้ความสามารถ มีจิตสาธารณะ และพร้อมที่จะรับความรู้อยู่เรื่อยๆ นอกจากนี้ยังได้มีการบรรยายถึง การพัฒนางานวิจัยในมหาวิทยาลัยให้ไปสู่นวัตกรรมได้อย่างไร เพื่อเข้าสู่ Thailand 4.0 และได้ยกตัวอย่างถึงไต้หวัน ที่สมัยก่อนไต้หวันเป็นประเทศที่ทำการเกษตรกรรมคล้ายกับประเทศไทยในปัจจุบัน แต่ได้มีการพัฒนาสินค้าเกษตรโดยได้ผ่านกระบวนการหรือการตัดแต่งเพื่อให้ได้คุณภาพ ไม่ให้เน่าเสีย เป็นการเพิ่มมูลค่าของสินค้าเกษตร ไม่เหมือนประเทศไทยในปัจจุบัน ที่สินค้าเกษตรยังคงวางขายกองอยู่ที่พื้นถนน ที่เก็บเกี่ยวจากที่ปลูกและนำมาขายเลยโดยไม่ผ่านกระบวนการใดๆ ดังนั้นสินค้าเกษตรในประเทศไทยควรใช้งานวิจัยมาช่วยในการพัฒนาให้สินค้าเกษตรอยู่ในระดับที่คงราคาได้ นอกจากนี้แล้ว สิ่งที่น่าสนใจในการทำการเกษตรที่เข้ากับ Thailand 4.0 ที่สามารถพัฒนางานวิจัยมาช่วยในการเพาะปลูกได้ คือ Precision Agricultural เป็นการทำการเกษตรแบบแม่นยำ ที่จะช่วยลดต้นทุนและทำให้ได้ผลผลิตที่มีคุณภาพและปริมาณมากขึ้น
คำสำคัญ :
กลุ่มบทความ : กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร
หมวดหมู่ : กลุ่มงานสายวิชาการ
สถิติการเข้าถึง : เปิดอ่าน 943  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
ผู้เขียน ปารวี กาญจนประโชติ  วันที่เขียน 14/3/2560 15:21:27  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 29/2/2567 9:13:23

URL สำหรับอ้างอิงถึงหน้านี้